Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538
หุ้นกู้แปลงสภาพครึ่งหลังปี 2538 จะไปยุโรปหรืออยู่ในประเทศดีกว่ากัน?             
 


   
search resources

Stock Exchange
Financing
ทักษิณ ฉัตรแก้ว




การลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 3 ปีของธนาคารสหรัฐฯ นอกจากจะเป็นปัจจัยที่สำคัญทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมาคึกคักกันอย่างทั่วหน้า ยังเป็นปัจจัยสำคัญกระตุ้นระดมทุนในครึ่งหลังปี 2538 ให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะการออกตราสารหนี้ แต่จะเป็นการออกตราสารหนี้ประเภทไหนนั้น วาณิชธนากรต่างมีข้อเสนอที่แตกต่างกัน วาณิชธนากร จากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นครหลวงเครดิต ทักษิณ ฉัตรแก้ว ให้ข้อเสนอแนะว่า การออก "หุ้นกู้แปลงสภาพในประเทศ" (BAHT CONVERTIBLE DEBENTURE) เป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในครึ่งหลังปี 2538 และขณะนี้มีกิจการอย่างน้อย ๆ 7 แห่งกำลังอยู่ระหว่างเตรียมการเสนอขาย จำนวนนี้ประกอบด้วยบริษัทเงินทุนเอกธนกิจ ที่เพิ่งเปลี่ยนแผนจากเดิมที่ จะออกหุ้นกู้แปลงสภาพเสนอขายในยุโรปหรือ ECD ตามมาด้วยบริษัททิปโก้ แอสฟัลต์, บริษัท อิตาเลี่ยนไทยที่เตรียมเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในประเทศมูลค่า 5,000 ล้านบาท บริษัท จีเอสเอสอาร์เรย์ บริษัท สามารถ คอร์เปอเรชั่น และบริษัท เอกโฮลดิ้ง ต่างก็อยู่ระหว่างเตรียมการเสนอขายหุ้นกู้เงินบาทในประเทศ "ECD ตอนนี้ตายสนิท" ทักษิณ ให้ความเห็นพร้อมทั้งระบุว่าการออก ECD (Euro-Convertible Debenture หรือ "หุ้นกู้แปลงสภาพเสนอขายและจดทะเบียนในยุโรป" มีต้นทุนสูงมากเฉลี่ยแล้วประมาณ 10-15 ล้านบาทต่อการเสนอขายหนึ่งครั้ง ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการทำ ROAD SHOW ต่างประเทศเทียบไม่ได้เลยกับการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในประเทศที่มีค่าใช้จ่ายเพียง 1-2 ล้านบาท "ในปัจจุบันนักลงทุนต่างประเทศที่สนใจจะลงทุนตลาดย่านเอเชีย มีข้อมูลในการลงทุนมากพอและมีเครือข่ายอยู่ในนี้แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปเสนอขายถึงยุโรป กรณีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในประเทศของไออีซีเป็นตัวอย่างดีเพราะต่างประเทศก็สนใจลงทุนในสัดส่วนสูง สิ่งสำคัญคือต้องเป็น ผู้ออกต้องมีฐานะการเงินที่ดี และได้รับการจัดลำดับจากทริสในคะแนนสูง" แหล่งข่าวกล่าว สัดส่วนของผู้ลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพของบริษัท ไออีซี มูลค่ากว่า 1,200 ล้านบาทนั้น 45% เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 25% เป็นนักลงทุนต่างประเทศ 14 เป็นนักลงทุนทั่วไป 5% เป็นกองทุนรวมในประเทศ และบริษัทประกันภัย ที่สำคัญนักลงทุนต่างประเทศ ในปัจจุบันไม่สนใจที่จะลงทุนใน ECD ที่เสนอขายและจดทะเบียนในยุโรป เกือบทุกบริษัทราคาต่ำกว่าพาร์ อีกทั้งนักลงทุนต้องการสิทธิ์ในการขายหุ้นกู้คืน (PUT OPTION) ซึ่งทำให้บริษัทผู้ออกมีต้นทุนเงินที่ต้องสำรองเผื่อมีการขายคืน รวมแล้วต้นทุนไม่ต่ำกว่าการ กู้โดยตรงจากสถาบันการเงิน "ECD ของบริษัทล็อกซเล่ย์ เป็นตัวอย่างการเสนอขายต่างประเทศแล้วไม่สำเร็จขายได้ไม่หมด อันเดอร์ไรเตอร์ต้องรับเข้าพอร์ตไปจำนวนมาก" แหล่งข่าวกล่าว นอกจากเรื่องต้นทุนแล้ว ความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนก็เป็นเรื่องสำคัญ การออกหุ้นกู้แปลงสภาพในประเทศไม่มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ที่สำคัญในปัจจุบันสภาพคล่องของการซื้อขายหุ้นกู้แปลงสภาพในประเทศเริ่มดีขึ้น เนื่องจากเริ่มมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เข้ามาทำหน้าที่ Market Maker โดยกำหนดราคาและเข้ามาซื้อขายเพื่อสร้างสภาพคล่องในตลาดแล้ว ในขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ เจ.เอฟ. ธนาคม เจ้าตลาดอันเดอร์ไรเตอร์ ECD ในเมืองไทย ยังยืนยันว่า ECD เป็นทางการระดมทุนทางหนึ่งที่ดีที่สุด "อัตราดอกเบี้ยประมาณ 4-5% เหมาะสำหรับการออก ECD ทั้งในแง่ของผู้ออกและนักลงทุน สำหรับปีนี้เราคาดว่าคงจะออกประมาณ 1-2 หมื่นล้าน แต่คงต้องทยอยออก" มนตรี ศรไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ เจเอฟ ธนาคม จำกัด ยืนยัน มนตรี มองว่านักลงทุนในยุโรปยังมีความต้องการลงทุนในตราสารหนี้จากเอเชียที่ให้ผลตอบแทน 4-5 % สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในแถบนั้นที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2% ในแง่ของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้น จะสามารถระดมทุนได้โดยจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้เงินในประเทศที่ต้องเสียอัตราดอกเบี้ยประมาณ 13.0-13.5% ในขณะที่การออก ECD จะจ่ายดอกเบี้ยเพียง 4-5% รวมกับค่าใช้จ่ายในการประกันความเสี่ยง (SWAP) จากแปลงเงินสกุลอื่นเป็นเงินบาทและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จะต่ำกว่าการกู้เงินจากธนาคารในประเทศ "การประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นลง ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จาก 6% ลดเหลือ 5.75% นับว่าเป็นผลดีต่อการระดมทุนโดยการออก ECD ซึ่งทำให้บริษัทผู้ออก ECD จะสามารถระดมทุนโดยเสียอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง" วาณิชธนากร จากบล.เจ.เอฟฯ ตั้งเป้าหมายการเป็นที่ปรึกษาในการออก ECD ไว้ที่ 1-2 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3 และ 4 ปีนี้จะมีมากขึ้น โดยจะเป็นการค่อย ๆ ทยอยออกมาทีละราย ทั้งนี้ที่ผ่านมาบริษัทนำบริษัทไปเสนอขาย ECD ในต่างประเทศแล้ว 12 ราย มนตรี ชี้ว่าการที่ ECD ของหลายบริษัทที่เจอปัญหาราคาซื้อขายต่ำกว่าพาร์นั้น ขึ้นอยู่กับฝีมือของที่ปรึกษาการเงิน "ที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องคัดเลือกคุณภาพของบริษัทที่จะออก ECD ต้องเป็นบริษัทที่มีความพร้อมในการออก มีผลการดำเนินงานดีและมีชื่อเสียง แต่ในด้านของนักลงทุนเรายืนยันว่าตลาดรองยังให้ความสนใจอยู่มาก ทั้งนี้บริษัทที่จะเป็นที่ปรึกษาจะต้องช่วยกัน เพราะหากออก ECD แล้วขาดทุนมากอาจจะทำให้นักลงทุนเลิกสนใจใน ECD เลยก็ได้"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us