Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538
ทัวร์เทคโนโลยี ระดับไฮคลาสเมื่อเลขาฯไอบีเอ็มกลายเป็นนางฟ้าติดปีก             
 


   
search resources

SMEs
Marketing
จินตนา สุเมธวานิชย์




อาชีพเลขานุการ โอกาสจะเติบโตไปเป็นผู้บริหารระดับสูงคงทำได้ยากอย่างมากก็ไต่เต้าจากเลขานุการของผู้บริหารระดับเล็ก ๆ ไปเป็นระดับใหญ่ขึ้น หรือขยับไปเป็นเลขานุการของฝ่ายหรือแผนก" เสียงสะท้อนของคนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงจุดสูงสุดของวิชาชีพเลขานุการ แต่ในยุคปัจจุบัน หนทางของวิชาชีพของเลขานุการดูเหมือนจะไม่ได้ตีบตันอีกต่อไป เลขานุการของผู้บริหารหลาย ๆ คน เริ่มใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ที่ได้มาก่อร่างสร้างตัวจนมีธุรกิจของตัวเอง เช่นกรณีของ "จินตนา สุเมธวานิชย์" อดีตเลขานุการบริหาร ฝ่ายการตลาดธุรกิจการเงินและการธนาคาร บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย ที่มีโอกาสสร้างธุรกิจที่เรียกว่า "ทัวร์เทคโนโลยี" สำหรับลูกค้าที่เป็นผู้บริหารระดับสูง มาจากประสบการณ์การเป็นเลขานุการ จินตนา นับเป็นหนึ่งในพนักงานกว่าร้อยคนในไอบีเอ็ม ประเทศไทย ที่ยื่นใบลาออกโดยสมัครใจ ตามโปรแกรม VOLUNTARY TRANSITION PROGRAM อันเป็นนโยบายรัดเข็มขัดของยักษ์สีฟ้า เธอใช้ชีวิตการเป็นเลขานุการบริหาร ฝ่ายการตลาดธุรกิจการเงินและการธนาคารมาเป็นเวลาเกือบ 6 ปี ให้กับเจ้านายที่ผลัดเปลี่ยนกันมาถึง 4 คน และในปัจจุบันเจ้านายของเธอเหล่านี้ ก็ได้สร้างชื่อเสียงอยู่ในแวดวงธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ศุภกิจ ทองเจือ เจ้านายคนแรกในไอบีเอ็ม ตามมาด้วยพัลลภ นาคพิทักษ์ ซึ่งปัจจุบันนั่งเป็นกรรมการผู้จัดการอยู่บริษัทล็อกซบิท เครือของล็อกซเล่ย์ ทำธุรกิจวางระบบคอมพิวเตอร์ให้กับลูกค้าในกลุ่มธนาคาร ตามมาด้วยสมประสงค์ บุญยะชัย ลาออกมาร่วมงานกับกลุ่มชินวัตร และนั่งเป็นกรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (เอไอเอส) ส่วนวนารักษ์ เอกชัย ก็ได้รับการ โปรโมตให้เป็นกรรมการผู้จัดการ ไอบีเอ็ม ประเทศไทยคนปัจจุบัน แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะมองว่าอาชีพเลขานุการของเธอจะไม่มีโอกาสก้าวหน้า อย่างมากก็เป็นเพียงแค่เลขานุการอาวุโส แต่สำหรับจินตนาแล้ว เธอกลับมองว่าประสบการณ์ที่บ่มเพาะมาถึง 6 ปีนั้นสำคัญยิ่งกว่าตำแหน่งงาน เพราะนอกจากโอกาสรู้จักผู้บริหารระดับสูงเป็นจำนวนมากแล้ว เธอยังได้เรียนรู้เคล็ดลับในการตลาดจากบรรดานักการตลาดเหล่านี้ อันเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในวันข้างหน้า แต่เมื่อเธอตั้งครรภ์ ทำให้ต้องการมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น จินตนาจึงตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อมาทำธุรกิจส่วนตัว ประจวบเหมาะกับไอบีเอ็มออกโปรแกรมให้พนักงานลาออกได้โดยสมัครใจพอดี เธอจึงยื่นใบลาออกมาพร้อม ๆ กับเพื่อนร่วมงานอีกหลายคน "ในเวลานั้น ก็มาดูว่าจะทำธุรกิจอะไรได้บ้างที่มีคู่แข่งไม่มาก ก็พบว่ามีเรื่องธุรกิจเดินทางไปดูงานทางด้านเทคโนโลยี แม้ว่าบริษัททัวร์จะมีอยู่เยอะ แต่ที่เจาะลูกค้าที่เป็นผู้บริหารระดับสูงแล้วมีอยู่น้อยมาก เพราะต้องอาศัยทักษะ และประสบการณ์ที่ดีมาถึงจะทำได้ ดังนั้นคู่แข่งใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาคงทำไม่ได้ง่าย ๆ" จินตนาเล่า วันที่ 1 กันยายน 2536 บริษัททราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อประกอบธุรกิจพาลูกค้าที่เป็นผู้บริหารระดับสูงเดินทางไปดูงานแสดงสินค้าและสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีในต่างประเทศ รวมทั้งการรับจัดพาลูกค้าไปประชุมหรือดูงานในต่างประเทศ จินตนา ยอมรับว่า วิชาชีพเลขานุการเป็นประโยชน์กับเธออย่างมาก ในการทำธุรกิจทัวร์เทคโนโลยีสำหรับผู้บริหารระดับสูง หรือเอ็กเซ็กคูทีฟทัวร์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการหาลูกค้า ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากเจ้านายเก่า และผู้บริหารระดับสูงของธนาคารต่าง ๆ ที่เคยติดต่อเป็นประจำในช่วงที่ทำงานในไอบีเอ็ม งานชิ้นแรกของทราเวลเทคโนโลยี จึงเป็นผลพวงจากประสบการณ์ที่ได้มาจากการเป็นเลขานุการอย่างแท้จริง จินตนาได้รับเลือกให้จัดพาลูกค้าระดับ CHIEF INFORMATION OFFICER (CIO) ของไอบีเอ็ม ประเทศไทย ประมาณ 20 คน เดินทางไปดูงานทางด้านเทคโนโลยีที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 10 วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้บริหารระดับสูงจากธนาคารต่าง ๆ เช่น วิชิต อมรวิรัตน์สกุล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานเทคโนโลยี ธนาคารไทยพาณิชย์ ภารกิจที่เธอได้รับจากไอบีเอ็ม คือจะต้องจัดทำโปรแกรมการเดินทาง จองสายการบิน จัดเตรียมโรงแรม ร้านอาหาร รถรับส่ง แต่ที่สำคัญทุกอย่างจะต้องทำในระดับ "ชั้นหนึ่ง" ทั้งสิ้น ซึ่งไอบีเอ็มให้เวลาในการเตรียมงานเพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้น "งานประเภทนี้ มองดูแล้วเหมือนง่าย แต่หากทำให้ดีจริง ๆ แล้ว ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นประสบการณ์ที่แล้วมาช่วยได้อย่างมาก" เมื่องานแรกผ่านพ้นไปได้ด้วยดีงานชิ้นที่สองก็ตามมา เมื่อไอบีเอ็ม สิงคโปร์ จัดงาน ไอบีเอ็ม เอเชีย แปซิฟิก โรดโชว์ คือการนำเทคโนโลยี เกี่ยวกับระบบการเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติ นำมาแสดงให้กับบรรดาลูกค้าธนาคารในไทย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีของไอบีเอ็ม ทราเวลเทค ของจินตนาก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดงานอีกครั้ง เมื่อหมดงานไอบีเอ็ม จินตนาเริ่มจัดทัวร์เทคโนโลยีสำหรับผู้บริหารระดับสูง ตามคอนเซ็ปต์ที่วางไว้ โดยประเดิมงานแรก ณ เมืองแฮนโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี มีชื่อว่า CEBIT ซึ่งเป็นงานแสดง สินค้าด้านเทคโนโลยีชั้นนำงานหนึ่งของยุโรป ผู้ร่วมเดินทางไปกับจินตนา ล้วนแต่เป็นผู้บริหารระดับสูงของธนาคารและมีบางส่วนที่เป็นผู้บริหารของบริษัทโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์ของไทย รวมแล้วประมาณ 20 คน อาทิ ธีระ อภัยวงศ์ จากธนาคารกรุงเทพและผู้บริหารงานธนาคารไทยทนุ ธนาคารทหารไทย นาถ ลิ่วเจริญ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มซีดีจีกรุ๊ป และผู้บริหารของไอบีเอ็ม "ราคาบริการของเรา จะเป็นการกำหนดลูกค้า เพราะเราจะจองเที่ยวบิน โรงแรม ภัตตาคาร ระดับเฟิรสท์คลาสทั้งหมด ดังนั้นลูกค้าที่เดินทางไปกับเราจะเป็นผู้บริหารระดับสูงทั้งหมด" แน่นอนว่า ประสบการณ์ในวิชาชีพเลขานุการในไอบีเอ็มช่วยเธอได้อย่างมากทีเดียว เพราะลูกค้าของจินตนาส่วนใหญ่ ล้วนคุ้นเคยกับเธอมาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะลูกค้าทางด้านธนาคาร งานชิ้นสำคัญของเธอในปีนี้ คืองาน TELECOM' 95 ณ กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ในวันที่ 3-11 ตุลาคม เรียกว่าเป็นงานยักษ์ของคนในวงการโทรคมนาคมที่ต้องเฝ้ารอ เพราะ 4 ปี จะจัดขึ้นเพียงครั้งเดียว ในวันนี้เธอมีลูกค้าที่ตอบรับมาแล้วประมาณ 150 คน แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ล้วนเป็นผู้บริหารในวงการโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทยแทบทั้งสิ้นเรียกว่าเมื่อเอ่ยนามบริษัทต้นสังกัดแล้วทุกคนต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี จินตนาเล่าว่า แม้ว่างานส่วนใหญ่ของเธอจะไม่จำเป็นต้องใช้คนมากเพราะเธอจะเป็นผู้วางแผนงานทั้งหมด ทั้งในเรื่องการหาลูกค้า และจัดตาราง จองตั๋วเครื่องบิน หรือจองโรงแรมที่พัก และจะจ้างไกด์ทัวร์ในประเทศเหล่านั้นเป็นผู้ให้บริการลูกค้า ในช่วงเริ่มต้นกิจการเธอมีพนักงานร่วมทีมเพียงแค่ 2-3 คนเท่านั้น แต่ทุกวันนี้จินตนาต้องเพิ่มพนักงานอีก 6-7 คน เพื่อรองรับกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นเกินความคาดหมาย แม้งานจะเดินไปด้วยดี แต่ใช่ว่าอุปสรรคจะไม่มี เพราะความที่เป็นบริษัททัวร์หน้าใหม่ จินตนา เล่าว่า ในคราวที่ต้องติดต่อกับสายการบินเพื่อจองที่นั่งเฟิร์สท์คลาส สายการบินบางแห่งถามเธอว่ามีลูกค้าไปด้วยแน่หรือ หรือบางแอร์ไลน์จะส่งคนดูว่าที่สถานที่ทำงานของทราเวลเทคว่ามีจริงหรือไม่ แต่สำหรับอดีตเลขานุการอย่างจินตนาแล้ว เธอเชื่อหวังไว้ว่าทราเวลเทคโนโลยี คงจะสามารถสร้างมิติใหม่ให้กับธุรกิจทัวร์ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us