รายงานข่าวด่วน 24 ชั่วโมง ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง มีจุดขายอยู่ที่ความรวดเร็ว
ทันต่อเหตุการณ์ สามารถเรียกความนิยมจากประชาชน ได้สูง เนื่องจากปัจจุบันเป็นภาวะที่ในขณะที่หนังสือพิมพ์
แม้จะเสนอข่าวได้อย่างมีรายละเอียดมากกว่า แต่ก็ต้องรอทราบข่าวจากวันรุ่งขึ้น
รายงานข่าวสดทันที ด้วยเวลาอันสั้น จึงเป็นที่นิยมและเกิดมากสถานี
อันที่จริง รายการเสนอข่าวด่วน ทางวิทยุ มิใช่รายการข่าวแนวโน้มที่เพิ่งเกิดขึ้นในสองปีที่ผ่านมา
ทว่าได้ มีมากกว่านี้แล้ว กล่าวคือ ในช่วงปี พ.ศ. 2490-2510 สถานีวิทยุ ท.ท.ท.
1500 KHZ ได้ทำรูปแบบการเสนอข่าวในลักาณะ " ข่าวสด สั้น กะทัดรัด"
มานำเสนอ และหลายข่าวสามารถเสนอได้ก่อนหนังสือพิมพ์ จนเป็นที่ นิยมของผู้ฟังกันมากซึ่งสถานีวิทยุ
ยานเกราะ ได้ทำรายการข่าวด่วน เสนอทุกต้นชั่วโมง เป็นสถานีแรกต่อมา
แต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าในสมัยนั้น การเสนอข่าวด่วน เป็นไปอย่างน่าสนใจและก่อนหน้าหนังสือพิมพ์
ทว่ารายการข่าวดังกล่าว ก็มิได้มีผลกระทบต่อสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ในขณะนั้น
ใช้ข่าวต่างประเทศมาก กว่าในในประเทศ เพราะสภาพการเมืองในประเทศ ไม่อำนวย
อีกทั้งสถานีวิทยุ ล้วนเป็นของรัฐบาล จึงต้องระมัดระวัง การเสนอข่าวอย่างเคร่งครัด
ทางออกที่ดี ที่สุดของสถานีวิทยุ ในเวลานั้นก็คือ การเสนอข่าวที่ห่างไกล
ไม่ส่งผลกระทบต่อการเมืองภายในประเทศ นั่นคือการเสนอข่าวต่างประเทศ โดยไม่คำนึงถึงความในใจ
หรือความต้องการทราบข่าวสารของผู้ฟัง
ดังนั้น ประเด็นสำคัญของงานวิจัย และรัฐบาลมีนโยบาย เปิดการค้าธุรกิจ คลื่นวิทยุแบบเสรี
ทีมีลักษณะโปร่งใส ขึ้นกว่าในอดีต โดยเจ้าของสถานีข่าวด่วนสามารถรายงานข่าวอย่างอิสระ
ต่อเนื่อง และรวดเร็ว ก่อนหน้าหนังสือพิมพ์ จะมีผลในการไปลดอิทธิพลของสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์หรือไม่
หากกล่าวอีกนัยหนึ่ง รายการข่าวด่วน 24 ชั่วโมง ทางวิทยุกระจายเสียง จะมีผลทดแทนต่อสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์หรือไม่ เพียงไร และอย่างไรรายการข่าวด่วนทางวิทยุ ชนะใจผุ้ฟังทั้งสาระและคุณภาพ
จากการสอบภามและสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างพบว่า ความพยายามของผู้ผลิตรายการข่าวด่วน
24 ชั่วโมง ทางวิทยุกระจายเสียง มิได้สูญเปล่า เนื่องจากผู้ฟังส่วนใหญ่ ถึงร้อยละ
76 และร้อยละ 45.20 และ ร้อย 5 เห็นว่า เป็นเพราะการนำเสนอข่าวมีสาระ สามารถวิเคราะห์ข่าวได้ดี
และมีการสัมภาษณ์รายละเอียด ตามลำดับ ในส่วนของความเห็นโดยรวมต่อสาระของรายการข่าวของ
2 สถานี ถึงร้อยละ 71 ที่ลงความเห็นว่า มีรายการข่าวที่มีสาระเพียงพอ และร้อยละ
63 ต่างรู้สึกและยอมรับว่า คุณภาพของรายการอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
รายการข่าว 24 ชั่วโมง มีผลกระทบต่อสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์
รายการข่าวด่วนได้เข้ามามีอิทธิพลต่อประชาชนอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง
เนื่องจาก เป็นรายการข่าวสดซึ่งสามารถรายงานได้รวดเร็ว ต่อเนื่องกันตลอด
24 ชั่วโมง สลับกัน เพลงทีมีแนวหลากหลาย และเปิดโอกาสให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้
สำหรับผลกระทบของรายการข่าว ด่วน 24 ชั่วโมง ต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์
พบว่า เป็นไปได้ใน 3 ลักษณะคือ ส่งผลในทางลบให้ผู้ฟังรายการข่าวอ่านหนังสือพิมพ์ลดลงถึงร้อยละ
37 โดยใช้เวลาอ่านหนังสอืพิมพ์ลดลงร้อยละ 32 และประหยัดการซื้อหนังสือพิมพ์ลง
1-2 ฉบับ/วัน คิดเป็นร้อยละ 6 และกว่าร้อยละ 50 ยังคงมีพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์ตามปกติ
เนื่องจากยังต้องการสาระและความบันเทิงรูปแบบอื่น ที่รายการข่าวทางวิทยุไม่สามารถให้ได้และเห็นว่า
หนังสือพิมพ์สามารถให้รายละเอียดไดมากกว่าข่าววิทยุ ขณะเดียวกัน คนกลุ่มนี้
เกรงว่าตนเองอาจจะตกข่าว หรือ ตามข่าวสารไม่ทัน หากไม่อ่านหนังสือพิมพ์
นอกจากนั้น รายการข่าวดังกล่าว ยังส่งผลในด้านบวกต่อสื่อหนังสือพิมพ์ กล่าวคือ
ส่งผลให้เกิด การอ่านหนังสือพิมพ์มากขึ้น คิด เป็นร้อยละ 7 โดยใช้เวลา ในการอ่านหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้นประมาณ
วันละ 1 ชั่วโมง หรือซื้อหนังสือพิมพ์มาอ่านเพิ่มขึ้นอีกวันลบะ 1-2 ฉบับ
คิดเป็นร้อยละ 5 และ2 ตามลำดับ
ส่วนความเห็นของผู้ฟังรายการ ข่าวด่วน ต่อบทบาท ของสื่อหนังสือพิมพ์ ในอนาคต
หากมีรายการข่าวลักษณะดังกล่าว มากสถานีขึ้น พบว่าร้อยละ 85 คาดว่ารายการข่าวด่วนไม่มีผลทดแทนต่อสื่อมวลชน
ประเภทหนังสือพิมพ์ ที่เหลือร้อยละ 15 คาดว่ารายการข่าวเช่นนี้ จะมีผลทดแทนต่อสื่อมวลชน
ประเภทหนังสือพิมพ์
รายการข่าวด่วนแม้มีอิทธิพล แต่ละ ยังไม่ลดอิทธิพลสื่อหนังสือพิมพ์
รายการข่าวสดทางวิทยุกระจายเสียง 24 ชั่วโมง แม้จะมีอิทธิพล ในแง่รายการ
ได้รับความนิยมสูง และมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพื ให้ลดลง ตลอดจนมีผลต่อการคาดการณ์ของผู้ฟังรายการ
ถึงอนาคตของสื่อหนังสือพิมพ์ ในแง่ให้ผลทดแทนก็ตาม ทว่าจะยังไม่ลดอิทธิพลของสื่อหนังสือพิมพ์
เนื่องจาก เหตุผล 3 ประการ คือ
ประการแรก แม้ว่าหัวใจของข่าวด่วน จะอยู่ที่ ความเร็ว และทันต่อเหตการณ์
สามารถให้ข้อเท็จจริงได้ค่อนข้างถูกต้อง และรวดเร็วก่อนหนังสือพิมพ์ ออก
แต่สังคมยุคปัจจุบัน ข่าวสารได้เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์ ผู้สนใจติตามข่าวสารอย่างแท้จริง
มิได้ต้องการเพียงผู้บริโภค เพียงแค่คืบหน้า และทันต่อเหตุการณ์ข่าว และการสังเคราะห์ข่าวหรือเหตุการณ์
ซึ่งถือว่าเป็นอาหารสมอง ที่ต้องการความลึก สาระ และการอ้างอิง ซึ่งมากว่าความไวหรือรวดเร็ว
และสิ่งนี้ เป็นจุด ขายที่เป็นจุดแข็งของสื่อหนังสือพิมพ์ในฐานะแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ
( secondary source) รายการข่าวด่วน ทางวิทยุกระจายเสียงไม่สามารถจะสนองตอบต่อผู้ฟังในฐานะแหล่งข้อมูลอ้างอิงเช่นหนังสือพิมพ์
ได้
ประการที่สอง หากพิจารณาผลทดแทน ของรายการข่าวด่วน ทางวิทยุกระจายเสียง
ต่อสื่อหนังสือพิมพ์ พบว่า จะมีผลกระทบต่อสื่อหนังสือพิมพ์รายวันเท่านั้น
โดยผลกระทบที่สำคัญเป็นผลกระทบต่อเวลา ที่ใช้อ่านหนังสือพิมพ์ ในแง่ใช้เวลาอ่านลดลง
ส่วนผลกระทบต่อยอดขายหนังสือพิมพ์ที่จะเป็นผลตอบแทน แท้จริงสุทธิ จะมีระดับประมาณ
1-4% ( คำนวณจากตารางผลกระทบของรายการข่าวด่วน 24 ชั่วโมง ต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์ )
ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำ และเป็นผลกระทบต่อหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับเท่านั้น
อันได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวันที่จับกลุ่มลูกค้าทั่วไป ทีเสนอข่าวเศรษฐกิจสังคม
และการรเมือง ทั่วไป ส่วนหนังสือพิมพ์รายวัน ที่จับตลาดกลุ่มลูกค้าระดับล่าง
โดยเสนอข่าวประเภท" ข่าวชาวบ้าน" และหนังสือพิมพ์รายวัน ที่จับตลาดลูกค้าธุรกิจ
และเน้น การเสนอข่าวทางด้านการเงินและตลาดหุ้น เกือบจะไม่ได้รับผลกระทบ
กล่าวในอีกแง่หนึ่ง คือ แม้ทั้งรายการข่าว ด้านวิทยุกระจายเสียง และข่าวหนังสือพิมพ์
จะเป็น" ผลิตภัณฑ์ข่าวสาร" เช่นเดียวกัน แต่ต่างก็มีลูกค้า ของตนเอง
คือ ต่างก็ เป็น ตลาดสินค้าเฉพาะกลุ่ม ผลทดแทนกันอาจจะมีอยู่บ้างแต่ก็จะเกิดในลักษณะที่สื่อหนังสือพิมพ์ไม่สามารถบริการให้ทันต่อความ
ต้องการคือ ต้องรอ 1 วัน จึงทราบข่าวสาร หรือไม่สามารถบริการให้ได้ ดังนั้น
ผลทดแทนหากจะมีต่อหนังสือพิมพ์รายวันบางประเภทเท่านั้น มิใช่ต่อหนังสือพิมพ์ทุกประเภท
อย่างไรก็ดี หากการปรับตัวของหนังสือพิมพ์ต่อตลาดเป็นไปอย่างเชื่องช้าในขณะที่สื่อวิทยุสามารถให้ข้อมูลได้ดีพอๆ
กัน แต่รวดเร็วกว่ารายการข่าวด่วนผ่านวิทยุกระจายเสียงก็จะสามารถทดแทนหนังสือพิมพ์ได้อย่างสมบูรณ์
( perfect substiotuion)
ประการสุดท้าย ในทางตรงข้ามรายการข่าวด่วนทางวิทยุกระจายเสียงกลับให้ผลกระทบในลักษณะ"
ส่งเสริมกัน" จึงเป็นผลกระทบด้านบวกแทนที่จะเป็นผลทดแทนกัน ซึ่งเป็น
ผลกระทบด้านลบ อาทิ กระตุ้นให้เกิดการใช้สื่อวิทยุ และหนังสือพิมพ์ประกอบกัน
เป็นการรับสื่อ 2 ทาง และกระตุ้น ให้เกิดการแข่งขัน ในแง่สื่อ คือทำอย่างไร
หนังสือพิมพ์ในฐานสินค้า มวลชน และสินค้า ของสังคม จึงสามารถแพร่ข่าวสารได้รวดเร็ว
และทันต่อการพัฒนาของสังคมธุรกิจ นั่นคือการสร้างมูลค่าเพิ่ม และคุณค่าของข่าว
แทนการเพิ่มปริมาณการผลิตด้วยการเพิ่มบทวิเคราะห์ และวิจารณ์และวิจารณ์ ข่าวอย่างมีจรรยาบรรณ
และมีจริยธรรม
นอกจากนั้น สื่อหนังสือพิมพ์ ยังต้องการแนวโน้ม ที่จะปรับตัวเองในด้านคุณภาพ
ของเนื้อหา โดยการแยกประเภทข่าว เป็นส่วนของข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการเมือง ข่าวสิ่งแวดล้อม
ข่าววิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และบทวิเคราะห์ที่การถ่ายทอดเนื้อหาเป็น ไปในลักษณะน่าสนใจและง่ายต่อการเข้าใจ
อีกทั้งการดำเนินการควรเป็นธุรกิจสากล ที่ผลิตหนังสือพิมพ์หลายประเภท มาจำหน่าย
อาทิ หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือหนังสือ พิมพ์เสนอข่าวสารเฉพาะด้านมากขึ้น
เช่นหนังสือพิมพ์ด้านเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ประเภทการเมือง เป็นต้น เพื่อลดการเสี่ยงจากความไม่แน่นอนพร้อมกับการการเจาะกลุ่มผู้อ่านในเมืองใหญ่ทั่วประเทศโดยใช้การ
บริการงานด้วยเครือข่ายเชื่อมโยง ซึ่งจะทำให้ข่าวสารมีพลังเพิ่มขึ้น และสื่อหนังสือพิมพ์สามารถรักษาอิทธิพลของตนต่อสังคมต่อไปได้
กล่าวโดยสรุป ในสังคมยุคข่าวสารสื่อมวลชนทั้งวิทยุกระจายเสียง และสื่อมวลชน
ประเภทหนังสือพิมพ์ ควรยึดการแข่งขันในเรื่องคุณภาพของข่าวสารเป็นหัวใจ อันจะเป็น
การผลักดันสังคมสู่ทางเลือกใหม่ ที่ก้าวไปพร้อมกับการรังสรรค์สังคมด้วยความหมาย
ที่มีทั้งมิติของอุดมคติ และมิติทางธุรกิจที่ดี ที่จะร่วมกันสร้างซึ่งกันและกัน
การเก็บข้อมูลและการศึกษา
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาที่อาศัยการสัมภาษณ์ผู้ฟังรายการข่าวด่วน การสัมภาษณ์
ผู้ฟังรายการข่าวด่วน 24 ชั่วโมง ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เสนอ โดย 2 สถานี
คือคลื่น FM 94.5 เมกกะเฮรตซ์ โดยสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น และคลื่น FM 97.0 เมกกะเฮิรตซ์
ที่เสนอโดยเดอะเนชั่น โดยกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับผู้บริหาร (หมายถึงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป)
ระดับพนักงาน (หมายถึงระดับต่ำกว่าผู้จัดการลงมา) และนักศึกษาซึ่งอยู่ในระหว่างศึกษาปริญญาโท
รวมทั้งสิ้น 100 ราย
นอกจากนั้น งานวิจัย ดังกล่าว ยังได้อาศัยฐานข้อมูลข่าว และ เอกสารทางวิชาการทางด้านสื่อสารมวลชน
ประเภทวิทยุกระจายเสียง และหนังสือพิมพ์เป็นพื้นฐานประกอบการศึกษาวิจัย
การศึกษานี้ จะศึกษาเฉพาะผลกระทบของสื่อมวลชนไฟฟ้า ( Electronic media)
ประเภทรายการ ข่าวด่วน 24 ชั่วโมง ที่เสนอทางวิทยุกระจายเสียงต่อสื่อมวลชน
หนังสือพิมพ์เท่านั้น