Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
แบงก์เอเชีย Retail Banking Network             
 


   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.
วิลาวรรณ วนดุรงค์วรรณ
Retail Banking




การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของแบงก์ขนาดเล็ก ที่ต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบากในการแข่งขัน จากการไหลบ่าของกระแสโลกาภิวัตน์ กลายเป็นการเตรียมพร้อมที่ทำให้แบงก์ เอเชียพลิกกลับขึ้นมายืนหยัดได้อีกครั้ง

ปีที่แล้วแบงก์เอเชียยังเป็นเพียงแบงก์ขนาดเล็ก ที่ตกอยู่ในฐานะย่ำแย่ เงินฝากไม่พอกับ การปล่อยสินเชื่อ ส่วนแบ่งตลาดลดลงเหลือเพียงแค่ 2.42% กลายเป็นแบงก์อันดับที่ 11 ของไทย

ด้วยภาวะที่ยากลำบากนี้เอง ผู้บริหารสูงสุดของแบงก์เอเชีย ภายใต้การนำของจุลกร สิงหโกวินท์ กรรมการผู้จัดการแบงก์เอเชีย ตัดสินใจผ่าตัดองค์กรเพื่อแก้ปัญหา และพลิกโฉมธุรกิจขึ้นมาอีกครั้ง นั่นกลายเป็นที่มาของการตัดสินใจผ่าตัดองค์กรด้วยการยกเครื่องระบบ ไอทีทั้งหมด ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ขั้นตอนของการปรับทิศทางใหม่เพื่อไปสู่กลุ่มลูกค้ารายย่อย (Retail Transformation) และลดต้นทุนในการทำธุรกิจลง

"ถ้าเราไม่แก้ที่ระบบ back end และรีเอ็นจิเนียริ่งองค์กรก่อนก็ไม่มีประโยชน์ พอเรานำบริการใหม่ต้นทุนก็เพิ่ม เพราะระบบเดิมรองรับไม่ได้" วิลาวรรณ วนดุรงค์วรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เล่าถึงที่มา

นอกเหนือจากการเป็นแบงก์เล็กที่ไม่มีความซับซ้อนเท่ากับแบงก์ใหญ่ และการปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของแบงก์เอเชีย ที่จะอยู่ในการควบคุมอย่างใกล้ชิดของฝ่ายบริหาร ระดับสูง ภายใต้การนำของจุลกร นับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การยกเครื่องระบบคอมพิวเตอร์ ในครั้งนั้นลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็ว

แบงก์เอเชียไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความหรูหรา แต่เพื่อรองรับกับโครงสร้างองค์กรใหม่ ที่ต้องการนำเอามาตรฐานของแบงก์สากลมาใช้ แนวทางของระบบไอที จึงต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน

"มาตรฐานโลกทำยังไง เราจะขอทำอย่างนั้น นี่คือปรัชญาของเราตั้งแต่ต้น เราเลือกซอฟต์แวร์ที่มีชื่อเสียง มีลูกค้า 800 รายทั้งใหญ่และเล็กที่ใช้ระบบนี้อยู่ เราไม่พยายามคิดเอง ทำเอง" วิลาวรรณบอก

ผลที่เกิดขึ้นจากแนวคิดเหล่านี้ก็คือระบบคอมพิวเตอร์ของแบงก์เอเชียสามารถรองรับกับบริการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายดาย เมื่อระบบงานเป็นมาตรฐาน ของโลก ที่เป็นระบบเปิดอยู่แล้ว

ในขณะที่แบงก์ตัดสินใจเลือกบริษัท walker group เป็นผู้สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับแบงก์เอเชีย ปรับปรุงสาขาใหม่ให้มีความสดใส กระฉับกระเฉง โลโก เครื่องแบบพนักงาน กระทั่งนามบัตร

ผู้บริหารของแบงก์เอเชียใช้เวลา 6 เดือนเต็มในการคัดเลือกเทคโนโลยีใหม่ ในการยกเครื่องระบบไอทีทั้งหมดเครื่องเมนเฟรมของไอบีเอ็มถูกนำมาติดตั้งแทนระบบฮาร์ดแวร์เดิม และเลือกเอาซอฟต์แวร์ของ systemetics (Altel co.) ซึ่งเป็นระบบที่แบงก์ขนาดใหญ่ของต่างชาติใช้งานอยู่มาใช้แทนซอฟต์แวร์เดิม

"เราเลือกซอฟต์แวร์ระบบ world class ซิตี้แบงก์ก็ใช้ เชสแมนฮัตตันแบงก์ ก็ใช้ เฟิสท์เนชั่นแนลแบงก์ก็ใช้ แบงก์ของไทยบางแห่งก็ใช้ แต่ถึงแม้ซอฟต์แวร์จะดีก็ต้องอยู่ที่คนด้วย" วิลาวรรณกล่าวอย่างภูมิใจ

หลังจากแบงก์ใช้เวลาในการติดตั้งและพัฒนาระบบงานอีก 1 ปีเต็ม จากนั้นจึงไปสู่ขั้นตอนของการใช้งานให้กับพนักงานของแบงก์ โดยอาศัยสื่อมัลติมีเดียเข้าช่วย

หลังจากวางระบบคอมพิวเตอร์หลักที่ใช้เงินลงทุนไป 700 ล้านบาทเสร็จสิ้นก็นำ application ต่างๆ มาเสริมในเรื่องการใช้ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น วิลาวรรณบินไปซื้อซอฟต์แวร์ทีเซอร์ (Tser) มาใช้ในเรื่องของการวิเคราะห์ต้นทุนนำมาติดตั้ง

โปรแกรมโลตัสโน้ต ถูกนำมาใช้ในเรื่องของระบบอินทราเน็ต เพื่อการสื่อสาร และการใช้ข้อมูลภายในของแบงก์เอเชีย ซึ่งเป็นอีกระบบที่วิลาวรรณกล่าวถึงอย่างภาคภูมิใจ

ทั้งหมดนี้เพื่อเอื้อให้กับทิศทางใหม่ของแบงก์เอเชีย ที่จะมุ่งไปสู่ตลาดรีเทลแบงกิ้ง นอกจากภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนใหม่ ระบบการทำงานของสาขาถูกปรับเปลี่ยน ใหม่จากสาขาแบบเดิมที่เคยมีตำแหน่งงานมากมาย มีขั้นตอนการทำงานซับซ้อน คนเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนให้เป็นนักการตลาด เป็นตัวแทนบริการ ระบบทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนจะถูกทดแทนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ์จะต้องเป็นเครื่องมือที่จะต้องรองรับกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

เพื่อไปสู่เป้าหมายดังกล่าว สาขาทั้ง 110 แห่งที่ถูกเชื่อมโยงด้วยระบบเครือ ข่าย (network) ได้นำซอฟต์แวร์ systemetics ใช้ในด้านบริการในด้านของแบงก์ เช่น การโอนเงิน และถอนเงิน จนครบทุกสาขา ทั้งหมดนี้เสร็จสิ้นลงต้นปี 2541

วิลาวรรณเล่าว่ากระบวนการที่สำคัญและยากที่สุด ก็คือการแปลงข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลหลัก หรือระบบ CIS ไปเชื่อมโยงเข้ากับระบบการทำงานของสาขาทั้ง 110 แห่ง เพื่อให้ฐานข้อมูลสามารถเชื่อมกับระบบทำงานทั้งหมดของสาขาไม่ว่าจะเป็นการฝากถอน ระบบเครดิตการ์ด รวมถึงระบบของเครื่องเอทีเอ็ม

"เราทำระบบนี้ก็เพื่อที่ว่าเราจะรู้ข้อมูลของลูกค้าได้ตลอด ไม่ว่าเขาจะไปใช้บริการที่สาขาไหน เราจะรู้ข้อมูลได้เลยทันทีว่าคนคนนี้ระบบบัญชีเป็นอย่างไร เราจะเพิ่มบริการอะไรให้เขาบ้าง ซึ่งเราจะทำควบคู่ไปกับการสำรวจความต้องการเป็นระยะ" วิลาวรรณเล่าถึงที่มาของการเปิดธนาคารสาขาในช่วงวันหยุดที่มาจากฐานข้อมูลเหล่านี้

ผลที่ได้รับจากการตัดสินใจผ่าตัดองค์กรเมื่อ 3 ปีที่แล้ว นอกจากจะทำให้แบงก์ลดต้นทุนในเรื่องต่างๆ ลง แบงก์เอเชียสามารถขยายสาขาเพิ่มได้โดยไม่ต้องรับพนักงานเพิ่ม การมีระบบ หลังบ้านที่พร้อม ระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกปรับโฉมใหม่ที่ใช้มาตรฐานสากลก็ให้แบงก์เอเชียก้าวไปสู่การเป็น Internet banking

แบงก์เอเชียได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวินสโตร์ โครงการทำระบบซัปพลายเชนแมเนจเม้นท์ ที่เป็นการท้า ทายใหม่ของธุรกิจค้าปลีก ซึ่งเป็นการร่วมมือกันครั้งใหญ่ระหว่างธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจขนส่ง ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต

บริษัทคอมพิวเตอร์ ที่จะใช้ platform ในการวางระบบบริหารการจัดส่งสินค้า โดยมีแบงก์เอเชียเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในธุรกรรมการเงินให้กับวินสโตร์

"เครือข่ายของเราเป็นการปูพื้นให้ระบบอื่นๆ ติดต่อกับเราได้ เราวางโครงหลักไว้แล้ว เพราะการทำ supply chain management ถ้าไม่มีแบงก์เข้ามาร่วมก็ไม่ได้เกิด ซึ่งถ้าแบงก์เองไม่มี internet banking ก็เกิดยาก สาขาจะดูยอดยังไง ก็ทำไม่ได้" วิลาวรรณเล่าถึงที่มา

เครือข่ายที่เชื่อมระหว่างสาขาของแบงก์ทั้ง 110 สาขาของแบงก์เอเชีย ที่วิ่งได้ด้วยความเร็ว 64k จะสามารถรองรับกับ IP (Internet protocal) ที่จะทำ ให้แบงก์เปิดรับเข้าสู่ Internet bank-ing พร้อมรับกับธุรกรรมที่จะเกิดจาก web technology เหล่านี้

นอกจากการที่แบงก์เอเชียจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของธุรกรรมการชำระ เงินให้กับธุรกิจ business to business แบงก์เอเชียเริ่มต้น Internet banking ให้กับลูกค้าทั่วไป

แบงก์เอเชียใช้โฮมเพจเป็นสื่อกลางในการให้ลูกค้าไว้ชำระค่าใช้ระบบสาธารณูปโภค จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ผ่านอินเตอร์เน็ต และการเชื่อมโยง (link) ไปยังโอเปอเรเตอร์ค่ายโทรศัพท์มือถือต่างๆ เพื่อดูข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือ

"เทคโนโลยีมันไม่มีปัญหาแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าจะหยิบอะไรมาใส่ลงไป ลูกค้าที่จะมาใช้ระบบของเราก็ต่อปลั๊กเข้ามาเลย" วิลาวรรณกล่าวถึงความพร้อมของเทคโนโลยี

ปัญหาที่แบงก์เอเชียและหลายแบงก์ในเวลานี้จึงไม่ได้อยู่ที่ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยี แต่อยู่ที่จะทำอย่างไรจึงจะเพิ่มปริมาณการใช้ Internet banking ให้คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนกับการสร้างระบบ และนี่คือสาเหตุที่ว่าแบงก์ไทยพาณิชย์จึงต้องทำตัวเป็น shopping mall ให้ผู้ส่งออกมาเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ฟรี และแบงก์เอเชียเองก็ต้องทำตัวเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ และเป็นคนกลางที่จะให้ทั้งแหล่งเงินกู้ และหาเครื่องอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า

ทุกวันนี้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแบงก์เอเชีย คือธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดย่อม (SME) ที่แบงก์เอเชียกำลังรุกหนักทั้งสื่อโฆษณา และกิจกรรมต่างๆ ห้องประชุมชั้นล่างของสำนักงานใหญ่ถูกดัดแปลงใช้เป็นห้องสัมมนาสำหรับให้ความรู้ และคำปรึกษาแก่ SME เหล่านี้ วิทยากรทั้งหลายจากผู้ที่ประสบความสำเร็จธุรกิจ e-commerce ร้านขายดอกไม้ออนไลน์ หัตถกรรมจากต่างจังหวัดที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางขาย บริษัทรับออกแบบโฮมเพจ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะถูกเชิญมาให้ความรู้ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกสัปดาห์

ทุกวันนี้วิลาวรรณ และทีมงานฝ่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึงโปรแกรมเมอร์ทั้งหลายไม่ได้เรียนรู้เพียงแค่ระบบเมนเฟรม หรือจะทำให้เน็ตเวิร์คเชื่อมโยงระหว่างสาขาได้ปกติ ซอฟต์แวร์ทำงานไม่มีปัญหาเหมือนกับโปรแกรมเมอร์ทั่วไปเท่านั้น แต่คนเหล่านี้จะต้องเรียนรู้ความต้องการของลูกค้าไปพร้อมกันด้วย

"ทุกวันนี้พี่จะส่งลูกน้องในแผนก ไปนั่งฟังในห้อง ทุกครั้งที่มีการสัมมนา ต้อง ให้เขารู้ว่าธุรกิจนี้เป็นยังไง ลูกค้าต้องการยังไง"

วิลาวรรณรู้ดีว่าหมดยุคแล้วกับการที่ธนาคารจะผลิตโปรแกรมมาใหม่ หรือบริการใหม่ๆ และเปลี่ยนพฤติกรรมให้ลูกค้าหันมาใช้บริการเหล่านี้ เมื่อทางเลือกของลูกค้ามีมากขึ้นจากการเปิดเสรีของแบงก์

แต่สิ่งที่แบงก์จะต้องทำคือการที่จะต้องเข้าถึงความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง เพื่อที่จะหาบริการหรือเทคโนโลยีมาตอบสนองความต้องการ และเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้ามากที่สุด

เพราะเมื่อกลุ่มลูกค้าเหล่านี้มีโอกาสทางธุรกิจที่ดี มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้ ผลพวงที่แบงก์จะได้รับในวันข้างหน้าก็คือ ค่าทรานแซกชั่นที่จะได้รับจากลูกค้าเหล่านี้

งานนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าแบงก์เอเชียจะอาศัยเครือข่าย (network) และความสามารถล้วนๆ ที่มีอยู่ในมือมาใช้กับภาวะเหล่านี้ได้อย่างไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us