Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536
นิธิทัศน์+ออนป้า จับมือลุยตลาดซีดี             
 


   
search resources

ดิจิตอล ออนป้า อินเตอร์เนชั่นแนล, บมจ.
Musics
ยูนิเวอร์แซล ซีดี, บจก




การจับมือร่วมกันระหว่างยักษ์แห่งวงการเพลง " นิธทัศน์-ออนป้า" โดยตั้งบริษัท ยูนิเวอร์เซล ซีดี จำกัดขึ้น เพื่อผลิตแผ่นคอมแพ็คดิสท์ ในประเทศ นับว่าเป็นการรวมตัวทางธุรกิจครั้งสำคัญของวงการเพลง

ทั้งนี้ ก็เป็นเพราะว่าค่ายนิธิทัศน์ นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในวงการว่า เป็นยักษ์ใหญ่ของผู้ผลิตเพลงที่ไม่เคยมีความคิดอยู่ในสมองว่าจะลงทุนร่วมกับใครใน การทำธุรกิจใดก็ตาม แนวความคิดนี้ วิเชียร อัศว์ศิวะกุล แห่งนิธิทัศน์ บอกว่า เพื่อเป็นการป้องกันการขัดแย้งอันอาจจะเกิดขึ้นระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันในขณะที่วิโรจน์ ปรีชาว่องไว คนโตของออนป้า ก็บอกว่า ไม่เคยมีปัญหา ในเรื่องของเงินทุน ถึงขนาดถึงต้องวิ่งหาใครเข้ามาช่วยสนับสนุน

ยูนิเวอร์แซล ซีดี เป็นการร่วมทุนร่วมในสัดส่วน ที่เท่า ๆ กัน ระหว่างวิเชียร กับวิโรจน์ โดยมีวิเชียร เป็นประธานกรรมการและวิโรจน์ เป็นกรรมการบริหาร

จะว่าไปแล้ว ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างทำงานเอื้อหนุนธุรกิจของกันและกัน ในทำนองน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า มาตลอดกว่าทศวรรษ ที่ผ่านมาจนสร้างความยิ่งใหญ่ ค่ายหนึ่งเป็นยักษ์แห่งผู้ผลิตเสียงเพลงอีกค่ายหนึ่งคือเจ้าพ่อแห่งวงการผู้ผลิตเทปที่มีมูลค่าตลาดเทป ณ วันนี้ สูงกว่า 3000 ล้านบาท

การเกิดของยูนิเวอร์แซล ซีดี ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ของทั้ง 2 ค่าย เริ่มมต้น ด้วยการลงทุน เพียง 160 ล้าน บาท ซื้อเครื่องจักรเข้ามาเพื่อทำการผลิตซีดี ณ วันนี้ มีมูลค่าตลาดเพียง แค่ 1% ของตลาด เทปเพลง เท่านั้น แต่ ในวันข้างหน้า วิโรจน์ ตั้งเป้าไว้ว่าไม่เกิน 5 ปี เท่านั้น ตลาด แผ่นซีดีจะเติบโตได้ถึง 1000 บ้านบาททีเดียว หรือเติบโตในอัตราส่วน กว่า 200% ในขณะทีปี่ 36 คาดกันว่า ตลาดจะขยายตัวเพียง 20%

"พวกเรา มานั่งคิดกันแล้วว่า ถ้าไม่ทำวันนี้ ก็อาจช้าไป เพราะเมืองไทยช้ากว่าประเทศอื่น ๆ มานับ 10 ปี และหากว่า เราไม่เริ่มต้นผลิตในประเทศ ความหวังที่จะให้ตลาดซีดีเกิดก็ย่อมจะไม่มี" วิโรจน์ ปรีชาว่องไวกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทยูนิเวอร์แซลซีดี จำกัด หรือในอีกหมวกหนึ่งที่สวมอยู่ ก็คือประธานบริษัท ออนป้า จำกัด กล่าวกับ " ผู้จัดการ"

ปัจจุบันปัญหาของตลาด แผ่นซีดี ที่ไม่เติบโต เท่าที่ควร แม้ว่า จะเข้ามาเมืองไทย และเป็นที่นิยมในหมู่นักฟังเพลงก็คือราคา ของแผ่นซีดี อยู่ในอัตราที่สูงตกแผ่นละประมาณ 400-500 บาท ทั้ง ๆ ที่ ต้นทุนการผลิต แผ่นคอมแพ็คดิสท์ นี้จะตก ประมาณ 20% ของราคาขาย เท่านั้น กลุ่มเป้าหมาย ของตลาด นี้จึงเป็นตลาดของผู้มีรายได้ระดับสูงไป ทว่ากลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ ก็กลับไม่พิสมัยแผ่นซีดีในบ้านเรา โดยส่วนใหญ่ 80% กลุ่มผุ้บริโภค กลุ่มนี้ จะพึ่งพาแผ่นซีดี จากตลาดต่างประเทศซึ่งมีราคาถูก มากกว่าจะพึ่งพาตลาดเมืองไทย

ราคาของแผ่นซีดีที่ขายอยู่ในปัจจุบัน มีราคาสูง ถึงแม้ จะเป็นเพลงไทยก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้ผลิตเหล่านี้ได้นำเพลงไปอัดลงแผ่นที่ต่างประเทศแล้วส่งกลับเข้ามาขายในเมืองไทยอีก ครั้งดังนั้นต้นทุนที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องของการว่าจ้างผลิตและภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องส่วนซีดีเพลงต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นการกว้านซื้อมาจากแหล่งใหญ่คือฮ่องกงและสิงคโปร์

เงื่อนไขของราคาแผ่นซีดี จึงเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขและการลงทุนสร้างโรงงานผลิตแผ่นซีดีในประเทศ ย่อมเป็นตัวจักรแห่งกลไกหนึ่งที่สามารถลดระดับเพดานราคาของแผ่นซีดีลงได้

นั่นหมายความว่า หากซีดีผลิตในเมืองไทย ย่อมทำให้เกิดการแข่งขัน ราคาจึงเป็นกลยุทธ์สำคัญว่ากันตามจริง แล้วลำพังเสียออนป้าย่อมแก้ปัญหานี้ได้ ด้วยกำลังของตนเอง ที่มีอย่างเหลือเฟือ ด้วยวิธีที่กล่าวข้างต้น แต่ที่วิโรจน์ ดึงวิเชียร เข้าร่วมด้วยครั้งนี้ว่ากันว่าเพราะเป็นวิธีป้องกันเจ็บตัว อันอาจเกิดจาการลงทุนผลิตซีดี ของค่ายนิธิทัศน์ ซึ่งย่อมมีกำลังทำได้เช่นเดียวกัน ทั้ง 2 คน ย่อมรู้ดีว่า แม้ตลาดซีดีในอนาคตจะสดใสเพียงใด แต่หากมีผู้ผลิตมากรายแล้ว ก็เป็นเรื่องเหนื่อยแรงสำหรับการแข่งขันสู้จับมือกันเสียดีกว่า เพราะอีกฟากหนึ่งค่ายแกรมมี่ เองก็มีร่วมทุนอยู่กับไรท์แทกซ์ ผู้ผลิตแผ่นซีดีรายที่ 2 ของเมืองไทย

ที่สำคัญกว่านั้น ก็คือลูกค้ารายใหญ่ ของยูนิเวอร์แซล คงหนีไม่พ้น นิธิทัศน์แน่ เพราะว่ามีลิขสิทธิ์ เพลงไทย อยู่ในครอบครองเป็นพัน ๆ เพลง พร้อมที่จะอัดลงแผ่นซีดีได้ทันที

ยูนิเวอร์แซล ซีดี มีกำลังการผลิตเต็มที่ประมาณ 250,000 แผ่นต่อเดือน ปีหนึ่งสามารถผลิตได้ถึง 3 ล้านแผ่น

" แต่เนื่องจากตลาดในเมืองไทย ยังเล็กมีเพียง 1% ของตลาดเทปคลาสเสท หรือประมาณ 200-300 ล้านบาทเท่านั้น ในช่วงนี้ จึงเดินเครื่องผลิตไม่เต็มที่"

อย่างไรก็ตาม ตลาดซีดี จะเติบโตได้เนื่องจาก แรงสนับสนุน ที่มาจาก หลายทางด้วยกัน ทางหนึ่งก็คือ การปรับลดภาษีของรัฐบาล เรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้า ทางหนึ่งราคาของซีดีเอง และอีกทางหนึ่ง คือความนิยม ในเทปคลาสสิคลดลงอันเนื่องมาจากราคาเทปที่เริ่มสูงขึ้น คาดว่าปีหน้าปกเทปจะมีราคา 100 บาท แต่จะขายในราคา 70 บาท ในขณะที่ซีดีมีราคาแผ่นละ 250 บาท และคาดว่ในปีหน้า จะเหลือเพียง 200 บาท

หากเทียบคุณภาพของเทปคลาสเสทและซีดี แล้ว ช่องว่างระหว่างราคาจะทำให้เทปคลาสเสท ถูกแผ่นซีดีเข้ามาแทน ที่ได้อย่างแน่นอน อีกกรณีหนึ่ง ของการขยายตัวของตลาดซีดี ก้คือการแข่งขันกันเองของซีดีที่ผลิตได้ในประเทศ

นอกจากนั้น ในอนาคต ซีดี จะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในวงการคอมพิวเตอร์ ในแง่ของการเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลตัวหนึ่ง ที่สามารถจะเข้ามาแทนที่ ฟล็อบบี้ดิสท์ได้ ขณะเดียวกันแผ่นเลเซอร์ดิสท์ที่มีขนาดใหญ่ก็จะมีการลดขนาดลงเหลือเพียงเท่าขนาดคอมแพ๊คดิสท์เท่านั้น

หมายความว่า คอมแพ๊คดิสท์ มิใช่มีประโยชน์ เพียงเพื่อรองรับตลาดเสียงเพลงเท่านั้น อนาคตคอมแพ๊คดิสท์ จะเข้าไปอยู่ในส่วนของการใช้ชีวิตประจำวันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเสียง ภาพถ่ายซึ่งเวลานี้ ฟูจิ และโกดัก
ก็ได้นำวิวัฒนาการสมัยใหม่เกี่ยวกับการถ่ายภาพบันทึกลงในแผ่นซีดีเข้ามาขายในเมืองไทยแล้ว ความคาดหมายของผู้ผลิตแผ่นซีดี ที่ได้ตั้งเป้าไว้ว่า แนวโน้มตลาดจะเติบโตขึ้นได้ หลายร้อยเท่า ของที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องเพราะความนิยมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเงื่อนไขข้อจำกัดเรื่องราคาหมดไป ขณะเดียวกัน เครื่องเสียงซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องรองรับผู้ผลิตซอฟท์แวร์ ก็มีพร้อมในเรื่องของราคาอยู่แล้ว นั่นย่อมหมายความว่านับจากนี้ต่อไปไม่เกิน5 ปี ซีดีจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากมาย ตลาด 1000 ล้านบาท จึงไม่ไกลเกินเอื้อม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us