Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2555
เฟซบุ๊กกับการสร้างประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 


   
www resources

Facebook Homepage

   
search resources

Web Sites
Facebook




ประเด็นของเฟซบุ๊กนี่เขียนเท่าไรก็ไม่มีวันหมด เพราะมีประเด็นใหม่ๆ มาให้พูดถึงอยู่เรื่อย

ล่าสุดหลังจากเฟซบุ๊กเข้าตลาดพร้อมกับราคา IPO ที่ 38 เหรียญสหรัฐ ราคาก็ค่อยๆ ลดลงมาเรื่อยๆ นับจากราคาวันเปิดตลาดที่ขึ้นไปสูงสุดถึง 45 เหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มว่าจะลดลงไปเรื่อยๆ อีกจนกว่าหุ้นเฟซบุ๊กจะหาราคาที่สมดุลของตัวเองเจอ

แต่ประเด็นเรื่องราคาที่ขึ้นลงอาจจะไม่สำคัญเท่าข้อกล่าวหาที่ว่าเฟซบุ๊กกำลังจะทำลายวัฒนธรรมหลายๆ อย่างของซิลิกอน วัลเลย์

ซิลิกอน วัลเลย์เป็นที่ที่สร้างนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ คอมพิวเตอร์กราฟิก เว็บไซต์ที่ช่วยให้เราสามารถขายสินค้าหรือจ่ายเงินซื้อสินค้ากับคนแปลกหน้าได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ebay.com หรือ paypal.com และอื่นๆ อีกมากมายเช่นเดียวกับกูเกิลที่เคยเป็นหุ้น IPO ด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดในโลก ที่มิใช่เพียงจะประสบความสำเร็จด้านธุรกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในชีวิตของเราอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยล่าสุดพวกเขาพยายามที่จะทำให้หนังสือในห้องสมุดทุกแห่งเป็นรูปแบบดิจิตัลให้หมด รวมถึงการสอนให้รถขับเองให้ได้

หลายๆ คนเริ่มตั้งคำถามกับเว็บไซต์อย่างเฟซบุ๊ก Zynga LinkedIn Groupon ว่า พวกเราได้อะไรจากเว็บไซต์เหล่านี้ ในขณะที่มีผลสำรวจว่าเราใช้เวลาออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กและเว็บไซต์แนวโซเชียลเน็ตเวิร์กจำนวนหลายชั่วโมงต่อวัน ซึ่งดูจะเป็นการเสียเวลาไปโดย เปล่าประโยชน์หรือไม่ ในขณะที่ไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากทำให้คนไม่กี่คนร่ำรวยมากขึ้น

บางคนกล่าวว่าความสำเร็จของเฟซบุ๊กจะนำไปสู่การสิ้นสุดของยุคสมัยของซิลิกอน วัลเลย์ทางอ้อมเสียด้วยซ้ำ

นอกจากนี้ยังมีความคิดเห็นของ Jeff Hammerbacher ซึ่งเป็นอดีตพนักงานของเฟซบุ๊กที่ลาออกมา เนื่องจากเขาไม่สามารถทนอยู่ในบริษัทที่ทุ่มเททรัพยากรบุคคลชั้นเลิศจำนวน มากมายเพื่อสร้างสิ่งที่ไม่มีความหมาย เขาถึงกับ กล่าวว่าคนรุ่นของเขาพยายามอย่างที่สุดในการคิดหาหนทางให้คนคลิกโฆษณาเข้าไปดูให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่ไร้สาระมาก

ธุรกิจของเฟซบุ๊กคือการขายโฆษณา ซึ่งแพลทฟอร์มของพวกเขาอาจจะถือว่าเป็นแพลทฟอร์มสำหรับทำโฆษณาที่มีประสิทธิภาพที่สุดอันหนึ่งนับตั้งแต่มีกูเกิลมา อย่างไร ก็ดี โฆษณาไม่ได้ช่วยทำให้ดุลการค้าของประเทศสหรัฐอเมริกาดีขึ้น เช่นเดียวกับที่ไม่สามารถยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ให้หลุดจากความยากจนได้ ไม่ได้ทำให้ศักยภาพของฝีมือแรงงาน ดีขึ้น ไม่ได้ทำให้ความคาดหวังในการใช้ชีวิตดีขึ้น หรือทำให้ความ เจ็บปวดลดน้อยลง หรือกล่าวได้ว่า โฆษณาไม่ได้ทำให้มาตรฐานการใช้ชีวิตของเราดีขึ้นแต่อย่างไร

เฟซบุ๊กขายข้อมูลของเรา ขายความสัมพันธ์ ขายเวลา ขายความสนใจ และขายข้อมูลส่วนตัวของเราให้กับผู้ที่จะลงโฆษณา เฟซบุ๊กเป็นเสมือนท่อส่งผ่านสิ่งที่พวกเราทำออกไป ดังนั้นมูลค่าของเฟซบุ๊กในตลาดก็สะท้อนออกมาจากคุณค่าที่พวกเราได้ทุ่มเทและทำไปนั่นเอง นั่นหมายความว่าแต่ละครั้งที่เราล็อกอินเข้าใช้เฟซบุ๊ก หมายถึงว่าเรากำลังทำงานให้กับมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ทุกครั้งที่เราอัพเดตสถานะ โพสต์ภาพ หรือวิดีโอ เช็กหรือดูว่าเพื่อนของเราทำอะไรบ้าง ก็หมายถึงคุณกำลังส่งเงินเข้ากระเป๋าของมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กตลอดเวลาเช่นกัน

เฟซบุ๊กระบุว่า ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กใช้เวลาเฉลี่ย 175 ล้านชั่วโมงต่อวันบนเฟซบุ๊กในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ซึ่งถือว่าเป็นเวลา ที่ยาวนานมากเมื่อเทียบกับ 100 ล้านชั่วโมงที่ใช้ในการสร้าง Wikipedia ขึ้นมา

แต่ Wikipedia ได้เพิ่มความรู้ให้กับมวลมนุษยชาติ ในขณะที่เฟซบุ๊กมีปุ่ม Like ที่ทำให้ผู้ลงโฆษณาสามารถแยกแยะกลุ่ม ลูกค้าเป้าหมายของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น

ต่างจากกรณีของธุรกิจโทรทัศน์ ซึ่งมีรายได้จากโฆษณาเช่นเดียวกัน แต่เมื่อคนลงโฆษณาจ่ายเงินให้สถานี เงินนี้จะไหลไปสู่กระเป๋าของหลายๆ คนตั้งแต่ดารา เจ้าหน้าที่สถานี เจ้าหน้าที่ กองถ่าย ดีไซเนอร์ เบื้องหลังรายการต่างๆ โปรดิวเซอร์ ซาวน์เอ็นจิเนียร์ นักดนตรี คนเขียนบท ฯลฯ นั่นคือคนที่มีส่วนร่วมในการผลิตรายการทีวีล้วนได้ส่วนแบ่งจากเงินโฆษณามากบ้างน้อยบ้างตามสัดส่วน ซึ่งคนที่ได้รับเงินนี้ก็จ่ายภาษีและเอาเงินรายได้มาใช้ ย้อนกลับมาทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้

รายการโทรทัศน์ที่สร้างขึ้นมายังสามารถนำไปส่งออก ภาพยนตร์และรายการโชว์ที่ขายไปต่างประเทศทำให้ดุลการค้าของประเทศดีขึ้น ทำให้สินค้าที่ใช้ในประเทศมีราคาลดลงด้วยเช่นกัน

แต่เมื่อคนลงโฆษณาจ่ายเงินให้เฟซบุ๊กเงินเหล่านั้นจะตกอยู่กับเหล่าผู้ถือหุ้นเฟซบุ๊ก พนักงาน และผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ แต่ต้องไม่ลืมว่าหุ้นส่วนใหญ่ของเฟซบุ๊กถือโดยคนไม่กี่คนเท่านั้น นั่นคือความมั่งคั่งอันเกิดจากเฟซบุ๊กตกอยู่ในมือของคนไม่กี่คนเท่านั้น ซึ่งบางคนกลับปฏิเสธที่จะจ่ายภาษีเสียด้วยซ้ำ แทนที่จะนำเงินเข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ในขณะที่คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเล่นเฟซบุ๊กก็อาศัยชิ้นส่วนที่นำเข้าจากประเทศนอกสหรัฐอเมริกา นั่นคือการส่งเงินทุนออกต่างประเทศและทำให้ดุลการค้าของประเทศสหรัฐฯ ย่ำแย่ลง

อย่างไรก็ดี เราคงกล่าวไม่เต็มปากว่า เฟซบุ๊ก หรือโซเชียลมีเดียอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันไม่ได้สร้างประโยชน์โภชผลใดๆ ต่อระบบเศรษฐกิจโลกนอกจากการคลิกดูโฆษณาในขณะที่อ่านคอมเมนต์อื่นๆ ของเพื่อนกลุ่มต่างๆ ของเรา ซึ่งเป้าหมายพื้นฐาน ของโซเชียลเน็ตเวิร์กคือการเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้เจอกันมาเนิ่นนาน ความสัมพันธ์นี้ถือว่ามีความหมายมาก เพราะสามารถต่อยอดให้เกิดไอเดียทางธุรกิจใหม่ๆ ได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น การสร้างธุรกิจให้เช่าอพาร์ตเมนต์ออนไลน์กับคนทั่วโลกผ่าน Airbnb หรือธุรกิจให้เช่ารถยนต์ผ่าน Relayrides ที่ทำให้เราใช้รถยนต์ได้คุ้มค่ามากขึ้น

นอกจากนี้เฟซบุ๊กยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับธุรกิจออนไลน์เปิดใหม่หลายๆ เจ้าที่ต้องอาศัยศักยภาพของเฟซบุ๊กอย่าง KurbKarma ซึ่งเป็นแอพที่ช่วยให้คนที่จะออกจากที่จอดรถสามารถ สร้างประโยชน์จากที่จอดรถที่จะว่างนั้นได้ โดยพวกเขาประกาศให้คนทั่วโลกรู้ว่ามีที่จอดรถว่างตรงนั้น โดยในการใช้งานนั้นคุณไม่จำเป็นต้องใช้เฟซบุ๊กในการใช้งาน KurbKarma แต่คุณจำเป็นต้องล็อกอินผ่านเฟซบุ๊ก เหมือนหลายๆ แอพทุกวันนี้ที่ใช้ User ผ่านเฟซบุ๊กโดยไม่ต้องไปสมัครเพื่อสร้างแอคเคาน์ใหม่ๆ ซึ่งเฟซบุ๊ก เป็นแพลทฟอร์มทางการตลาดที่ตอบสนองความต้องการลักษณะนี้ได้เป็นอย่างดี โดยจะทำงานได้ดีเมื่อมี user ออนไลน์ในบริการนั้นๆ มากพอ และข้อมูลที่แชร์ไปจะมีประโยชน์ต่อคนที่ต้องการที่จอดรถ โดยเฉพาะถ้าเราได้อ่านบทวิจัยเกี่ยวกับคนขับรถบนถนน Columbus ในนครนิวยอร์กที่ใช้เวลากว่า 50,000 ชั่วโมงต่อปี หรือคิดเป็นจำนวนก๊าซเรือนกระจกที่ปลดปล่อยออกมาถึง 325 ตันในการหาที่จอดรถในถนนนั้นเพียงถนนเดียว และถ้าเราหันมาใช้ KurbKarma บางทีเราอาจจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ไปได้ มากพอ นี่น่าจะเป็นคุณูปการของเฟซบุ๊กผ่านแอพที่น่าชื่นชมมาก

อย่างไรก็ตาม มันก็อดหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวว่าคนจำนวนมาก ต่างเสียเวลาอย่างไร้สาระบนเฟซบุ๊กวันหนึ่งหลายๆ ชั่วโมง ต้องไม่ลืมว่าก่อนหน้าจะมีเฟซบุ๊ก คนจำนวนมากก็เสียเวลาอยู่กับเว็บต่างๆ อยู่แล้ว โดยเฉพาะเราไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดหูผิดตาหลังจากการเกิด ขึ้นของเฟซบุ๊กแต่อย่างใด นอกจากนี้จากงานวิจัย ที่พบว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของการใช้งานแบนด์วิธอินเทอร์เน็ตเป็นการเข้าเว็บไซต์เกี่ยวกับภาพโป๊ก็ยิ่งทำให้การใช้งานเฟซบุ๊กไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแต่อย่างไร ซึ่งก็เหมือนกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของมวลมนุษยชาตินับจากอดีตถึงปัจจุบันที่มีคนเอาไปใช้ทั้งในทางดีและไม่ดี เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือแค่เพียงใช้งานเท่านั้น เฟซบุ๊กก็เช่นเดียวกัน เราสามารถใช้เฟซบุ๊กในการเป็นเครื่องมือในการทำงาน ขณะเดียวกันบางคนก็ใช้ในการเล่นเกมเท่านั้น

แม้เราจะไม่เห็นถึงประโยชน์ของเฟซบุ๊กอย่างชัดเจนนักต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีข้อดีหลายๆ อย่างอันเกิดจากการบูมของเทคโนโลยี อย่างการเอาบริษัทในธุรกิจเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าตลาดหุ้นของทั้งเฟซบุ๊ก และอีกหลายๆ บริษัทก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็น LinkedIn และ Zynga ซึ่งถือได้ว่าเป็นการโยกย้ายความมั่งคั่งจากวอลล์สตรีทไปสู่ซิลิกอน วัลเลย์ ซึ่งซิลิกอน วัลเลย์สามารถเอาเงินทุนนี้ไปต่อยอดใช้ประโยชน์ ได้ดีกว่า

นอกจากนี้ คุณูปการอีกอย่างหนึ่งที่เป็นผลโดยอ้อมจากการโยกเงินมาสู่ซิลิกอน วัลเลย์คือการที่เหล่าศิษย์เก่าที่ร่ำรวยจากการสร้างสิ่งใหม่ๆ ในซิลิกอน วัลเลย์ ล้วนกลับมาตอบแทนโดยการเอาเงินที่ได้จากซิลิกอน วัลเลย์มาร่วมลงทุนเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างเช่นผู้ร่วมก่อตั้ง PayPal ก็มาร่วมลงทุนในเฟซบุ๊ก หรือผู้ร่วมก่อตั้ง PayPal อีกคนก็ไปร่วมสร้าง SpaceX และ Tesla Motors ซึ่งเป็นผู้ผลิตยานอวกาศและรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสองบริษัทที่จะมาเปลี่ยนแปลงระบบการขนส่งของโลกของเราแบบถอนรากถอนโคน

รูปแบบนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำๆ อีกหลายๆ ครั้งกับซิลิกอน วัลเลย์ เพราะการแตกตัวแต่ละครั้งย่อมสร้างความมั่งคั่งใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่การถือกำเนิดของสิ่งใหม่ๆ ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม

การถือกำเนิดของเฟซบุ๊กก็เช่นเดียวกัน การทำ IPO ของเฟซบุ๊กได้สร้างมหาเศรษฐีใหม่ขึ้นมาหลายคน และเศรษฐีใหม่อีกหลายพันคนล้วนเป็นคนที่ฉลาดและสร้างสรรค์ที่สุดกลุ่มหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าเราคิดว่าเราจะเสียเวลาไร้สาระไปกับเฟซบุ๊กแล้วล่ะก็ รอดูพวกเขาก่อน พวกเขาอาจจะกำลังกลับมาล้างบาปที่พวกเขาสร้างขึ้นด้วยการสร้างอนาคตใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับมวลมนุษยชาติเช่นเดียวกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us