Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555
ปัญจวัฒนาพลาสติก ปรับเพื่ออยู่รอด             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด

   
search resources

Chemicals and Plastics
ปัญจวัฒนาพลาสติก, บจก.
วิวรรธน์ เหมมณฑารพ
สาธิต เหมมณฑารพ




บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด ตัดสินใจเข้าตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพราะมีเป้าหมายจะโตแบบก้าวกระโดด ทำให้บริษัทต้องปรับตัวหลายครั้งหลายครา

ตลอด 35 ปีของการดำเนินธุรกิจในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทขวด ฝา และชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับรถยนต์ในปัจจุบัน จากจุดเริ่มต้นเป็นผู้ผลิตขวดกาวและฝาในห้องแถวบริเวณคลองสานที่มีพนักงานเพียง ไม่กี่คน

ด้วยความขยันขันแข็งของรุ่นผู้ก่อตั้ง ทำให้ธุรกิจขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง จนพื้นที่เดิมไม่สามารถรองรับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น จึงย้ายโรงงานไปอยู่เขตบางบอน เพื่อขยายการผลิตขวดน้ำมันหล่อลื่น และปัจจุบันมีลูกค้า เช่น คาลเท็กซ์ ปตท. เอสโซ่ ปิโตรนาส ยามาฮ่า เป็นต้น

เมื่อเวลาหมุนผ่านจนกระทั่งทายาทรุ่นที่ 2 จบการศึกษาและเติบโต ผู้ก่อตั้งได้เปิดทางให้บุตรชาย 2 คน คือ วิวรรธ์ เหม มณฑารพ ทายาทคนที่ 1 นั่งเป็นประธานกรรมการบริหาร และสาธิต เหมมณฑารพ ทายาทคนที่ 2 นั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ได้เข้ามาช่วยบริหารงานอย่างเต็มตัว

สาธิตเล่าให้นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฟังว่า บิดาของเขาตัดสินใจวางมือจากการบริหารงานเมื่ออายุประมาณ 50 ปี เพื่อให้เขาและพี่ชายเข้ามาเรียนรู้ธุรกิจอย่างจริงจังในวัย 20 กว่า

สาธิตทำงานภายนอกเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ แต่หลังจากเศรษฐกิจไม่ดี และโรงงานอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เขาจึงต้องหันกลับมาช่วยธุรกิจครอบครัวอย่างจริงจัง

หลังจากพี่น้องสองคนเข้ามาบริหารงาน มีแผนขยายธุรกิจ มีเป้าหมายกระจายความเสี่ยง แต่ต้องประสบภาวะเศรษฐกิจหดตัวในปี 2540 จนทำให้ผู้ผลิตบางรายไม่สามารถปรับเข้ากับสภาพเหตุการณ์ได้ จึงล้มไปหลายราย และเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ผลิตและผู้ค้าต้องปรับตัวในส่วนของบริษัทที่ผลิตบรรจุภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นเป็นหลักก็ได้รับผลกระทบไปด้วย

บริษัทจึงมองโอกาสใหม่จากการประกาศของภาครัฐที่กำหนดให้ประเทศไทยเป็นดีทรอยต์อุตสาหกรรมรถยนต์ บริษัทจึงสนใจที่จะผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ นอกจากนั้นบริษัทยังมองเรื่องการผลิตขวดนม เพราะมองเห็นว่าเป็นธุรกิจที่เติบโตควบคู่ไปกับเศรษฐกิจของประเทศ

แต่ด้วยประสบการณ์ด้านการผลิตทั้งด้านชิ้นส่วนรถยนต์และขวดนมยังไม่มี จึงทำให้บริษัทต้องเรียนรู้อย่างหนัก โดยเฉพาะการสร้างมาตรฐานให้กับสินค้า เพราะมาตรฐานจะเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดอนาคตของธุรกิจ

“บริษัทเป็นรายแรกๆ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001: 2000 โดยเฉพาะมาตรฐาน TS 16949 บริษัทเป็นรายแรกในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกและชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทเป่าและฉีด”

พอมีตลาดใหม่ บริษัทได้ปรับปรุงเครื่องจักรที่ผลิตบรรจุภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นให้สามารถผลิตขวดนม และชิ้นส่วนรถยนต์ มีวิศวกรคนไทยออกแบบโดยไม่ต้องซื้อเครื่องจักรใหม่

แม้บริษัทจะปรับเครื่องจักรได้แล้วก็ตาม แต่การเป็นผู้ผลิตขวดนมค่อนข้างยาก เนื่องจากลูกค้ามองว่าเครื่องจักรที่ผลิต ขวดน้ำมันหล่อลื่นไม่เหมาะมาผลิตเป็นขวดนม และตัดสินใจทำห้องคลีนรูมที่โรงงานสมุทรสาคร ขอมาตรฐานจีเอ็มพีจากสถาบันอาหาร แต่สถาบันอาหารมองว่าบริษัทไม่มีลูกค้าเป็นผู้ผลิตอาหาร

ทำให้บริษัทต้องนำเครื่องจักรที่ผลิตบรรจุภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นมาผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารให้ดู จึงได้รับการรับรองในที่สุด หลังจากนั้นบริษัทได้ชักชวนลูกค้าโฟรโมสต์ ดัชมิลล์ ซีพีเมจิ จนได้รับการยอมรับให้ผลิตในที่สุด และเริ่มขยายการผลิตเพิ่มมากขึ้นตามความต้องการของลูกค้า ทำให้บริษัทสั่งเครื่องจักรใหม่เข้ามาเพิ่ม

ส่วนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ลูกค้าเข้ามาติดต่อกับบริษัทเพราะเห็นว่าบริษัทมีความชำนาญด้านการต่อแบบ ขึ้นรูป เนื่องจากตอนนั้นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นบางรายมีปัญหากับซัปพลายเออร์ที่ไม่สามารถผลิตได้ตามคุณภาพ และเห็นว่าบริษัทผลิตชิ้นส่วนได้ จึงเริ่มจ้างผลิต ปัจจุบันมีลูกค้า จีเอ็ม นิสสัน มิตซูบิชิ หรือปาเจโร รถสปอร์ต เป็นต้น

บทบาทของบริษัทในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ได้กำหนดเป็นผู้ผลิตระดับหนึ่ง เท่านั้น เป็นการรับงานโดยตรงจากเจ้าของ สินค้า ทำให้บริษัทสามารถมีรายได้ กำไรชัดเจน แตกต่างจากบริษัทบางรายที่จะเป็นซัปพลายเออร์ ระดับสองและสาม ซึ่งจะถูกหักค่าหัวคิวจากนายหน้า

สิ่งที่ทำให้บริษัทสามารถเป็นซัปพลายเออร์ลำดับหนึ่ง (เทีย วัน) ได้นั้นเป็น เพราะบริษัทได้ขอใบรับรองมาตรฐาน TS 16949 ทำให้ลูกค้าบางรายหมดข้อกังขาเกี่ยวกับการเป็นผู้ผลิต ซึ่งก่อนหน้านั้นบางรายมองว่าบริษัทไม่มีประสบการณ์การผลิต ดังนั้นควรเป็นเพียงผู้ผลิตลำดับ 2 (เทีย ทู) หรือผู้ผลิตลำดับ 3 (เทีย ทรี)

บริษัทผลิตท่อแอร์ในห้องเครื่องรถยนต์ หม้อน้ำในรถยนต์ ถังพลาสติก (ถังสำรองน้ำ) หรือตัวกรองอากาศข้างนอก ก่อนเข้ามาในรถยนต์

การเป็นเทีย วัน ทำให้บริษัทสามารถร่วมออกแบบการผลิตกับบริษัทญี่ปุ่น และญี่ปุ่นมีฝ่ายวิจัยเก่ง ออกแบบสวยงาม ส่วนบริษัทมีทีมเชี่ยวชาญการผลิต ถือว่าเป็นการพัฒนาทางอ้อม แต่ละผลิตภัณฑ์ และแต่ละรุ่นมีความแตกต่างกัน เมื่อมีโมเดลใหม่เราก็ได้เรียนรู้ต่อยอดไปเรื่อยๆ

ในส่วนธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์เติบโตค่อนข้างมาก ทำให้บริษัทสร้างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี เพื่อให้อยู่ใกล้กับลูกค้าที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ขณะนี้โรงงานดังกล่าวมีแผนขยายกำลังการผลิตเพิ่มในเร็วๆ นี้

ปัจจุบันบริษัทมีโรงงานทั้งหมด 4 แห่ง คือ โรงงานบางบอนผลิตขวดน้ำมันหล่อลื่นและเคมีเกษตร จังหวัดสมุทรสาคร ผลิตขวดน้ำมันหล่อลื่น และอาคารคลีน รูม ผลิตขวดบรรจุน้ำ ขวดนม ส่วนชลบุรีผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ขวดน้ำมันหล่อลื่น และโรงงานที่จีนผลิตขวดน้ำมันหล่อลื่น

จากสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้รายได้ของบริษัทไม่ได้พึ่งพาจากผลิตภัณฑ์ขวดน้ำมันหล่อลื่นเกือบทั้งหมดเหมือนเช่นในอดีต แต่ธุรกิจขวดน้ำมันหล่อลื่นก็ยังเป็นรายได้หลักร้อยละ 65 ชิ้นส่วนรถยนต์ร้อยละ 15 และแพ็กเกจจิ้ง ร้อยละ 15

“ในอนาคตรายได้โครงสร้างไม่เปลี่ยน ฐานใหญ่ยังคงเป็นขวดน้ำมันหล่อลื่นแต่เราพยายามมองธุรกิจอื่นมากขึ้น เรามีกลุ่มใหม่ รถยนต์ ขวดนม ช่วยลดความเสี่ยง ถ้าเศรษฐกิจดี จะเติบโตด้วยความมั่นคง” สาธิตกล่าว

การเติบโตของบริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติกไม่ได้ขยายเฉพาะในประเทศ แต่ได้เข้าไปลงทุนในประเทศจีน สร้างโรงงานผลิตขวดน้ำมันหล่อลื่นในเทียนจินให้กับคาลเท็กซ์

การเข้าไปทำธุรกิจในจีนไม่ได้อยู่ในแผนธุรกิจโดยตรงของบริษัท แต่คาลเท็กซ์ ซึ่งเป็นลูกค้าในประเทศไทยได้เข้าไปทำธุรกิจ ทว่ามีปัญหากับโรงงานในจีนไม่สามารถผลิตได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ จึงได้ติดต่อบริษัท หลังจากที่บริษัทเข้าไปศึกษาตลาดเห็นว่ามีโอกาสค่อนข้างมาก แม้จะมีคาลเท็กซ์เป็นลูกค้ารายแรก แต่จะหาลูกค้าใหม่เพิ่ม เช่น เอสโซ่ และเชลล์ ซึ่งมีโรงงานอยู่ในเทียนจินเช่นเดียวกัน และยังเป็นลูกค้าของบริษัทในประเทศไทยด้วย

สาธิตเล่าว่า ในตอนแรกเขาไม่ได้มีแผนที่จะไปทำธุรกิจในประเทศจีน เพราะได้ยินว่าบริษัทหลายรายที่เข้าไปลงทุนส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ

หลังจากที่ตัดสินใจเข้าไปในประเทศจีน บริษัทได้กำหนดแนวทางการทำธุรกิจว่า จะต้องมีลูกค้าที่ต้องการให้บริษัทผลิตก่อน โดยจะไม่ไปลงทุนที่ใหม่ๆ หากมองไม่เห็นตลาด เหมือนดังเช่นที่ตัดสินใจไปกับคาลเท็กซ์ เพราะมีคำสั่งซื้อชัดเจนและมีระยะเวลาคุ้มทุน

โมเดลการขยายธุรกิจจะเน้นให้มีการสั่งซื้อก่อนลำดับแรก โดยเชื่อว่าเป็นการบริหารจัดการที่ป้องกันความเสี่ยงไว้ตั้งแต่ต้น และเรียนรู้จากบทเรียนของบริษัท หลายๆ แห่งที่เข้าไปตลาดจีน เริ่มต้นจากการไม่รู้สิ่งใด และกระโดดเข้าไปทำธุรกิจ

การบริหารจัดการของบริษัททำให้รายได้เฉลี่ยเติบโตร้อยละ 20 จาก ปี 2551 รายได้ 893 ล้านบาท ปี 2552 รายได้ 1,058 ล้านบาท และ ปี 2553 รายได้ 1,385 ล้านบาท

การเติบโตของธุรกิจทำให้บริษัทค่อนข้างพอใจ เมื่อมองธุรกิจในอนาคตข้างหน้า บริษัทปรารถนาที่จะเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงทำให้บริษัทตัดสินใจเข้าตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ เมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อหาแหล่งเงินทุนขยายธุรกิจ

“เหตุผลที่เข้าตลาดเอ็มเอไอ เรามองภาพนี้ เราเติบโตขนาดนี้เราไม่มีทางฟันดิ้ง ตัวเองได้เราก็เลยเข้าตลาดหลักทรัพย์ดีกว่า ขยายธุรกิจ หากเราเข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ ก็ขยายการลงทุนไม่ได้ เพราะ BE เรา 2.8 เท่า เต็มเพดานของแบงก์กู้ไม่ไหว ถือว่าเป็นความเสี่ยง พอเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ก็ปลดล็อกทุกอย่าง”

บริษัทสามารถระดมทุนจากตลาดได้ 400 ล้านบาท กู้ธนาคาร 400 ล้านบาท และได้เงินใหม่เข้ามา 400 ล้านบาท สามารถปรับโครงสร้าง BE เหลือ 1 เท่า ทำให้มีเงินเหลืออยู่ และมีเงินกู้ในอนาคตอีกมาก ทำให้ไม่มีความเสี่ยง และทำให้บริษัทดำรงความเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งใช้วัตถุดิบเม็ดพลาสติก 2 หมื่นตันต่อปี

ส่วนความเสี่ยงของธุรกิจในอนาคต โดยเฉพาะข่าวการย้ายฐานธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นนั้น บริษัทมองว่าญี่ปุ่นยังมั่นใจลงทุนในประเทศไทย แม้ว่าที่ผ่านมาจะประสบภาวะน้ำท่วม ทั้งนี้เป็นเพราะซัปพลายเชนที่ผลิตสินค้าญี่ปุ่นตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก อาจเป็นไปได้ยากที่จะย้ายฐานการผลิต แต่หากเกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง บริษัทก็ยังไม่มั่นใจว่าญี่ปุ่นจะย้ายอย่างจริงจังหรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่ประเมินลำบาก

สำหรับค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มเป็น 300 บาท เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาบริษัท ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แม้ว่าจะมีพนักงานโดยรวม 800 คนก็ตาม แต่ในอนาคตได้มองแนวโน้มค่าจ้างที่อาจจะเพิ่มขึ้น จึงรับมือเรื่องดังกล่าว โดยมีนโยบายจะนำเครื่องจักรใหม่ๆ เข้ามาผลิตแทนแรงงานเหมือนเช่นทุกวันนี้

สาธิตเปรียบเทียบสัดส่วนรายได้และแรงงานว่า เมื่ออดีต 10 ปีที่แล้ว โดยภาพรวมส่วนใหญ่โรงงานผลิตสินค้าจะขายได้ 500 ล้านบาท มีพนักงาน 1,200 คน มองว่าเป็นเรื่องปกติ

แต่วันนี้บริษัทมีรายได้ 1,600 ล้านบาท มีพนักงาน 800 คน ยอดขายเพิ่ม 3 เท่า ลดคนมาร้อยละ 30 โมเดลเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในอนาคตบริษัทมีเป้าหมายขายมากขึ้น แต่จะไม่เพิ่มคน

นอกจากการบริหารคนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนแล้ว การบริหารจัดการธุรกิจภายในให้เป็นระบบเป็นส่วนหนึ่งที่บริษัทได้ลงทุนนำระบบ ERP ที่ลงทุนไป 40 ล้านบาท นำมาวางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ เชื่อมต่อระบบบัญชี การขนส่งสินค้า และสามารถเชื่อมต่อระบบกันระหว่างบริษัทกับลูกค้า

ระบบดังกล่าวทำให้ตอบรับกันได้เร็วภายในบริษัท และตอบรับลูกค้าได้เร็วขึ้น หากไม่มีระบบ ERP ใช้จะมีปัญหา รับคำสั่งซื้อไม่ทัน วัตถุดิบไม่เข้า ทำผิด ทำถูก ทำงานซ้ำซ้อน

“นอกจากลูกค้าจะมาเยี่ยมชมกระบวนการผลิตแล้ว ลูกค้าจะขอดูระบบ ERP มีหรือไม่ และจัดการขนส่ง และการผลิตอย่างไร เช่น ลูกค้าโหลดน้ำมันหล่อลื่นออกจากแท็งก์แล้ว แต่ขวดของบริษัทไม่ขึ้นไป เขาต้องปิดโรงงานเพื่อรอเรา ซึ่งแผนการจัดส่งสำคัญมาก และถอยมาสู่การผลิต มันต้องเชื่อมต่อเป็นระบบ”

จะเห็นว่าการทำธุรกิจของบริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด ต้องปรับปรุงหลายๆ ด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการลูกค้า เศรษฐกิจ และนโยบายของภาครัฐ ก็เพื่อให้บริษัทอยู่รอดและสามารถสืบทอดกิจการจากรุ่นแรกให้อยู่ในมือรุ่นสองได้อย่างยั่งยืน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us