Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536
"ล็อกซ์บิท" งานถนัดของพัลลภ นาคพิทักษ์             
 


   
search resources

พัลลภ นาคพิทักษ์
Telecommunications
ล็อกซบิท, บมจ.




ล็อกซเลย์ บิสสิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี ( Loxbit) เป็นบริษัทน้องใหม่ในกลุ่มล็อกซเล่ย์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อเจาะตลาดไฮเทค ธนาคารโดยเฉพาะ มีพัลลภ นาคพิทักษ์ อดีตผู้จัดการตลาดการเงินและธนาคารของไอบีเอ็ม ซึ่งลาออกจากไอบีเอ็ม ในยุคสมองไหล เมื่อ ปีก่อน และมาร่วมมงานกับล็อกซเลย์ ในบริษัทฮัทชิสัน เทเลคอม มิวนิเคชั่น( ประเทศไทย) เป็นกรรมการผู้จัดการ

ล็อกซบิท เกิดจากการร่วมกันของบริษัทฮัชิสัน เทเลคอม มิวนิเคชั่นส์ เข้ากับบริษัทซิสเต็ม ออกาไนเซชั่น มี ทุนจดทะเบียน ทั้งสิ้น 5 ล้านบาท กลุ่มล็อกซเล่ย์ ถือหุ้น 100%

การเกิดขึ้นของล็อกซบิท และบริษัทใหม่ๆ ในกลุ่มล็อกซเล่ย์ เช่นบริษัท เทเลโฟน อีควีปเม้นทท์ แอนด์ แอคเซนส์ซอรี่ส์ หรือทีอีเอ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดโครงสร้างกลุ่มใหม่ของล็อกซเล่ย์ เพราะบริษัทๆ กำลังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างกล่มเพื่อยื่นขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมี บงล. ภัทรธนกิจ เป็นที่ปรึกษาจัดโครงสร้างอยู่ในเวลานี้

ธงชัย ล่ำซำ อธิบายตรงนี้ว่า เป็นความพยายาม ที่จะรวมธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และมีอนาคตในเชิงธุรกิจที่ดีเข้ามาไว้ด้วยกันเพื่อจะได้มีขอบข่ายการดำเนินงานที่ชัดเจนใน อุตสาหกรรมนั้น ๆ

พัลลภ เปิดเผยกับ " ผู้จัดการ" ว่า" บริษัทล็อกซเล่ย์ ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่น จะหายไป แต่งานทั้งหมด ของบริษัท นี้จะมารวมที่ล็อกซบิท และฮัทชิสัน จะกลายเป็นแผนกหนึ่งในบริษัทใหม่แห่งนี้"

ทั้งนี้ มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า เป็นเพราะการขยายตัวของฮัทชิสัน ในไทย และอินโดจีน ไม่ประสบควมสำเร็จหรือไม่ อัทชิสัน จึงลดบทบาทในตลาดแถบนี้ พัลลภ กล่าวว่า"

บทบาทของฮัทชิสันในบริษัทเก่าก็จะมาเป็นแผนกโครงการพิเศษในล็อกซบิท ฮัทชิสันยังสนใจในเรื่องอินโดจีน หากทางล็อกซเล่ย์มีโครงการอะไรที่เกี่ยวกับโทรคมนาคม ก็อาจจะชวนว่า เขาสนใจไหม หากฮัทชิสันสนใจ ก็อาจจะมาตั้งเป็นโครงการร่วมทุนขึ้นมา"

นั่นเท่ากับฮัทชิสัน ลดขอบข่ายการทำธุรกิจลงโดยสิ้นเชิง

ล็อกซบิท ทำธุรกิจไฮเทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมธนาคารโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นงานที่พัลลภ มีประสบการณ์อย่างช่ำชอง มาจากไอบีเอ็ม เขาอยู่ไอบีเอ็มมา 12 ปี ดูแลตลาดนี้มา โดยตลอด เครื่อง ATM ของไอบีเอ็มนั้น เขาก็เป็นคนเอาเข้ามาเป็นคนแรกที่ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมกับบรรณาวิทย์ บุญญรัตน์

การโยกย้ายมาเป็นหัวเรือ ใหญ่ของล็อกเซบิท จึงเป็นการกลับสู่ตลาดเก่าที่เจ้าตัวมีความชัดเจนเป็นแต้มต่อสำคัญ

สินค้าที่พัลลภตั้งใจจะวางขายในตลาดนี้ ได้แก่เครื่องนับแบงก์ เครื่องดูแบงก์ปลอม ซึ่งเป็นเครื่องขนาดใหญ่ ราคาตัวละ 20-30 ล้านบาท และเครื่องมืออีกมากมาย ที่จะใช้ในงานทั้ง Back และ Front office พัลลภ มองว่า ยังมี aplication อีกมากมายหลายอย่างในงานธนาคาร ที่ยังไม่มีการนำมาใช้ ดยเฉพาะในส่วนงานแบ็คออฟฟิค

" ไฮ-เทคดนดลยี ที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมธนาคารในเวลานี้ มีเพียง 50% เท่านั้น และส่วนมากจะใช้ในฟร้อนออฟฟิค เพราะการแข่งขันอยู่ที่ส่วนนี้ แต่ผมคิดว่า ก็ยังทำกันไม่ครบวงจรจริง ๆ หากจะทำให้ครบวงจร ของธนาคารไฮ-เทค แล้ว ต้องใช้เวลา อี ก5-10 ปี" พัลภ กล่าว

ในส่วนของธุรกิจที่เกี่ยวกับระบบ DDP หรอื Distribution Data processing นั้น จะมีการขายเครื่อง PC ด้วย ซึ่ง พัลลภ เปิดเผย ว่า " กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาว่าจะขายของใคร แต่ส่วนที่เป็นเครื่องนับแบงก์นั้น ผมขายของบริษัท Recognition Equipment in CorportateW

ต่อไปล็อกซเล่ย์ จะเป็นผู้ขายเครื่องพีซีรายใหญ่เพราะพัลลภ มองว่า แนวโน้มของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ในเวลานี้ จะมีการใช้เครื่องขนาดเล็กมากกว่าเครื่องเมนเฟรม โดยมีเหตุผลสนับสนุนหลายอย่าง ทั้งในเรื่องของราคาความสามารถของเครื่องและแนวโน้มของธุรกิจเองที่มีการกระจายอำนาจการ บริหารแก่สาขามากขึ้น ซึ่งเท่ากับว่าอำนาจของการบริหารข้อมูลก็ต้องถูกกระจายลงไปด้วย

นอกจากฮาร์ดแวร์ แล้ว ล็อกซบิท ยังจะขายซอฟท์แวร์ ด้วย ซึ่งอาจจะออกมาในรูปของการพัฒนาขึ้นเอง หรือร่วมพัฒนากับบริษัทต่างชาติ

พัลลภฝันว่า จะมีสินค้าที่ลงทุนเพราะคนชื่อพัลลภ ซึ่งมีประสบการณ์ตลาดไฮ-เทคฯ ธนาคารจากไอบีเอ็ม เป็นเครื่องหมายรับประกันความอุ่นใจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us