|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2538
|
|
ในขณะที่ภาคหนึ่งของปิ่น จักกะพาก ประธานกรรมการบริหารกลุ่มเอกธนกิจกำลังพยายามทุกวิถีทางเพื่อได้เป็นเจ้าของแบงก์ใดแบงก์หนึ่งในเมืองไทยให้ได้
อีกภาคหนึ่งของยุทธศาสตร์การค้าที่ดิน ปิ่นก็ยังตะลุยไม่หยุดยั้ง โดยเขาได้ใช้บริษัท เอกโฮลดิ้งเป็นฐานที่จะบุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เฉกเช่นเดียวกับการใช้บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์เอกธนกิจตะลุยงานทางด้านการเงิน
ปิ่นยังใช้กลยุทธ์เทกโอเวอร์ หรือเข้าไปถือหุ้นในโครงการอสังหาริมทรัพย์อยู่ในทุกครั้งที่โอกาสอำนวยล่าสุด เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปิ่นได้ให้เอกโฮลดิ้งเข้าไปซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ปลาแดง จำกัด จากบริษัท ไทยธุรกิจ จำกัด จำนวน 1,804,496 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 40.10 ของทุนจดทะเบียนในราคาหุ้นละ 80 บาท
บริษัท ปลาแดง จำกัด เป็นบริษัทที่มีบริษัท อิตัลไทย และบริษัท ไทยธุรกิจ จำกัด เป็นเจ้าของ ไทยธุรกิจเป็นบริษัทที่มีชื่อปิ่นถือหุ้นอยู่ด้วยแล้ว และมีโครงการที่จะทำออฟฟิศบิลดิ้งปลาแดงคอมเพล็กซ์ ตั้งแต่ปี 2535 ในที่ดินประมาณ 6 ไร่ตรงข้ามตึกอิตัลไทยบนถนนเพชรบุรี ลักษณะโครงการเป็นออฟฟิสให้เช่า 43 ชั้น มีพื้นที่ขายประมาณ 68,000 ตร.ม. มีมูลค่าประมาณ 2,200 ล้านบาท โครงการจะแล้วเสร็จต้นปี 2540
สำหรับการเข้าไปซื้อหุ้นครั้งนี้ ปิ่นคาดหวังไว้เป็นอย่างมากว่าผลประโยชน์ที่ทางบริษัทจะได้รับก็คือโครงการปลาแดงคอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นโครงการที่ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีมีผู้ร่วมทุนที่มีศักยภาพคือกลุ่มอิตาเลียนไทยฯ ซึ่งสามารถพัฒนาโครงการนี้ให้สำเร็จโดยเร็ว อันจะส่งผลให้บริษัทมีผลกำไรที่ดี ในอนาคต
เอกโฮลดิ้งกำลังเดินหน้าขยายการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์แบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง
ย้อนกลับไปเมื่อปลายปี 2534 กลุ่มเอกธนกิจได้เข้าไปซื้อหุ้นใหญ่จากบริษัท ฟิลาเท็กซ์ ผู้ประกอบการยางยืดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในห้วงเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์อยู่ในช่วงตกต่ำซบเซา และบริษัท ฟิลาเท็กซ์ก็กำลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ
ด้วยกลยุทธ์อันชาญฉลาดของปิ่น เขาเลือกซื้อบริษัท ฟิลาเท็กซ์ เพราะเห็นคุณค่าในประโยชน์ที่จะได้จากการสร้างฐานเงินสดหมุนเวียนในอนาคต เพื่อขยายอาณาจักรของกลุ่มในช่วงเวลาสั้น ด้วยความคล่องตัวที่เกิดจากช่องโอกาสของกฎเกณฑ์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทฟิลาเท็กซ์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "เอกโฮลดิ้ง" และเริ่มขยายบทบาททางด้านอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่นั้นมา
ปัจจุบันเอกโฮลดิ้งกำลังพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์พร้อม ๆ กัน หลายโครงการ เช่น โครงการอาคารสำนักงานวันเพลส ตรงข้างห้างเซ็นทรัลชิดลม ที่มาของการทำโครงการนี้เกิดขึ้นเพราะหลังจากการเข้าซื้อหุ้นบริษัท ฟิลาเท็กซ์ ปิ่นก็ได้เข้าไปซื้อตึกสาธรสยาม หรือตึกเอกอาคารปัจจุบันบนถนนวิทยุจากบริษัท คริสเตียนี แอนด์ นีลเส็น (ไทย) ในราคา 537.5 ล้านบาท อายุสัญญาเช่า 35 ปี
พอต้นปี 2536 ปิ่นกลับนำเอาสิทธิการเช่าพื้นที่ตรงนี้ไปแลกกับสิทธิการเช่าพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ สัญญาเช่า 28 ปี ของกลุ่มยูนิเวสท์ กรุ๊ป ซึ่งก็คือโครงการวันเพลสที่กำลังทำการก่อสร้าง การแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นนี้เป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับยูนิเวสท์ กรุ๊ป ในตอนนั้น แต่ปิ่นเองก็ได้ผลกำไรจากตรงนี้ถึง 32 ล้าน
หลังจากนั้นก็ไปซื้อบริษัท ท่าจีน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินประมาณ 2 ไร่ ตรงซอยร่วมฤดี ซึ่งมีแผนที่กำลังก่อสร้างโครงการวันทาวเวอร์ซึ่งเป็นโครงการคอนโดพักอาศัย 2 หลัง จำนวน 206 ยูนิต ปัจจุบันที่ดินตรงนี้เป็นที่จอดรถของพนักงานในเครือบริษัท เอกธนกิจ และหลังจากเลื่อนการก่อสร้าง มาหลายครั้งก็มีแนวโน้มว่าจะมีการก่อสร้าง แน่นอนภายในปีนี้
รวมทั้งการเข้าไปร่วมทุนกับบริษัท รีเจนซี่วรรณ ในซอยมหาดเล็กหลวงเพื่อทำโครงการคอนโดพักอาศัย ซึ่งกำลังทำการก่อสร้าง จะเสร็จประมาณปี 2540
เท่านั้นยังไม่พอในเดือนกรกฎาคม 2537 บริษัทยังได้เข้าไปเทกโอเวอร์ บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 65% โดยหวังจะให้เป็นฐานในการขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ
ปิ่นกำลังต้องใช้เงินมหาศาลในการทำโครงการพัฒนาที่ดินทั้งหมดนี้ ทุกโครงการของเขาเป็นที่ดินแปลงที่ดีอยู่ใจกลางเมือง โอกาสในการประสบความสำเร็จตรงนี้มีค่อนข้างมาก นอกจากการ หาเงินทุนซึ่งไม่น่ามีปัญหาแล้ว เขาจำเป็นต้องมีทีมงานมืออาชีพ ที่จะทำให้รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นรายได้ที่สำคัญของกลุ่มเช่นเดียวกับธุรกิจทางด้านการเงิน
ประภา สมุทรโคจร คือมือขวาคนสำคัญของปิ่นซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกโฮลดิ้ง แต่เมื่อประมาณ ต้นปี 2537 ประภาลาออกจากกลุ่มนี้ไปนั่งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท แผ่นดินทองพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ของคุณหญิง ศศิมา ศรีวิกรม์ เขาเคยให้เหตุผลกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า ต้องการไปทำงานกับกลุ่มที่ทำงานทางด้านพัฒนาที่ดินอย่างเดียวมากกว่า
คำกล่าวของประภาในครั้งนั้น ได้สะท้อนถึงการทำงานของปิ่นเป็นอย่างดีว่าปิ่นเป็นคนเก่ง มีสไตล์การทำงานของคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่น่าสนใจก็จริง แต่เขากำลังทำงานพร้อม ๆ กันทีละหลายเรื่อง จนอาจจะน่ากลัว
สานติ กระจ่างเนตร ผู้จัดการทั่วไปสมัยของประภา คือผู้ที่ขึ้นนั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการของเอกโฮลดิ้งในปัจจุบัน
และเวลา...จะเป็นเรื่องที่จะพิสูจน์ความสำเร็จการทำงานของปิ่นอีกครั้งในเรื่องอสังหาริมทรัพย์
|
|
|
|
|