Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538
นพดล มิ่งจินดา "พ่อบ้านเหอ" ผู้กำกับมาตรฐานค้าหุ้นของจีเอฟ             
 


   
search resources

เจ.เอฟ.ธนาคม
Financing
นพดล มิ่งจินดา




ในยุคจรรยาบรรณเสื่อมโทรม การที่ ก.ล.ต. บังคับให้ทุกบริษัทหลักทรัพย์ต้องตั้งหน่วยงานกำกับและตรวจสอบภายใน (COMPLIANCE UNIT) ขึ้น โดยหลักการย่อมเป็นสิ่งประเสริฐ แต่โดยทางปฏิบัติยังมีอุปสรรคอยู่มากมาย เพราะตราบใดที่เจ้าหน้าที่หน่วยงานยังคงรับเงินเดือน และอยู่ใต้บังคับบัญชาการของผู้บริหารก็คงไม่มีใครกล้า "ฟ้องนาย-ขายเพื่อน" โดยทำบันทึกรายงานความผิดของเจ้านายตนเองแน่นอน นี่คือตัวอย่างความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างหนึ่ง แต่สำหรับผู้ชายคนนี้ "นพดล มิ่งจินดา" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานบริหาร บริษัทหลักทรัพย์เจ.เอฟ ธนาคม เรื่องที่คนอื่นไม่กล้าทำ เขากล้าทำ และประสบการณ์สองปีกว่าในตำแหน่ง COMPLIANCE OFFICER หรือสมญานาม "พ่อบ้านเหอ" อย่างนพดลคุยได้เต็มปากว่าเจ. เอฟ. ธนาคมเป็นคนแรกที่มีวิสัยทัศน์ในการตั้งหน่วยงานกำกับและตรวจสอบนี้ ก่อนที่ทางการตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต. จะบังคับเสียอีก "ในช่วงนั้น เจ.เอฟ. เริ่มทำธุรกิจมาร์จิ้นหรือปล่อยสินเชื่อ ก็มีการประชุมกรรมการบริษัท ทั้งหมดซึ่งบอกว่า ธุรกิจมาร์จิ้นมันเสี่ยง และสภาพตลาดบ้านเราอ่อนไหวง่าย ขณะเดียวกันหลาย ๆ บริษัทหลักทรัพย์ในกลุ่มจาร์ดีนเฟรมมิ่งใน 15 ประเทศเขามี COMPLIANCE UNIT กันแล้ว ผู้บริหารจาร์ดีนก็ไม่สบายใจ ต้องการผลักดันตรงนี้ให้เกิดขึ้น เจ.เอฟ ธนาคมเราใช้โลโก้ของจาร์ดีนเฟรมมิ่ง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่กว่า 40% เขากลัวมากว่าถ้าเกิดอะไรขึ้น ชื่อเสียงจะเสียไปทั้งกรุ๊ป มติบอร์ดจึงตั้งหน่วยงานนี้เป็นฝ่ายและในปี 2536 กรณ์ตั้งผมเป็น COMPLIANCE OFFICER เพราะคนที่จะทำงานตรงนี้ได้ต้องมีบารมีเป็นที่ยอมรับ รู้วัฒนธรรมและสไตล์ เจ.เอฟ ซึ่งบริหารแบบคนรุ่นใหม่ โดยมี COMPLIANCE DIRECTOR ของเจ.เอฟ. กรุ๊ปที่ฮ่องกง มาร่วมกำหนดวัตถุประสงค์" นพดลเล่าให้ฟังในงานสัมมนาร่วมกับ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์เรื่อง "มาตรฐานการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์" ความที่เจ.เอฟ. ธนาคม มีโครงสร้างของผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ประกอบด้วยบริษัทในเครือจาร์ดีนเฟรมมิ่งกรุ๊ป ประมาณ 40% รองลงมาได้แก่ เอกธนกิจ อันดับสามคือกลุ่มจาติกวณิชประมาณ 10% ดังนั้นกรณ์ จาติกวณิชจึงไม่ใช่ตัวแทนของผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ได้บริหารงานในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ ขณะที่นพดลก็สวมหัวโขนสองตำแหน่งในฐานะผู้ช่วยฯ และ COMPLIANCE OFFICER ที่ต้องตงฉินและบริหารสายสัมพันธ์ทั้งบนและล่างได้แบบชาญฉลาด งานแรกที่นพดลลุยทำก็คือรวบรวมและร่างคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานให้เป็นไปตามจรรยาบรรณ จากสภาพเดิมที่ต่างคนต่างทำ โดยไม่รู้ว่าสิ่งนี้ทำได้หรือไม่ หลังจากนั้น มีการประชุมพนักงานเพื่อเปิดตัวแผนกใหม่นี้ โดยนพดลใช้วิธีให้กรณ์ จาติกวณิชลงมาสนับสนุนด้วย "ผมจำได้ว่าตอนแรกพนักงานตกตะลึง เขาไม่เข้าใจและไม่ยอมรับว่ามีคนจับตา เพราะตอนนั้นยังไม่มีข้อบังคับจาก ก.ล.ต. แต่เป็นนโยบายภายในของ เจ.เอฟ.ธนาคม" อคติต่อสิ่งใหม่เกิดขึ้นได้เสมอตามคำบอกของนพดล แต่ถ้ารู้จักใช้เครื่องมือใหม่ ๆ มันก็ให้คุณมากกว่าโทษ แนวทางปฏิบัติที่นพดลระบุในคู่มือเกี่ยวข้องในสี่หัวข้อ หนึ่ง-ต้องทำตามกฎหมาย ศีลธรรม จารีตประเพณีและนโยบายอันดี สอง-การรักษาความลับในธุรกิจ และใช้ข้อมูลภายในสาม -การลงทุนในหลักทรัพย์ของพนักงาน สี่-ความสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกเช่น รับของตอบแทนจากลูกค้า งานที่สอง COMPLIANCE CHECK LIST แยกเป็นเรื่องภายในและภายนอกที่นพดลจะต้องประสานกับหน่วยงานของบริษัทและภายนอก เช่น เจ.เอฟ.ธนาคมดำเนินธุรกิจภายใต้การควบคุมของกฎหมายอะไร ยิ่งกฎข้อบังคับหรือประกาศใหม่ ๆ ของ ก.ล.ต. ยิ่งต้องติดตามหามาทำ EXTERNAL COMPLIANCE CHECK LIST ออกมาให้ได้ แล้วส่งรายงานให้ฮ่องกงทราบทุกครั้ง งานที่สามคือ เป็นศูนย์ติดต่อเชื่อมโยงแลกข้อมูลกันระหว่างประเทศของ COMPLIANCE OFFICER ของจาร์ดีนกรุ๊ป งานทุกชิ้น นพดลจะรายงานโดยตรงกับคณะกรรมการบริหารและ COMPOIANCE DIRECTOR ที่ฮ่องกง ซึ่งเป็นดุลยภาพทางอำนาจที่จะทำให้คนกลางอย่างนพดลต้องรู้จักไต่เส้นแบ่งของ CONFLICT OF INTEREST ให้ดี มิฉะนั้นตกเหวแน่ "งานของ COMPLIANCE OFFICER นี้จะต้องทำทุกวัน ขณะที่งานผู้ตรวจสอบบัญชี (AUDITOR) จะทำทุกครึ่งปีหรือปีละครั้ง และทุกไตรมาสผมจะรายงานกับไดเรคเตอร์ที่ฮ่องกง บอร์ด เจ.เอฟที่นี่ เอกสารทุกอย่างจะเป็นความลับ ช่วงนี้แหละที่ผมจะอัดคุณกรณ์ก็ได้ คือผมมีอิสระผมพูดกับที่ประชุมผู้ถือหุ้นว่า ที่ผ่านมาบริษัทได้ปล่อยมาร์จิ้นไประดับนี้มีความเสี่ยง เป็นหน้าที่ของคุณกรณ์ต้องตอบผม คือผมกับคุณกรณ์จะไม่โกรธกันตอนเราทำงาน เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้นโดยผมไม่รู้ ผมก็ลำบากใจเหมือนกัน แต่ถ้าผมเฮี้ยบไปคุณกรณ์ก็ต้องกดเงินเดือนผม ส่วนทางไดเรคเตอร์ที่ฮ่องกงก็ต้องเล่นงานผมว่า ทำไมไม่รู้เรื่องเลยเหรอ" เรื่องขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของลูกค้า-พนักงาน-บริษัท ที่นพดลจับตาก็มี เช่นกรณีหุ้นจองที่จัดสรรหุ้นอย่างไม่เป็นธรรม วิธีการแก้ไขนี้ก็คือ แยกแต่ละแผนกที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ห่างกันแบบที่เรียกว่า CHINESE WALL และจะมีรหัสลับของแต่ละดีล โดยมีคนรู้โค้ดไม่กี่คน ห้ามหน่วยงานนั้น ๆ เอาผลประโยชน์จากข้อมูลภายในไปใช้ก่อนคนอื่น ที่สำคัญ ถ้าสมมุติเกิดกรณีผิดพลาดของผู้บริหารระดับสูง เจ.เอฟ. ธนาคม ก.ล.ต. ย่อมต้องได้รับรายงานจาก COMPLIANCE OFFICER ซึ่งจะต้องเป็นหนังหน้าไฟ งานนี้เดาใจนพดลไม่ออกว่าจะเลือกเข้าข้างผลประโยชน์ของใครเป็นหลัก!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us