Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
The Internet Economy             
 


   
search resources

Web Sites




หากย้อนกลับไปในศตวรรษ ที่ 15 รายได้ต่อหัวประชากรโลกเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ต่อปี อีกห้าร้อยปีถัดมาตัวเลขดังกล่าวได้ขยับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาจนเกือบถึง 3% ในครึ่งหลังของศตวรรษ ที่ 20 และตอนนี้ดูเหมือนว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกกำลังพุ่งขึ้นอีกเช่นกัน

หมดนี้เป็นการคาดหมายของแบรดฟอร์ด เดอลอง (J. Bradford DeLong) นักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์คเลย์เขาให้เหตุผลว่าเพราะอินเตอร์เน็ตเป็น เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนโลกไปอย่างรวดเร็วด้วยข้อมูลข่าวสารอันมหาศาล ซึ่งผู้คนสามารถแลกเปลี่ยนกันได้จากทุกมุมโลก

ตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่พุ่ง ทะยานในครั้งนี้จะโดดเด่นเหมือนเมื่อครั้งที่มีรถไฟและกระแสไฟฟ้าเป็นครั้งแรกในโลก และเป็นศักยภาพทางเศรษฐกิจที่เพิ่มพูนขึ้นจากการที่เราสามารถควบ คุมและจัดการกับข้อมูลข่าวสารได้นั่นเอง

กล่าวได้ว่า โลกยุคใหม่เริ่มต้น เมื่อสหรัฐฯ มีผลประกอบการทางเศรษฐกิจโดดเด่นในทศวรรษ 1990 โดยช่วงแรกยุโรปและญี่ปุ่นยังคงเป็นรองและคอยรับเอาเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ ไปใช้ปี 1970 รายได้ต่อหัวประชากรสหรัฐฯ จึงเพิ่มขึ้นสูงกว่าประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำถึง 31% ต่อมาในปี 1991 ความแตกต่างจึงลดลงมาอยู่ที่ 10% แต่ช่องว่างดังกล่าวกำลังทำท่าจะกว้างออกไปเป็น 22% ในปีนี้ เนื่องจากการเข้าสู่ยุคอินเตอร์เน็ต

แต่เดิมการค้าระหว่างประเทศเคยพึ่งพาสินค้าเป็นหลัก ตั้งแต่เครื่องเทศจนถึงเครื่องบิน การส่งสินค้าทำได้ง่ายดายกว่าการให้บริการ แต่มาวันนี้ อินเตอร์เน็ตกำลังทำให้บริการหลากรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการธนาคาร การศึกษา บริการที่ปรึกษา ธุรกิจค้าปลีก กระทั่งการพนัน ทำได้โดยง่ายดายโดยผ่านเว็บไซต์ต่างๆ โจเซฟ ควินลัน (Joseph Quinlan) นักเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศอาวุโส แห่งมอร์แกน สแตนเลย์ ดีน วิตเตอร์ บอก "อินเตอร์เน็ตจะเป็นกระดูกสันหลังของธุรกิจบริการ"

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อประเทศต่างๆ เข้าร่วมเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้ว ก็จะยิ่งเป็นการเร่งให้เกิดนวัตกรรมเพิ่มขึ้น "มีเหตุผลมากมายที่จะคิดว่าอินเตอร์ เน็ตจะนำไปสู่การหลอมรวมเอาความรู้ต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างรวดเร็ว" โจนาธาน อีตัน (Jonathan Eaton) นักเศรษฐ ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยบอสตันกล่าว เขาและทีมงานได้ศึกษาวิจัยและชี้ว่า หากพรมแดนของประเทศไม่ได้เป็นอุปสรรคแล้ว อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกจะเพิ่มถึงหนึ่งเปอร์ เซ็นต์เต็มทีเดียว

แต่นั่นก็เป็นเพียงการคาดหมายเท่านั้น เพราะในปัจจุบันสหรัฐฯ ยังคงเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในเรื่องอินเตอร์เน็ต โดยมีอัตราการใช้บริการอินเตอร์เน็ตส่วนบุคคลถึงกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโลก และใช้อินเตอร์เน็ตทางด้านการค้าถึงสามในสี่ของยอดรวม ปัญหาที่น่าคิดกันต่อก็คือ ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือใครจากทิศทางดังกล่าว เมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปลาย ทศวรรษ 1800 ต่อมาถึงต้นทศวรรษ 1900 สหรัฐฯ ได้สวมแทนที่อังกฤษในการเป็นผู้นำทางอุตสาหกรรม ส่วนหนึ่งก็เพราะสหรัฐฯ รับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เร็วกว่า

เมื่อถึงยุคอินเตอร์เน็ตซึ่งนวัตกรรมมีความสำคัญยิ่ง ความคิดใหม่ๆ มีการแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว การป้องกันการผูกขาดจะเป็นไปได้ยากขึ้น ประเทศใดที่สามารถสร้างและใช้นวัตกรรมได้เร็วกว่าต่างหากที่จะเป็นผู้นำหน้า

เราอาจจะต้องเน้นย้ำความแตกต่างระหว่างการปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร กับการคิดค้นเทคโนโลยีในยุคก่อนด้วย ในช่วงครึ่งหลังของ 1800s การผนวกรวมของทางรถไฟกับโทรเลขได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายการขนส่งสินค้าทางบกได้มากมาย และเร่งให้ความคิดใหม่ๆ แพร่กระจายไปทั่วการใช้โทรศัพท์และเครื่องบินอย่างแพร่หลายในศตวรรษที่ 20 ยิ่งเพิ่มพูนอัตราการ แพร่กระจายเทคโนโลยีมากขึ้น และขนาดของตลาดก็ขยายตัวไปเช่นเดียว กับผลตอบแทนจากความคิดใหม่ๆ

ทุกวันนี้เศรษฐกิจโลกกำลังขับเคลื่อนไปตามเวลาของอินเตอร์เน็ต ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีชิปในสายการผลิตน้อยลงสามารถหาชิ้นส่วนประกอบมาเพิ่มเติมได้จากอีกซีกโลก โดยแทบไม่ต้องยกนิ้ว เพราะคอมพิว-เตอร์ของซัปพลายเออร์สามารถตรวจสอบพบว่ามีปัญหาซัปพลายขาดได้โดย อัตโนมัติ ซอฟต์ แวร์เครื่องเสียงล่าสุดสามารถเข้าสู่ตลาดลูกค้านับล้านได้ในเวลาแค่สัปดาห์ เดียว ความรู้ทุกแขนงสามารถเข้าถึงได้ในเวลารวดเร็วจากผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ของกิกะ อิน ฟอร์เมชัน กรุ๊พ อิงค์ (Giga Information Group Inc.) ชี้ว่า การประหยัดค่าใช้จ่ายของภาคธุรกิจทั่วโลกที่เกิดจากอี-คอมเมิร์ซจะเพิ่มจาก 17 พันล้านดอลลาร์ในปี 1998 เป็น 1.25 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2002

นอกจากการขยายตัวของนวัตกรรมและการตัดค่าใช้จ่ายแล้ว อินเตอร์เน็ตยังจะเพิ่มการค้าโลกได้ด้วย เนื่องจากการมีข้อมูลข่าวสารที่ดีทำให้ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการต่างรู้ว่ามีสินค้าอะไรบ้างในตลาด สินค้าที่ดีกว่าและราคาถูกกว่ามีโอกาสที่จะแข่งขันในตลาดโลกได้ในยุคอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะสินค้าที่มีค่าขนส่งค่อนข้างต่ำ

ภาคธุรกิจเองก็ใช้อินเตอร์เน็ตในการเสาะหาซัปพลายเออร์ที่ดีที่สุด โดยสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย และทำให้เกิดนวัตกรรมได้เร็วขึ้น ส่วนภาคบริการเองก็จะได้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตอย่างมาก เช่น มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐฯ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันการศึกษาชั้นเยี่ยม ขณะนี้ก็สามารถ "ส่งออก" การศึกษา โดยรับสมัครนักศึกษาต่างชาติทางอินเตอร์เน็ตได้ ปีที่แล้วรายได้ในส่วนนี้ก็สูงถึงเกือบ 9,000 ล้านดอลลาร์

ธุรกิจการเงินเป็นอีกภาคหนึ่งที่จะส่งออกได้ด้วยอินเตอร์เน็ต เมื่อเร็วๆ นี้ญี่ปุ่นได้ผ่อนปรนข้อกำหนดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น ซึ่งจะทำให้โบรกเกอร์ระบบออนไลน์มีมากขึ้น

หากมองระดับโลก สหรัฐฯ ดูเหมือนจะได้เปรียบประเทศอื่นด้วยเหตุผลสองประการคือ หนึ่ง สหรัฐฯ เป็นผู้ริเริ่มเข้าสู่อินเตอร์เน็ตก่อน และสอง ตลาดสหรัฐฯ มีขนาดใหญ่มาก แต่ข้อแรกนั้นกำลังจะไม่ใช่ข้อได้เปรียบอีกต่อไป โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับยุโรป เพราะมีการคาดหมายว่าการใช้อินเตอร์เน็ตในครัวเรือนยุโรปจะเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าตัวในห้าปีข้างหน้า ในเอเชียแปซิฟิก ผู้ที่ใช้อินเตอร์ เน็ตสม่ำเสมอก็จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยสองเท่าในอีกสองปีข้างหน้า โดยเฉพาะในจีนและญี่ปุ่น

จำนวนบริษัทที่ไม่ใช่สัญชาติอเมริกันที่ใช้อินเตอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ในญี่ปุ่นจะมีการใช้ทั้งในลักษณะของธุรกิจต่อผู้บริโภคและธุรกิจต่อธุรกิจ จากผลการศึกษาร่วมของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น และไพร้ซ วอเตอร์เฮ้าส์ คอนซัลแทนท์ (Price Waterhouse Consultant Co.) พบว่าการใช้อินเตอร์เน็ตในลักษณะธุรกิจต่อธุรกิจในญี่ปุ่นนั้นสูงถึงราว 79 พันล้านดอลลาร์ ของอี-คอมเมิร์ซในญี่ปุ่นทั้งหมดในปี 1998

ทั้งยุโรปและญี่ปุ่นต่างก็เรียนรู้สิ่งที่บริษัทอเมริกันทำอยู่ ยุโรปอาจล่าช้าไปบ้าง แต่ปีที่แล้วก็มีไซต์ที่ให้บริการธุรกิจธนาคารแบบออนไลน์ถึง 878 ไซต์ด้วยกัน และเพิ่มขึ้นอีกสองเท่าในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยราวสองในสามเปิดให้ทำธุรกรรมระบบออนไลน์ด้วย

นอกจากนั้น บางประเทศเช่นกลุ่มสแกนดิเนเวียและสหราชอาณาจักรก็มีอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตสูงกว่าสหรัฐฯ ในช่วงสามปีที่ผ่านมา การใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีข้อมูลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของอังกฤษ ได้เพิ่มขึ้นถึงหนึ่งในสาม

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคประการหนึ่งก็คือ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและติดตั้งไซต์สำหรับอี-คอมเมิร์ซสูงถึง 1 ล้านดอลลาร์ โดยส่วนใหญ่เป็นค่าจ้างแรงงาน ทำให้บริษัทขนาดเล็กยังลังเลที่จะเข้าไปทำธุรกิจผ่านเว็บ สิ่งชักจูงก็คือตลาดสหรัฐฯ ที่มีขนาดใหญ่มาก จึงใช้เป็นห้องทดลองสินค้าได้อย่างดี ผู้ผลิตสามารถนำสินค้าเข้าไปทดลองตลาดได้อย่างรวดเร็ว และค้นหาข้อผิดพลาดและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

ส่วนในยุโรปอุปสรรคที่ยังต้องแก้ให้ตกก็คือความแตกต่างในเรื่องภาษาและวัฒนธรรมที่มีหลากหลาย จึงต่างกับตลาดอเมริกันที่ค่อนข้างมีเอกภาพ นอกจากนั้นการที่หลายๆ ประเทศในยุโรปยังคงคิดค่าบริการโทรศัพท์ในประเทศตามเวลาที่ใช้ ทำให้การขยายการใช้อินเตอร์เน็ตยังเป็นไปได้ยาก

เมื่อมองจากด้านของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ก็ยังมีความนิยมที่แตกต่างกันเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในเว็บไซต์ โนแลนอธิบายว่า ชาวยุโรปส่วนใหญ่คิดว่าเว็บไซต์ของอเมริกันนั้นมีสีสันมากเกินไป ในขณะที่ไซต์จากทางยุโรปจะมุ่งเน้นไปที่ผู้บริโภคเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอีกเช่น ในอเมริกาสีแดงหมายถึงความรัก แต่ในสเปนสีแดงจะโยงไปถึงแนวคิดสังคมนิยม เป็นต้น

ในเชิงการทำตลาด สินค้าที่ประสบความสำเร็จก็ยังคงเป็นยี่ห้อที่ทำตลาดในระดับท้องถิ่น และใช้ภาษาของผู้บริโภคในถิ่นนั้นๆ หากจะต้องมีเว็บไซต์ซ้ำๆ ใน ภาษาต่างๆ ความได้เปรียบก็จะกลายเป็นข้อเสียเปรียบแทน

ส่วนเอเชีย แม้จะยังตามหลังตลาดยุโรป แต่ก็มีโอกาสที่จะเติบโตได้ในยุคอินเตอร์เน็ต โดยมีประเทศที่เป็นกุญแจสำคัญคือจีนและญี่ปุ่น ขณะนี้มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในจีนกว่า 4 ล้านราย โดยจะเพิ่มขึ้นเป็น 27 ล้านรายในอีกสองปีข้างหน้า

ที่ญี่ปุ่นซึ่งได้ชื่อว่ามีความก้าว หน้าทางเทคโนโลยีและทักษะในการทำตลาดระดับโลก ปรากฏว่ามีผู้ใช้อิน-

เตอร์เน็ตเพียง 17 ล้านราย หรือ 13% ของจำนวนประชากรเท่านั้น ทั้งนี้เนื่อง จากยังขาดแหล่งทุน และวิศวกรชั้นเยี่ยมเองก็ยังยึดติดกับการทำงานที่มั่นคง อีกทั้งระบบสนับสนุนอินเตอร์เน็ตเองก็ยังไม่พร้อมดีนัก

แต่แนวโน้มก็เป็นไปในทางที่ดีขึ้น เห็นได้จากตัวเลขการสั่งซื้อพีซีใช้ในบ้านที่เพิ่มขึ้นกว่า 80% ในช่วงไตรมาสที่สอง เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มหันไปนิยมใช้บริการในอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น และคาดกันว่าการลงทุนทางธุรกิจ จะช่วยเพิ่มตลาดบริการเทคโนโลยีข้อมูลถึงราว 26% ในอีกห้าปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตามกุญแจดอกสำคัญสำหรับยุคอินเตอร์เน็ตก็คือว่า นวัตกรรมทางการเงินจะแพร่กระจายได้เร็วเท่ากับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีหรือไม่ ผู้นำอย่างสหรัฐฯ อาจจะมีความพร้อมอยู่พอสมควร แต่ในยุโรปและญี่ปุ่น บรรดาธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ยังคงผูกอยู่กับรูปแบบองค์กรธุรกิจแบบเก่า ตอนนี้จึงดูเหมือนว่าสหรัฐฯ ยังคงรั้งตำแหน่งผู้นำและพร้อมที่จะก้าวไปสู่สิ่งใหม่ต่อไปอีก และหากการคิดค้นนวัตกรรมทางการเงินของสหรัฐฯ แพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว การเข้าสู่ยุค

อินเตอร์เน็ตก็จะเป็นจริงในระดับโลกเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us