Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2533
ดร.มานะ พิทยาภรณ์ "การขึ้นศาลเหมือนการออกรบ"             
 


   
search resources

มานะ พิทยาภรณ์




ในขณะที่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการนักกฎหมายรุ่นใหม่ปัจจุบันคือว่า ต่างคนต่างก็หันไปสร้างบทบาทด้านความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และก็เน้นรับงานเฉพาะที่ตัวเองถนัด บางคนรับปรึกษาและวางแผนภาษี แต่ไม่รับว่าความเกี่ยวกับคดีภาษีในศาลในขณะที่บางคนถนัด ที่จะว่าความในศาลมากกว่าที่จะให้คำปรึกษาแนะนำ บางสำนักงานถนัดเฉพาะงานด้านพาณิชย-นาวี ประกันภัย ก่อสร้าง ประมูลงานรัฐ และแม้แต่ทำสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนหรือขนย้ายอาวุธสงครามก็มีสำนักงานที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะที่จะทำได้

แต่สำหรับเขาแล้ว ดร. มานะ พิทยาภรณ์ ทนายความอาวุโสในวงการขณะนี้ยังยืนยันว่าสำนักงานเขาเน้นที่การมีบริการแบบครบวงจร

ในวัย 64 ของเขาผ่านประสบการณ์มาหลายด้าน เซลส์แมน นักกฎหมาย ทนายความ นักวิชาการ และนักการเมือง โดยในแต่ละด้านนั้นเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จพอสมควร

ดร. มานะ เริ่มทำงานขายกับบริษัท ซิงเกอร์ ซิงอิงแมชชีน จนขึ้นเป็นผู้จัดการภาคก่อน ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความและที่ปรึกษากฎหมายบริษัทเดียวกัน งานด้านทนายความของ เขาเริ่มขึ้นที่นี่หลังจากเขาเรียนจบ และทางบริษัทปรับตำแหน่งให้เขาเป็นทนายความและที่ปรึกษากฏหมายในเวลาต่อมา

การเป็นทนายความและที่ปรึกษากฎหมายในองค์กรธุรกิจในฐานะลูกจ้างนั้น เขาเคยเป็นถึงผู้จัดการฝ่ายและเป็นที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร บริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ด (ประเทศไทย) ซึ่งที่นี่เขาเริ่มหันไปจับด้านกฎหมายภาษีอากรอย่างจริงจัง เพราะเอสโซ่ค่อนข้างจะให้ความสำคัญทางด้านนี้มาก ถึงขนาดส่ง ดร. มานะไปศึกษาวิชาภาษีอากร เพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยฮูสตัน สหรัฐอเมริกาเป็นเวลาหนึ่งปี

จากนั้น เขาจึงได้ออกมาตั้งบริษัทที่ปรึกษากฎหมายร่วมกับสำนักงาน SGV โดยรับงานทางด้านกฎหมายภาษีอากรอย่างจริงจัง เพราะโดยตัว SGV นั้นเป็นสำนักงานบัญชีจึงมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายอยู่เนืองนิตย์อยู่แล้ว โดยเริ่มก่อตั้งบริษัทนี้ขึ้นประมาณปี 2514

จะด้วยเหตุใดเจ้าตัวไม่อาจบอกได้ว่าทำไมเขาจึงแยกตั้งออกมาในเวลาที่อยู่ร่วมกัน ไม่นานนักก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2519

ในด้านวิชาการนั้นเป็นที่ยอมรับกันในวงการศึกษาว่าดร. มานะ เป็นอาจารย์ที่มีงานตำรับตำราด้านวิชากฎหมายออกมาเป็นจำนวนมากทีเดียว เขากล่าวว่าเขารักงานทางด้านนี้มาก แต่ก็เป็นงานที่สร้างรายได้ไม่ได้เลย ทั้งการสอนและการเขียนหนังสือทางวิชาการออกมา แต่กระนั้นก็ทำได้มากพอสมควร โดยเฉพาะตำราเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร

ดร. มานะ เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายในหลาย……………………..มหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้านการผลิตบัณฑิตด้านกฎหมายในปัจจุบัน และ แม้กระทั่งสถานศึกษาและอบรมแห่งเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งเป็นสถาบันศึกษากฎหมาย ระดับสูง ของประเทศไทย ซึ่งอาจารย์ที่สอนส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นผู้พิพากษาศาลสูง

ภาพที่ค่อนข้างชัดเจนของดร. มานะและสำนักงานของเขาก็คือด้านภาษีอากร ซึ่งเขากล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าเพราะลูกค้าของเขาส่วนใหญ่มีปัญหาทางด้านภาษีมากกว่าเรื่องอื่น ๆ และด้วยความที่เขาเป็นทนายความที่เรียกได้ว่าเป็นรุ่นบุกเบิกในด้านนี้มายาวนาน รวมทั้งการสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็มักจะถูกเชิญให้ไปสอนกฎหมายภาษีเสียเป็นส่วนใหญ่

การที่ ดร. มานะ เป็นนักกฏหมายที่จับด้านภาษีมาตั้งแต่รุ่นบุกเบิกและยาวนานจนถึงปัจจุบันนี้ ทำให้เขาได้รับปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตและเป็นศาสตราจารย์ทางด้านภาษีอากรจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นศาสตราจารย์คนแรกและคนเดียวของเมืองไทย

ส่วนทางด้านการเมืองเขาก็เคยเยื้องกายเข้าไปแล้วเช่นกัน นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นเลขานุการประธานสภานี้ด้วย เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นวุฒิสมาชิกในเวลาต่อมา กลิ่นอายการเมืองหอมกรุ่นเมื่อหมดยุคสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แล้วจึงกระโดดลงสมัครและได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุรินทร์อยู่ สมัยหนึ่ง ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายทางการเมืองของเขา

ดร. มานะกระโดดออกมาตั้งสำนักงานเป็นของตัวเองโดยถือหุ้นคนเดียวอย่างจริงจังใน ปี 2519 โดยเป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศ และเน้นที่กฎหมายภาษีอากร แต่เจ้าตัวบอกว่าในทางปฏิบัติแล้วสำนักงานของเขาให้บริการแบบครบวงจร คือมีตั้งแต่การเผยแพร่ความรู้โดยการบรรยาย อบรมสัมมนา การให้คำปรึกษาวางแผน ไปจนถึงการดำเนินคดีในศาล และเกี่ยวกับกฎหมายทุกด้านไม่เฉพาะกฎหมายภาษีอากรเท่านั้น

"จริงอยู่ผมชำนาญทางด้านภาษีอากร ลูกความส่วนใหญ่ของผมก็มีปัญหาทางด้านภาษีอากรมาก แต่ตามโครงสร้างการทำงานของสำนักงานเรามีบริการกฎหมายทุกด้าน ตั้งแต่การจัดองค์กรทางธุรกิจกฎหมายแรงงาน กฎหมายแพ่งพาณิชย์ทั่วไป กฎหมายอาญา กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา" ดร. มานะกล่าว

เขากล่าวว่าด้านแรงงานกำลังทำสถิติขึ้นมาเป็นอันดับที่สองรองจากภาษีในขณะนี้ เพราะเหตุว่าบ้านเมืองพัฒนาขึ้นมีการลงทุนมากขึ้น ทั้งองค์กรแรงงานของลูกจ้างก็มีความแข็งแรงมากขึ้น มีข้อเรียกร้องมากขึ้น และรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือสัญญาจ้างนั้นก็มีความซับซ้อนมีเงื่อนไขมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

บริการด้านกฎหมายสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าวิ่งตามมาเป็นอันดับที่สาม นอกนั้นเป็นเรื่องการจัดตั้งองค์กรธุรกิจต่าง ๆ พวกทะเบียนบริษัท ห้างร้าน สมาคม หอการค้า

"ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผมคิดว่าจำเป็นสำหรับนักกฎหมายรุ่นใหม่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องรู้อยู่แค่นั้น เพราะอาชีพนักกฎหมายหรือทนายความจำเป็นจะต้องรู้อย่างกว้างขวาง ในด้านกฎหมายนั้นก็จะต้องเรียนรู้กฎหมายอย่างรอบด้านที่สุด ทางด้านธุรกิจการค้าต่าง ๆ ก็จำเป็นจะต้องรู้ หรืออย่างน้อยก็ต้องรู้เรื่องที่เรากำลังทำอยู่ และการทำงานก็จะต้องเป็นทนายที่ขึ้นศาลด้วยและเก่งทางด้านการให้คำปรึกษาแนะนำและวางแผนด้วย" เขากล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ดร. มานะไม่เชื่อว่าคนที่ไม่เคยขึ้นศาลว่าความเลยจะให้คำปรึกษาได้ดี และทำนองเดียวกันคนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจเลยก็คงจะว่าความแย่เหมือนกัน เพราะคนที่จะให้การวางแผนหรือคำปรึกษาที่ดีนั้นจะต้องมองปัญหาในอนาคตเมื่อไปถึงโรงศาลแล้วจะแก้ไขอย่างไร เช่นเดียวกันการที่จะนำเสนอข้อมูลและการซักถามพยานให้ทะลุปรุโปร่งและศาลเข้าใจในปัญหานั้น ๆ ทนายความจะต้องมีความรู้มาเป็นอย่างดีเสียก่อน

ด้วยเหตุนี้สำนักงานของเขาถึงต้องให้มีบริการแบบครบวงจรของอาชีพทนายความ

"เป็นทนายความไม่ได้ขึ้นศาลก็เหมือนทหารไม่ได้ออกรบ แต่ถ้าจะออกรบอย่างเดียวไม่เคยศึกษากลยุทธ์การศึกสงครามก็ไม่เจริญก้าวหน้า จะเป็นก็แต่เพียงทหารชั้นเลวตลอดชาติ" ดร. มานะกล่าวย้ำ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us