Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2555








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2555
AKB48             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Entertainment and Leisure




พวกเธอสร้างปรากฏการณ์ทางสังคมรูปแบบใหม่ในญี่ปุ่น พวกเธอครอบครองสถิติ “ที่สุดในโลก” ใน Guinness World Records ไว้หลายรายการ พวกเธอแสดงคอนเสิร์ต 365 วันต่อปี พวกเธอที่ว่าคงเป็นใครอื่นไปไม่ได้นอกจากกลุ่ม Girl Idol ที่ชื่อ AKB48

หากไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้แล้วคงเป็นเรื่องยากที่จะจดจำชื่อสมาชิก AKB48 ได้ครบถ้วนเพราะนี่คือ Largest Pop Group ของโลก ประกอบด้วยสมาชิก 64 คน แบ่งออกเป็น 4 ทีมย่อย ได้แก่ ทีม A, ทีม K, ทีม B และทีม 4 ทีมละ 16 คน นอกจากนี้ยังมีทีมสำรองที่อยู่ในระหว่างการฝึกฝนเตรียมพร้อม ที่เรียกว่า “Kenkyusei” อีกหลายรุ่น (ในเดือนมิถุนายน 2555 มี Kenkyusei รวม 28 คน)

ยิ่งไปกว่านั้นสมาชิกในแต่ละทีมยังหมุนเวียน หรือโยกย้ายตามความเหมาะสม เช่นกรณีที่อยู่มานานอายุมากขึ้นและ/หรือครองตำแหน่งความนิยมอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงจุดนั้นอาจมีการประกาศลาออก จากกลุ่มซึ่งใช้ศัพท์เฉพาะว่า “สำเร็จการศึกษา” (จาก AKB48) เพื่อเปิดโอกาสให้รุ่นน้องผลัดเปลี่ยนเข้ามาแสดงความสามารถ

รุ่นพี่หลายคนที่จบการศึกษาไปนั้นบ้างก็เข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มรูปแบบ บ้างก็ผันตัวไปประกอบอาชีพอื่นแต่พวกเธอเหล่านี้ซึ่งเป็นที่รู้จักของสังคมในวงกว้างมีต้นทุนที่ได้เปรียบกว่าคนอื่นในฐานะอดีต Idol สมาชิก AKB48

โครงสร้างของกลุ่มในลักษณะเช่นนี้อาจกล่าว ได้ว่าเป็นโมเดลใหม่ที่ฉีกรูปแบบ Idol Group ของญี่ปุ่นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนภายใต้การควบคุมและดูแลตลอดกระบวนการผลิตโดย Yasushi Akimoto นักประพันธ์เพลงผู้ก่อตั้ง AKB48 เมื่อปี 2005 โดยเริ่มต้นคัดเลือก Girl Idol หน้าใหม่เข้าสู่วงการ จำนวน 20 คนจากผู้สมัครอายุ 14-25 ปีทั้งสิ้น 7,924 คนทั่วญี่ปุ่นซึ่งรู้จักกันในนามของทีม A

ที่จริงแล้วในขณะนั้น Girl Idol อย่างทีม A ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในญี่ปุ่นเพราะว่าอย่างน้อยก่อนหน้านี้กลุ่ม Morning Musume ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบในระดับประเทศมีระบบหมุนเวียนสมาชิกที่เปลี่ยนหน้ากันตลอดเวลาเช่นเดียวกัน หากแต่วิถีของ AKB48 นั้น สร้างความโดดเด่นด้วยอัตลักษณ์ที่แตกต่างออกไปภายใต้คอนเซ็ปต์ “Idol You Can Meet” ซึ่งกลุ่มแฟนคลับสามารถพูดคุย จับมือเชกแฮนด์กับ Idol คนโปรดได้ที่ AKB48 Theater ชั้น 8 ของอาคาร Don Quijote (ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า ดน-คิ-โฮ-เตะ) สาขา Akihabara ใจกลางมหานครโตเกียว

ช่วงเริ่มต้นแม้จะเป็นที่รู้จักเฉพาะกลุ่ม Sub-culture ในย่าน Akihabara แต่ต่อมาได้รับกระแสตอบรับอย่างท่วมท้นโดยเฉพาะหลังจากออก Single เพลงแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2006 ซึ่งเข้าอันดับท็อปเทนใน Oricon Weekly Chart ทันทีตั้งแต่สัปดาห์แรก ตามด้วยการวางจำหน่าย Shashinshu หรืออัลบัมรวมภาพสมาชิกทีม A ซึ่งเป็นไปตามสูตร สำเร็จของ Idol ญี่ปุ่น

พร้อมกันนี้ก็ได้ประกาศรับสมัครสมาชิกครั้งที่ 2 ซึ่งเปิดกว้างให้เด็กสาวทั่วประเทศที่มีคุณสมบัติตามกำหนดส่ง audition video ทางโทรศัพท์มือถือซึ่งเป็นวิธีคัดเลือกผ่านทางเทคโนโลยี ไร้สายเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่นที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อีกทั้งยังช่วยเสริมให้ผู้สมัครได้แสดงออกอย่างเต็มที่โดยไม่มีแรงกดดันจากสายตาของคนแปลกหน้ารอบข้าง

ในครั้งนั้นมีคนส่ง audition video เข้ามา 11,892 คน ผ่านขั้นตอนการคัดเลือกอันเข้มงวดจนสุดท้ายเหลือเพียง 18 คนเข้าสังกัดกับทีม K ที่เปิดตัว ในเดือนเมษายน 2006 ตามมาด้วยทีม B และทีม 4 ซึ่งผ่าน audition ในลักษณะคล้ายกันในเวลาต่อมา

กฎเหล็กสำหรับสมาชิก AKB48 มีด้วยกัน 2 ข้อคือ ห้ามมีบอยเฟรนด์และต้องประพฤติตนให้เหมาะสมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนในฐานะ Idol ของประเทศ ดังนั้นหากมีข่าวออกมาในทางเสื่อมเสียแล้วสัญญาและสถานภาพสมาชิกนั้นเป็นอันโมฆะไปโดยปริยาย

จากข้อได้เปรียบของจำนวนสมาชิกที่มากเอาการส่งผลให้แต่ละทีมผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันแสดงคอนเสิร์ตได้ทุก วัน ที่ AKB48 Theater ในแต่ละรอบจำหน่าย บัตรเพียง 250 ใบ สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ที่ประสงค์ให้ผู้ชมได้ใกล้ชิด Idol ได้อย่างเต็มที่ซึ่งเป็นจุดขายสำคัญที่แตกต่างจากรูปแบบคอนเสิร์ตของศิลปินทั่วไป นอกจากนั้นยังเอื้อให้สามารถมีคอนเสิร์ตหรือกิจกรรมอื่นๆ ของ AKB48 เกิดขึ้นได้ในวันเดียวกัน 2-4 อีเวนต์อีกด้วย

ดูเหมือนว่า AKB48 จะมาถูกทางเพราะยิ่งจำนวน ครั้งของคอนเสิร์ตมากขึ้นเท่าไหร่ สถานภาพ Idol ที่สัมผัสและเข้าถึงได้ก็ยิ่งเด่นชัด กลายเป็นต้นแบบ J-Entertainment ที่ตอกย้ำว่าโดยส่วนลึกของผู้ชมนั้นไม่ได้เสพเฉพาะดนตรีเพียงอย่างเดียวแต่ยังต้องการได้มีส่วนร่วมไปกับบรรยากาศการแสดงสดของศิลปินคนโปรด ราวกับอยู่บนเวทีเดียวกันด้วยการสื่อสารสองทางอย่างที่สามารถพูดได้ว่าไม่มีศิลปินดังๆ คนไหนในโลกจะสามารถสื่อสารกับผู้ชมได้ทั่วถึงเท่านี้

การก้าวขึ้นมาเป็น Idol แถวหน้าของญี่ปุ่นได้นั้น มิได้เกิดขึ้นเพราะโชคช่วย หากเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นพยายามภายใต้วิสัยทัศน์และการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพของบริษัทต้นสังกัด อีกทั้งได้แรงเสริมจากรายการโทรทัศน์, อะนิเม, ทีวีซีรีส์, ช่องยูทิวบ์ ซึ่งทั้งหมดนี้ผลิต ขึ้นเป็นเพิเศษสำหรับผู้ชื่นชอบ AKB48 โดยเฉพาะ

กิจกรรมประจำปีที่สำคัญ 2 อย่างซึ่งสื่อสารมวลชนแทบทุกแขนงในญี่ปุ่นเฝ้าติดตามคือการแข่งขันเป่ายิ้งฉุบของสมาชิกและการเลือกตั้ง AKB หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Senbatsu Sousenkyo ซึ่งแฟนเพลงจากทั่วประเทศร่วมกันโหวตเลือกสมาชิกที่ชื่นชอบที่สุดโดยส่งบัตรลงคะแนนเลือกตั้งที่แนบมาใน CD Single เข้ามามากกว่า 1 ล้านเสียง

การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ชาญฉลาด ซึ่งสร้างยอดขายซีดีสูงสุดของนักร้องฝ่ายหญิงในญี่ปุ่น ขึ้นมาใหม่ในยุคที่มีการดาวน์โหลดเพลงด้วยระบบดิจิตอลได้อย่างทุกวันนี้ อีกทั้ง Idol ที่ได้รับเลือกในอันดับต้นๆ จะ มีสิทธิได้ร่วมกันออก CD Single ใหม่เป็นแผ่นพิเศษเพื่อเป็นการขอบคุณต่อแฟนเพลงที่ส่งคะแนนโหวตให้กับพวกเธอ

ในปี 2011 รายได้ของ AKB48 ทะยานสูงถึง 1,600 ล้านเยน ซึ่งสะท้อนความสำเร็จอย่างสูงของธุรกิจ J-Enter-tainment ในขณะที่ Yasushi Akimoto ขยายอาณาจักรออกไปโดยใช้ Format เดียวกันนี้สร้าง Sister Groups ขึ้นตามหัวเมืองใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นได้แก่ SKE48 ที่ Sakae ในนาโงย่า, NMB48 ที่ Namba ในโอซากา และ HKT48 ที่ Hakata ในฟุคุโอกะ ซึ่งถอดแบบมาแม้กระทั่งการตั้งชื่อตามอย่าง AKB48 ที่ Akihabara ในโตเกียว นอกจากนี้ยังมี SDN 48 ซึ่งย่อมาจาก Saturday night เป็นกลุ่ม Adult Idol ที่มีสมาชิกส่วนหนึ่งที่สำเร็จการศึกษาจาก AKB48

อย่างไรก็ตาม Yasushi Akimoto ยังสร้าง Idol Group แยกขึ้นมาอีกกลุ่มเมื่อกลางปี 2011 ใช้ชื่อว่า Nogizaka46 ซึ่งไม่ได้มีโพสิชั่นนิ่งให้เป็น Sister Groups แต่กลับประกาศให้เป็นกลุ่มคู่แข่งท้าชนกับ AKB48 โดยตรง

กระนั้นก็ดี J-Entertainment พัฒนาต่อเนื่องกลายเป็นการส่งออกวัฒนธรรมญี่ปุ่นในรูปแบบ Soft Power ด้วยการสร้าง Sister Groups ของ AKB48 นอกประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ร่วมกับบริษัทผลิตเพลงท้องถิ่นซึ่งชื่อว่า JKT48 (ย่อมาจาก JaKarTa) โดยใช้ Format เดียวกัน คือ 1) แนวดนตรีที่เรียกว่า Bubble Gum Pop เป็นภาษาอินโดนีเซียผสมกับท่อนสร้อยเป็นภาษา ญี่ปุ่น 2) รูปแบบเวทีและการแสดงตามแบบ AKB48 โดยมีอาจารย์จากญี่ปุ่นไปสอนการเต้นให้กับ Girl Idol ชาวอินโดนีเซียที่ผ่านการคัดเลือกจากทั่วประเทศเช่นเดียวกับในญี่ปุ่น และที่ขาดไม่ได้คือ 3) คอนเซ็ปต์ “Idol You Can Meet” ซึ่งได้เริ่มสร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่สั่นสะเทือนวงการเพลงในอินโดนีเซียไปเมื่อปลายปี 2011

ยิ่งไปกว่านั้น J-Entertainment แบบเดียวกันนี้กำลังจะเกิดขึ้นที่ไทเปภายใต้ชื่อ TPE48 และที่เซี่ยงไฮ้ ภายใต้ชื่อ SNH48 เร็วๆ นี้ด้วยซึ่งในอนาคตอาจจะมี BKK48 ตามมาเป็นเมืองที่ 4 ณ กรุงเทพมหานครก็เป็นได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us