วันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ตัดสินใจเปิดตัวบริการใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ธนาคารไทยพาณิชย์จะก้าวไปสู่การเป็นเว็บแบงกิ้ง
(web banking)อย่างเต็มตัว
ลังจากที่ก่อนหน้านี้ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ชิมลางเปิดให้บริการบนอินเตอร์เน็ต
มาแล้ว ด้วยบริการประเภทต่างๆ ที่ทยอยเปิดตัวออกมาเป็นระลอก
เริ่มตั้งแต่การให้บริการ SCB Internet payment system หรือ SIPS หรือบริการรับชำระเงินให้กับลูกค้าที่ต้องการขายของหรือทำอี-คอมเมิร์ซ
ให้สามารถรับชำระเงินได้ทั้งเงินสดและบัตรเครดิต
บริการ SCB cash management เป็นบริการโอนเงินระหว่างบัญชีของตัวเอง
สอบถาม ข้อมูล ยอดคงเหลือในบัญชี อัตราดอกเบี้ย สอบถามราคาหุ้นบนอินเตอร์เน็ตให้กับลูกค้าที่เป็น
สมาชิกภายในที่เป็นลูกค้าองค์กร
SCB trade บริการเปิดแอลซีบนอินเตอร์เน็ตให้กับผู้ส่งออก บริการ bill
payment บริการ รับชำระค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเคเบิลทีวี โทรศัพท์มือถือ
บนอินเตอร์เน็ต
หรือแม้แต่ thaimarket.net ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทำเป็นเว็บไซต์ shopping
mall ไว้ให้ผู้ส่งออกที่เป็นลูกค้าของธนาคารและไม่ใช่ลูกค้า มาเปิดร้านค้าออนไลน์บนเว็บได้ฟรี
และการที่ไทยพาณิชย์ต้องออกมาเล่นบทบาทเป็นตัวกลาง ในการสร้างทั้งหมดนี้ก็มีเป้าหมายเพื่อเป็นการกระตุ้น
ให้ลูกค้าที่เป็นองค์กรธุรกิจหันมาทำธุรกรรม บนอินเตอร์เน็ต และผลที่ธนาคารจะได้รับตามมาจากค่าทรานแซกชั่น
ที่จะได้จากการโอนเงิน การเปิดแอลซี
รวมถึงการมีเว็บไซต์ไว้ขายบ้าน และคอนโดมิเนียมที่ธนาคารยึดมาในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
ถึงแม้ว่าบริการใหม่ๆ เหล่านี้จะทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ชื่อว่าเป็นธนาคารที่ก้าวสู่โลกใบใหม่
ที่เป็นยุคของอินเตอร์เน็ตแล้วก็ตาม แต่ทั้งหมดนี้อาจ เรียกได้ว่าเป็นเพียงการอุ่นเครื่องยกแรกเท่านั้น
เพราะบริการยังคงรองรับเฉพาะ ลูกค้าประเภทองค์กร ลูกค้าที่เป็นบุคคลทั่วไปยังไม่มีโอกาสสัมผัสมากนัก
วิชิต อมรวิรัตนสกุล รองผู้จัดการใหญ่กลุ่มงานเทคโนโลยีและปฏิบัติการ ธนาคารไทยพาณิชย์
จำกัด (มหาชน) บอกว่าสิ่งที่ธนาคารจะทำต่อจากนี้ก็คือ การขยายบริการ SCB
cash management ที่เป็นการรวมเอาธุรกรรมของธนาคาร มาอยู่บนอินเตอร์เน็ต
เคยให้บริการเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นองค์กรที่มีอยู่ 3,000 ราย นำมาให้บริการแก่ลูกค้าทั่วไป
ที่จะมีทางเลือกใหม่ของการใช้บริการ โดยไม่ต้องมาที่สาขาของธนาคารอีกต่อไป
ซึ่งไทยพาณิชย์ตั้งชื่อบริการนี้ว่า scbpark.com
"บริการนี้จะทำให้แบงก์กลายเป็น internet banking เต็มตัว ไม่ใช่ extra-net
ในวงสมาชิกเท่านั้น" คำกล่าวของวิชิตและเป็นที่มาของ internet banking
หรือความหมายที่กว้างขึ้นคือ web banking
ไทยพาณิชย์ไม่ได้เป็นธนาคารเดียวที่ต้องการก้าวสู่โลกใบใหม่ของธนาคารในยุคอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
ทุกวันนี้ธนาคารของไทย ธนาคารข้ามชาติก็ล้วนแต่หันหางเสือของตัวเอง เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นเว็บแบงกิ้งกันแล้วทั้งนั้น
และหลังจากธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัวเว็บแบงกิ้งได้วันเดียว ธนาคารกสิกรไทยก็เปิดแถลงข่าวถึงการก้าวเข้าสู่การเป็นเว็บแบงกิ้งแล้วเช่นกัน
และนี่คือยกแรกของการช่วงชิงบนเวทีนี้เท่านั้นเพราะนับจากนี้เป็นต้นไปการสรรหาลูกเล่นต่างๆ
บนเว็บแบงกิ้งกำลัง จะเกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าธนาคารไหนจะสร้างสรรค์ขึ้นมาได้
ถึงแม้ว่าธนาคารแต่ละแห่งเหล่านี้ จะมีวิธีการที่จะทำให้ธุรกรรมการให้บริการ
เข้าไปอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่แตกต่างกันก็ตาม แต่จุดหมายปลายทาง
ของธนาคารเหล่านี้ก็ไม่ต่างกันนัก
เป้าหมายของทุกธนาคารเวลานี้คือ retail banking หรือลูกค้ารายย่อย ทุกธนาคารต่างมองเห็นพลังของมูลค่า
การใช้บริการที่ซ่อนอยู่ในลูกค้าเหล่านั้น และวิธีที่จะเข้าถึงลูกค้าเหล่านี้ได้กว้างที่สุด
ในโลกของเว็บแบงกิ้ง คำว่าสาขาจะหมดความหมายไปโดยปริยาย เพราะนับจากนี้ลูกค้าที่ใช้บริการ
จะไม่ต้องนั่งรถไปเข้าคิว เพื่อเบิก-ถอนเงิน โอนเงิน อายัดเช็ค รับรายการเดินบัญชีย้อนหลัง
และปัจจุบันขออนุมัติวงเงินสินค้า จ่ายค่าบัตรเครดิต ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์อีกต่อไป
เพราะธุรกรรมเหล่านี้สามารถเข้าไปอยู่ในห้องนอน หรือห้องทำงาน และมันเป็นบริการที่ไม่ต้องมีเวลาเปิดปิด
ไม่ว่าวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ หรือวันนักขัตฤกษ์ มีเงื่อนไขเดียวคือผู้ใช้ต้องมีบัญชีเงิน
ฝากอยู่กับธนาคาร และมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
ตัวเลขของพีซีคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี จำนวนเว็บไซต์ของไทยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
และการแข่งขันของบรรดาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) ธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากอินเตอร์เน็ต
สิ่งเหล่านี้คือสัญญาณของกระแสอี-คอม
เมิร์ซมีแนวโน้มที่จะเริ่มเป็นจริงในไม่ช้า
สำหรับธนาคารแล้วการนำเอาเว็บเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกรรมของธนาคาร ไม่ได้หมายความว่าแบงก์ไม่ต้องตกยุคหรือ
มีบริการที่สร้างทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้าเท่านั้น มันหมายถึงการที่ธนาคารจะประหยัดเงินลงทุนได้อย่างมหาศาล
"การหันมาให้บริการบนอินเตอร์ เน็ตทำให้ต้นทุนของแบงก์ถูกกว่าการที่ต้องไปซื้อตึก
ซื้อที่ดิน ซื้อเฟอร์นิเจอร์ จ้างคน วิธีนี้ทำให้แบงก์ลงทุนน้อยกว่า เรียกว่าลดการลงทุนไป
1 ต่อ 10 หรือ 1 ต่อ 20" คำกล่าวของวิชิตที่บอกถึงโลกอินเตอร์เน็ต ที่กำลังกลายเป็นกลไก
สำคัญต่อการสร้างยุทธศาสตร์ของแบงก์ ต่อจากนี้
มันเป็นการได้มาโดยแลกกับการที่ธนาคารไทยพาณิชย์ต้องเพิ่มแผนก Internet
banking ขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบโดยเฉพาะ และแลกกับการเรียนรู้กับคำว่า เว็บเทคโนโลยีมาตั้งแต่เมื่อ
3 ปีที่แล้ว
วิชิตและลูกทีมในส่วนงานเทคโนโลยีสารสนเทศ อีก 300 คน ต้องเริ่มต้นเรียนรู้กับเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตมาตั้งแต่ปี
2539 ซึ่งมันหมายถึงการเคลื่อนย้ายจากระบบคอมพิวเตอร์แบบเก่า ในโลกของเมนเฟรมให้มาอยู่บนเว็บเทคโนโลยี
"สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนคนบริการทุกอย่างที่เกิดขึ้นเวลานี้เราใช้คน
ของเราทำเองทั้งหมด มีจ้างคนภายนอกบ้างแต่ก็เป็นบริษัทคนไทย คนเหล่านี้เขาเคยทำงานแบบเดิม
ระบบแบบเก่าวิธีการดีไซน์เป็นแบบเก่า ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่หมดเลยว่าของเก่าต้องเปลี่ยนมาที่อินเตอร์เน็ตพอเขายอมรับความคิด
เราก็สามารถสร้างระบบใหม่ที่เป็นเว็บเทคโนโลยี"
และต่อจากนี้พนักงานของธนาคารกำลังเรียนรู้ไปอีกก้าวหนึ่ง ก็คือการฝึกใช้โปรแกรมภาษาจาวาในการออกแบบแอพพลิเคชั่นใหม่
ที่จะมารองรับบริการในอนาคต ที่จะไม่ใช่แค่พีซีเท่านั้นที่จะสามารถเข้าสู่ธุรกรรมของธนาคารบนอินเตอร์เน็ต
แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ ของโทรศัพท์มือถือ เครื่องปาล์มทอป จะเป็นอุปกรณ์ชิ้นใหม่
ที่จะรองรับกับบริการที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้ด้วย
เบื้องหลังของการถือกำเนิด บริการเว็บแบงกิ้งเหล่านี้ เกิดมาจากการพัฒนาของฝ่ายไอทีธนาคารไทยพาณิชย์
300 คน ที่ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่จะสามารถให้บริการอินเตอร์เน็ตได้
ในขณะที่หลังบ้าน หรือระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ยังคงเป็นระบบเมนเฟรมที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้
"แบงก์เองไม่ได้ทิ้งระบบเก่า เพราะเป็นระบบใหญ่มาก ที่เก็บฐานข้อมูลทั้งหมดของแบงก์
เรายังต้องเก็บไว้ เพียงแต่เราทำข้างหน้าให้เป็นระบบใหม่และให้เชื่อมต่อกันได้
เราทำเองทั้งหมด"
อย่างไรก็ตาม การหันหางเสือมาสู่โลกของอินเตอร์เน็ต ก็ทำให้ธนาคาร
จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบคอมพิวเตอร ์ของธนาคารไทยพาณิชย์ จากการทำเป็นคู่ขนาน
two tear มาเป็นแบบ three tear คือ การนำเอาฐานข้อมูลในส่วนของโปรแกรมจากเมนเฟรม
นำมาไว้ในชั้นตรงกลาง และนำเอาโปรแกรมจาวามาใช้ในการออกแบบ application ในการให้บริการเว็บแบงกิ้ง
เพื่อรองรับกับการให้บริการที่จะเคลื่อนย้ายจากเครื่องพีซีไปยังเครื่องโทรศัพท์มือถือ
หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
"ข้อมูลยังคงอยู่ในเมนเฟรม แต่ตัวโปรแกรมออกจากตรงกลางแล้วมาอยู่ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์
ตรงนี้แบงก์ทำเองหมด เราทำมาปีกว่าแล้ว เพราะปีหน้าสาขาทั้งหมดจะเปลี่ยนมาใช้เว็บเทคโนโลยี"
การเปลี่ยนแปลงมาสู่เว็บแบงกิ้งในครั้งนี้ไม่ได้เป็นที่มาของบริการ
scbpark.com ที่เป็นบริการเว็บแบงกิ้ง โดยตรงเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปลี่ยน
แปลงไปถึงระบบการทำงานเดิมของแบงก์
วิชิตเล่าว่า ในอดีตการจะออกบริการใหม่สักครั้ง สำนักงานใหญ่จะต้องนำข้อมูลใส่แผ่นดิสเกตต์
ส่งไปให้สำนักงานสาขาทั้ง 500 แห่งทั่วประเทศ จากนั้นจะต้องอบรมพนักงานให้เรียนรู้กับบริการใหม่
ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้อาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน
แต่หลังจากการเปลี่ยนมาใช้เว็บเทคโนโลยีที่เป็นระบบ centralize system ทันทีที่เปลี่ยนบริการใหม่
สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์จะสามารถเปิดให้บริการพร้อมกันได้ทันที ด้วยการกดปุ่มผ่านโปรแกรมเบลาเซอร์บนหน้าจอ
ที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว
ถึงแม้ว่าระบบคอมพิวเตอร์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ใช้งานอยู่เวลานี้ จะเป็นเครื่องเมนเฟรม
ที่ธนาคารติดตั้งมาหลายปีแล้วก็ตาม ธนาคารจำเป็นต้องปรับตัวมากที่สุดกับการหันหางเสือมาสู่โลกบนอินเตอร์เน็ต
"ต่อจากนี้ส่วนที่จะออกมาใหม่จะต้องเป็นเว็บเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นสาขาไหนก็ตาม
บ้านลูกค้า หรือโทรศัพท์ลูกค้า ทุกอย่างจะต้องเป็นเว็บ เทคโนโลยีทั้งหมด"
นี่คือเป้าหมายของธนาคารไทยพาณิชย์กับการเป็นเว็บแบง กิ้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อมๆ
กับโครงสร้างใหม่องค์กรของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่จะมีหน่วยงานใหม่เกิดขึ้นเพื่อรองรับกับเว็บแบงกิ้ง
ธนาคาร 24 ชั่วโมงของธนาคารไทยพาณิชย์