Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536
ทีโอเอ วันที่กลับไปสู่แผ่นดิน "ตัวอะ"             
 


   
search resources

ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย), บจก.
ประวิทย์ ตั้งถาวรคุณ
Paint




บริษัท ทีโอเอ ผู้ผลิตและจำหนายสี ยี่ห้อ " ทีโอเอ" และ ยี่ห้ออื่น ๆ มีรากฐานมาจากกิจการร้านขายเหล็ก และวัสดุก่อสร้างที่ใช้ชื่อว่า ไทยแสงเจริญ เมื่อปี พ.ศ.2500 หลังจากนั้น ก็ขยับขยายธุกริจไปเป็นตัวแทน จำหน่ายสีน้ำมัน และสีพลาสติก จากญี่ปุ่น ในนามของบริษัท ไทยเกษมเทรดดิ้ง จำกัด

เมื่อรากฐาน เริ่มเข้ารูปเข้ารอย จึงได้พัฒนาไปสู่การจัดตั้งโรงงานผลิตและจำหน่าย สี ขึ้น ในปี 2515 แบรนด์ TOA จึงได้ฤกษ์เขย่าตลาดสีนับตั้งแต่วันนั้น

" เรานำสีญี่ปุ่น เข้ามาขาย ยี่ห้อ TOA อ่านว่า เป็นภาษาญีปุ่นตัวอะ" แปลว่า จีนตะวันออก แต่ว่าไม่ใช่เครื่องหมายการค้าเดียวที่เราใช้อยู่ตอนนี้ นำเข้ามาได้สัก 2 ปี ก็มีสินิปปอนเพ้นท์ และไอซีไอ เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในไทย เราจึงชวน ให้ผู้ผลิตที่ญี่ปุ่นมาร่วมลงทุนตั้งโรงงาน ที่นี่ แต่เขาตอบปฏิเสธ เนื่องจากตลาดสีในเมืองไทย ยังเล็กเกินไปเราก็เลยตัดสินใจยกเลิกการนำเข้า มาตั้งโรงงานเอง" ประวิทย์ ตั้งคารวคุณ กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัททีโอเอ เล่าให้ฟังถึงที่มาของกิจการ

ประวิทย์ เป็นน้องสุดท้องในบรรดาทั้งเจ็ดของเป๋งคุณ ตั้งคารวคุณ ซึ่งเป็น 4ใน 7 คนนี้ คือกำลังหลักสำคัญที่ผลักดันทีโอเอ จนเติบใหญ่ขึ้น มาได้ ภายใต้การนำของทายาท คนที่3 คือประจักษ์ ซึ่งวันนี้ ถือว่าเป็นเบอร์ 1 ของทีโอเอ ใน ฐานะประธานกลุ่ม

หลังจากใช้เวลา 2 ปี พัฒนาตัวสินค้าสียี่ห้อ ทีโอเอ เมดอินไทยแลนด์ ซึ่งเป็นชื่อเดียวที่เคยนำเข้า แต่ออกเสียงตรงตัวตามตามภาษาอังกฤษ ว่า ทีโอเอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสิทธิในเครื่องหมายการค้า ก็เริ่มเข้าสู่ตลาดสีได้อย่างมีหลัก ภายใต้คติการด้านธุรกิจแบบ" ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัดและมีคุณธรรม" 4 พี่น้อง ตระกูล คาราวคุณ ก็สร้างทีโอเอ ให้เติบใหญ่แห่งวงการสีสามารถครองส่วนแบ่งตลาดของสีระดับกลาง ได้ถึงร้อยละ 35 พ่วง ด้วยกิจการอื่น ๆ ในสายที่เกี่ยวเนื่องอีก 13 สาย

สามสิบกว่าปี นับจาการก่อเกิดของ " ไทยแสงเจริญ" วันนี้ ถึงเวลาแล้ว ที่ทีโอเอ จะต้องไปบุเกบิกและสร้างอาณาจักร แห่บงใหม่ นอกประเทศ ซึ่งประวิทย์ ได้ชี้แจง ถึงเหตุผล และข้อดี ที่จะได้รับ ว่า

" โลกได้เปลี่ยนแปลง ไปมาก เทคโนโลยีได้ก้าวหน้าอยู่ ตลอดเวลา ถ้าเราอยู่เฉพาะ เมืองไทย เทคโนโลยี หลาย ๆ อย่าง จะไม่เข้ามาถึงตัวเรา เราต้องออกไปข้างนอกด้วย เพราะฉะนั้น จึงทำให้เราขขยายเป็น international Company ซึ่งจะทำให้ธุกริจก้าวงหน้าขยายตัวไปเรื่อย ๆ ไม่แช่ตัว อยู่เพียงเจนเนอเรชั่นเดียว เราต้องก้าวไปอยู่รุ่นที่ 5 รุ่นที่ 6"

เมืองจีน ในวันนี้ คือ ความหวัง เต็มเปี่ยมสำหรับนักลงทุน และนักธุรกิจต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล ผู้มีความเชื่อหนึ่งว่า หากมีโอกาส จะต้องกลับไปพัฒนาความเจริญให้กับแผ่นดินแม่น้ำเหลือง

ทีโอเอ ก็เลือกที่จะไปลงทุน " ตัวอะ" หรือประเทศจีน เป็นแห่งแรก

" เรามีตัวแทน เป็นคนจีน ประจำอยู่ที่นั่น 1 คน เราคิดที่จะลงทุน ตั้วแต่ปี 30 ผมส่งตัวแทนไป 2-3 ครั้ง แต่เผอิญ ช่วงนั้นเศรษฐกิจ เมืองไทยบูมมาก ๆ ทำให้เราเราไม่มีกำลังคนพอ เพราะช่วงนั้น ขาดคนมาก เราจึงขยาย ในเมืองไทยก่อน พอตั้งหลักได้เราก็ไป" ประวิทย์ กล่าว

การไปลงทุน ในต่างประเทศในครั้งแรกนั้น ดูเหมือนเป็นความเสี่ยงประการหนึ่ง เพระาขาดประสบการณ์ แต่ประวิทย์ ก็มันใจในเรื่องคุณภาพ ของสีทีโอเอ ว่าจะสามารถสู้กับคู่แข่งได้เนื่องจากมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนารวมทั้งการซื้อเทคโนโลยี จากต่างประเทศทั้งยังมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนวัตถุดิบด้วย

" เรามีส่วนแบ่งตลาดในเมืองไทยสูง เพราะนั้นเรา จะใช้ที่นี่ เป็นศูนย์ในการสั่งซื้อ วัตถุดิบจากญี่ปุ่น ส่วนหนึ่ง ส่งมาเมืองไทย อีกส่วนหนึ่งก็ส่งไปเมืองจีน ซึ่งจะทำให้ได้ต้นทุนที่ต่ำกว่า ทุกวันนี้ กำไรที่ผมได้ก็อยู่ตรงนี้ เพระผมซื้อก้อนใหญ่ ผู้ผลิตรายอื่น ที่เล็กกว่า ผมก็ซื้อแพงกว่าผม" กรรมการผู้จัดการ ทีโอเอ พูดถึงกุญแจสำคัญในการเข้าสู่ตลาดจีน

คนไทยรู้จักวาทีโอเอ คือสีทาบ้าน แต่สำหรับคนจีนแล้ว อาจจะมีปัญหาในการขายตึกและสีดังเดิมของวัตถุนั้น ๆ และไม่ชมชอบให้บ้านของตัวเองถูกแต่งแต้ม ด้วยสีสังเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นสีอะไร ยี่ห้อไหนก็ตาม

ประวิทย์ เล่าให้ฟังว่า รสนิยมของจีน หนักไปทางยุโรป คือ ตัวตึก จะใช้พวกโมสเด หรือเซรามิก เป็นหลัก ที่จะ ทาสีมีน้อย มาก แม้แต่บริษัท ต่างชาติ ก็ตาม ก็ยังนิยม ให้ภายนอกตึกปล่อยซิเมนต์ แต่อาจจะทาสีข้างในบ้าง

ด้วยเหตุนี้ ตลาดทีโอเอ วางเป้าไว้ จึงเป็นสีอุตสาหกรรม ไม่ใช่สีทาบ้าน และเมื่อเริ่มนับหนึ่งในเมืองจีนแล้ว สอง สาม สี่ ก็ต้องมีให้เห็น บนพื้นฐานของ ความมั่นใจ ที่ทีโอเอ มีต่อเศรษฐกิจจีน และศักยภาพของตัวเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us