Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538
ดร.นพดล อินนา เบื้องหลังของ "สิงห์" ผงาดในวงการไอที             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด

   
search resources

บุญรอดบริวเวอรี่, บจก.
สันติ ภิรมย์ภักดี
Alcohol
นพดล อินนา




นอกเหนือไปจากการนั่งบริหารในบุญรอดบริวเวอรี่ ผู้ผลิตเบียร์ โซดา และผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม ซึ่งรู้จักกันดีภายใต้ชื่อ "สิงห์" อันเป็นกงสีของครอบครัวแล้ว สันติ ภิรมย์ภักดี ยังมีกิจการหลายประเภทที่ใช้เงินส่วนตัวไปร่วมลงขันเอาไว้มากมาย ตามประสาของผู้มีชื่อเสียง และมีเพื่อนพ้องในวงการธุรกิจมากมาย กิจการที่สันติไปลงทุนส่วนตัวนี้ จะมีตั้งแต่กิจการภัตตาคาร โรงแรม ท่องเที่ยว เอเยนซีโฆษณา สนามกอล์ฟ ธุรกิจให้เช่าเฮลิคอปเตอร์ ตลอดจนกิจการโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ เมื่อกิจการเหล่านี้เพิ่มจำนวนมากขึ้น สันติมองว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องหันมาดูแลกิจการเหล่านี้อย่างจริงจังเสียที ขณะเดียวกันเขาก็มองเห็นแล้วว่า ธุรกิจอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี หรือไอที อันเป็นคลื่นลูกใหม่ที่กำลังมีบทบาทอย่างมากในโลกธุรกิจทุกวันนี้ ซึ่งเขามองเห็นว่าคงไม่ยากหากแทรกตัวอยู่ในธุรกิจไอที ที่มีมูลค่ามหาศาล เป็นเวลาเดียวกับที่สันติได้รู้จักกับดร. นพดล อินนา อดีตรองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเป็นกรรมการก่อตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และต่อมาได้อำลาชีวิตการเป็นอาจารย์ หันมาร่วมงานที่บริษัท เทเลคอม โฮลดิ้ง ในตำแหน่งของ SENIOR PROJECT EXCUTIVE จากประสบการณ์ทางวิชาการในเรื่องของเทคโนโลยีผสมผสานกับความรู้ในเชิงธุรกิจที่ได้มาจากเทเลคอมโฮลดิ้ง ทำให้ ดร. นพดล ตัดสินใจรวบรวมสมัครพรรคพวกที่เป็นอาจารย์ด้วยกัน หันมาร่วมมือกับสันติ โดยจัดตั้งเป็นบริษัท GRIFFIN HOLDING ทำหน้าที่เป็นโฮลดิ้ง คอมปานี เพื่อควบคุม ดูแลธุรกิจที่สันติไปร่วมลงทุนไว้ทั้งหมด พร้อมเป้าหมายในการขยายธุรกิจทางด้านไอทีอย่างจริงจัง ต่อมา GRIFFIN HOLDING ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเทคโนโลยี โอเปอเรชั่น กรุ๊ป หรือ "ท้อป กรุ๊ป" เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจที่วางไว้ ซึ่งสัดส่วนการถือหุ้นของท้อป กรุ๊ปนั้น ประกอบไปด้วย สันติ 80% ดร. นพดล 5% ที่เหลือเป็นของผู้บริหารในบริษัท ดร. นพดล รับตำแหน่งหน้าที่บริหารงานหลัก ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ มีทีมงานผู้บริหารส่วนใหญ่จะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย อาทิดร. ธัชชัย ชื่นชม อดีตอาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์ รับตำแหน่งผู้จัดการโครงการพิเศษ และมีสันตินั่งเป็นประธานกรรมการบริหาร งานชิ้นแรกที่ท้อปกรุ๊ปได้ประกาศตัวต่อสาธารณชนคือ การเข้าไปเป็นหนึ่งในผู้เข้าประกวดราคาจัดซื้อซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ของกรมอุตุนิยมวิทยา มูลค่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการอื้อฉาวที่สุดโครงการหนึ่งในเวลานี้ ด้วยขนาดของโครงการประกอบกับการเป็นวางรากฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับพยากรณ์อากาศ ทำให้ยักษ์ใหญ่ในวงการพลาดไม่ได้ ท้อปกรุ๊ป ได้สร้างความตื่นตะลึงให้กับวงการ ในฐานะผู้เข้าประมูลหน้าใหม่ที่สามารถไป ดึงเอายักษ์ใหญ่ทั้งหลายอย่าง ไอบีเอ็ม ไนเน็กซ์ และฮิวจ์ ร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อเข้าประมูลในโครงการนี้ แม้จะมีพันธมิตรแข็งปั๋งในวงการคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคม แต่การที่ท้อปกรุ๊ปต้องต่อกรกับยักษ์ใหญ่ที่ช่ำชองในธุรกิจประมูล และมีสายสัมพันธ์และสายป่านอย่าง กลุ่มยูคอม, ล็อกซเล่ย์ สหวิริยา, ไทยอีควิปเมนท์ รีเสิร์ช จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่ท้อปกรุ๊ปจะลุยฝ่าเข้าไป "เราเตรียมตัวเข้าประมูลโครงการนี้ตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว เพราะเป็นโครงการที่สำคัญมาก เป็นการวางรากฐานระบบคอมพิวเตอร์ให้กับกรมอุตุ ซึ่งนานปีจะมีสักครั้ง งานนี้เราจึงไม่ได้หวังผลกำไรมากไปกว่าชื่อเสียง" ดร. นพดลกล่าว แต่การเข้าประมูลของท้อปกรุ๊ปในครั้งนี้ ก็ไม่มีอะไรเสีย เพราะหากประมูลได้ท้อปกรุ๊ปจะได้ชื่อเสียงเพียงพอที่จะแจ้งเกิดในวงการไอทีได้ทันที แต่หากไม่ได้ต้องไปเริ่มใหม่ในการประมูลโครงการอื่น ๆ ซึ่งนอกเหนือจากโครงการนี้แล้ว ดร. นพดล และทีมงานได้เตรียมนำท้อป กรุ๊ปเข้าประมูลในโครงการประมูลคอมพิวเตอร์อื่น ๆ อีก โครงการขายตั๋วรถไฟด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่เตรียมจะเปิดประมูล รวมทั้งโครงการประมูลของหน่วยงานราชการอีก 3-4 โครงการที่อยู่ในเป้าหมายของท้อป-กรุ๊ป ในการประกวดราคาในโครงการเหล่านี้ ดร.นพดล จะทำในลักษณะของทีมงานและหากประมูลได้แล้ว จึงจะจัดตั้งเป็นในรูปของบริษัท เพื่อรับผิดชอบโครงการนั้น ๆ โดยเฉพาะ เนื่องจาก ท้อปกรุ๊ปเอง จะทำหน้าที่เป็นโฮลดิ้ง คอมปานี เพื่อลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่ง เส้นทางเดินในธุรกิจไอทีของท้อปกรุ๊ปนั้น ไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์เสียทีเดียว เพราะก่อนหน้านี้สันติ ได้ไปร่วมถือหุ้นในบริษัท แอ็ดวานซ์ วิชั่นซิสเต็มส์ (เอวีเอส) ซึ่งทำธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์วินโดว์ภาษาไทย ให้กับไมโครซอฟท์ และถือหุ้นในบริษัท สตูดิโอ 10 ทำธุรกิจอิมเมจ โปรเจกเตอร์ นอกจากนี้สันติ ยังเป็นหนึ่งในถือหุ้นจำนวน 14% ในบริษัทคอมลิงค์ เป็นผู้ดำเนินโครงการวางสายเคเบิลใยแก้วตามรางรถไฟ ให้กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ซึ่งมีกลุ่มซีพี เป็น ผู้ถือหุ้นหลัก นอกเหนือจากการประมูลโครงการคอมพิวเตอร์แล้วนั้น ท้อปกรุ๊ปยังต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างธุรกิจใหม่ ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากโครงการคอมลิงค์ ในเวลาเดียวกัน ด้วยมูลค่าตลาดอันมหาศาลของธุรกิจค้าเครือพีซี ทำให้ดร. นพดล ไม่ได้จำกัดตัวเองไว้เพียงธุรกิจประมูลคอมพิวเตอร์ในโครงการขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังเตรียมตัวเป็นตัวแทนจำหน่าย คอมพิวเตอร์พีซี และเวิร์คสเตชั่น ที่แม้ว่าการแข่งขันจะรุนแรงก็ตาม เป้าหมายของท้อปกรุ๊ปที่ดร. นพดล และสันติวางไว้คือจะมีธุรกิจที่ดำเนินอยู่อย่างครบวงจร และเติบโตจนมีบทบาทในวงการไม่แพ้กิจการของบุญรอด และนี่คืออีกเสี้ยวหนึ่งในชีวิตธุรกิจของสันติ ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ในโลกธุรกิจใบใหม่นี้ซึ่งไม่จำกัดแค่เบียร์สิงห์อีกต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us