หลังจากประกาศตัวเป็นพันธมิตรธุรกิจกับวินสโตร์ เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีและให้บริการทางด้านการเงินแก่กระบวนการจัดส่งสินค้าหรือ
Supply Chain Management
ธนาคารกสิกรไทยเตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่รองรับกระบวนการดังกล่าว รวมถึงการ
พัฒนาไปสู่การค้า e-commerce ที่เต็มรูปแบบต่อไปในอนาคต ซึ่งขณะนี้ธนาคารกำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะเข้าไปมีบทบาทในเรื่องของ
Supply Chain Management มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ดีในไตรมาส 2 ของปีหน้าจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ของกสิกรไทยในส่วนนี้อย่างแน่นอน
ธีรนันท์ ศรีหงส์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดและผลิตภัณฑ์บรรษัทธุรกิจ
บมจ. ธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึงแนวความคิดของธนาคารกสิกรไทยในการเปิดบริการทางอิน
เตอร์เน็ตไว้อย่างน่าสนใจ
"ตอนนี้ยังไม่รู้สึกว่าช้า คือถ้าพูดถึงกสิกรไทยกับเว็บ (web) ผมว่าเราเป็นหนึ่งในองค์กรแรกๆ
ที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง และตอนนี้ก็เป็นคอร์ปอร์เรทเว็บเพจที่เติบโตมาก
นโยบายของกสิกรไทยทำอะไรก็ตามจะต้องสร้างคุณค่าที่แท้จริง ซึ่งการค่อยๆ
คิดว่าอะไรคือคุณค่าที่แท้จริงนั้น ต้องลงทุนทั้งด้านเวลาและสมอง แต่หลังจากนั้นเราจะมีทิศทางที่ชัดเจน
และออกบริการมาอย่างต่อเนื่อง
ผมว่าการนำเข้าเทคโนโลยีโดยการลอกเลียนแบบโมเดลที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องยาก
แต่กสิกรไทยไม่ได้สร้างมาจากฐานการทำตามคนอื่น โจทย์ที่เราเริ่มต้นในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ
อะไรคือคุณค่าที่แท้จริงที่ให้แก่ลูกค้าได้ และอะไรคือความต้องการที่แท้จริงของกสิกรไทย ซึ่งบริการที่ออกมาแล้วที่บอกว่าเป็น e-commerce solution ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายที่เขาใช้การลงทุนไปเยอะเหมือนกันแต่ไม่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล เพราะอาจจะยังไม่ได้ทำการวิจัยสำรวจที่แท้จริง
เรามีทางเลือกมากมายที่เราจะทำได้ เช่น อาจจะไปเป็นที่ปรึกษาในการเข้าสู่ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ควบคู่กับการให้บริการด้านการรับจ่ายเงิน
หรือจะเป็นผู้ให้บริการด้านการรับจ่ายเงินอย่างเดียว เราอยากจะคิดให้ดีก่อนที่จะกระโดดเข้าไปอย่างเต็มตัว
เราไม่อยากสร้างอะไรขึ้นมา เสร็จแล้วไม่มีใครใช้หรือใช้กันอยู่ในวงแคบๆ ซึ่งไม่ได้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลอย่างแท้จริง"
สำหรับการพัฒนาระบบ Supply Chain Management ของธุรกิจการค้าในเมืองไทย
ถือเป็นกระบวนการหนึ่งในการเข้าสู่การค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์และกระบวน
Electronic Fund Transfer ถือเป็นหัวใจสำคัญในการชำระเงินซึ่งกันและกัน ดังนั้นผลิตภัณฑ์
ที่ธนาคารออกจะต้องช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นและความสะดวกแก่ลูกค้าที่ต้องการจะใช้คอนเซ็ปต์ของ Supply Chain ให้สามารถทำได้โดยมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากที่สุด
โดยมีความกังวลเรื่องการชำระเงินที่ต่ำที่สุดและมีความปลอดภัยในการทำ transaction
เหล่านั้นสูงที่สุดด้วยต้นทุนที่สมเหตุสมผล ทั้งหมดนี้คือทิศทางในการออกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบ
Supply Chain Management ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งในส่วนนี้ทางธนาคารต้องอาศัยพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญทางด้านไอทีเข้ามาช่วย ทั้งในด้านของซอฟต์แวร์และระบบซีเคียวริตี้ของเน็ตเวิร์ก
อันเป็นการลงทุนต่อเนื่องนับจากนี้ไป ดังนั้นตลอดจนสิ้นปีนี้ถึงไตรมาสแรกของปีหน้า
กสิกรไทยจะยังไม่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับบริการด้าน Supply Chain
Management
บริการจัดการการเงินแก่ร้านค้าปลีก
ดีลนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 3-4 เดือนที่ผ่านมา โดยเริ่มจากการที่วินสโตร์เข้ามาคุยแนวคิด
ในเรื่องการเป็นผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีในการจัดการระบบการจัดส่งสินค้าภายใต้คอนเซ็ปต์
ECR กับธนาคาร ซึ่งในกระบวนการดังกล่าว ระบบการรับ-จ่ายเงินถือเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้
ธนาคารกสิกรไทยได้พิจารณาจากบริการทางการเงินที่หลากหลาย และสาขาที่มีอยู่มากกว่า
500 สาขา และตู้เอทีเอ็มอีก 700 กว่าแห่งทั่วประเทศ ที่พร้อมให้บริการได้ทันที
โดยเฉพาะบริการ Cash Management อันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับ E-BUSINESS และ
Supply Chain ที่มีมานานนับ 10 ปีแล้ว เช่น บริการเกี่ยวกับเช็คต่างๆ บริการเทเลโฟนแบงกิ้ง
เป็นต้น จึงตกลงทำธุรกิจร่วมกับวินสโตร์ในฐานะผู้ให้บริการทางด้านการเงินทั้งทางด้านรับเงิน
จ่ายเงิน และการบริหารสภาพคล่อง
"เราไม่ได้เป็นผู้บริหารสภาพคล่องให้แก่ลูกค้าโดยตรง แต่เราเป็นผู้ให้บริการที่ทำให้กระบวนการบริหารสภาพคล่องของลูกค้าสะดวกขึ้น"
ธีรนันท์กล่าว
บริการจัดการทางด้านการเงิน หรือ Cash Management ที่ธนาคารกสิกรไทยให้บริการแก่ลูกค้าของวินสโตร์
ประกอบด้วย
ELECTRONIC FUND TRANSFER หรือ (EFT) คือ กระบวนการรับ-จ่ายเงินอัตโนมัติ
ที่เกิดขึ้นระหว่างวินสโตร์กับลูกค้าทั้งส่วนของผู้ผลิต ซัปพลายเออร์ และร้านค้าสะดวกซื้อ
ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์
"ตอนนี้เราอยู่ระหว่างการคุยกันในรายละเอียดว่ากลไกในการชำระเงินอัตโนมัติจะเป็นอย่างไร เช่น เรื่องของใบแจ้งเก็บเงินจากวินสโตร์ ซึ่งถ้าหากร้านค้าบางรายบอกว่า
ห้ามตัดเงินจนกว่าเขาจะได้รับบิลนั้น ถ้าแบบนั้นก็ต้องคุยกันอีกว่าอย่างนั้นเขาจะรับบิลนั้นด้วยอะไร ด้วยกลไกแบบไหน ก็ต้องลงในรายละเอียด"
ธีรนันท์ ชี้แจง
บริการสินเชื่อให้แก่ร้านค้า โดยทางธนาคารได้ตกลงกับวินสโตร์ว่าจะให้บริการวงเงินสินเชื่อแก่ร้านค้าที่มีประวัติการจ่ายเงินดี
เพื่อให้การชำระเงินกับวินสโตร์ คล่องตัวมากขึ้น
บริการให้ร้านค้าใช้บริการของธนาคารผ่าน PC ของตัวเองได้ โดยร้านค้าแต่ละรายจะสามารถขอดูสถานะทางการเงินของตัวเองผ่านทางบัญชีออนไลน์ได้
ธนาคารพร้อมให้บริการทั้งหมดที่กล่าวมาอยู่แล้วในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ
ที่ธนาคารกำลังพัฒนาอยู่ เช่น บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ต (Internet Banking)
เป็นต้น
สำหรับค่าธรรมเนียมในการให้บริการนั้น ธีรนันท์กล่าวว่ายังไม่มีการสรุปในเรื่องนี้อย่างชัดเจน
เนื่องจากต้องมีการตกลงร่วมกันหลายฝ่าย เพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกัน
"ผมคิดว่าการลงทุนในเชิงความคิดเชิงเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่สำคัญ และมีคนพร้อมที่จะลงทุนหรือสามารถหาพันธมิตร
นี่เป็นโจทย์ที่ผมตอบไม่ได้ แต่ผมคิดว่าถ้าเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพที่ดี อย่างไรเสียก็มีคนอยากเข้ามาทำ"
นี่คือเหตุผลว่าเหตุใดกสิกรไทยจึงเข้ามาทำธุรกิจร่วมกับวินสโตร์ และสิ่งที่กสิกรไทยจะได้มากกว่านั้นคือ
ฐานลูกค้าธุรกิจขนาดกลาง (Corporate Banking) ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างน้อยก็อีก
1,000 รายในปีหน้าอย่างแน่นอน