Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536
กองทุนส่วนบุคคล (PRIVATE FUND)             
โดย วนิดา ศักดิ์สงวนมนูญ วราพร สมบูรณ์วรรณะ
 

 
Charts & Figures

ข้อแตกต่างระหว่างกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล


   
search resources

Funds
Law




พ.ร.บ. หลักทรัพย์ และตลาด หลักทรัพย์ พ.ศ. 2513 กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลว่า บริษัทหลักทรัพย์ ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือกับบุคคลที่มอบหมายให้กับจัดการกองทุน หรือเรียกได้ ว่าเป็นสัญญาตกลงธุรกิจ ระหว่าง 2 ฝ่าย คือเจ้าของเงินผู้นำเงินมาให้บริหาร( investor) และผู้รับบริหารเงิน

นอกจากนี้ กองทุนส่วนบุคคลจะสามารถบริหารกองทุนให้แก่บุคคลไม่เกิน 10 คนเท่านั้น และแต่ละกลุ่มต้องมีวงเงินเกินสิบล้านบาท ส่วนการจัดการให้แก่ลูกค้าในลักษณะเดี่ยว ๆ แต่ละรายจะต้องมีวงเงินหนึ่งล้านบาทขึ้นไป ที่ทำเช่นนี้ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าไปเกี่ยวข้องกับรายย่อย ซึ่งจะเป็นการช่วงชิงลูกค้า ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม

อนึ่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ยังกล่าวไว้อีกว่า บริษัทหลักทรพัย์ต้องจัดให้มีผู้รับฝากทรัพยสิน หรือ custodian โดยให้นำทรัพย์สินทเป็นหลักทรัพย์หรือใบหุ้นของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลไป ฝากไว้กับ custodia ซึ่งบรรดาใบหุ้นนี้ จะลงชื่อของผู้มอบหมายใหจัดการกองทุนส่วนบุคคล ตลอดจนชื่อของบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้ทำการแทนไว้ด้วย

โดยที่บริษัทหลักทรัพย์นั้นจะมีความผิด ถ้าหากเข้าไปลงทุนในหลักทรัพย์นอกเหนือจากที่ได้ตก งกัน ไว้ในสัญญา ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมิได้แจ้งแก่ผู้มอบหมาย ให้ทราบล่วงหน้า หรือการค่าธรรมเนียมอื่นนอกเหนือจากต่างธรรมเนียมที่กำหนดไว้ในสัญญา ตลอดจนการรับรองแก่ผู้มอบหมายว่า จะมีกำไรในอัตราที่แน่นอนหรือสัญญาว่าจะไม่มีผลขาดทุน

เหล่านี้คือสิ่งที่ถูกระบุ ไว้ใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งรายละเอียดที่นอกเหนือจากนี้ได้ถูกร่าง โดยคณะทำงานสำนักงาน กลต. และกำลังถูกนำเสนอเข้าคณะกรรมการ กลต. และกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาต่อไป

ประเด็นหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อศึกษาอยู่ว่า การจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลควรจะมีลักษณะอย่างไร ซึ่งสรุปออกมาได้ 2 แนวทาง คือให้ตัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์ที่ที่จัดขึ้นมาใหม่ เพือ่จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยเฉพาะ ในลักษณะที่คล้ายกับการอนุญาตให้จัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์ที่จัดขึ้นมาใหม่เพื่อจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดย เฉพาะ ในลักษณะที่คล้ายกับการอนุญาตให้ตัดตั้งบริษัทหลักทพรัพย์จัดการกองทุนรวม ส่วนอีกแนวทางคือ การได้ให้ใบอนุญาตในการประกอบธุกริจบริหารกองทุนส่วนบุคคลแก่บริษัทหลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่แล้ว โดยคณะกรรมการ กลต.จำเป็นต้องเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่ง

ทั้งนี้แนวทางแรกมีวัตถุประสงค์เพือ่ให้เกิดความโปร่งใส จาการที่บริษัทหลักทรัพย์ โดยทั่วไปจะมี poritfolio ของตัวเอง ซึ่งหากรับบริหารพอร์ตให้แก่กอง ทุนส่วนบุคคล อีก อาจจะเกิดการขัดแย้ง ทางผลประโยชน์( conflict of interest) ระหว่างการการลงทุนของบริษัทและการลงทุนของลูกค้าโดยอาจมีการถ่ายเทผลประโยชน์ เช่นการเอาหุ้นที่มีผลกำไรดีเข้าพอร์ตตนเอง และเอาหุ้น ทีมีผลขาดทุน เข้าพอร์ตของลูกค้า

แต่ถ้าหากมองในแง่ของบริษัทหลักทรัพย์ โดยทั่วไป ว่ามีความพร้อม แล้วหรือไม่ เนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์ขึ้นใหม่ จะต้องมีทุนจดทะเบียน ที่ชำระแล้วไม่ต่ำวก่า 100 ล้าน บาทตามกฎหมาย และอาจจะมีปัญหาในเรื่องของบุคลากร เพราะบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านนี้ มีไม่มากนัก จะเกิดการดึงคนได้ ความไม่พร้อมนี้ อาจทำให้อุตสาหกรรมนี้ไม่ขยายตัวเท่าที่ควร จึงทำให้แนวทางที่สองมีความเป็นไปได้เช่นเดียวกัน แต่จะต้องมีการวางเงื่อนไขให้แยกหน่วยงาน แยกบุคคลที่บริหารพอร์ตทั้งสอง และแยกบัญชีออก จากกันอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันข้อครหาว่าเป็นการเอาพอร์ตของลูกค้ามาสนับสนุนพอร์ตของตนเอง

ซึ่งจากการเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่ง ก็จะมีการส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตนี้ เช่น หากทางเลือก เป็นแนวทางแรก คงต้องมีการพิจารณาในส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งต้องเป็นสถาบันการเงินที่ ไม่มีใบอนุญาตในการประกอบธุรกิขค้าหลักทรัพย์ เนื่องจากจะเกิดปัญหาในเรื่องการขัดแย้งของผลประโยชน์ ขึ้นได้ รวมทั้งสัดส่วนการถือหุ้นของแต่ละฝ่าย ที่ต้องกำหนดให้ชัดเจน แต่ถ้าหากเป็นทางที่สอง คงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของวิธีการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ลงทุน

แต่ไม่ว่า จะมีผลสรุปเช่นใด คาดว่า การบริหารงานกองทุนของกองทุน ส่วนบุคคลนี้ กลต. คงจะ ไม่เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด มากนัก เพราะถือว่าเป็นเรื่องของการทำธุรกิจของคนทั้งสองกลุ่ม คือระหว่าง เจ้าของเงินและผู้รับจัดการดูแล และลักษณะของเจ้าของเงินเป็นผู้ที่มีฐานะดี และเล่นหุ้นอยู่แล้วเพียง แต่ต้องการให้ผู้เข้ามาบริหารพอร์ตให้ ซึ่งต่างจากบริหารกองทุนของกองทุนรวมที่ต้องเกี่ยวข้องกับรายย่อยจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ที่ไม่เคยเล่นหุ้นมาก่อน และต้องการผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอน

ความคาดหวังว่ากองทุนส่วนบุคคลจะเป็นส่วนผลักดันให้เกิดนักลงทุนประเภทสถาบันเพิ่มขึ้นใน อนาคต หุ้นไทย เพื่อสร้างแรงซื้อแรงขายที่เต็มไปด้วยเหตุผล และอาศัยข้อมูลในการลงทุน เข้ามาต้านทานการ เก็งกำไร ที่มีข่าวลือเป็นพื้นฐานในการลงทุน ซึ่งเป็นแรงหนุนอย่างมาก ในปัจจุบัน นับเป็นความพยายามที่ สร้างสรรค์ แต่จะสามารถประสบผลสำเร็จตามที่หวังได้หรือไม่ เรื่องนี้ยังไม่มีคำตอบ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us