ดีเซลเถื่อนได้กลายเป็นเชื้อร้ายระบาดไปทั่วทุกภาแดนไทย ในช่วงปีที่ผ่านมา
ด้วยเส้นทางและวิธีการที่แยบยลมาก มิเพียงถูกจำกัด เขตแพร่เชื้อแค่ภาคใต้
อย่างแต่ก่อน ขณะที่ภาครัฐบาล ตามรักษากันไม่ทัน พร้อม ๆ กับการทุ่มตลาดของผู้ค้ารายใหม่จนกลายเป้า
ที่ถูกแพ่งเล็งไปอย่างช่วยไม่ได้!!
บางคนเปรียบมันเหมือนโรคเอดส์ ที่แร่กระจายออกไป อย่างรวดเร็ว ซึ่งเราอาจจะไปชนเข้าโดยไม่รู้ตัว
เฉกเช่น ดีเซลเถื่อนที่ทะ
ลักเข้าไปในทุกภาคของไทย จนไม่รู้ว่าดีเซลที่ใช้กันอยู่นั้นเถื่อนหรือไม่
และมีคุรภาพได้มาตรฐานหรือ
ทีแน่ๆดีเซลได้สร้างความประลาดใจในวงการน้ำมันเพราะเป็นน้ำมันชนิดเดียวที่มีอัตราการเติบโต
โดยเฉพาะ ในช่วงครึ่งปีแรก เมื่อปีกอน ต่างทำให้บริษัทค้าน้ำมันหลักไม่ว่า
ปตท. เชลล์ เอสโซ่ คาลเท็กซ์ หรือแม้แต่บางจาก ต่างร้องเป็นเสียงเดียวกันว่ายอดขายดีเซล
ร่วงจนน่าตกใจ
บนฐานของประเทศที่กำลังพัฒนา ไปสู่อุตสาหกรรมของไทย การใช้ดีเซล ควรจะเพิ่มขึ้น10%
แต่ตัวเขจริง ดีเซลไม่เพียงแต่ไม่ใช้เพิ่มขึ้น แต่กลับใช้น้อยลง คอยู่ที่
-2.2% ขณะที่ตัวเลขการขยายจัวของน้ำมันทุกชนิดอยู่ที่ 9.1%
ถ้าแยกเฉพาะอัตราการขยายตัว ของดีเซล ซึ่งจะใช้กันมากภาคขนส่ง ถึงประมาณ
60% จะลดลง 0.9%
ยอดใช้ดีเซล ควรจะเป็นวันละ 31.6 ล้านลิตร แต่เฉลี่ยใช้เพียงวันละ ประมาณ
28 ล้านลิตร ก็เกิดคำถามว่าที่หายไปราววันละ 3.6 ล้านลิตร หรือตกเดือนละ
108 ล้านลิตรต่อเดือน นั้หายไปไหน...?
"น้ำมันเถื่อนกระมัง..?
มันคงเป็นคำตอบที่เบ็ดเสร็จ และง่ายเกินไปที่จะโยนให้ใครเป็นผู้ร้าย เมื่อยอดขายผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่และยอดรวมติดลบ
ในเมื่อเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว่า ภาคใต้แผ่นดินด้ามขวานไทยนั้น มีน้ำมันเถื่อนเข้มาขายจนเป็นปกติ
แต้แม้มีน้ำมันเถื่อนในเขตภาคใต้ ยอดขายดีเซลก็ยังเพิ่มขึ้นทุกปี ภายใตนโยบายการควบคุมราคาขายปลีกและการนำเข้าจากรัฐบาล
ขณะที่ภาษีดเซลที่รัฐเก็บลิตรละ ประมาณ 2.70 บาทนั้น ทำให้ดีเซลมีต้นทุนสูงกว่าน้ำมัน
จากสิงคโปร์ ซึ่วไม่ต้องเสียภาษี ตรงนี้ เป็นเหมือนจุดอ่อน ของโครงสร้าง
ราคาน้ำมัน ของไทย โดยเฉพาะหลังการใช้นโยบายราคากึ่งลอยตัว เมือกลางปี 2534
เพื่อปลดปล่อยธุกริจน้ำมันไปสู่ความเป็นเสรีอย่างเต็มที่
จากที่รัฐบาลเคนเป็นคนกำหนดราคาขายปลีก ค่าการตลาด ก็ปล่อยให้ผู้ค้ากำหนดกันเองได้กลายมาเป็นจุดหักเหของตลาดดีเซล
ในช่วงรอบปีเศษที่ผ่านมา
เดิมทีรัฐบาลเคยกำหนดค่าการตลาดให้ 30 สตางค์ ต่อลิตร อยู่ 4-5 ปี จนบรรดาบริษัท
เอกชน ร้องขอขึ้นค่าการตลาดแต่ไม่เป็นผล จนเมื่อใช้ราคากึ่งลอยตัว ให้กำหนดค่า
การตลาดซึ่งถูกอั้นมาหลายปี ส่วนใหญ่ จะกำหนดค่าการตลาดที่ประมาณ 50-60 สตางค์ต่อลิตร
ตลาดดีเซล จึงกลายเป็นตลาดที่ใครต่อใคร ต่างก็อยากจะเข้าร่วมวงไพบูลย์ด้วย
เพราะไม่เพียงแต่เป็นตลาดใหญ่ หากการนำเข้าก็ง่ายกว่าเบนซิน
เหตุที่เบนซินไม่เป็นที่นิยมลักลอบ เพราะขนส่งลำบาก ขณะขนถ่ายก็อันตรายสูง
ติดไฟง่าย และต้องการคุณภาพสูงกว่าดีเซล
ถ้าดูราคาที่สิงคโปร์ซึ่งไม่มีภาษี ดีเซลตอนนั้นลิตรละ ประมาณ 4.30 บาท
โดยที่ในภาคใต้จะขายที่ลิตรละประมาณ 8.50 บาท ซึ่งมีกำไรส่วนต่างถึง 4.20
บาทต่อลิตร หากรวมค่าใช้จ่ายรวมถึงเบี้ยใบ้รายทางเสร็จสรรพเพียงลิตรละ 6
บาท ก็ทำกำไรให้มหาศาลแล้ว
ยิ่งเมื่อดูยอดการนำเข้าจากต่างประเทศแล้ว ยังทำให้แน่ใจว่า ดีเซลเถื่อน
กำลังจู่โจมและทะลักเข้าสู่แผ่นดินไทยอย่างทั่วถึง
เช่นตัวเลข นำเข้าดีเซล ครึ่งปีแรก ในปี 2535 จำนวน 91.350 ล้านบาร์เรล
ต่อวัน ซึ่งลดลง 8.5% ขณะที่การนำเข้าเบนซิน จากต่าประเทศเพิ่มขึ้กว่า 50%
ภาพการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทั่วถึง ก็คือ ไม่เพียงแต่จะมีเสียงโวยวายจากผู้ค้าน้ำมันหลักเท่านั้น
แต่ยังมีเสียงร้องระงม จากผู้ค้ารายย่อย หน้าใหม่
แต่แต่บางจาก ซึ่งเป็นผู้ประกาศราคาหน้าโรงกลั่นเพื่อให้ผู้ค้ารายย่อยได้อ้างอิงและเป็นการซื้อขายน้ำมัน
และมักจะตั้งราคาที่ต่ำว่ารายอื่น ถึงกับร้องลั่นว่า เล่นเอายอดขายดีเซลของบางจาก
ฯ หล่นฮวบฮาบ
จากที่เคยขายถึงเดือนละ 45 ล้านลิตร ก็ลดลงเหลือแค่ 15 ล้านลิตร เพราะลุกค้า
ที่รับซื้อไปขายส่ง หรือจ๊อบเบอร์ ต่างก็ยกเลิกการซื้อกะทันหัน ไปมาก
สมหญิง เสรีวงศ์คู่ค้าเก่าบางจากฯ ที่เคยทำปั๊มยี่ห้อ " นกไม้"
ด้วยกันจนเปลี่ยนมาเป็น " ตะวันอิสาน" แล้วก็ยังเป็นจ๊อบเบอร์
ของบางจากฯ ถึงกับบ่นอุบลว่า ที่เคยขายได้เดือนละ 3 ล้านลิตร ก็เหลือแค่
ล้านลิตรเท่านั้น
"ดีเซลเถื่อนทำให้ยอดขายทุกรายลดลง ขณะที่ราคาประกาศดีเซลหน้าโรงกลั่นบางจากฯ
ลิตรละ 7.4บาท แต่ดีเซลในขอนแก่น เขาขายกันลิตรละ 7.50 บาท ทำให้ผู้ค้าส่งขายแข่งด้วยไม่ไหว
ไม่เพียงแต่เท่านี้ สมหญิง ยอมรับ ว่า " ยังมีปัญหาการขายของบางจาก
ฯ ที่มาแย่งลูกค้าทั้งที่ตะวันอิสานเป็นตัวแทนค้าส่งของบางจากฯ ในท้องถิ่น
อยู่แล้ว"
งานนี้ ทุกราย จึงบอบช้ำถ้วนหน้า เพราะดีเซลเถื่อนที่เข้าไปเร่เพื่อขายลงตามปั๊มต่าง
ๆ ของทุกยี่ห้อนั้น มักจะตั้งราคต่ำกว่าราคาโรงกลั่น ของบางจากฯ ประมาณ 25
สตางค์ ต่อลิตร
บรรดาเจ้าของปั๊มยี่ห้อหลักไม่ว่าจะเป็นปตท. เชลล์ หรือเอสโซ่ หรือคาลเท็กว์
ต่างก็วื้อกันมาก เพราะนั่นหมายถึง กำไรชัด ๆ ที่จะได้เพิ่มขึ้น
แต่คนที่ได้ประโยชน์สูงสุด ก็คือ เจ้าของดีเซลรายใหม่ ที่ขยายตลาดเข้าไปนั่นเอง
เพราะราคาหน้าปั๊มยังคงเป็นไปตามปกติ
คำถามก็มีอีกว่า ถ้าเผื่อจะลักลอบจากทางภาคใต้ขึ้นสุ่อิสาน หรือทางภาคเหนือ
จะขนย้ายขึ้นไปได้ยังไง
ความจริงเดี๋ยวนี้ ไม่เหมือนเมือก่อนที่ดีเซลเถื่อนจะจำกัดอยูเฉพาะพื้นที่ภาคใต้..!
แผนปฏิบัติการขนส่งดีเซล เถื่อน ฝั่งตะวันตก หรือด้านทะเลอันดามัน และฝั่งตะวันออกหรืออ่าวไทย
เดิมที่ทำ ๆ กันมา ทางด้านทะเลอันดามัน จะขนจากสิงคโปร์ ผ่าน่านน้ำสากลสู่ไทยแถบจังหวัดสตูล
แต่จะมาซื้อขาย แถบ จังหวัด ภูเก็ต และพังงา หรืออาจจะขึ้นฝั่งที่ระนอง โดยรถน้ำมันเปล่าจะไปรับที่แพปลา
สูบจาเรือใส่ถังน้ำมัน
" อย่างไรก็ตาม ช่วงไหนที่ทางการเข้มงวดในการจับกุม ก็จะระมัดระวังมาก
และจะทำในน่านน้ำพม่า" แหล่งข่าววงการน้ำมัน เล่าถึงวิธีการเดิม
อาจจะเป็นวิธีซึ่งท้าทายกันถึงหน้าโรงกลั่น โดยให้เรื่อขนส่งน้ำมัน ดีเซลจากโรงกลั่นกรุงเทพตามราคาหน้าโรงกลั่น
แต่จะซื้อเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดที่จะจุได้ เช่น ขนาด จุ 3 ล้านลิตร ก็จะซื้อแค่
1.5 ล้านลิตร แล้วไปเติมกลางทะเล อีก ครึ่งหนึ่งเป็นการลดต้นทุน แล้วไปขายในจังหวัดภาคใต้
อีก 2 วิธี ที่ทำในลักษณะเป็นล่ำเป็นสัน คือ
สร้างเป็นแท้งก์น้ำมัน ขนาดใหญ่กลางทะเล แล้วมีเรือเล็กมาขนส่งรับไปอีกทอดหนึ่ง
โดยจะทำในน่านน้ำสากล เช่น ช่วงรอยต่อ ของ
ประเทศกัมพูชา-เวียดนาม หรืออีกจุดหนึ่ง ที่พูดถึงกันก็คือ แถวเกาะลูซิน
อ. ตากใบ จ.นราธวาส ซึ่งเป็นน่านน้ำ ระหว่งไทย-มาเลเซีย
นอกจากนี้ อาจใช้เรือใหญ่ ขนาดจุ 1-5 ล้านลิตร แล้วใช้เรือดัดแหลง ขนาด
6 พันล้านลิตร ถึง 2 พันหมื่นลิตร รับจาเรือใหญ่ แล้วขายให้เรือประมง ใน
ยามราตรีกาล โดยจะรับจ่ายเงิน ผ่านเอเยนต์ในท้องถิ่นนั้น ๆ
ถ้ากล่าวเฉพาะภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่สืบพบว่า มีชาวประมง หรือพ่อค้า
แพปลาหลายรายหันมาค้าน้ำมันเถื่อน เพราะกำไรดีกว่า
ด้วยกำไรงาม ๆ ประมาณลิตรละ 2 บาท กว่านั้น " ถ้าลงทุนตต่อเรือลำละ
2 ล้านบาท วิ่งขนดีเซลเที่ยวละ 7-8 แสนลิตร แค่ 2-3 ครั้ง ก็คุ้มแล้ว"
แหล่งข่าวจากตัวแทนผู้ค้าจากภาคใต้ กล่าว" ทำให้ชาวประมง หรือพ่อค้าแพปลาบางราย
หันมาค้าน้ำมัน ดีเซลกัน เพราะกำไรดีกว่าการจับสัตว์น้ำ"
แต่ใช่ว่าชาวประมงจะค้าน้ำมันเถื่อนกันทั้งหมด เพราะตลอดระยะเวลา ของการออกเรือหรือทำประมงนอกน่านน้ำ
หรือส่วนใหญ่ ต้องเติมน้ำมัน กลางทะเลอยู่แล้ว เพราะช่วงออกเรือที่จะให้คุ้มทุน
จะต้องเกิน 60 วันขึ้นไป
ขณะเดียวกัน การซื้อขายน้ำมันกลางทะเล แม้บางครั้ง จะเห็นเป็นเรือประมงไทย
แต่ทุกลำมักเป็นเรือสัญชาติต่างประเทศ จึงเป็นการลอยลำอยู่นอกเหนืออำนาจอธิปไตย
ของไทย เพราะเป็นน่านน้ำสากล จึงไม่ตรวจจับได้
เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาพของเรือประมงที่ออกมากลายเป็นเรื่องซื้อขายน้ำมันเถื่อน
จะมี แต่ก็ซื้อมาใช้สำหรับเรือประมงกลางทะเลทั้งสิ้น ไม่ได้นำเข้ามาขายในประเทศ
แต่ส่วนหนึ่ง เป็นที่รู้กันว่า 2 ปีก่อน ในสงขลา จะมีเรือขายน้ำมัน ในอ่าวไทยอยู่
5-6 ลำ ขนาดจุลำละ 3-74 แสนลิตร จะใช้เวลาขายลำละ 7-8 วัน แต่ปัจจุบัน กลับเฟื่องฟู
จำนวนเรือ เพิ่มเป็น 20 ลำ และดัดแปลงให้มีเรือขนาดใหญ่เป็น 7-8 แสนลิตรต่อลำ
แต่ส่วนหนึ่ง เป็นที่รู้กันว่ า 2 ปีก่อน ในสงขลาจะมีเรือน้ำมันในอ่าวไทยอยู่
5-6 ลำ ขนาดจุลำละ 3-4แสนลิตร จะใช้เวลากระจายลำละ 7-8 วัน แต่ปัจจุบันเฟื่องฟู
จำนวนเรือเพิ่มเป็น 2 0 ลำ และดัดแปลงงบให้มีขนาดใหญ่เป็น 7-8 แสนลิตรต่อลำ
มีการใช้รหัสเรือต่าง ๆ กันออกไป " อาจจะเป็นผลไม้ เช่นเชอร์รี่ สตรอบอรี่
แอบเปิ้ล หรือสมิหรา การติดต่อซื้อขาย ก็ใช้วิทยุสื่อสารรหัสที่ใช้เหมือนกับรหัสเรือที่ต้องเปลี่ยนไม่ซ้ำกัน
เช่นมดแดง มดดำ จอร์แดน บินหลา บัวหลวง เรียก ว่าใช้รหัส เหมือนหนังสายลับ
อย่างไรอย่างนั้น" แห่ลงข่าวจากวงการเล่าถึงสภาพการซื้อขาย
ถ้าแม้ตัดเเผน ของชาวประมงภาคใต้ออกไป เพราะช่องโหว่ ของกฎหมาย ที่อนุญาต
ให้เรือประมงมีน้ำมันติด เข้าหาฝั่งไวด้โดยไม่ผิดกฎหมาย สรรพสามิต แต่ก็มักติดมาในปริมาณ
เป็นแสนลิตร ตามข่าว ที่จับได้อยู่เนือง ๆ แล้ว ดูยิ่ง จะมีปัญหากว่าเก่า
ขณะที่ดีเซล เถื่อนที่ขึ้น ทางภาคใต้ ก็จะหมุน เวียนอยู่ในตลาดดภาคใต้
แต่ดีเซล ที่ตัดราคาสะบั้นเชือดเฉือนกันหนัก นั้นกลับลามไป อยู่ในภาคแถบอีสาน
โดยเฉพาะการขึ้นฝั่งที่สมุทรสาคร หรือบางประกง จางนั้นทางเดินของดีเซลเถื่อน
ก็ต้งอใช้รถบรรทุก น้ำมันอย่างเดียว เช่น ถ้าขึ้นที่บางประกง ก็จะวิ่งไปตามถนนเส้นกบินทร์บุรี
ระเรื่อยไปยังอีสาน ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดใหญ่ อย่างขอนแก่น โคราช หรือหนองคาย
จังหวัดที่มีากรแข่งขันหนัก หน่วงอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ดีเซลบเถื่อนระบาดขึ้นไปยังภาคเหนือ ตามถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ผ่านแถบภาคกลาง
ไปจนถึงถนนสวรรค์ และลงเอยยัง 2 จังหวัด เหนืสอุดของไทยที่เชียงใหม่ และเชียงราย
" ทีผ่านมา รถบรรทุกจะวิ่งได้สะดวก แม้อย่างเส้นทางอิสานจะคดเคี้ยว
แต่มักจะปลอดภัย เพราะเจ้าหน้าที่ ตำรวจทางหลวงไม่ค่อยตรวรถน้ำมันอยู่แล้ว"
แหล่งข่าวน้ำมันกล่าวถึวเหตุที่ดีเซลเพื่อนไหลทะลักย้อนกลับขึ้นเหนือได้อย่างง่ายดาย
แล้วใครเล่าที่เป็นผู้ท้าทาย ตลาดดีเซล ให้ปั่นป่วน กันถ้วนหน้า...!
นับเป็นความบังเอิญ ที่บริษัทภาคใต้ เชื้อเพลิงรับเทกโอเวอร์ ทันทีที่สมหญิง
แห่งตะวันอิสาน ประกาศขากยกิจการทั้งหมด ในช่วงก่อนหน้านั้น ทั้งปั๊มหลักที่ขอนแก่น
และหนองคาย
ประกอบกับคำสัมภาาณ์ ขชองวีระศักดิ์ วชิรศักดิ์พาณิช ประธานกรรมการบริหารบริษัท
เปิดเผยถึงแผนขยายปั๊มน้ำมันในช่วงหลังจากซื้อปั๊มนกไม้หรือตะวันอิสานแล้ว
จะขยายปั๊มไห้ได้ 40 แห่ง ทั่วประเทศ ด้วยเงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท
โดยการก่อสร้าง แต่ละปั๊มจะตก ประมาณ 20 ล้านบาท
ทั้งนี้จะเริ่มขยาย ฐานที่บุรีรัมย์ ขอนแก่น โคราช อุดรธานี หนองคาย ส่วนภาคเหนือ
จะเริ่มที่พิจิตร ลำปาง และเชียงราย
พร้อม ๆ กันกับการสร้างคลัง ในจังหวัดใหญ่ ๆ ทางใต้ จะมีคลังย่อยตั้งแต่ชุมพร
และสร้างต่อที่ พังงา
นครศรีธรรมราช เป็นต้น ส่วนคลังย่อยที่ภาคอื่น มีที่ขอนแก่น ที่สร้างเป็นคลังทันทีโดยเฉพาะพื้นที่ที่จะเป็นของนกไม้เดิม
อีกที่หนึ่ง คือที่เชียงราย
ขณะเดียวกัน วีระศักดิ์ยังเปิดเผยว่า เตรียมออกรถบรรทุก น้ำมันประมรณ 40
คัน และยังมีเรือบรรทุกน้ำมัน อีกราว 20 ลำ ทั้งยังบอกว่าเป็นกิจการของบริษัท
ที่ขนส่งน้ำมันจากสิงคโปร์ ถึง 90 % ที่เหลืออีก 10% ก็จะซื้อจาก บางจากฯ
และ ปตท.
การออกข่าวของวีระศักดิ์ ในเดือนกรกฏาคม 2535 ขณะที่ได้ค้นพบขตัวงเลขว่า
ยอดขายดีเซล ในครึ่งปีแรก ติดลบ จนผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ เองก็ไม่ อยากเชื่อว่า
จะเป็นไปได้ เพราะดีเซลเถื่อน ในภาคใต้นั้นเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ผู้ค้ารายใหญ่
ไม่อย่างลงสู่ตลาดภาคใต้
พร้อกันนั้นเอง ทางการพบว่า มีผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา 6 ซึ่งหมายถึงผู้ค้าน้ำมันที่มียอดขายถึงประมาณ
ล้านลิตร ต่อปี และต้องสำรองน้ำมันตามกฎหมายรายหนึ่งของพฤติกรรมน่าสงสัย
" มีรายงานลับจากเทรดเดอร์จากสิงคโปร์ว่า มีบริษัทน้ำมัน จากเขาเฉลี่ยเดือนละ
50 ล้านลิตร ตั้งแต่ต้นปี เแต่เมื่อดูตัวเลขที่กระทรวง พาณิชย์ เกี่ยวกับยอดขายของผู้ค้า
บริษัทนี้แจ้งว่า ยอดขายดีเซล อย่างค่อนข้างผิดสังเกต คือบางเดือน ขายเดือนละ
แค่ 10 ล้านลิตร และส่วนใหญ่ จะขายอยู่ ในระดับประมาณ 20 ล้านลิตร"
แหล่งข่าว จากคณะกรรมการนโยบายพลังงานตแห่งชาติ ( สพง) เปิดเผยถึงตัวเลข
30 ล้านลิตร ที่หายไปอย่างน่าสงสัย
ดูเหมือนว่า ยิ่งทำให้สงสัยกันหนักขึ้น เมื่อนำไปประกอบกับข้อมูลที่บริษัทรายนี้ลงทุนซื้อเรือนำมันขนาดใหญ่มาลำหนึ่ง
ซึ่งรู้กันดีว่า ไม่อาจวิ่งขนถ่ายในลำน้ำเจ้าพระยาได้ " ถ้าเติมน้ำมันจนเต็ม
จะกินน้ำลึก ถ้าจะให้เรือวิ่งได้ ก็เติมน้ำมันแค่ครึ่งลำ ซึ่งในเชิงธุรกิจ
คงเป็นไปไม่ได้ ที่บริษัท จะลงทุนแบบนี้ก็ไม่คุ้มไปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นถูกตั้งข้อสังเกตุจากหลายฝ่าย
งานนี้ ปตท. ในฐานะองค์กร น้ำมัน ของรัฐ ทนต่อไปไม่ได้ จนต้องเสนอข้อมูลต่อ
สพ. และรัฐบาล เพื่อเร่งให้มีการจัดการ กับความลักหลั่นที่เกิดขึ้น
แต่แม้จะร้องกัน จนเสียงแหบแห้ง ยอดใช้ดีเซล ในช่วงครึ่งปีหลังก็ ยังไม่กระเตื้อง
ยังอยู่แค่ 26 ล้านลิตร กว่าถึง 28 ล้านลิตร ต่อวัน ซึ่งเป็นตัวเลขในระดับเดียวกัน
ซึ่งในครึ่งปีแรก ยกเว้นเดือนธันวาคม เพียง เดือนเดียว ที่ยอดดีเซล เพิ่มขึ้น
เป็นประมาณ 33 ล้าน ลิตร หลังจากรัฐบาล ตั้งขบวน การไล่ล่าอย่างจริงจัง โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เข้มงวดการตรวจตรามากขึ้น
ด้วยภาพอย่างนี้ บริษัท ภาคใต้ เชื้อเพลิง ซึ่ก่อตั้งขึ้นมา มื่อปี 2532
โดยมุ่ง ค้าดีเซล โดยเฉพาะนั้น จึงถูกจับตาเป็นพิเศษ โดยเฉพาะหลังรัฐบาลเปลี่ยนไปใช้นโยบายราคากึ่งลอยตัวและเขาเข้าไปแทกโอเวอร์
ปั๊มนกไม้ ทั้งหมด จนสร้างความฮือฮา และสั่นสะเทือนไปทั่ววงการน้ำมัน
" ภายใต้เชื้อเพลิง" จึงกลายเป็นผู้ร้าย ไปอย่างช่วยไม่ได้ เพราะขณะที่ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่
พยายาม ลดภาระต้นทุน เรื่องคลังน้ำมัน แต่เขากลับแหวกแนวที่พยายามกระจายคลังย่อย
ไปสู่ภูมิภาค ต่าง ๆ หลังจากที่มีการใช้นโยบาย ใหม่ไปแล้ว ประมาณ หนึ่งปี
ประกอบกับบริษัทมีคลังน้ำมันที่ชุมพร สมุทรสงคราม และเริ่มขายดีเซลตั้งแต่ปี
2533 โดยตอนหลังตน่าสังเกตว่า มีคลังย่อยที่ไหน ก็มักจะมีปั๊มน้ำมันควบคู่กันไปด้วย
ซึ่งจริง ๆ แล้วคลังที่ว่า เป็นคลังขนาดเล็ก จนครั้งหนึ่ง ทางปตท. ถึงกับพาคณะสื่อมวลชน
ไปดูตลาดแถบอิสาน โดยเฉพาะในขอนแก่นที่ดูจะเกรียวกราวเป็นพิเศษ เพระมีคลัง
น้ำมันเล็ก ๆ อยู่หลังปั๊ม และยี่ห้อ ที่จะใช้ ก็คือพีที ซึ่งปกติผู้ค้ารายใหญ่ไม่ทำกัน
ขณะที่ภาคอีสาน และภาคเหนือ จะมีดีเซลไปเร่ขาย ปั๊ม เป็นว่าเล่น ด้วยสโลแกน
" คุณภาพเทียบเท่า ปตท. ลองใช้ดูก่อนก็ได้" จนทำให้น้ำมัน กลายเป็นสินค้าเลหลังชนิดตัดราคาลูกเดียว
ทั้งที่ ในแง่การตลาดแล้ว การจัดราคา จะกลายเป็นกลยุทธ์ สุดท้าย ที่จะงัดออกมาใช้กัน
การสร้างปั๊มน้ำมัน ของภาคใต้ เชื้อเพลิง จึงถูกมองว่า กลายเป็นการสร้างฉากไปโดยปริยาย!!
จน สุวพล อินทวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ต้องออกมาโต้ตอบว่า เป็นการกล่าวหากัน
เนื่องจากผู้ค้ารายใหญ่เกรงว่าผู้ค้ารายย่อย อย่างตน จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งในตลาด
และขณะที่ ตนขายได้ราคาต่ำ เพราะต้นทุนถูก โดยซื้อดีเซล จากบางจากฯ และ นำเข้าจากออสเตเรีย
สิงคโปร์ และเกาหลี ด้วยการเสียภาษีถูกต้อง ที่สำคัญก็คือ บริษัทตนไม่ต้องเสียค่าโฆษณาเหมือนบริษัทใหญ่
ทำให้ลดต้นทุนตรงนี้ไปได้อีกส่วนหนึ่ง และตนพร้อมที่จะดำเนินตามมาตรการที่รัฐบาล
กำหนดทุกอย่าง
ที่แน่ ๆ ณ วันนี้ ดีเซลเถื่อน ได้ระบาดไปทั่วทุกระแหง ของไทยแล้ว แม้ว่าทางการที่เกี่ยวข้อง
ทุกฝ่ายจะพยายามเร่งรัด เข้มงวดในการจับกุมมากขึ้น และล่าสุด กำลังเตรียมมาตรการ
เพื่อเสริมงานนี้ให้รัดกุมกว่าเก่า
ด้วนการเติมสารมาร์เกเกอร์ให้เป็นสัญลักษณ์ของในดีเซล ตั้งแต่อยู่ในเรือหรือออกจากโรงกลั่น
เมื่อถึงปลายทาง คือปั๊มน้ำมัน หากตรวจสอบพบว่า ไม่ตรงตามที่ออกจากแหล่งต้นทาง
จะถือว่าดีเซลส่วนนั้น " เถื่อน" ขณะนี้ อยู่ระหว่างเตรียมการ
และศึกษาถึงต้นทุนก่อนที่สพง. จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ นับว่าเป็นมาตรการเสริม
แต่จะให้ลดภาษีนั้น คงยังเป็นเรื่องที่ไกลเกินฝัน เพราะถ้าลดแค่ลิตรละบาทเดียว
ก็ทำให้รัฐบาล สูญรายได้ ไปถึงหมื่นล้านบาท
ดูเหมือนว่า รัฐบาลเอง ก็เริ่มวิตก เหมือนกัน เมื่อปล่อยเสรี แต่ครั้นกลไกรัฐไม่มีประสิทธิภาพ
พอประกอบกับช่องโหว่ ของโครงสร้างราคาที่เป็นฐานอันอ่อนแออยู่แล้ว มันกลับกลายให้เกิดโรคดีเซลเถื่อนระบาดไปขนเส้นทางใหม่
ๆ จนทางการเองก็เหนื่อยที่จะตาม
สุดท้ายก็คงจะต้องให้ปล่อยภาษีดีเซล ที่พึงได้ เข้ารัฐปีละ 2-3,000 ล้านบาท
เข้ากระเป๋าส่วนตัวใครบางคนบางกลุ่ม ขณะที่ประชาชน ก็คงต้องซื้อน้ำมันในราคาเดิม
ๆ ต่อไป...!