Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536
สุเมธ เตชะไพบูลย์ "ซำเสี่ย" ผู้จากไป             
 


   
search resources

ชวลิต เตชะไพบูลย์
สุเมธ เตชะไพบูลย์
พรเทพ เตชะไพบูลย์




" คุณพ่อไม่เคยวางมือ ท่านเป็นคนทำงานอาทิตย์ละเจ็ดวัน เป็นคนเข้มแข็งมาก "น้ำเสียงของลูกที่แม้จะสะกดกลั้นความสูญเสีย ไว้ได้ ก็ยังมีน้ำตาคลอเบ้า อยู่บาง ๆ บนใบหน้าของชวลิต เตชะไพบูลย์ ทายาทธุรกิจคนโตของสุเมธ"

สุมเมธ มีบุตรทั้งสิ้น 7 คน ซึ่งเกิดจากภรรยาสองคน บุตรซึ่งเกิดจาก " ฉวีวรรณ" ได้แก่ ชวลิต วิวรรณา วิไลวรรณ ส่วนบุตรอีก 4 คน ที่เกิดจาก " รังษี" คือ ชลชินี กริยารมช. พาณิชย์ ไชชยยศ สะสมทรัพย์ อดิศร พรเทพ และดนุนุช

ในบรรดาบุตรทั้งหมด บุคคลที่ประสบความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงให้กับวงศ์ตระกูล คือ ชวลิต และพรเทพ ที่มุ่งมั่นทำงานการเมือง จนได้รับเลือกตั้งในฐานะ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ชวลิต จลปริญญาโทสาขาบริหารจาก UCLA เคยเป็นส..ส สมัยหนึ่ง ปัจจุบันเป็นกรรมการอำนวยการบริษัท ซีแกรม ( ประเทศไทย) และบริการโรงแรมเชียงใหม่ ออคิด ในฐานะกรรมการผู้จัดการ ส่วนพรเทพ ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

" เป็นบุญของท่าน ที่มาเสียตอนที่ลูกและลูกเขยเป็นรัฐมนตรี ถึงสองท่าน" เป็นเสียงคุยกันเบา ๆ ของหนุ่มในจำนวนแขกที่มากันเนืองแน่น ในงานนี้ ซึ่งแต่ละวัน มีเจ้าภาพไม่ต่ำกว่าสิบรายขึ้นไป

สุเมธ เป็นน้องคนที่สาม ของอุเทน เตชะไพบูลย์ ชื่อจีนของเขาคือ " แต้เซาเล้า" แต่เป็นที่รู้จักในหมู่พ่อค้าจีน ว่า " ซำเสี่ย"

ตำนานชีวิตนักสู้ อย่างสุเมธมิได้ประสบความสำเร็จเพียงเพราะเป็นลูกเจ้าสัว แต่ สุเมธ ทุ่มเททั้งพลังชีวิตและสร้างสรรค์สายสัมพันธ์ธุรกิจและการเมืองจนบรรลุผล แม้จะหนักและเหนื่อย แต่เขาก็มีความสุขกับการทำงาน ชอบกินขาหมูที่สุด และรักการทำบุญสุนทาน

" เวลา ของท่านเป็นธุรกิจหมด ตั้งแต่เช้า 10 โมง จะมีคนเข้ามาปรึกษาธุรกิจตลอดเวลา กลางวัน ก็ไม่ได้พักผ่อน ทานข้าวเสร็จ ก็ลงมาทำงานต่อ ท่านเป็นผู้นำที่ไม่เคยแสดงจุดอ่อนแอใหผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นเลย" สวง สุขเย็น ลูกหม้อเก่าแก่ที่อยู่รับใช้สุเมธมานานนับ 39 ปี เล่าให้ฟังถึงความประทับใจที่มีต่อ " นาย"

จากจุดเริ่มต้น แห่งชีวิต สุเมธ เริ่มจับธุรกิจสุรา เริ่มตั้งแต่ กิจการยังเล็ก ๆ ที่ทำกันในครอบครัว เป็นกิจการค้าเหล้าข้าวขาย อยู่ที่หัวลำโพง

ต่อมาเมื่อ สหัท มหาคุณ ประมูลโรงเหล้า " แม่โขง" ได้และชักชวน อุเทน เตชะไพบูลย์ และครอบครัว เข้าถือหุ้น อาณาจักรธุรกิจสุราแม่โขงภายใต้การบริหารของเตชะไพบูลย์ ได้กลายเป็นสั่งสมเงินทุนมหาศาล สำหรับการแผ่ขยายการลงทุนไปยังสาขาธุรกิจ ๆอื่น

สุเมธ เป็นบุรุษที่ยอมหักมิยอมงอ จุดร้าวรานใจที่สุด ของสุเมธ คือการปล่อย ให้แม่โขงรวมกับหงษ์ทอง ครั้งนั้น สุเมธลาออกจากตำแหน่งรองประธานกรรมการธนาคารศรีนคร และมาปักหลักอยู่ที่ธนาคารเตชะไพบูลย์ ตรงสามแยกหัวเฉียว และหันมาขายสุราต่างประเทศ ในนามบริษัทซีแกรม ( ประเทศไทย) ตัแทนจำหน่ายสุราไม่ต่ำกว่า 20 ยี่ห้อ และหนึ่งในนั้นคือชีวาส รีกัล ที่ประสบความสำเร็จทางการตลาดในปีที่แล้ว

บนเส้นทางธุรกิจสุเมธยังสนุกกับการทำงานกิจการไม่ต่ำกว่า 20 แห่งยังรวมศูนย์ การตัดสินใจสำคัญ ๆ อยู่ที่เขา เพราะสมองอันเฉียบคม บวกกับประสบการณ์ของสิงห์เฒ่า อย่างสุเมธ ทำให้เขาไม่สามารถ วางมือได้ ซึ่งการพักผ่อนแทบไม่มีเวลาว่างที่จะคิด

" ในระยะหลังที่ท่าน บริหาร เราจะมีระบบผู้จัดการหรือหลงจู๊ กับผู้ตรวจสอบบัญชี ภายในบริษัททำงาน หลงจู๊บางคนที่ออกไป ท่านก็ส่งเสริมให้เป็นเถ้าแก่หลายสิบคน และหลายชั่วอายุคน ที่ท่านได้เกื้อกูลเขา" สิ่งที่พ่อทำเป็น ความทรงจำที่ชวลิต เห็นมาตั้งแต่วัยเยาว์จนเติบใหญ่

สิ้นเสียง ก็สิ้นสั่ง สุเมธ ได้จากครอบครัว ไปเมื่อมีอายุ 69 ปี ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ด้วยอาการแทรกซ้อน ที่เกิดจากโรคปวดบวมและโรคหัวใจ ซึ่งเคยไวด้รับการผ่าตัด By Pass ให้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว

ข่าวร้ายมักจะเกิดขึ้น จู่โจมแบบไม่รู้ตัว ชวลิต รับทราบข่าวร้ายนี้ด้วยหัวใจสลาย ขณะที่เขาอยู่ต่างประเทศ เวลาแห่งความเศร้า มักผ่านไปอย่าง ช้า ๆ ชวลิต เดินทางกลับเมืองไทยทันที่จะรดน้ำศพบิดา ซึ่งอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส ศาลา สหัท-หงษ์ มหาคุณ หลังจากสวดอภิธรรม ครบ 7 วันแล้ว ได้นำไปฝังที่สุสานเตชะไพบูลย์ ต. หนองรี อ. บ้านบึง จ. ชลบุรี ที่ซึ่งเป็นแหล่งพำนักสุดท้ายของคนตระกูลเตชะไพบูลย์บนเนื้อที่ ไม่ต่ำกว่า 100 ไร่

แม้มรสุมชีวิต ที่เกิดจาก การสูญเสีย บิดา จะเป็น โศกนาฏกรรม สำหรับครอบครัว เตชะไพบูลย์ แต่ทายาท ธุรกิจทั้งหลายฝ่าย ก็ปกป้องดูแลกิจการที่แต่ละคน ได้รับมอบหมาย ให้ทำอย่างดี

" คุณพ่อสอนเราอยู่เสมอ ในเรื่องการทำงาน ที่ต้องทุ่มเทกับหน้าที่ให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะ เป็นผู้แทนราษฏร หรือทำธุรกิจคุณพ่อได้อบรมให้เราพูดจาสุภาพ ท่านเข้มงวดมากในเรื่องคำพูด" นี่คือหลักแห่งชีวิต ที่สุเมธได้ปลูกฝัง ตามที่ชวลิต บุตรคนโตเล่าให้ฟัง

มรดกทางธุรกิจสำคัญๆ ที่สุเมธได้ทำไว้ให้แก่ลูกหลาน เตชะไพบูลย์ ได้แก่ กิจการห้างทอง " แต้ซุ่นฮั้ว" 5 แห่บงโรง รับจำนำ ของบริษัทประชานุเคราะห์ และบริษัทบุญนำพาณิชย์ 15 แห่ง สำหรับบรีษัท ฟลีตอินเตอร์เนชั่นแนล ฟุตแวร์ ซึ่งเป็น Licensee การค้ารองเท้าและผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับสุขภาพเท้ายี่ห้อ " scholl" ก็มีชลชินี ดูแล

" เป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างดีมาก โตขึ้นปีละ ไม่ต่ำกว่า 20-30%" ชลชินี กล่าวถึงการเติบโต ต่อเนืท่อง นับจากวันที่เซ็นสัญญาเป็น Licensee กับทาง SCHALL โดยชวลิต เตชะไพบูลย์ เป็นผู้เซ็นเมื่อปี 2532

นอกจากกิจการ ในเครือ ยังมี บริษัท เอส.ที.ฟุตแวร์ ที่รับจ้างผลิตรองเท้าอาดิดาส ไนกี้ ซึ่งมีววรรณา และอดิศร เป็นผู้บริหาร ส่วนบริษัท เอส.ที. ฟาร์ม ที่กิจการเลี้ยงม้า และวัว กับผลิตน้ำนมขาย เป็นงานที่ พรเทพ รัก กิจการโรงแรม เชียงใหม่ออคิดเป็นการบริหารของชวลิต บริษัท ธนนิเวศน์พัฒนา อยู่ในความดูแลของลูก ๆ และบริษัท ทำคอนเทนเนอร์ ยาร์ด ซึ่งร่วมทุน กับชาวญี่ปุ่น

" มีอยู่เรื่องหนึ่ง ที่ยังไม่เรียบร้อย คือธุรกิจโรงงานรองเท้า อเอส.ที ฟุตแวร์ ซึ่งกำลัง ตัดสินใจ อยู่ว่า หนึ่ง-จะขยายธุรกิจ ต่อไป หรือสอง -มีโครงการ จะย้านไปที่อื่น ที่มีค่าแรงถูกกว่านี้ หรือไม่โดยจะจ้างคนงานชุดใหม่เข้ามา หรือ สาม- จะขายโรงงานแห่งนี้ ทั้งสามทางเลือกนี้เรากำลังพิจารณาอยู่" ชวลิต บุตรคนโต ของสุเมธเล่าให้ฟัง

ไม่ว่าจะเลือกทางไหน กลุ่มธุรกิจโดยรวมทั้งหมด จะต้องเดินหน้าต่อไป อย่างแข็งแกร่ง ภายใต้ความผันผวนและซับซ้อนธุรกิจมากกว่ารุ่นพ่อแม่ว่า วันนี้จะไม่มีตัวตนของสุเมธ เตชะไพบูลย์ บิดาแห่งธุรกิจคนนี้ต่อไป แต่วิญญานของนักสู้ ย่อมมีอยู่ในสายเลือดของทายาทธุรกิจเตชะไพบูลย์!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us