Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2555
ยุทธศาสตร์แบรนด์ “เอ็มบีเค”             
 


   
www resources

โฮมเพจ เอ็มบีเค

   
search resources

เอ็ม บี เค, บมจ.
Commercial and business




ปี 2556 ศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “มาบุญครอง” จะมีอายุครบรอบ 30 ปี ซึ่งถ้าย้อนกลับไปเมื่อปี 2517 จากจุดเริ่มแรก บริษัท มาบุญครองอบพืชและไซโล จำกัด จนถึงวันนี้บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) มีธุรกิจมากถึง 8 กลุ่มธุรกิจ ขยายบริษัทในเครือมากถึง 54 บริษัท แต่ภาพลักษณ์ที่สื่อสู่สาธารณะและกลุ่มเป้าหมายกลับเข้าใจว่าเอ็มบีเคมีเพียงแค่ศูนย์การค้า โรงแรม และข้าวมาบุญครอง

นั่นคือเหตุผลสำคัญในการเปิดยุทธศาสตร์ “Corporate Brand” เพื่อสร้างแบรนด์ “เอ็มบีเค” ในฐานะกลุ่มธุรกิจเพื่อการเติบโตและความสุขของชีวิตทุกวัย โดยตั้งเป้าภายใน 3 ปี ติดอันดับแบรนด์ไทยในใจของกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม

สุเวทย์ ธีรวชิรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เอ็มบีเค กรุ๊ป เปิดตัวแบรนด์ ซึ่งมีการปรับโฉมใหม่เพื่อให้ทั้ง 8 กลุ่มธุรกิจ สามารถส่งมอบบริการที่เป็นมาตรฐานให้กับผู้บริโภค โดยปรับเปลี่ยนองค์ประกอบต่างๆ เพื่อสื่อสารและสร้างความชัดเจนของแบรนด์ “เอ็มบีเค กรุ๊ป” ไปสู่สาธารณชนในวงกว้าง

สัญลักษณ์หลักคือ “V of Victory” สัญลักษณ์แห่งชัยชนะ เส้นสายตวัดขึ้นสื่อถึงการเจริญเติบโต ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดนิ่ง

สำหรับ 8 กลุ่มธุรกิจประกอบด้วย 1. กลุ่มธุรกิจศูนย์การค้า 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค และเดอะไนน์เซ็นเตอร์ พระราม 9

2. กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว 6 แห่ง ได้แก่ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส โรงแรมเชอราตันกระบี่ บีช รีสอร์ท โรงแรมลยานะ รีสอร์ท แอนด์ สปา โรงแรมทินิดี ระนอง โรงแรม ทินิดี ภูเก็ต และ MBK Leisure ซึ่งดำเนินธุรกิจการให้บริการจำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน บริการด้านการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการ ให้บริการจองรถเช่า ห้องพักโรงแรมทั่วโลก และบริการด้านการขอวีซ่า

3. กลุ่มธุรกิจกอล์ฟ 3 แห่ง ได้แก่ The Loch Palm Golf Course The Red Mountain Golf Course จ.ภูเก็ต และสนามกอล์ฟ ริเวอร์เดล กอล์ฟ คลับ จังหวัดปทุมธานี

4. กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีทั้งการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย พัฒนาที่ดินเพื่อขาย และรับบริหารทรัพย์สินรอการขาย รับบริหารอาคารและชุมชน

5. กลุ่มธุรกิจข้าว ผลิตและจำหน่ายข้าวสารภายในประเทศ และส่งออกภายใต้ชื่อ “ข้าวมาบุญครอง” “ข้าวมาบุญครองพลัส” และ “ข้าวกล้องหอมมะลินูทรากาบาไรซ์”

6. กลุ่มธุรกิจการเงิน ได้แก่ บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับชาวต่างประเทศ สินเชื่อระยะสั้นสำหรับวงเงินประเภท Bridging Loan และให้บริการสินเชื่อรถจักรยานยนต์ใหม่ รวมทั้งบริการหลังการขายควบคู่กัน

7. กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ ศูนย์ประมูลรถยนต์ “Apple Auto Auction” ซึ่งเป็นศูนย์ประมูลรถยนต์และรถจักรยานยนต์มือสองครบวงจรที่นำเทคโนโลยีในการประมูลผ่านระบบออนไลน์มาใช้เป็นแห่งแรกของประเทศไทยและธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า รวมทั้งอะไหล่และศูนย์ซ่อมบำรุงของยามาฮ่า

และ 8. กลุ่มธุรกิจสนับสนุน โดยเป็นศูนย์กลางการให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานของทุกกลุ่มธุรกิจ ได้แก่ บริษัทเอ็มบีเค เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด และบริษัท เอ็มบีเค โบรกเกอร์ จำกัด ซึ่งเน้นด้านการจัดฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

สุเวทย์กล่าวว่า ธุรกิจของเอ็มบีเคเติบโตตามโอกาส เริ่มจากศูนย์การค้า ซึ่งถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีก่อน ยังไม่มีโรงแรม แต่บริษัทต้องสร้างโรงแรมปทุมวันปริ๊นเซสตามเงื่อนไขในสัญญาการเช่าที่ดินกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศไทยเกิดหนี้เสียจำนวนมาก บริษัทซื้อหนี้เสียมาบริหารและขยายเข้าสู่ธุรกิจการเงิน

อีก 5 ปีต่อมา เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ สนามกอล์ฟมีขายเต็มไปหมด เอ็มบีเคกรุ๊ปจึงเริ่มลงทุนซื้อสนามกอล์ฟและกลายเป็นที่มาของธุรกิจสนามกอล์ฟ หลังจากนั้นไม่นาน บริษัทเปิดธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพัฒนาที่ดินรอบสนามกอล์ฟ

“เอ็มบีเคกรุ๊ปขยายตัวมากจนมาถึงยุคหนึ่งเกิดปัญหาการดูแลของทีมงานที่ไม่ชัดเจน ไม่ได้บอกว่าเป็นของเอ็มบีเค เราจึงต้องสร้างแบรนด์ขึ้นมา มีการจัดกระบวนทัพใหม่ตั้งแต่ 3 ปีที่แล้วและรีบเร่งสร้างแบรนด์เอ็มบีเคให้ชัดเจนมากขึ้น “สุเวทย์กล่าว

ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้ารายได้รวมของปี 2555 อยู่ที่ 9,000 ล้านบาท เติบโต 6% จากรายได้ปีก่อน 8,500 ล้านบาท ซึ่งธุรกิจศูนย์การค้ายังคงเป็นรายได้หลัก สัดส่วนประมาณ 43% ของธุรกิจในเครือทั้งหมด โดยวางงบไว้ 3,200 ล้านบาท เพื่อพัฒนาธุรกิจในเครือ 8 ธุรกิจและเตรียมเปิดตลาดสินค้าไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 โดยใช้ยุทธศาสตร์แบรนด์เป็นตัวรับและรุกในสงครามธุรกิจที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น

เพราะไม่ใช่แค่สมรภูมิภายในประเทศ แต่ยังเป็นการบุกสู่ตลาดเปิดใหม่ในอีก 3 ปีข้างหน้าด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us