Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538
ในตลาดย่อมมีช่องว่างเสมอสูตรสำเร็จของไอ.พี.เทรดดิ้ง             
 


   
search resources

Marketing
ไอ.พี.เทรดดิ้ง.,บจก
อุทัย ธเนศวรกุล




ธุรกิจของเราเริ่มต้นเมื่อปี 2515 ในบ้านหลังหนึ่งที่เป็นทั้งโรงงาน สำนักงาน ร้านค้าและที่พักอาศัย ขณะนั้นไม่มีใครคาดคิดว่า ธุรกิจเล็ก ๆ ซึ่งมีพนักงานเพียง 2-3 คนโรงงานขนาดย่อมกว่าโรงรถ มียอดขายปีละ 400,000 บาท จะเติบโตขึ้นมาจนมีพนักงานกว่า 400 คน โรงงานขนาด 15 ไร่ และยอดขายเกือบ 1,000 ล้านบาทในปัจจุบัน" อุทัย ธเนศวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอ.พี. เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวถึงเส้นทางการเติบโตของบริษัทอย่างภาคภูมิใจ แม้ว่าตัวเลขยอดขาย 1,000 ล้านบาทของไอ.พี.เทรดดิ้งจะดูไม่มากมายนักถ้าเทียบกับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอุปโภค-บริโภคทั้งหลาย แต่ความสำเร็จของบริษัทที่ดำเนินการโดยคนไทย 100% ไม่สนใจการร่วมทุนกับต่างชาติ พัฒนาและผลิตสินค้าเอง มีทีมขาย ทีมการตลาด ทีมโฆษณา ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายเอง จนสามารถสร้างความสำเร็จให้กับสินค้าของบริษัทได้ทุกตัว นับเป็นเรื่องน่าสนใจไม่น้อย อุทัย ธเนศวรกุล เริ่มก่อตั้งไอ.พี.เทรดดิ้ง หลังจากล้มเหลวในการเรียนวิชาเคมี จากวู้ดสเตอร์ โพลิเทคนิค อินสติติว ออฟ เทคโนโลยี สหรัฐอเมริกา กลับมาอยู่เมืองไทยไม่นาน โดยเริ่มต้นด้วยการนำเข้าน้ำยาทำความสะอาดพื้นจากสหรัฐอเมริกามาทำตลาด แต่ต้องจำหน่ายในราคาสูงมาก จึงพยายามคิดค้นกรรมวิธีผลิตเพื่อทำการผลิตในประเทศ ปี 2515 สินค้าตัวแรกของบริษัท (ขณะนั้นใช้ชื่อ อินเตอร์โปรดักส์ มาร์เก็ตติ้ง) คือน้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์วิกซอลก็เริ่มออกสู่ตลาด ทำยอดขายเดือนละ 30,000 บาท ปี 2520 บริษัทได้แยกฝ่ายจัดจำหน่ายและฝ่ายผลิตออกจากกันโดยจดทะเบียนตั้งบริษัท ไอ.พี.เคมิคอล จำกัด ขึ้นมาเป็นผู้ผลิตสินค้าประเภท HOUSEHOLD CLEANER ส่วนบริษัทผู้แทนจำหน่ายคือ ไอ.พี. เซลส์ จำกัด มียอดขายเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 1 ล้านบาท ปี 2524 มีการปฏิรูปการผลิตและการพัฒนาสินค้าใหม่ โดยการสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐาน พร้อมห้องแล็บที่ทันสมัย ปี 2527 เปลี่ยนชื่อบริษัทผู้แทนจำหน่ายมาเป็นบริษัท ไอ.พี.เทรดดิ้ง จำกัด พร้อมปรับปรุงระบบการบริหารใหม่ตามมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัท เนื่องจากสินค้า HOUSEHOLD และ PERSONAL CARE ของบริษัทประสบความสำเร็จอย่างสูง มียอดขายขยับขึ้นเป็นปีละ 50 ล้านบาท ปี 2528-2530 เป็นช่วงเวลาแห่งความสำเร็จในการบุกตลาดสินค้าประเภท LAUNDRY AID โดยเฉพาะน้ำยาอัดกลีบไฮยีน สามารถครองตลาดได้เป็นอันดับหนึ่ง ปี 2534-2536 บริษัทเริ่มเจาะตลาดสินค้าประเภท TOILETRIES ทั้งโคโลญ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นเหงื่อและแชมพู ภายใต้ยี่ห้อแดนซ์และโฟกัส โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว ซึ่งได้รับการต้อนรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี นอกจากอุทัยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งแล้ว วุฒิกร กีรติรักษกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ซึ่งเข้ามาร่วมงานกับไอ.พี.เทรดดิ้ง เมื่อ 11 ปีก่อน ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาด นับเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในบริษัทอีกคนหนึ่ง วุฒิกรเข้ามาวางระบบงานสำคัญ ๆ ให้กับไอ.พี.เทรดดิ้ง ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งทีมขายขึ้นมารับผิดชอบการทำตลาดสินค้าแทนการว่าจ้างให้อินซ์เคปเป็นผู้แทนจำหน่ายให้เพราะไม่ต้องการพึ่งจมูกคนอื่นหายใจ นอกจากนี้ยังพัฒนาทีมงานการตลาดซึ่งเดิมมีอยู่เพียง 2-3 คนรวมทั้งตั้งทีมวิจัยการตลาดจากเดิมที่จ้างให้บริษัทวิจัยทำให้ โดยนำประสบการณ์การทำงาน 15 ปีที่บริสตอล-ไมเยอร์มาใช้อย่างเต็มที่ ช่วงที่วุฒิกรทำงานกับบริสตอล-ไมเยอร์นั้น เขารับผิดชอบงานในฐานะผู้จัดการผลิตภัณฑ์อยู่นานถึง 10 ปี ช่วงเวลาที่ทำงานที่เอื้ออำนวยให้เขาได้เรียนรู้งานด้านการตลาดและการขายอย่างจริงจังเพราะขณะนั้นบริสตอล-ไมเยอร์เองอยู่ในช่วงการลงหลักปักฐานหลังจากที่ดึงสินค้า อาทิ มัมและอื่น ๆ ซึ่งเคยให้แจ๊กเจียเป็นผู้แทนจำหน่ายกลับมาทำตลาดเอง ปัจจุบันสินค้าของไอ.พี.เทรดดิ้งล้วนแล้วแต่มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ในระดับแนวหน้าทั้งสิ้น ไม่ว่า จะเป็นผลิตภัณฑ์วิกซอล ที่มีส่วนแบ่งตลาดกว่า 50% ของตลาดรวมมูลค่า 500-600 ล้านบาท "ไฮยีน" มีส่วนแบ่งในตลาดน้ำยาอัดกลีบอยู่ 60% จากตลาดรวมมูลค่า 400-500 ล้านบาท "วิซ" เป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งตลาด 40-50% ของตลาดรวมมูลค่า 200 ล้าน "โฟกัส" ระงับกลิ่นเหงื่อ มีส่วนแบ่งตลาด 15 % หรือเป็นอันดับสองในตลาดรวมรองจากเฟรช แอนด์ ดรายแต่เป็นอันดับหนึ่งของเซกเมนต์น้ำยาระงับกลิ่นเหงื่อของผู้ชาย "แดนซ์โคโลญน์" มีส่วนแบ่งประมาณ 15 % ของตลาดรวมมูลค่า 800-900 ล้านบาท หรือเป็นอันดับ 2 รองจากเอเวอร์เซนส์โคโลญน์ ซึ่งเดิมเคยเป็นสินค้าในเครือไอ.พี.เทรดดิ้งมาก่อน แต่เมื่อปลายปี 2531 หุ้นส่วนบริษัทมีความขัดแย้งกันจนถึงขั้นแยกหุ้น เอเวอร์เซนส์จึงไปอยู่กับบริษัทไบโอ คอนซูเมอร์ พร้อมกับบริษัทผลิตยาอย่างไบโอแล็บ ขณะที่ไอ.พี.เทรดดิ้งได้วิกซอลและไฮยีนไว้ทำตลาดต่อไป ในทัศนะของวุฒิกรแล้วสิ่งที่ทำให้สินค้าของบริษัทประสบความสำเร็จประกอบด้วยหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการมีหน่วยงานต่าง ๆ ภายในบริษัท อย่างฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายพัฒนาสินค้า ฝ่ายวิจัย รวมทั้งบริษัทโฆษณาครบวงจร ประกอบกับการบริหารในระบบ DECENTERIZE คือกระจายอำนาจการตัดสินใจให้กับระดับล่าง ทำให้ตัดสินใจได้รวดเร็ว แต่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุด คือ การเลือกเข้าสู่ตลาด NICHE MARKET เท่านั้น "ตลาดที่เราสนใจจะต้องเข้าข่ายใน 3 อย่างนี้ คือเป็นตลาดขนาดเล็กที่มีแนวโน้มเติบโตสูง เป็นตลาดที่มีการแข่งขันยังไม่สูงหรือเป็นตลาดใหม่ไปเลยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรีเสิร์ช เราไม่สนใจแมส มาร์เก็ต อย่างแชมพู ผงซักฟอก เพราะเรารู้ถึงข้อจำกัดของบริษัทดีว่าไม่สามารถทุ่มเงินแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ได้" วุฒิกรกล่าวพร้อมกับยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมถึงสินค้าของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบันเป็นตัวอย่างประกอบ เริ่มจากน้ำยาอัดกลีบไฮยีน ที่บริษัทแนะนำเข้าสู่ตลาดในปี 2528 ซึ่งเป็นช่วงที่มีคู่แข่งในตลาดน้อยมาก มีเพียงอีซี่ ออน ที่นำเข้าจากต่างประเทศจำหน่ายอยู่เพียงยี่ห้อเดียว แต่ก็สามารถขายได้ดีบริษัทมองเห็นช่องว่างทางการตลาดจึงเข้ามาและพัฒนาตลาดอย่างต่อเนื่อง สำหรับโฟกัสนั้น บริษัทเห็นช่องว่างตลาดโรลออนสำหรับผู้ชาย ที่ยังไม่มีใครเข้ามาจับอย่างจริงจัง บริษัทจึงเข้ามาสร้างตลาด ด้วยภาพยนตร์โฆษณาที่น่าสนใจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ประกอบกับสโลแกนที่ติดปากในเวลาต่อมา คือ "กินไม่ได้แต่เท่" ทำให้โฟกัสมาแรงตามหลังโฆษณาไปด้วย ด้านแนวทางการขยายโอกาสทางธุรกิจของไอ.พี.เทรดดิ้งนั้น อุทัยกล่าวว่า ตลาดในประเทศจะเน้นการแนะนำสินค้าเข้าสู่ตลาดปีละ 1-2 ตัว รวมทั้งยังเตรียมศึกษาแนวทางการนำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำเงินมาใช้ในการขยายตลาดให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ส่วนตลาดต่างประเทศก็จะเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยจีนซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการหาหุ้นส่วนที่ดีเป็นเป้าหมายต่อไป จากปัจจุบันที่ไอ.พี.เทรดดิ้งมีผู้แทนจำหน่ายในบังกลาเทศ อินโดนีเซีย ฮ่องกง "ผมอยากให้ประเทศอื่นรู้ว่าคนไทยไม่แพ้ใครทั้งนั้น ในเรื่องการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้การทำตลาดเราก็เป็นอินเตอร์ สิ่งที่เราขาดเป็นเพียงเรื่อง การทุ่มเงินเท่านั้น" อุทัยกล่าวและยังย้ำว่าทุกตลาดที่ไอ.พี.เทรดดิ้งเข้าไปจะต้องเป็น NICHE MARKET อันเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จมาถึงทุกวันนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us