Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2555








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2555
งานวิจัยโลกเสมือนผสานโลกจริง โลกแห่ง Augmented Reality             
โดย ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช
 


   
search resources

Innovation




ผมเคยพูดเกริ่นในเรื่องโลกเสมือนผสานโลกจริง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Augmented Reality” ไปแล้วครั้งหนึ่ง วันนี้จะพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ Augmented Reality ให้มากยิ่งขึ้นครับ ว่าความสนุกของ Augmented Reality มีมากกว่าที่หลายๆ คนคิด

ก่อนอื่นขอย้อนกลับไปที่คำจำกัด ความของ Augmented Reality ก่อนเลยละกัน เพื่อที่จะให้คุณผู้อ่านเข้าใจก่อนว่าอะไรคือ Augmented Reality ก็ง่ายๆ เลยครับ คำว่า Augmented แปลว่าเพิ่มหรือเติม ส่วน Reality แปลว่าความจริง เมื่อเอาสองคำมารวมกันแล้วความหมายก็ค่อนข้างตรงตัว นั่นก็คือ เทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน (Virtual World) เพิ่มเข้าไปในโลกจริง (Physical World) เพื่อทำให้เกิดการกลมกลืนกันมากที่สุดจนแยก ไม่ออก เช่น เราอาจจะมีถ่ายวิดีโอฉากใดฉากหนึ่งมา แล้วทำการสร้างรูปกราฟิกภาพ 3 มิติผสมลงไปในฉากวิดีโอที่เราถ่ายมาให้ดูเสมือนกับว่าภาพ 3 มิตินี้เป็นส่วนหนึ่งของวิดีโอจริงๆ เทคโนโลยีการผสมผสานกันนี้แหละครับที่เราเรียกว่า โลกเสมือนผสานโลกจริง

ปัจจุบัน Augmented Reality เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราหลากหลายรูปแบบมากขึ้น รวมไปถึงตัวงานวิจัยด้าน Augmented Reality ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างประเทศมีงานวิจัยด้านนี้จำนวนมากในมหาวิทยาลัย ดังๆ เช่น งานวิจัย SixthSense ของ MIT ที่สามารถบังคับหรือสั่งการคอมพิวเตอร์ด้วยการขยับปลายนิ้วไปมา โดยไม่ต้องมีทั้ง Mouse และ Keyboard หรืออย่างเช่นงานวิจัยหุ่นยนต์ของเล่นสำหรับเด็ก Petimo ของ Keio University ที่สามารถสร้างกรอบให้เด็กๆ สามารถใช้ Social Networks ได้อย่างปลอดภัย หรือแม้แต่งานวิจัย PTAM ที่ University of Oxford ที่ทำการติดตามตำแหน่งของกล้องและสร้างเกมขึ้นมาบนโลกจริงๆ ของเรา จากที่กล่าวมาจะเห็นได้เลยว่างานวิจัยด้าน Augmented Reality กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในมหาวิทยาลัยดังๆ ทั่วโลก

ในมิติของประเทศไทยแม้คนทำวิจัยด้าน Augmented Reality นี้จะยังไม่เยอะ (จริงๆ ให้ถูกต้องบอกว่าจำนวนคนทำวิจัยในประเทศไทยยังมีไม่เยอะ ไม่ใช่เพียงแต่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่รวมถึงการวิจัยด้านอื่นๆ ที่นับว่ามีน้อยกว่าประเทศ อื่นๆ อยู่) ผมเองในฐานะที่เป็นนักวิชาการ ก็เชื่อว่านอกจากการสอนที่เราจะต้องสอนให้ดีแล้ว การผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกันในมิติของความเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

วันนี้ขอยกตัวอย่างงานวิจัยด้าน Augmented Reality ของผมมาให้คุณผู้อ่านได้ลองอ่านสนุกๆ กันดูครับ ว่าจริงๆ แล้วประเทศไทยก็มีงานวิจัยที่ไม่น้อยหน้าต่างชาติสักเท่าไหร่ งานวิจัยแรกเป็นงานวิจัยที่ประยุกต์ไปใช้ในเกมรถเคลื่อนที่ผสานเสมือนจริง ที่ให้เด็กสามารถบังคับรถบังคับวิทยุที่วิ่งอยู่ในโลกจริงเพื่อให้แล่นไปเก็บ Items ต่างๆ ที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นในโลกเสมือนได้โดยใช้เทคนิคการผสานโลกทั้งสองอย่างกลมกลืน ซึ่งไอเดียของงานนี้ก็คล้ายๆ กับเกมมาริโอ้ ที่มาริโอ้สามารถเดินเก็บเหรียญ เดินเก็บเห็ดแล้วได้คะแนน แล้วภายหลังระบบก็จะคำนวณคะแนนการบังคับรถวิทยุ ว่าผู้เล่นสามารถเล่นหรือบังคับรถวิทยุได้ดีเท่าไหร่ และในตอนจบของเกมส์ก็จะมีการให้คะแนน ประเมินการบังคับว่าผู้เล่นได้คะแนน Feedback กลับมาเป็นเท่าไหร่ได้อย่างอัตโนมัติ โดยงานวิจัยนี้ผมได้ไปนำเสนอที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในงานประชุมวิชาการ IEEE SSIAI มาแล้วครับ ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ถือว่าใช้ได้ทีเดียว

งานวิจัยถัดมาที่ผมจะพูดถึงเป็นงานวิจัยที่สอง ก็คือระบบจำลองต่างหูเสมือนจริงที่นำเอาเทคโนโลยี Augmented Reality มาใช้ผ่านทาง ARTag (Augmen-ted Reality Tag) ซึ่งหลักการทำงานของระบบนั้น จะใช้กล้อง USB ทำการตรวจหาเครื่องหมาย (Marker) เพื่อสร้างแบบจำลองภาพ 3 มิติเสมือนจริงและแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์จากเทคโนโลยีดังกล่าว ในงานนี้เราได้ทำการพัฒนาระบบจำลองต่างหูเสมือนจริงด้วย ARTag โดยระบบที่นำเสนอนี้สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาระบบทดลองต่างหูสำหรับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับออนไลน์ได้ ในระบบจำลองนี้ผู้ใช้งานสามารถทดลองต่างหูเสมือนจริงต่างๆ มากมาย เสมือนได้ใส่ต่างหูจริง และผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ทันทีผ่านระบบออนไลน์ ดังนั้นผู้ใช้งานสามารถลองผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ด้วย ตัวเอง ทำให้การซื้อขายสินค้ามีความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มยอดขายได้มากยิ่งขึ้น

อีกงานวิจัยหนึ่งของผมที่ผมจะพูดถึงวันนี้เป็นงานวิจัยที่สาม ก็คือระบบการผสมผสานกีตาร์เข้าไปในโลกจริง โดยงานวิจัยนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากความจริงที่ว่า ในปัจจุบันมีผู้หันมาเปิดกิจการร้านขายเครื่องดนตรีเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกีตาร์ไฟฟ้าซึ่งมีผู้ชื่นชอบให้ความสนใจอันดับต้นๆ จากการศึกษาพบว่าลูกค้าจะขอดูและทดลองเล่นกีตาร์ไฟฟ้าตัวจริง โดยจะจำลองท่าทางเสมือนเล่นอยู่บนเวทีจริง เพื่อดูความสวยงามและเหมาะสมก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง ซึ่งผลจากการทดลองเล่นในบางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำให้กีตาร์เกิดความเสียหาย เช่น เป็นรอย, มีตำหนิได้ ดังนั้นระบบนี้จะนำเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม ซอฟต์แวร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับส่งเสริมการขายกีตาร์ไฟฟ้าซึ่งมีราคาแพง เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายบนตัวกีตาร์ไฟฟ้าที่เกิดจากการทดลองเล่นของลูกค้า โดยใช้เทคโนโลยี Image Processing และ ARTag มาสร้างภาพเสมือนจริง วิธีการคือให้ลูกค้าเลือกรุ่นกีตาร์ที่มีความสนใจ และสะพาย Marker (กีตาร์) ที่ทำขึ้นเหมือนกับสะพายกีตาร์จริง และให้กล้องจับภาพมาร์คเกอร์ที่ลูกค้าสะพายอยู่ แอพพลิเคชั่นจะทำการดีเทคภาพและประมวลผลเพื่อจำลองภาพกีตาร์ที่ลูกค้าเลือกลงไปแทนที่มาร์คเกอร์ที่ลูกค้าสะพายอยู่แสดงผลอยู่บนจอมอนิเตอร์


เห็นไหมครับว่าประเทศไทยเราเองก็มีงานวิจัยที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย และสุดท้ายงานวิจัยนี่แหละครับ ที่จะเป็นบ่อเกิดของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เราสามารถนำไปสร้างเศรษฐกิจของเราให้เติบโตขึ้นได้อย่างยั่งยืน โดยเป็นลักษณะของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่ไม่จำเป็นต้องไปรอสัมปทาน ไม่ต้องทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่ต้องไปกู้ยืมใครมาจนเป็นเศรษฐกิจล้มเหลวอย่างประเทศกรีซ แต่เป็นการสร้างหรือขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยอาศัยแนวความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการสร้างมูลค่าที่เกิดจากความคิดของคนโดยแท้ ส่งผลให้เศรษฐกิจของเราเป็นเศรษฐกิจที่ยั่งยืนมั่นคงจริงๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us