Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2527
AT&T ยุทธการเปิดแนวรบทุกด้าน             
 


   
search resources

เอทีแอนด์ที
Telecommunications




การรุกเข้ามายึดหัวหาดในองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ของกลุ่มเอทีแอนด์ที หรือ American Telephone and Telegraph Corp. คงจะพอพูดได้ว่าเป็นยุทธการเปิดแนวรบทุกด้านโดยไม่พรั่นว่า ใครหน้าไหนจะยืนประจันอยู่ตรงแนวรบแต่ละด้านนั้นๆ

เอทีแอนด์ที ส่งบริษัทในเครือคือ เอทีแอนด์ที อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ (AT&T International Inc.) เข้าประมูลขอรับเป็นผู้จัดทำสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ซึ่งตลอด 17 ปีที่ผ่านมาบริษัทเยนเนราลเทเลโฟน ไดเรคทอรี่เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช

แนวรบด้านนี้นอกจากเอทีแอนด์ทีจะต้องปะทะกับเยนเนราลเทเลโฟนไดเรคทอรี่-เจ้าเก่าผู้คร่ำหวอดแล้วก็ยังจะต้องวัดดวงกับ กลุ่มสยามเทเลโฟนไดเรคทอรี่ ซึ่งมีกลุ่มเจ้าของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ หนุนอยู่ข้างหลัง

ว่ากันว่าถ้าเอทีแอนด์ทีผ่านแนวรบด้านนี้ไปได้ก็คงต้องลุ้นกันตัวโก่ง แม้ ว่าผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยของกลุ่มเอทีแอนด์ทีจะได้แก่ กลุ่มศรีกรุงของสว่าง เลาหทัย ซึ่งตามคำบอกเล่าบอกว่ามีคอนเน็กชั่นตรงถึงตัวพลเอกอาทิตย์กำลังเอก ประธานกรรมการองค์การโทรศัพท์ก็เถอะน่า...

เพียงเท่านั้นคงจะยังไม่หนำใจ...แนวรบอีกด้านหนึ่งที่กลุ่มเอทีแอนด์ที พยายามจะคืบคลานเข้าไปก็คือการประกาศลงทุน 480 ล้านบาท ตั้งโรงงานผลิตและประกอบอุปกรณ์โทรศัพท์เพื่อใช้ในประเทศและส่งออก โดยวาดภาพว่าโรงงานนี้จะสามารถสร้างงานได้ถึง 595 คน กำลังผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์นานาชนิดตกปีละ 250,000 ชุด และเอทีแอนด์ทีก็ได้เสนอโครงการไปขอรับการส่งเสริมจากสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเรียบร้อยแล้ว

แต่ผลก็คงจะออกมาไม่ค่อยสมใจนัก เนื่องจากแนวโน้มล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนคงต้องบอกปัดการให้สิทธิบัตรโครงการ ของเอทีแอนด์ทีเช่นเดียวกับอีก 5 โครงการของกลุ่มไอทีที, อีริคสัน, เอ็นอีซี, เอเอส.อีเล็คทริคส์ ของนอร์เวย์และกลุ่มซาเทลโก อิเลคโทรนิคส์ ซึ่งล้วนเป็นโครงการคล้ายคลึงกับโครงการของกลุ่มเอทีแอนด์ที ด้วยเหตุผลว่าได้ให้การส่งเสริมโรงงานของกลุ่มไอทีทีไปแล้ว และความต้องการใช้อุปกรณ์โทรศัพท์ในประเทศและลู่ทางการส่งออกก็ยังไม่สูงมากถึงขั้นต้องตั้งโรงงานผลิตเพิ่ม

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวระดับสูงบอกว่า โครงการนี้กลุ่มเอทีแอนด์ที เตรียมสู้ต่อในยกสอง หาได้รามือเพียงนั้นไม่

พร้อมๆ กับการเปิดแนวรบใน 2 ด้านดังกล่าว เอทีแอนด์ทีก็ค่อนข้างหมายมั่นปั้นมือมาก ที่จะได้เข้าร่วมประมูลติดตั้งคู่สายโทรศัพท์อีก 9 แสนเลขหมาย งบประมาณเฉียด 4 หมื่นล้านบาทขององค์การโทรศัพท์ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการระหว่างปี 2527 ถึงปี 2531

โครงการขยายการติดตั้งคู่สายโทรศัพท์เพิ่มจากปัจจุบัน 3 แสนเลขหมายเป็น 9 แสนเลขหมายนี้องค์การโทรศัพท์วางแผนว่าจะใช้เงินกู้ในประเทศ 18,380 ล้านบาท และใช้เงินกู้จากต่างประเทศ 19,080 ล้านบาท รวมแล้วก็ 37,460 ล้านบาท

สำหรับแนวรบด้านนี้เอทีแอนด์ทีได้ส่งบริษัทในเครือคือ บริษัทเบลล์ แคนาดา เข้าประกบและก็คงเป็นอีกแนวรบหนึ่งที่เอทีแอนด์ทีจะต้องทุ่มสุดตัว เพราะเท่าที่เห็นก็จะต้องเจอกับกลุ่มอีริคสันแห่งสวีเดนกับกลุ่มเอ็นอีซีแห่งญี่ปุ่น โดยที่ทั้ง 2 กลุ่มทำมาหากินกับองค์การโทรศัพท์มาแล้วรายละไม่ต่ำกว่า 30 ปี เรียกว่ารู้ตื้นลึกหนาบางในวงการนี้ทะลุปรุโปร่ง แถมยังตกลงเป็นนัยๆ แบ่งตลาดกันเสร็จว่า ในเขตนครหลวงเป็นของเอ็นอีซี ส่วนในต่างจังหวัดเป็นของอีริคสัน

เอทีแอนด์ทีเป็นกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ทด้าน Telecommunication มีตัวบริษัทแม่อยู่ในสหรัฐฯ เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอทีแอนด์ทีถูกระบุว่าเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์สูงที่สุดในโลก ร้อนถึงรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องงัดกฎหมายป้องกันการผูกขาดเข้าบังคับให้เอทีแอนด์ทีแตกตัวเองออกเป็นบริษัทย่อยๆ อย่างน้อย 7 บริษัทเพื่อกระจายสินทรัพย์ออกไป

แต่การก้าวเข้ามาในประเทศไทยของเอทีแอนด์ทีก็คงภาพของผู้ยิ่งใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us