Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
E-commerce เรื่องของ new comer             
 

   
related stories

เว็บแบงกิ้ง ธนาคาร 24 ชม. ไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
วันเพ็ญ เหงี่ยมวิจาวัฒน์
Electronic Banking




บริการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตสำหรับธุรกิจที่ซื้อขายสินค้าทางอิน-

เตอร์เน็ต หรือบริการ SCB Internet Payment Systems หรือ SIPS เป็นบริการที่สามารถสะท้อนถึงการเติบโต และความเป็นไปของธุรกิจ

e-commerce ได้ในอีกแง่มุมหนึ่ง

อินเตอร์เน็ตก่อให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ ไม่จำเป็นต้องมีร้านค้าเป็นตัวตน มีเพียงร้านค้าออนไลน์บนเว็บ เจ้าของสินค้าอาจเป็นแค่คนคนเดียว นั่งทำงานอยู่กับบ้านไม่มีออฟฟิศสวยหรู และนี่คือโอกาสของธุรกิจรายย่อยและธุรกิจเกิดใหม่ แต่การปฏิวัติเหล่านี้ทำให้ธนาคารต้องปรับตัวให้ทันกับโลกของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

วันเพ็ญ เหงี่ยมวิจาวัฒน์ ผู้จัดการส่วน อี-คอมเมิร์ซ ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการแก่ร้านค้าที่ทำธุรกิจบนอี-คอมเมิร์ซ และต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตของธนาคาร ธนาคารมีบริการให้ลูกค้าเลือกในการชำระเงินได้ 2 ลักษณะ คือถ้าเป็นระบบแบบเก่า ลูกค้าจะต้องโทรศัพท์มาที่ธนาคาร เพื่อขออนุมัติวงเงินก่อนอีกระบบคือ บริการ SIPS คือ ลูกค้าจะสามารถขออนุมัติวงเงิน จากธนาคารโดยอัตโนมัติจากเครื่องพีซีได้เลย ซึ่งลูกค้าจะต้องซื้อซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สามารถใช้งานกับระบบ SIPS ของธนาคารประมาณ 5,000 บาท

"ต้องขึ้นอยู่กับว่าลูกค้าต้องการแบบไหน ถ้าเป็นลูกค้าที่เพิ่งทำธุรกิจธนาคารก็จะให้เขาใช้แบบเก่าไปก่อน จนเมื่อยอดสั่งซื้อมากขึ้นค่อยเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติ" วันเพ็ญเล่า

ทั้งนี้อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตจัดเก็บจากร้านค้าจะอยู่ในอัตรา 5% ของยอดขายสินค้าในแต่ละครั้ง ซึ่งร้านค้าไหนมีวอลุ่มในการสั่งซื้อมากๆ และสม่ำเสมอ อัตรานี้จะลดลงไปเรื่อยๆ

ลูกค้าที่ใช้บริการของธนาคารจะมาจาก 2 ส่วนหลักคือ ลูกค้าทั่วไปที่เปิดร้านค้าออนไลน์บนเว็บและต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ส่วนที่สองคือ ให้บริการแก่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) ที่เปิด shopping mall บนอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ลูกค้ามาใช้ ในส่วนของไอเอสพีที่เปิดชอปปิ้งมอลล์ และให้ธนาคารเข้าไปเป็นตัวกลางในการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตนั้น ไอเอสพีจะต้องรับผิดชอบร้านค้าเหล่านี้เองทั้งหมด ทั้งการพิจารณาคัดเลือก รวมถึงในกรณีที่เกิดหนี้สูญเกิดขึ้น

สำหรับร้านค้าทั่วไปที่ขอใช้บริการจากธนาคารโดยตรง จะต้องผ่านกฎเกณฑ์การอนุมัติของธนาคาร วันเพ็ญบอกว่ากติกาในการอนุมัติใช้บริการให้กับร้านค้าออนไลน์ จะไม่แตกต่างไปจากการอนุมัติการใช้บริการบัตรเครดิตให้ร้านค้าทั่วไปเพียงแต่ความเข้มงวดมากกว่า

"แบงก์ต้องไปดูว่าบริษัทตั้งมานานหรือยัง ดูผลประกอบการ สต็อกสินค้า ความน่าเชื่อถือ ทำเลที่ตั้งเพราะไปตั้งในอพาร์ตเมนต์มี

พีซีเครื่องเดียว ก็อาจเคลื่อนย้ายได้ง่าย เราต้องดูความเป็นหลักเป็นแหล่ง"

แต่ในความเป็นจริงธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตไม่เหมือนกับธุรกิจในอดีต ที่มีร้านค้าเป็นตัวเป็นตน แต่สำหรับ e-commerce ผู้ขายอาจจะเป็นแค่คนทั่วไปไม่ได้อยู่ในรูปของบริษัท มีแต่ร้านค้าที่อยู่บนเว็บ สินค้าไม่สามารถจับต้องได้

"เราจะพิจารณาว่าคนนั้นจะต้องเป็นที่รู้จักพอสมควร เช่น หมอไพศาล หมอดูในหนังสือดิฉัน ที่ให้บริการดูหมอผ่านออนไลน์ หรืออย่างน้อยลูกค้าจะต้องมีเงินฝากกับเรา" วันเพ็ญบอกถึงการนำเอากติกา เก่ามาปรับใช้กับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในโลกออนไลน์ ซึ่งหากลูกค้ารายใดไม่มีออฟฟิศ ก็ต้องไปดูบ้าน ดูความมั่นคงหรือไม่ก็ต้องนำหลักทรัพย์มาค้ำประกัน เพื่อแลกกับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต

แหล่งที่มาที่ไปของสินค้าเป็นอีกส่วนที่ธนาคารจะต้องนำมาใช้ในการพิจารณา เพราะเป้าหมายของธนาคารคือ ผู้ประกอบการรายย่อยที่เป็นเจ้าของสินค้าโดยตรง ไม่ใช่พ่อค้าคนกลาง ดังนั้นธนาคารจะดูความเป็นเจ้าของสินค้า ยกเว้นเป็นพ่อค้าคนกลางที่เคยทำกับธนาคารและสามารถหาแหล่งผลิตสินค้าที่แน่นอนได้

"ก็ต้องขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า เช่น หากเป็นซีดีก็อาจจะไม่มีในสต็อก แน่นอน แต่เรารู้ว่าเขาสามารถไปหาซื้อได้จากแหล่งไหน หรือถ้าเป็นสินค้าประเภทหัตถกรรม เราก็ต้องดูว่าเขาจะมีสต็อกสินค้ามากเพียงพอที่จะส่งให้ลูกค้าหรือเปล่า เพราะสินค้าพวกนี้ ต้องสั่งทำจำนวนมาก ถ้าไม่มีในสต็อกเลยเวลาจะหาสินค้าก็อาจไม่มี" วันเพ็ญบอกถึงสาเหตุที่ธนาคารต้องการลูกค้า ที่เป็นผู้ผลิตมากกว่าพ่อค้าคนกลางที่ต้องผ่านการกลั่นกรองมากกว่า

ปัจจุบันธนาคารไทยพาณิชย์มีลูกค้าที่ใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ที่มาจากร้านค้าออนไลน์ประมาณกว่า 100 ราย ซึ่งในแต่ละเดือนจะมีลูกค้ามาขออนุมัติ เฉลี่ยเดือนละ 10 ราย ในจำนวนนี้จะได้รับการอนุมัติเพียง แค่ครึ่งเดียว สาเหตุส่วนใหญ่จะเป็นเพราะเว็บไซต์หรือเอกสารไม่เรียบร้อย

ธนาคารไทยพาณิชย์จัดแบ่งประเภทลูกค้าที่จะใช้บริการ ซึ่งถูกแยกย่อยลงไปอีก คือ b to c (business to consumer) ลูกค้าที่ใช้บริการจะเป็นบริษัทหรือ ผู้ขายรายย่อย และ c to c ( consumer to consumer) ผู้ขายที่มาใช้บริการเป็น กิจการเจ้าของคนเดียว ที่ขายสินค้าไปยังลูกค้ารายเล็กๆ ที่ไม่ได้มีการซื้อขายของมากๆ

สำหรับยอดการซื้อขายผ่านบัตรเครดิต ที่มาจากร้านค้าบนอินเตอร์ เน็ต มียอดขายเกือบ 20 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากยอดขายที่ผ่านมาประมาณ 4-5 ล้านบาท

จากประสบการณ์ของวันเพ็ญ เธอพบว่าการขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ตจะต้องขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่ขายด้วย ซึ่งยอดขายของร้านค้าแต่ละรายจะแตกต่างกันไป บางรายยอดขายจะเข้ามาตลอด ในขณะที่บางรายอาจต้อง ใช้เวลานานถึง 6 เดือนหรือเป็นปีกว่าจะมียอดขายเข้ามา ซึ่งในจำนวนนี้จะมีอยู่ประมาณ 30% ของลูกค้ารวม แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงให้บริการอยู่ การโฆษณาเว็บไซต์มีส่วนสำคัญที่จะทำให้ร้านค้าออนไลน์เหล่านั้นประสบความสำเร็จ

สำหรับยอดหนี้สูญเวลานี้มีไม่ถึง 1% จากปีที่แล้วที่มีอยู่ 1-2% ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มาจากการถูกขโมยบัตร และมาจากการส่งสินค้าล่าช้า เนื่องจากยังไม่รู้ถึงกลไกการค้าขายของร้านค้าออนไลน์

"มีบางร้านเขาไม่รู้ว่าเมื่อลูกค้ากดสั่งซื้อของแล้ว จะต้องส่งของเลย แต่กลับรอดูว่าจะเก็บเงินได้หรือเปล่าลูกค้าก็ไม่จ่ายเงิน ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่ร้านค้าเองต้องเรียนรู้มากขึ้นด้วย

วันเพ็ญเล่าว่า ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้ารายย่อย ที่เริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ และมีบางรายที่ทำธุรกิจอื่นมาก่อน เมื่ออินเตอร์เน็ตบูม ก็หันมาทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสินค้าใหม่เลย หรือบางรายก็เพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย เช่น ร้านขายยา ที่มีร้านค้าอยู่แล้วแต่หันมาเปิดช่องทางใหม่ขึ้น

เธอยอมรับว่าองค์กรใหญ่ๆ ยังไม่ค่อยมี เพราะยังห่วงเรื่องการชำระเงิน กลัวว่าขายสินค้าแล้วจะเก็บเงินไม่ได้ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่จะทำให้ในอนาคตบริษัทเล็กๆ อาจจะรวยกว่าบริษัทใหญ่ๆ ก็ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us