Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2555
ฐาปน สิริวัฒนภักดี “แม่โขง” เจเนอเรชั่นใหม่             
โดย สุพร แซ่ตั้ง
 

 
Charts & Figures

อาณาจักรธุรกิจเครื่องดื่ม "ไทยเบฟเวอเรจ"
รายได้รวมและยอดขายของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

   
related stories

แม่โขงรีเทิร์น
Umbrella campaign น้ำ = เบียร์
“โออิชิ” ยึดตู้แช่ ข้ามสายพันธุ์ ข้ามตลาด

   
www resources

โฮมเพจ ไทยเบฟเวอร์เรจส์ จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ไทยเบฟเวอเรจ, บมจ.
ฐาปน สิริวัฒนภักดี
Alcohol




“ช่วงเวลา 10 ปี เป็นช่วงที่ได้ความรู้มากมาย เปลี่ยนจากวัยเรียนเป็นวัยทำงาน ความคิดต่างๆ เหมือนเรียนจบแล้วไปสมัครงานบริษัท มีเลิร์นนิ่งเคิร์ฟ เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ ปรับตัวรับสิ่งใหม่ๆ ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา มองย้อนกลับไป ผมสนุกกับการทำงาน ผ่านเรื่องราวมาพอสมควร ได้ทำงานใกล้ชิดกับคุณพ่อ ใกล้ชิดกับผู้บริหารอาวุโสหลายท่าน ร่วมทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับคุณพ่อจนมาถึงผู้บริหารยุคใหม่ที่ผมมีโอกาสเชิญชวนได้ทำงานร่วมกัน ได้โอกาสเรียนรู้มากมาย เป็นคุณค่าของชีวิตของผมในช่วง 10 ปี”

ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับ ผู้จัดการ 360 ํ ด้วยบุคลิกอ่อนน้อม สุภาพ ซึ่งได้รับถ่ายทอด “ยีน” จากเจริญ สิริวัฒนภักดี แบบ 100%

วันนี้ฐาปนกลายเป็นนักธุรกิจหนุ่มวัยไม่ถึงสี่สิบที่มีภาระบริหารบริษัทในเครือมากที่สุดถึง 106 บริษัท ดูแล 4 กลุ่มธุรกิจหลักคือ กลุ่มธุรกิจสุรา ทั้งสุราขาว สุราผสม สุราสมุนไพรจีน สาเก และสุราสี มากกว่า 30 แบรนด์ กลุ่มธุรกิจเบียร์ กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และกลุ่มธุรกิจอาหาร ซึ่งสัดส่วนรายได้รวมกว่า 132,186 ล้านบาท เมื่อปี 2554 มาจากกลุ่มธุรกิจสุรา 64% ธุรกิจเบียร์ 25% ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 8% และธุรกิจอาหาร 3%

ในวันแรกของการทำงานหลังจบปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจสาขา Finance และปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน จาก Boston University ฐาปนถูกเจริญส่งไปที่บริษัท สุรากระทิงแดง (1998) จำกัด ดูแลทั้งกระบวนการผลิตและตลาดส่งออกเหล้าหลายยี่ห้อ

จนกระทั่งปี 2546 เจริญตั้งบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ “ไทยเบฟ” เพื่อรวมกิจการผลิตเบียร์และสุราเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ท่ามกลางกระแสการคัดค้านธุรกิจเหล้าเบียร์ในไทย ทำให้ไทยเบฟตัดสินใจย้ายไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 และสามารถระดมทุนได้ถึง 1,570 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือ 38,000 ล้านบาท

ฐาปน แม้เป็นลูกคนที่ 3 จากพี่น้อง 5 คน คือ อาทินันท์ วัลลภา ฐาปน ฐาปนี และปณต แต่ในฐานะลูกชายคนโตจึงได้รับมอบหมายให้จับงานชิ้นใหญ่ที่ไทยเบฟฯ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของครอบครัวในตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ต้องเรียนรู้และฝึกวิทยายุทธ์จากผู้เป็นพ่ออย่างใกล้ชิด รวมทั้งผู้บริหารอาวุโสรุ่นแรกๆ อยู่หลายปี ก่อนที่เจริญจะยอมเปิดทางขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในปี 2551

ธุรกิจเหล้าเบียร์ ซึ่งเป็นภาพลักษณ์แรกของไทยเบฟ เป็นธุรกิจสีเทาที่อิงอยู่กับอิทธิพลและอำนาจการเมืองตั้งแต่ในอดีต ต้องเจอกระแสต่อต้านการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้มีบริษัทในเครือ ซึ่งอยู่ในกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ คือ บริษัท โออิชิกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วก็ตาม

ฐาปนเปิดใจว่าชีวิตเขาเลือกไม่ได้

“มันเลือกไม่ได้ ผมโตมาเกือบสี่สิบปี คุณพ่อคุณแม่เริ่มต้นทำธุรกิจ สี่สิบปีก่อนไม่มีใครพูดว่าธุรกิจดีไม่ดีอย่างไร แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงในสังคมมากกว่า คนมีความรู้มากขึ้น คนเป็นห่วงสุขภาพมากขึ้น เราเคยได้ยินเรื่องการทานอาหารฟาสต์ฟู้ดว่ามีโคเลสเตอรอลมาก อีก 50 ปีคนอาจไม่นิยมอาหารฟาสต์ฟู้ดเลยเพราะทำลายสุขภาพ เพราะจริงๆ แล้วเรื่องเครื่องดื่ม หรือแม้กระทั่งเราอยู่ในธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งที่เราต้องทำคือสนใจเรื่องคุณภาพ การผลิตสินค้าสู่สังคม มาตรฐาน คุณภาพสุรา ไม่ใช่สักแต่ว่าผลิตหรือทำออกมา มันมีความแตกต่าง ถ้าไม่เข้าใจรายละเอียด อาจมองว่าสุราโรงใหญ่ไปรังแกผู้ประกอบการรายกลางรายเล็กที่ต้มเหล้าอะไรต่างๆ นานา ซึ่งสมัยก่อนเป็นเรื่องมุมมองและความรู้ที่แตกต่างกัน”

ผมว่าเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยและสังคมโดยรวม ซึ่งเราไม่ได้ต่อต้านหรือคัดค้านแต่ประการใด ไทยเบฟฯ เราก็ให้ความสำคัญเน้นการขยายสู่ธุรกิจเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น เราเน้นไปที่โออิชิ เน้นไปที่ธุรกิจต่างๆ เนื่องจากเราเห็นว่าผู้คนให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ ฉะนั้นเราค่อยๆ ปรับตัวเป็นไปตามยุคสมัย เป็นไปตามธรรมชาติ”

เหตุผลด้านธุรกิจทั้งกระแสของตลาด พฤติกรรม ผู้บริโภค และความพยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆ ให้ไทยเบฟ ทำให้ฐาปนเร่งปรับโครงสร้าง ระบบการทำงาน และกลุ่มธุรกิจ เปลี่ยนยุคจาก “เถ้าแก่” สไตล์คนจีนเป็น “ผู้บริหารมืออาชีพ” เพื่อสร้างความชัดเจนในการจำหน่ายสินค้าอย่างโปร่งใสตามระบบการค้าเสรี

การคัดเลือกบุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาและความสามารถตรงกับงาน ไม่ใช่ระบบลูกน้องใกล้ชิดนาย การหมุนเวียนผู้จัดการโรงงานสุราทั้ง 18 แห่งทั่วประเทศ วาระละ 4 ปี ไม่ให้ยึดติดกับพื้นที่ และการดึงทีมผู้บริหารรุ่นใหม่ๆ ที่เป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง

ฐาปนบอกว่าถ้าเปรียบเทียบธุรกิจยุคเถ้าแก่กับคนรุ่นใหม่ เถ้าแก่เป็นยิ่งกว่าผู้บริหาร มืออาชีพ สวมจิตวิญญาณความเป็นเจ้าของ ไม่อยากให้ธุรกิจเสียหาย มันแตกต่างและยาก แม้กระทั่งคนรุ่นที่ 2 ก็ไม่สามารถมีความอดทน อดกลั้น มุ่งมั่นได้เหมือนอย่างรุ่นพ่อ และเชื่อว่ารุ่นต่อๆ ไป รุ่นที่ 3 เรื่องความอดทนสอนได้ แต่ไม่สามารถมีได้เท่า เพราะไม่ได้ผ่านความยากลำบาก อันนี้แตกต่างจากผู้บริหารมืออาชีพ แต่ต้องผสมผสานกัน

ที่ผ่านมา ฐาปนปรับโครงสร้างองค์กรและทีมผู้บริหาร 1-2 ครั้ง จนล่าสุด วางตัวผู้บริหารรุ่นใหม่เข้ามาทำกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นแมทธิว กิจโอธาน อนิรุทธ์ มหธร และสรกฤต ลัทธิธรรม เพื่อขยายตลาดทั้งเครื่องดื่มเบียร์ช้าง เครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น “โออิชิ” น้ำดื่มและโซดาช้าง

ขณะที่ดึงวรรัตย์ จรูญสมิทธิ์ จากบริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเหล้านอก “จอห์นนี่ วอล์กเกอร์” เพื่อเปิดปฏิบัติการทำ ตลาดสุรา “แม่โขง” ในประเทศไทยอีกครั้ง

เป้าหมายคือการเป็นผู้นำด้านธุรกิจ เครื่องดื่มทั้งแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ รวมทั้งการเป็นผู้นำในตลาดอาเซียนรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และขยายสู่ทั่วโลกให้มากที่สุด

“ผมมองว่า เราเป็นผู้ประกอบการด้านเครื่องดื่ม ที่สำคัญ ทีมงานของเรามีประสบการณ์ยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตและการจัดจำหน่าย อยากเห็นทีมงานร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ทำงานให้สนุก สร้างความท้าทายให้ตัวเอง เพราะเราต้องแข่งขันกับตัวเราเอง แต่สภาวะแวดล้อมก็เปลี่ยนตลอดเวลา ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไป ภูมิภาคเราจะเป็นอาเซียน อยู่ดีๆ วันดีคืนดีก็มีเสียงจากสังคมที่สะท้อนกลับมา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติปกติที่คนเราเป็นห่วงสุขภาพ เรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจมีบทบาทในความรู้สึกทางสังคมว่าเป็นพิษเป็นภัยต่อสุขภาพ ซึ่งเราเข้าใจได้และเป็นเหตุผลที่บริษัทไทยเบฟเวอเรจเน้นให้ความสำคัญในการขยายไปยังสินค้าที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เราก็ทำมาตลอด 5 ปีเกือบ 6 ปี สร้างฐานเตรียมความพร้อมต่างๆ เป็นการพัฒนาตามลำดับขั้น”

“อีก 5-10 ปีข้างหน้า ผมอยากเห็นคนไทยภาคภูมิใจกับไทยเบฟที่ไทยเบฟฯ สามารถมีสินค้าที่เชิดหน้าชูตาคนไทย เราไปที่ไหนสามารถถามว่าดื่มสินค้าเราหรือยัง เคยได้ชิมได้ลองสินค้าของเรามากน้อยแค่ไหนอย่างไร”

แล้วจะเป็นการยึดครองตลาดหรือไม่

ฐาปนแย้งขึ้นทันทีว่า ไม่ใช่ เพราะมีผู้ประกอบการรายอื่นอีกเยอะแยะ เดินไปในซูเปอร์มาร์เก็ตมีสินค้าของไทยเบฟเรียงบนเชลฟ์ไม่ถึง 10% พร้อมกับตั้งคำถามกลับว่า “คนไทยอยากเห็นศักยภาพขององค์กรบริษัทไทยอย่างไร”

“เวลาเราไปประเทศอื่น ไปซื้อหยิบกิน ซื้อของของเขา เรารู้สึกว่าเข้าท่า แต่เรากลับมองของเราว่าใหญ่เกินไปหรือเปล่า ได้คนเดียวหรือเปล่า ผมมองว่าแล้วแต่เหตุการณ์ เราไม่ได้หวังยึดครองตลาด แต่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคครอบคลุมมากที่สุด เพราะเรามีหน้าที่ เราอยู่ในกลุ่มเครื่องดื่ม”

“ผมเปรียบเทียบสังคมไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คำถามคือ เราจับมือกันเหนียวแน่นหรือยัง จริงๆ เราต้องอยู่ในสังคมอาเซียน ครอบครัวเรารักกันดีหรือยัง หรือจริงๆ แล้วเราอยากเห็นประชาคมอาเซียนเข้ามา ไม่ว่าจะเปิดประตูเข้ามาทางเรา มาเก็บเกี่ยวอะไรต่างๆ นานาออกไป ซึ่งในโลกปัจจุบันโดยเฉพาะเรื่องการแข่งขัน สิ่งที่สำคัญในภาคธุรกิจคือการปรับตัวและสร้างจุดยืนที่ชัดเจนว่า เรามีความพร้อมในการตอบสนอง ความต้องการของตลาดและผู้บริโภคอย่างไร ที่สำคัญ ผมเป็นองค์กรคนไทย ไทยเบฟ ชื่อก็บอกอยู่แล้ว เราอยากเห็นว่ามีสินค้าได้จัดจำหน่ายไม่ว่าจะอยู่ในบ้านเราหรือออกสู่ตลาดต่างประเทศ ให้คนไทยไปเจอะเจอชาวต่างประเทศแล้วบอกว่าเป็นสินค้าไทยได้ชิมหรือยัง ชอบไหม ต่างๆ นานา เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย”

ปัจจุบันไทยเบฟฯ มีสินค้าอยู่ในพอร์ต ทั้งในและต่างประเทศมากกว่าร้อยแบรนด์

ล่าสุดฐาปนเปิดเกมใหม่นำ “แม่โขง” กลับมาทำตลาดในเมืองไทยอีกครั้ง หลังจากหยุดจำหน่ายมาเกือบ 5 ปี และหันไปทำตลาดในต่างประเทศ เพื่อชุบชีวิตสุราไทย ยี่ห้อเก่าแก่อายุกว่า 70 ปี

ยุทธศาสตร์ “แม่โขงเจเนอเรชั่นใหม่” รูปลักษณ์ทันสมัย คลาสสิก แม้ตัวสุราสีอำพันยังเป็นสูตรเดิมแต่รสชาตินุ่มขึ้น จากการบ่มที่นานขึ้น โดยตั้งเป้าเจาะตลาดใหม่ชนกับเหล้านอกระดับไฮเอนด์ จึงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น เพราะ “แม่โขง” มีทั้งประวัติศาสตร์ เกี่ยวพันกับสถานการณ์บ้านเมืองตั้งแต่ยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ยุคการเรียกร้องดินแดนไทยจากฝรั่งเศส ศึกศักดิ์ศรีและวงศ์ตระกูล จนกลายเป็นสงครามธุรกิจที่ซ่อนเงื่อนปมหลายชั้น

น่าติดตามว่าฐาปนจะนำสมบัติชิ้นนี้ ซึ่งเป็นรากฐานที่สร้างอาณาจักรธุรกิจอันใหญ่โตของเจริญกลับมาโลดแล่นในตลาดอย่างอหังการได้หรือไม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us