Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2555
ถนนสาย 30A มุ่งสู่ดินแดนมหัศจรรย์แห่ง Panhandle             
โดย มานิตา เข็มทอง
 





ขับรถเลียบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกให้ใช้เส้นทางหลวง 30A ชื่นชมประติมากรรมทางธรรมชาติริมฝั่งทะเล ณ ดินแดนด้ามกระทะ (Panhandle) แห่งมลรัฐฟลอริดา ที่ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฟลอริดายาวประมาณ 320 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 80-160 กิโลเมตร ส่วนเหนือติดกับรัฐแอละบามา ส่วนตะวันออกติดกับรัฐจอร์เจีย และส่วนใต้ติดอ่าวเม็กซิโก

ในปัจจุบันหากได้ยินใครกล่าวถึงดินแดนทางตะวันตกหรือตะวันตกเฉียงเหนือของฟลอริดา ขอให้เข้าใจว่าหมายถึงส่วนด้ามกระทะนี้เช่นกัน ซึ่งในประวัติศาสตร์ดินแดนส่วนนี้ที่อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำ Apalachicola รวมถึงพื้นที่บางส่วนของรัฐแอละบามา รัฐมิสซิสซิปปี และรัฐหลุยเซียนา ล้วนเคยตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษนานถึง 20 ปีในช่วงปี 1763-1783 และอยู่อาณานิคมของสเปนในช่วงปี 1783-1821 ยาวนานถึง 38 ปี

ทางหลวงหมายเลข 30A เป็นทางหลวงเลียบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกช่วงด้ามกระทะเป็นระยะทางยาวทั้งสิ้น 46 กิโลเมตร อยู่ในเขตวอลตัน เป็นเส้นทางที่มีทัศนียภาพสวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยวปีละหลายล้านคนที่มาเยือนดินแดนแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นหาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใสเขียวมรกต ตัดกับท้องฟ้าสีคราม ความสวยงามติดอันดับโลก ป่าเนินทราย (Dune Forest) โดยเฉพาะทะเลสาบเนินทรายริมฝั่งทะเล (Coastal Dune Lake) ที่หายากมีเพียงไม่กี่แห่งในโลก นอกจากนั้นยังมีอุทยานแห่งรัฐหลายแห่งให้แวะเข้าไปเรียนรู้สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แห่งนี้ รวมไปถึงชุมชนหมู่บ้านที่มีการวาง แผนเป็นผังเมืองใหม่ริมชายฝั่งทะเลอย่างน่าสนใจ

เริ่มจากอุทยานแห่งรัฐเกรย์ตันบีชเป็นอุทยาน ที่ขึ้นชื่อว่ามีชายหาดที่สวยที่สุดในอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ประมาณ 2,000 เอเคอร์ หรือประมาณกว่า 5,000 ไร่ ผู้มาเยือนสามารถเข้าสัมผัสใกล้ชิดกับระบบนิเวศวิทยาของที่ลุ่มน้ำเค็ม สภาพป่าชายฝั่งที่ต้นไม้มีรูปร่างบิดเบี้ยวตามแรงลมราวกับไม้ดัดที่ยังคงความสมบูรณ์ไว้มากที่สุด เนื่อง จากการร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการอนุรักษ์ระบบนิเวศวิทยาอันแสนพิเศษนี้ให้อยู่บนโลกใบนี้ต่อไปยาวนาน

ป่าเนินทรายริมชายหาดหรือ Dune Forest เป็นความงามที่ธรรมชาติใช้เวลานานนับพันปีในการ สรรค์สร้างจากเม็ดทรายจำนวนมหาศาลที่สะสมทับถมกันมายาวนาน จากแรงลม แรงน้ำทะเลที่พัด พามาปกคลุมพืชไม้ต่างพันธุ์ที่เติบโตอยู่ตามชายฝั่ง กิ่งก้านที่โผล่พ้นทรายมาแม้จะดูแห้งไร้ใบเหมือนซากต้นไม้ตาย เนื่องจากต้องตระหง่านท้าแรงลม แรงแดด ไอน้ำเค็มจากผืนทะเล และเม็ดทรายที่ถูกคลื่นลมคลื่นทะเลซัดพามาเสียดสีอยู่วันแล้ววันเล่า หากว่าเบื้องใต้ซากอันดูไร้ชีวิตกลับมีชีวิตที่สมบูรณ์ที่ถูกพิทักษ์อยู่อย่างน่าอัศจรรย์รอวันที่คลื่นลมสงบออกดอกผลิใบแต่งเติมความงามให้โลกใบนี้ต่อไป

จากลักษณะภูมิประเทศที่พิเศษของบริเวณด้ามกระทะนี้ส่งผลให้เกิดทะเลสาบเนินทราย หรือ Dune Lake ซึ่งนับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่หายากในโลก เนื่องจากมีเพียงไม่กี่ประเทศที่มีลักษณะภูมิประเทศที่เอื้อให้เกิดขึ้นได้ สำหรับสหรัฐ อเมริกานอกจากในเขตด้ามกระทะของฟลอริดาแล้ว ยังสามารถพบได้ที่บริเวณชายฝั่งของรัฐโอเรกอนและรัฐเซาท์แคโรไลนา ส่วนประเทศอื่นๆ มีที่บริเวณ ชายฝั่งของประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และมาดากัสการ์

ดร.โทนี่ สตาลลินส์ รองศาสตราจารย์ด้านภูมิชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเคนตักกี้อธิบายถึงการก่อกำเนิดของทะเลสาบเนินทรายว่า จะต้องเป็น ลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสม โดยจะเกิดห่างจากชายฝั่งทะเลไปประมาณ 2 ไมล์ หรือประมาณ 3 กิโลเมตร ส่วนใหญ่มีรูปร่างบิดเบี้ยวต่างกันไป น้ำในทะเลสาบประกอบด้วยทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มที่ซึมมาจากใต้ดิน จากน้ำฝนและน้ำทะเลที่ถูกซัดเข้ามาในฤดูกาลพายุเฮอร์ริเคน โดยน้ำจืดจะอยู่ด้านบนของน้ำเค็มเนื่องจากความหนาแน่นของน้ำ สีของน้ำ ในทะเลสาบเนินทรายส่วนใหญ่จะมีสีเข้มเหมือนสีชา หรือสีดำ ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ที่อยู่ในนั้น นอกจากนี้ยังมีเม็ดทรายจำนวนมากที่ถูกซัดเข้าออกในทะเลสาบเนินทรายในช่วงพายุนั้น ทำให้ทะเลสาบเนินทรายเป็นทะเลสาบน้ำตื้นไม่ใช่น้ำลึก ทั้งนี้ในอดีตหลายศตวรรษก่อนเม็ดทรายที่อยู่ก้นทะเลสาบเคยถูกใช้บันทึกเป็นข้อมูลสำหรับศึกษาพายุเฮอร์ริเคนที่กระหน่ำในพื้นที่นั้นด้วย

นอกจากความงามที่ธรรมชาติสร้างไว้แล้ว ยังมีความงามที่มนุษย์สร้างไว้อีกด้วย ได้แก่ชุมชนที่อยู่สองฝั่งของทางหลวงหมายเลข 30A นอกจากชุมชนเดิมเก่าแก่ที่ยังพอหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง ยังมีชุมชนใหม่ที่มีการวางผังจัดการเมืองด้วยวิธีการ ใหม่และสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากแนวที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีแนวคิดหลักคือ ย้อนกลับไปสู่การใช้ชีวิตแบบในอดีตสมัยปู่ย่าตายายที่ทุกอย่างที่จำเป็นอยู่ใกล้เพียงแค่สองขาเดิน ด้วยสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยและร่วมสมัย โดยชุมชนใหม่นี้อยู่ทางตอนใต้ของเขตวอลตัน เริ่มจากชุมชน Seaside ที่โด่งดัง เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Truman Show ที่มีจิม แคร์รี่ เป็นตัวแสดงเอก

ชุมชน Seaside เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี 1979 ที่ออกแบบโดย Andres Duany และ Elizabeth Plater-Zyberk สองสถาปนิกสามีภรรยาชาวอเมริกัน ตามมาด้วยเมืองรีสอร์ต Rosemary Beach ที่เริ่มสร้างในปี 1995 และออกแบบโดยสถาปนิกกลุ่มเดียว กันกับ Seaside เป็นการผสมผสานระหว่างรีสอร์ต ริมทะเลสไตล์คาริบเบียนกับสไตล์ยุโรปได้อย่างลงตัว

นอกจากนั้นยังมีชุมชน WaterColor ที่รายล้อมด้วยป่าเนินทราย ออกแบบโดย Cooper, Robertson & Partners จากนิวยอร์ก เป็นแนวสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่นตอนใต้ของอเมริกา คือ เป็นบ้านไม้มีเสาใหญ่ มีระเบียงมุ้งลวด และหลังคาเหล็ก และชุมชนน้องใหม่ล่าสุด คือชุมชน Alys Beach ที่เพิ่งเริ่มโครงการเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นโครงการขนาดใหญ่สไตล์เบอร์มิวดา จะมีทั้งหมด 900 หลังคาเรือนบนพื้นที่ 158 เอเคอร์ หรือประมาณ 390 ไร่

บ้านส่วนใหญ่ใน Rosemary Beach และ Alys Beach เป็นบ้านหลังใหญ่พร้อมเรือนหลังเล็ก ซึ่งเจ้าของบ้านจะปล่อยให้นักท่องเที่ยวเช่าเป็นรายได้หลักของชุมชนริมหาดเหล่านี้

ทัศนียภาพสองฝั่งข้างทางหลวงหมายเลข 30A ณ ด้ามกระทะแห่งรัฐฟลอริดา ผสมผสานระหว่างประติมากรรมที่ธรรมชาติสรรค์สร้างขึ้นกับประติมากรรมที่มนุษย์สร้างสรรค์ไว้ได้อย่างลงตัว สิ่งเหล่านี้จะสามารถยั่งยืนอยู่ต่อไป ตราบที่มนุษย์ยัง คงไว้ด้วยจิตสำนึกในการพิทักษ์ธรรมชาติที่เป็นเจ้าของผืนดินผืนน้ำแห่งนี้มาเป็นเวลาช้านาน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us