Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538
วีระชัย ลีลาประชากุลในยามไทย-เยอรมันโปรดักส์ฮึดเหิมสุดขีด             
 

 
Charts & Figures

รายละเอียดแผนงานการผลิตโรงที่ 2 ที่จ.ระยอง


   
www resources

โฮมเพจ- บริษัท ไทย - เยอรมัน โปรดักส์

   
search resources

ไทย-เยอรมัน โปรดักส์,บมจ
Metal and Steel
วีระชัย ลีลาประชากุล




วีระชัย ลีลาประชากุล ทายาทคนสำคัญของตระกูลลีลาประชากุล เปิดเกมรุกให้กับ "ไทย-เยอรมัน โปรดักส์" อีกครั้งหลังจากบริษัทได้เข้าจดทะเบียนและทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคม 2538 ที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้นนับเป็นมิติใหม่ของกลุ่มทุนแห่งตระกูลนี้ทีเดียว เพราะเป็นครั้งแรกที่เลือกส่งบริษัทในกลุ่มเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 20 ปี ด้วยทุนส่วนอื่นตลอด ครั้งนั้น วีระชัย ให้ความเห็นว่า "ถึงขณะนี้เราจะเติบโตในลักษณะเดิมคงไม่ได้ การก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างทันสถานการณ์เป็นสิ่งจำเป็น และคงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากพอสมควรในการขยายงานเพื่อให้บริษัทครองความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมด้านนี้ และเพื่อการขยายบทบาทด้านการผลิตเพื่อการส่งออกให้มากขึ้น ดังนั้นจึงตัดสินใจนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุน แม้จะต้องเสียสัดส่วนการถือหุ้นไปบ้าง แต่ก็น่าจะดีกว่า การลงทุนด้วยตนเองในลักษณะเดิม" คำกล่าวข้างต้นดูจะเป็นบทเฉลยสำหรับแนวรุกครั้งใหม่นี้ วีระชัย คงมีแผนไว้ในใจอยู่บ้างแล้ว ก่อนที่จะนำบริษัทเข้าระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ อุตสาหกรรมผลิตท่อและแผ่นสแตนเลส ของเมืองไทยในปัจจุบันนี้ นับว่า "ไทยเยอรมัน โปรดักส์" โดดเด่นกว่าคู่แข่งรายอื่นทั้งด้านกำลังการผลิต และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่า บวกกับช่องทางการจำหน่ายที่ผ่านมาบริษัทในเครือเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถจับกลุ่มลูกค้าได้แนบแน่นและต่อเนื่องมาตลอด แต่การเป็นเจ้าตลาด มิใช่ว่าจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ได้ เพราะระยะหลังคู่แข่งได้พัฒนาตามขึ้นมา มีการนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นหรือที่อื่นเข้ามาสู้บ้าง ขณะที่ "ไทย-เยอรมัน โปรดักส์" เน้นเทคโนโลยีจากเยอรมนี และอิตาลี ประกอบกับตลาดใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกมาก จึงเป็นเรื่องที่จะต้องถีบตัวเองหนีขึ้นไปอีกขั้นเพื่อกุมตลาดให้ได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก็เพื่อแผนการขยายกำลังการผลิตจะได้เป็นจริงขึ้นมา ปลายเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา บริษัทไทย-เยอรมัน โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) จึงประกาศเปิดตัวโครงการโรงงานผลิตท่อและแผ่นสแตนเลสแห่งที่สอง ซึ่งใช้เงินลงทุนมูลค่าประมาณ 1,329 ล้านบาท โรงงานในแผนการขยายกำลังการผลิต ซึ่งถือเป็นโรงงานแห่งที่สองนี้ ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง บนที่ดินประมาณ 204 ไร่ ถือเป็นการแยกอาณาจักรออกไปจากโรงงานเดิม และโรงงานของบริษัทในเครือ ซึ่งอยู่ริมถนนบางนา-ตราด ก.ม. 39 ทั้งยังเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีกำลังการผลิตมากกว่าโรงงานเดิมถึงกว่า 3 เท่าตัว ทั้งนี้โรงงานเดิมมีกำลังการผลิตท่อสแตนเลสได้เพียง 8,400 ตันต่อปี และผลิตแผ่นสแตนเลสได้ 7,100 ตันต่อปี ขณะที่โรงงานแห่งใหม่นี้จะผลิตท่อสแตนเลสและแผ่นสแตนเลสรวมแล้วถึง 64,500 ตันต่อปี (รายละเอียดการผลิตดังตารางประกอบ) ทั้งนี้โรงงานแห่งใหม่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2539 การสร้างโรงงานแห่งที่สองในครั้งนี้ นอกจากต้องการจะหนีคู่แข่งในเรื่องของศักยภาพด้านกำลังการผลิตแล้ว ยังมีแนวคิดที่จะเป็นผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อทดแทนการนำเข้า และสร้างตลาดใหม่ ๆ ขึ้นมา ได้เข้ามาเป็นตัวหนุนทำให้เกิดโครงการขยายงานครั้งนี้ด้วย ผู้บริหารของ "ไทย-เยอรมัน โปรดักส์" ซึ่งใกล้ชิดกับวีระชัย มากคนหนึ่ง กล่าวถึงแนวคิดของวีระชัย ว่า มักจะวางแนวทางการทำอุตสาหกรรมในลักษณะบุกไปข้างหน้าตลอด จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาหลังจากเข้ามาบริหาร "ไทย-เยอรมัน โปรดักส์" เมื่อประมาณ 12 ปีที่แล้ว ได้ปรับแนวการผลิตค่อนข้างมาก เช่นการนำเครื่องจักรทันสมัยเข้ามา เป็นรายแรก ซึ่งเมื่อก่อนอุตสาหกรรมด้านนี้ของเมืองไทยจะค่อนข้างสกปรก เขม่าควัน เยอะมาก เพระมีการใช้ความร้อนมีการเผา และขั้นตอนยุ่งยากหลังจากที่บริษัทนำเครื่องจักรทันสมัยเข้ามาเห็นผลทันที เพราะการผลิตจะทำได้ง่ายขึ้นมาก ประหยัดต้นทุนมากกว่า นอกจากแนวคิดเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว ยังมองในเรื่องของการลดต้นทุนควบคู่มาโดยตลอด เช่นการวางแผนงานการตรวจเช็คเครื่องจักรเป็นระยะ และตั้งหน่วยผลิตชิ้นส่วนที่ต้องเปลี่ยนและสึกหรอจากการผลิตเป็นประจำด้วยตนเอง เพื่อลดต้นทุน การคิดค้นและวิจัย เพื่อทำการผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ ๆ ขึ้นมา เป็นการสร้างตลาดใหม่ ๆ ขึ้นมา ไม่ใช่รอให้ตลาดเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยเข้าไปรองรับเพียงเท่านั้น ต้องยอมรับว่าแนวคิดการบุกไปข้างหน้าทำให้ "ไทย-เยอรมัน โปรดักส์" เติบโตอย่างมากในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ สำหรับวีระชัย เขากล่าวถึงเหตุผลในการลงทุนครั้งนี้ว่า เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดในอนาคต ซึ่ง 4-5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสแตนเลสมีการขยายตัวอย่างมากเพราะตลาดเติบโต โดยเฉพาะตลาดในเมืองไทย ทั้งนี้เนื่องจากมีการใช้ผลิตภัณฑ์สแตนเลสทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุประเภทอื่น เช่น เหล็ก พลาสติก หรือแม้แต่ไม้ ทั้งนี้เพราะว่าสแตนเลสมีคุณภาพเหนือกว่าในหลายด้าน เช่นความทนกรดด่าง และทนต่อสภาพอากาศ ในขณะที่ราคาแพงกว่าผลิตภัณฑ์อื่นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมบุกเข้าหาลูกค้าใน 4 โครงการใหญ่ ด้วย เช่นโครงการสนามบินหนองงูเห่า, โครงการขยายสนามบินดอนเมือง, โครงการรถไฟฟ้าและโครงการโรงกลั่นน้ำมัน ยังไม่รวมถึงกลุ่มลูกค้ารายย่อย และผู้ผลิตเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ ที่จะเติบโตตามมา เพราะตลาดเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตอีกมาก เมื่อมองถึงการเปิดประเทศในแถบอินโดจีนผนวกเข้ามาด้วย วันนี้ของ "วีระชัย ลีลาประชาธรรม" ดูจะสดใสมาก ด้วยบทบาทของนักธุรกิจวัยหนุ่ม ที่มีอายุเพียง 37 ปี แต่กลับเติบโตอย่างรวดเร็วและกำลังจะนำพา "ไทย-เยอรมัน โปรดักส์" จากธุรกิจหลักพันล้านบาทต่อปี ก้าวสู่องค์กรธุรกิจหมื่นล้านบาทในไม่ช้านี้ ถ้าโรงงานแห่งที่สอง ประสบความสำเร็จตามแผนงานรองรับตลาดดังที่วางไว้ รายละเอียดแผนงานการผลิตโรงที่ 2 ที่จ. ระยอง 1. ผลิตท่อสแตนเลสขนาด 10-20 นิ้ว โดยมีกำลังการผลิตเต็มที่ประมาณ 22,800 ตันต่อปี ซึ่งปัจจุบันสินค้าประเภทนี้ยังไม่มีการผลิตในประเทศ ดังนั้นจึงเป็นการผลิตเพื่อทดแทนการ นำเข้าทั้งหมด โดยผลผลิตส่วนหนึ่งประมาณ 30% จะถูกส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วย สำหรับตลาดในประเทศ จะส่งไปยังจำหน่ายยังกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และอุตสาหกรรมโรงงานน้ำตาล 2. ผลิตท่อสแตนเลสขนาด 38.1 มม. เป็นการขยายกำลังการผลิตจากโรงงานเดิมที่มีอยู่ โดยกำลังการผลิตเต็มที่โรงงานแห่งที่สองนี้จะมีประมาณ 16,000 ตันต่อปี แบ่งเป็นการผลิตท่อสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร 40% อีก 60% เป็นการผลิตเพื่อป้อนไปยังอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง การตกแต่งอาคารบ้านเรือน 3. ผลิตแผ่นสแตนเลสขัดลายเส้นผม เป็นการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากโรงงานเดิมมีอยู่ โดยมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเต็มที่ 19,800 ตันต่อปี 4. ผลิตแผ่นสแตนเลสขัดเงา เป็นการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากที่โรงานเดิมมีอยู่ โดยมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเต็มที่ 4,800 ตันต่อปี 5. ผลิตแผ่นสแตนเลสสกัดลายตามสัญลักษณ์ ลักษณะของสินค้าจะเป็นการกัดลายบนแผ่นสแตนเลสให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ตามที่ต้องการ ซึ่งจะนำมาใช้ในการตกแต่งอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม และบ้านเรือน กำลังการผลิตจะมีประมาณ 1,100 ตันต่อปี โดยจะจำหน่ายในประเทศและส่งออกในปริมาณที่เท่ากัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us