|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เมื่อ 13 ปีที่แล้ว Eric Chapeau ตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตและดูเหมือนทางเดินเส้นนี้ไม่น่ามีอนาคตสดใสรองรับด้วยซ้ำ แต่เขามุ่งมั่นและแน่วแน่มากเมื่อหันมาทุ่มเทให้กับงานผลิตไม้อัดเปลือกไข่ที่นอกจากเป็นงานทำมือและใช้แรงงานสูงแล้ว ยังต้องใช้ความอุตสาหะอย่างยิ่งยวดในการสร้างสรรค์แต่ละชิ้นงานขึ้นมา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สตูดิโอของเขาจะสั่งซื้อไข่ 54,000 ฟองในคราวเดียวกัน!
เมื่อไม่นานมานี้ Chapeau มีโอกาสครั้งสำคัญในการรับผิดชอบงานกรุผนังห้องอาหารที่ออกแบบโดย William Sofield โดยใช้วัสดุที่เขาเชี่ยวชาญในการทำเป็นพิเศษ ไม้อัดเปลือกไข่ นั่นเอง
Chapeau กับทีมงานอีกสองคนบรรจง ติดเศษเปลือกไข่นับพันฟองลงบนแผ่นกระดาน ลักษณะเดียวกับการปูแผ่นกระเบื้องนั่นเอง ทุกขั้นตอนทำด้วยมือ และต้องใช้เวลาถึง 10,000 ชั่วโมงงานจึงแล้วเสร็จ
“มันเป็นการทำงานตามแนวทางของนิกายเซน” Chapeau สรุปสั้นๆ และเล่าว่าเริ่มหันมาทุ่มเทและฝึกเทคนิคการทำไม้อัดเปลือกไข่เมื่อปี 1999 จากการที่มีโอกาสบูรณะ โต๊ะที่ออกแบบโดย Jean Dunand เจ้าของฉายา “ซูเปอร์สตาร์งานสไตล์อาร์ตเดคโค” หลังจากนั้นไม่นาน เขาเริ่มออกแบบสิ่งของและเฟอร์นิเจอร์ทำด้วยเปลือกไข่เพื่อป้อนผู้ค้าระดับนำของวงการที่รวมทั้ง Todd Merrill ด้วย
ไม้อัดเปลือกไข่เป็นศิลปะเวียดนามโบราณ เริ่มแพร่หลายเข้าฝรั่งเศสช่วงทศวรรษ 1920 ในงานประมูลของสถาบันคริสตีส์เมื่อปี 2011 ผลงานโต๊ะกลมตกแต่งด้วยน้ำพุที่ใช้ศิลปะเปลือกไข่ของ Dunand ขายได้ราคาสูงถึง 638,500 ดอลลาร์สหรัฐ
ผลงานยุคนี้ก็ทำเงินไม่แพ้กัน Chapeau คิดค่าเหนื่อยในงานสร้างสรรค์ของเขาถึงตารางฟุตละ 400 ดอลลาร์สหรัฐ
ไม่ว่าโครงการที่ Chapeau รับทำจะมีขนาดเล็กใหญ่เพียงใด กระบวนการผลิตก็เหมือนกันหมด คือช่างฝีมือจะนำเศษเปลือกไข่มาแปะติดบนแผ่นกระดาษที่วางทาบบนแผ่นกระดานอีกทีหนึ่ง จากนั้นเคลือบผิวด้วยกาวเรซินสังเคราะห์และสีย้อมเพื่อให้ช่องว่างระหว่างเปลือกไข่ปรากฏสีต่างๆ ตามความสวยงาม เมื่อทิ้งไว้จนแห้งแล้ว นำ แผ่นไม้อัดเปลือกไข่นี้ไปกรุกับผนังหรือสิ่งของต่างๆ ตามด้วยขั้นตอนการขัดกระดาษทรายหรือเคลือบเงา
|
|
|
|
|