Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2555
Machikon             

โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 





Machikon คำนี้กำลังเป็นคีย์เวิร์ดที่ได้รับการกล่าวถึงบ่อยครั้งที่สุดคำหนึ่งในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยไปจนถึงคนวัยทำงานช่วงอายุ 20-40 ปีทั่วประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่คนต่างวัยจำนวนไม่น้อยกลับพิศวงและไม่สามารถแม้กระทั่งคาดเดาความหมายของคำศัพท์ใหม่นี้ได้เสียด้วยซ้ำ

แต่นับจากนี้อีกไม่ช้าไม่นาน Machikon มีแนวโน้มจะกลายเป็นที่รับรู้ในวงกว้างเนื่องด้วยกระแสความนิยมที่รุกคืบสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในบางบ่ายของวันหยุดสุดสัปดาห์และวันนักขัตฤกษ์ ที่จู่ๆ ใจกลางของเมืองใหญ่ก็ขวักไขว่ไปด้วยหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นถือแผนที่เดินตามหาบางสิ่งกันอย่างขะมักเขม้น

มีหลักฐานพออ้างอิงได้ว่าปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2004 ที่เมือง Utsunomiya จังหวัด Tochigi ทางตอนเหนือของกรุงโตเกียว ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่ประสบผลสำเร็จ และกลายเป็นต้นแบบกระจายสู่เมืองอื่นๆ ทั่วญี่ปุ่นจนกระทั่งเกิดคำสแลง Machikon นี้ขึ้นมาเมื่อปีที่แล้วโดยการสมาสคำ “machi” ซึ่งแปลว่าเมืองเข้ากับ “kon” ที่ย่อมาจากคำว่า goukon อีกที

บางครั้งก็ยากที่จะเชื่อว่าสังคมญี่ปุ่นยังคงรากฐานของทัศนคติในบางเรื่องที่ล้าหลังเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นในปัจจุบันดูขัดแย้งกับภาพลักษณ์ ของประเทศพัฒนาแล้วหนึ่งเดียวในเอเชีย ยกตัวอย่างเช่น มุมมองในเรื่องสิทธิความเท่าเทียมของ สตรีก็ดี หรือการดำรงอยู่ของบรรดาแม่สื่อแม่ชักที่กระตือรือร้นเป็นธุระจัดหาคู่ดูตัวตามประเพณีเก่าแก่ซึ่งทำรายได้เป็นกอบเป็นกำก็ดี

อย่างไรก็ตามในระยะหลังๆ กิจกรรมของแม่สื่อดูแผ่วเบาลงไปทุกขณะ นั่นอาจเป็นเพราะระดับการศึกษาของผู้หญิงญี่ปุ่นสูงขึ้นส่งผลให้สถานภาพทางสังคมและเศรษฐานะสูงตามซึ่งแปรผกผันกับอัตราการแต่งงานของคู่บ่าวสาวที่รู้จักกันผ่านพิธีดูตัวด้วยสนนราคาอันสูงลิ่ว ด้วยเหตุนี้พิธีดูตัวจึงค่อยๆ เสื่อมประสิทธิภาพไปตามกาลเวลา

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำไปสู่การนัดพบของหนุ่มสาวรูปแบบใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแม่สื่อ ผู้ซึ่งไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบผลการจัดหาคู่แต่อย่างใด ดังนั้นพิธีรีตองตามแบบแผนเดิมจึงถูกตัดออกไปกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นด้วยการนัดเลี้ยง สังสรรค์กันในหมู่เพื่อนฝูงตามร้านอาหารภายใต้เงื่อนไขการแนะนำเพื่อนใหม่ให้เพื่อนในกลุ่มได้รู้จักซึ่งเป็นการสร้างโอกาสที่ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายแต่ให้ประสิทธิผลสูงขึ้นที่เรียกกันว่า goukon

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้มีคู่รักหรือสามีภรรยา หลายต่อหลายคู่ที่เริ่มต้นจาก goukon ซึ่งพบเห็นได้เป็นปกติโดยเฉพาะค่ำคืนศุกร์และเสาร์

กระนั้นก็ดี goukon ได้พัฒนาขึ้นไปอีกระดับด้วยการเพิ่มโอกาสขึ้นหลายเท่าตัวจากเครือข่ายในหมู่เพื่อนไม่กี่คนขยายตัวเป็นกลุ่มคนในอายุรุ่นราวคราวเดียวกันที่มีความสนใจคล้ายๆ กันผ่านงานอีเวนต์ใหญ่ที่จัดขึ้นโดยเครือข่ายของสมาคมร้านอาหารร้านดื่มตามเมืองใหญ่ๆ อันเป็นที่มาของ Machikon

การเติบโตของเครือข่าย Machikon ดำเนินไปอย่างถูกจังหวะถูกเวลาภายใต้แรงขับเคลื่อนของ Social Network ทรงประสิทธิภาพอย่าง Mixi รวมถึง Facebook และ Twitter นอกจากนี้ยังมีสมาร์ทโฟน เป็นอุปกรณ์สื่อสารคู่กายของคนในวัยนี้ที่สามารถรวบรวมสมาชิกได้คราวละหลายร้อยจนถึงหลายพันคนในอีเวนต์แต่ละครั้ง

ในทางปฏิบัติ Machikon ใช้ในความหมายแคบลงบ่งชี้ถึงสถานที่จัดอีเวนต์เช่น Harajukukon (ฮาราจุกุ), Asakusakon (อะสะคุสะ), Baykon (โยโกฮามา), Kawakon (คาวาซากิ), Kyokon (เกียวโต), Tenjinkon (ฟุคุโอกะ) เป็นต้น

รูปแบบของงานอีเวนต์มักจำกัดจำนวนและอายุของผู้เข้าร่วมงานที่ต้องบรรลุนิติภาวะแล้วหรือเกิน 20 ปีขึ้นไปตามกฎหมายซึ่งอาจเปิดกว้างสำหรับคนทั่วไปหรือเฉพาะสมาชิกก็สุดแล้วแต่ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขกำหนดให้เพื่อนเพศเดียวกันมาลงทะเบียนเข้างานเป็นคู่แล้วรับ Wrist band พร้อมแผนที่ร้านค้าที่เข้าร่วมรายการ

โดยทั่วไปค่าลงทะเบียนของฝ่ายชาย 5,900 เยน ฝ่ายหญิง 3,900 เยนจะใช้เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่มภายในร้านค้าที่เข้าร่วมอีเวนต์ซึ่งการเลือกเข้าร้านเป็นไปได้อย่างอิสระ อีกทั้งยังขอนั่งร่วมโต๊ะกับคู่ที่มี Wrist band เหมือนกันได้อย่างเสรี ภายในเวลาที่กำหนดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลา 15.00-18.00 น.ที่ไม่ค่อยมีลูกค้า

การเลือกช่วงเวลาดังกล่าวนอกจากจะได้เปิดโอกาสให้เฉพาะผู้ร่วมอีเวนต์อย่างเต็มที่แล้วยังช่วยกระตุ้นยอดขายของร้านสอดคล้องไปกับวัตถุประสงค์ประการแรกของการจัด Machikon ที่ต้องการอัดฉีดเม็ดเงินให้สะพัดและเกิดการไหลเวียนได้จากจำนวนผู้เข้าร่วมอีเวนต์ภายในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งส่งอานิสงส์ไปถึงร้านค้าอื่นที่เปิดอยู่โดยรอบอีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น Machikon ยังประสงค์เป็นเครื่องมือในการสร้างโอกาสสูงสุดให้คนหนุ่มสาวได้ออกมาพบปะกันอย่างเปิดเผยภายใต้กรอบและระเบียบสังคม ซึ่งเหตุผลเบื้องหลังข้อกำหนดการลง ทะเบียนเป็นคู่เพศเดียวกันนี้เป็นกลไกช่วยให้ผู้ร่วมอีเวนต์ดังกล่าวลดการเขินอายพร้อมๆ กันนั้นก็มีเพื่อนที่มาด้วยคอยดูแลความปลอดภัยซึ่งกันและกันได้อีกทางหนึ่ง

หากสัมฤทธิผลที่เกิดขึ้นจาก Machikon เป็นจริงแล้วอาจช่วยกระตุ้นอัตราการแต่งงานของสังคมญี่ปุ่นให้สูงขึ้นได้ซึ่งประเด็นนี้กำลังติดอันดับปัญหาเรื้อรังว่าด้วยขนาดของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่องโดยที่รัฐบาลญี่ปุ่นก็ยังแก้ไม่ตก

อย่างไรก็ตาม การเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมอีเวนต์เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้จัดงานเตรียมมาตรการป้องกันไว้อย่างน้อย 2 ประการ ได้แก่การป้องกันปัญหาอาชญากรรมและการล่อลวง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานของร้านที่เข้าร่วมโครงการช่วยสอดส่องดูแลรวมทั้งกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งอยู่ทั่วทุกมุมเมือง ส่วนอีกประการคือการรณรงค์เรื่อง “เมาไม่ขับ” ซึ่งขอความร่วมมือให้ผู้ร่วมงานเดินทางมาด้วยระบบขนส่งมวลชนเท่านั้น

ความสำเร็จของ Machikon ที่ขยายตัวสู่เมืองต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่นในเวลานี้จึงเสมือนยิงปืนนัดเดียวได้นก 3 ตัวที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น การสรรค์สร้างโอกาสให้หญิงชายได้รู้จักกันรวมถึงอาจส่งผลดีต่อการแก้ไขปัญหาประชากรญี่ปุ่นในระยะยาวได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us