Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2527
ไทยเม็กซ์ไฟแนนซ์ เลือกเดินไปอย่างระมัดระวัง             
 


   
search resources

Financing
เงินทุนหลักทรัพย์ไทยเม็กซ์




ถ้าคุณมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งหนึ่งที่มีผู้ถือหุ้นอยู่ 3 ราย แล้วแต่ละรายก็ล้วนแต่เป็นผู้มีฐานะมั่นคงและยิ่งใหญ่ทั้ง 3 เจ้า คุณจะเลือกเดินทางไหน?

คุณจะขยายฐานให้เพิ่มขึ้นเพื่อให้ชื่อคุณติดอันดับอยู่ในทำเนียบต้นๆ ในความใหญ่ของบริษัทเงินทุนทั้งหลาย?

หรือคุณจะค่อยๆ เจริญเติบโตไปอย่างระมัดระวังแบบดูตาม้าตาเรือให้ดีๆ?

สำหรับจุลประชา สุนทรศารทูล กรรมการผู้จัดการทั่วไปของไทยเม็กซ์ไฟแนนซ์และคณะกรรมการของบริษัท (พล.ร.อ.สมบูรณ์ เชื้อพิบูลย์-ประธานกรรมการ/ดาโต๊ะ โรเบิร์ต ชาน-รองประธาน /สตีเว่น ชาน-กรรมการ/คงศักดิ์ กฤษณะสมิต-กรรมการ/วิชาญ ชโนปจัย- กรรมการ/ไชย ไชยสุวรรณ-กรรมการ/จุลประชา สุนทรศารทูล-กรรมการ / สุรินทร์ พลยะศรีสวัสดิ์-กรรมการ/เอ นากานาธาน-กรรมการ) ทั้งหมดเลือกที่จะใช้ความระมัดระวังและค่อยๆ เจริญเติบโตจะดีกว่า

ความจริงด้วยการเป็นบริษัทในเครือของธนาคารทหารไทย และมีไทยประกันถือหุ้นใหญ่ รวมทั้งกลุ่มปาล์มโก้ของมาเลเซียอยู่ด้วยนั้น การจะกระโดดเพิ่มสินทรัพย์ขึ้นมาให้มากๆ ก็ย่อมทำได้อยู่แล้วไม่มีปัญหาอะไรเลย แต่ถึงจะไม่มีปัญหาเรื่องเงินให้กู้ยืมเหมือนคนอื่นเขา แต่การจะเพิ่มสินทรัพย์โดยระดมปล่อยกู้ออกไปหนักๆ นั้น คงจะไม่ใช่นโยบายของเรา เพราะปล่อยกู้นั้นไม่ยาก แต่เลือกลูกค้าดีๆ และปล่อยกู้โดยเรียกคืนได้ไม่ยากเย็นนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายดายที่ใครๆ จะทำกันได้ จุลประชาพูดกับ “ผู้จัดการ”

ถึงแม้ว่าโดยเนื้อหาของไทยเม็กซ์ไฟแนนซ์จะเป็นบริษัทที่ซื้อต่อมาจากเครื่องของคอนติเนนตัลแบงก์ก็ตาม แต่สภาพการ Take Over นั้นก็เป็นการรับโอนบริษัทที่ดีมากเข้ามา(รายละเอียด อ่านล้อมกรอบ “จากคอนติแนนตันอิลนินอยส์ในอดีตมาถึงยุคไทยเม็กซ์ในปัจจุบัน”)

ในช่วงแรกของการ Take Over นั้น ไทยเม็กซ์มีสินทรัพย์อยู่เพียง 173 ล้านบาท ในปี 2525 ลดลงจากที่เคยมีอยู่ 800 กว่าล้านบาท การลดลงของทรัพย์สินเช่นนี้สำหรับบางคนอาจจะตกใจ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วมันสะท้อนให้เห็นถึงความสะอาดและไม่มีลับลมคมในของบริษัทเดิมที่สามารถเรียกหนี้คืนได้ทันทีที่ต้องการ ความจริงเราสามารถลดลงได้เหลือศูนย์แต่เผอิญเงินกู้อีกประมาณ 100 กว่าล้านบาทที่เหลืออยู่นั้นเป็นเงินกู้ระยะยาว” เจริญจิต งามทิพย์พันธุ์ ตัวแทนของคอนติแนนตัล อิลลินอยส์ พูดกับ “ผู้จัดการ”

จากปี 2525 ที่กลุ่มใหม่ได้เข้ามา ยอดสินทรัพย์ได้เพิ่มขึ้นจาก 173 ล้านบาท มาเป็น 422 ล้านบาทภายในหนึ่งปี และเมื่อสิ้นสุดเดือนตุลาคมของปี 2527 ยอดสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 633 ล้านบาท

จากการวิเคราะห์ตัวเลขดูก็พอจะเห็นแนวนโยบายของไทยเม็กซ์ได้ชัดพอสมควร ว่านิยมปล่อยสั้นมากกว่าปล่อยยาว เพราะเมื่อดูจากยอดเงินกู้ยืมซึ่งมียอด 550 ล้านบาทนั้นเป็นเงินกู้เมื่อทวงถามเสีย 216 ล้านบาท และเงินกู้ระยะสั้นประมาณ 277 ล้านบาท ที่เหลือ 55 ล้านบาทเป็นเงินกู้ระยะยาว

เทียบเป็นอัตราส่วนจะเห็นว่าเป็นการกู้ระยะสั้นมีสัดส่วนร่วม 90% ของ Port เงินกู้ทั้งหมด เรียกได้ว่าพยายามรักษาสภาพคล่องกันอย่างเต็มที่

ความจริงไม่ใช่เรื่องสภาพคล่องอย่างเดียวหรอก เพราะเราไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องนี้แต่เป็นเรื่องของ Business Policy ที่เราต้องการทำธุรกิจอย่างมีระบบ โดยรักษาสัดส่วนของเงินฝากและเงินกู้ให้สมดุลกัน” จุลประชา สุนทรศารทูล พูดกับ “ผู้จัดการ”

การเจริญเติบโตในอนาคตของไทยเม็กซ์นั้น เป็นการโตที่ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพราะเราต้องการจะขยายตลาดของแบบระมัดระวัง และพยายามจะพัฒนาคนของเราให้มีความรู้ความสามารถให้ดีขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของบริษัท

การเติบโตใน 5 ปีข้างหน้าของไทยเม็กซ์นั้น จุลประชาคิดว่าเป็นการเพิ่มสินทรัพย์อีกประมาณปีละ 30% ซึ่งถ้าทุกอย่างเป็นไปตามประมาณการที่วางแผนไว้แล้ว เมื่อสิ้นสุดปี พ.ศ. 2531 ไทยเม็กซ์ก็จะมียอดทรัพย์สินที่ประมาณ 1,900 ล้านบาท ซึ่งก็คงจะอยู่ในระดับกลางๆ

เดี๋ยวนี้ใหญ่ไม่มีความหมายหรอกที่แน่จริงคือคุณภาพมากกว่า คุณไปเอาบรรดาอันดับใหญ่ๆ มาลอกคราบดูซิว่า เวลาเรียกหนี้คืนนั้นได้มากน้อยแค่ไหน” คนในวงการไฟแนนซ์ออกความเห็น

การให้สินเชื่อก็คงไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่ไทยเม็กซ์จะทำอย่างเดียว เราคงจะต้องพยายามออกไปในรูปวาณิชธนกิจ (Merchant Banking) บ้าง แต่เราต้องค่อยๆ โตไปและพัฒนาตัวเราไป” จุลประชาพูดอย่างสุขุม ก็น่าจะสุขุมหรอก เพราะถ้ามาพิจารณาผู้บริหารของไทยเม็กซ์แล้วจะเห็นว่ามีลักษณะที่ไม่ใช่แต่เป็นพวกที่อยู่ในกลุ่มมืออาชีพจริงๆ เท่านั้น

เริ่มตั้งแต่กรรมการผู้จัดการทั่วไป จุลประชา สุนทรศารทูล ซึ่งเคยอยู่ในตำแหน่งบริหารของ BFIT และ Book Club Finalce ทั้งสองแห่งก็เป็นการร่วมลงทุนของคนไทยกับต่างชาติ ก็เลยเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้จุลประชาสามารถจะประสานงานของกลุ่มผู้ถือหุ้นสามกลุ่มได้อย่างสบาย

ส่วนกรรมการผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป สุรินทร์ พลยะศรีสวัสดิ์ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจากอดีตหัวหน้าหน่วยตรวจสอบของธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ และอดีตกรรมการผู้ช่วยผู้จัดการของเงินทุนหลักทรัพย์บูรพาจำกัด

ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายสินเชื่อ วินัย เลาหประสิทธิ์ ก็มีประสบการณ์สินเชื่อจากการเป็นหัวหน้าส่วนวิเคราะห์สินเชื่อสาขา ฝ่ายสินเชื่อสาขาของธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่และยังเคยเป็นผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อของบางกอกโนมูระ

นอกนั้นยังมีกาญจนา ชื่นศิริพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายจัดหาเงินทุน ซึ่งเคยอยู่ Book Club มาแล้ว และยังมีวัลลภา วัฒนะไพบูลย์ ซึ่งเป็นสมุห์เก่าของไทยเม็กซ์ไฟแนนซ์ สมัยที่ยังเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คอนติแนนตัลอิลลินอยส์อยู่

ส่วนอีกคนคือปตินันท์ ฤทธิ์ภักดีกุล หัวหน้าฝ่ายการเงิน ซึ่งเคยเป็นสมุห์บัญชีบริษัทไพบูลย์ประกันภัย จำกัด

นอกจากการเป็นผู้บริหารยังอยู่ในวัยที่ไม่มากแต่ก็เพียบด้วยประสบการณ์อย่างมากแล้ว ไทยเม็กซ์ไฟแนนซ์ยังสามารถใช้บริการของผู้ถือหุ้น คือไทยประกันฯ เข้ามาให้เป็นประโยชน์กับผู้ที่จะเข้ามาถือตั๋วสัญญาใช้เงินของไทยเม็กซ์ที่ถือตั๋วไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท โดยมีประกันสุขภาพและอุบัติเหตุให้ฟรี นอกเหนือจากดอกเบี้ยที่ได้รับจากไทยเม็กซ์ประจำอยู่แล้ว

การเข้ามาร่วมกันของทั้งสามกลุ่มนั้นเป็นลักษณะของการร่วมมือกันค้าขายซึ่งกันและกันมาก่อน และเมื่อมีโอกาสก็เข้ามาร่วมกันดำเนินกิจการที่จะเป็นประโยชน์ก็ได้เข้ามาร่วมกัน

กลุ่มแรก คือกลุ่มไทยประกัน ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารทหารไทยมานานแล้ว และจากรากฐานที่มั่นคงของไทยประกัน ทำให้ธนาคารทหารไทยและไทยประกันไม่รีรอที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนร่วมกันในไทยเม็กซ์นี้

ส่วนปาล์มโก้นั้นเป็นกลุ่มบริษัทที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งในมาเลเซีย ตั้งขึ้นมาเมื่อ 14 ปีที่แล้ว และเป็นบริษัทที่มีชื่อในการผลิตและกลั่นน้ำมันปาล์ม นอกจากนั้นกลุ่มปาล์มโก้ก็ยังมีผลประโยชน์ในธุรกิจการเงิน การค้า และอื่นๆ อีก ปาล์มโก้เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย

การรวมกันของทั้งสามกลุ่มนี้อาจมีปัญหาเรื่องการใช้เงินของบริษัทในเครือ แต่จุลประชาชี้แจงว่า ไทยเม็กซ์วางนโยบายไว้ชัด ถ้าจะให้บริษัทในเครือใช้ก็ต้องมีหลักเกณฑ์ เช่น บริษัทแม่จะให้บริษัทลูกใช้สัก 20 ล้าน บริษัทแม่ก็ต้องเอาเงินมาฝากกับเรา 20 ล้าน แล้วเราก็ผ่านไปให้บริษัทลูก 20 ล้าน โดยเรากินค่าบริการ ซึ่ง Spread มันอาจจะ 1.5 หรือ 2.0% ฉะนั้นเรื่องการใช้ไทยเม็กซ์เพื่อมาไฟแนนซ์บริษัทในเครือนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถจะทำได้แบบที่เดินมาแล้วก็มาเอาเงิน เพราะเราคำนึงถึง Position ของไทยเม็กซ์มากกว่าจะต้องแข็งและขาวสะอาด

การเริ่มของไทยเม็กซ์นั้นเป็นการเริ่มที่ดี เพราะเริ่มจาก Position of Strength ถึงจะเริ่มจากเล็กก็ตามแต่ก็เริ่มจากคุณภาพ ฉะนั้นแนวนโยบายการโตที่ต้องรักษาคุณภาพเอาไว้ ก็น่าจะเป็นแนวการโตที่ถูกต้องและก็เป็นที่น่ายินดีที่ผู้บริหารของไทยเม็กซ์ซึ่งสามารถจะโตได้รวดเร็วกลับไม่ต้องการจะโตเช่นนั้น แต่กลับเลือกทางเดินที่ระมัดระวัง

ถ้าไฟแนนซ์ทุกแห่งคิดได้อย่างนี้ ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2526-2527 ก็คงจะไม่เกิดขึ้นแน่ และประชาชนก็คงจะให้ความไว้วางใจในสถาบันเงินทุนมากกว่าเท่าที่เป็นไปอยู่ทุกวันนี้

แต่ก็ดีที่ยังมีบริษัทเช่นไทยเม็กซ์ ที่เข้าใจคำว่า คุณภาพอยู่!!!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us