|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จีน
ธนาคารกลางจีนประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายนเป็นต้นมา ค่าเงินหยวนสามารถปรับตัวในการซื้อขายประจำวันในช่วง +/- 1% เมื่อเทียบดอลลาร์ จากระดับค่ากลางที่ธนาคารกลางกำหนด เพิ่มขึ้นจากเดิมที่สามารถปรับตัวได้ในช่วง +/- 0.5% การขยายช่วงการซื้อขายของเงินหยวนเมื่อเทียบดอลลาร์ครั้งนี้ ถือเป็นการเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของทางการจีนในการเปิดเสรีตลาดการเงิน โดยหวังว่าจะส่งผลให้เงินหยวนมีอำนาจขับเคลื่อนในตลาดโลก
พม่า
ออสเตรเลียและนอร์เวย์เป็นสองประเทศล่าสุดที่ระบุว่าจะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่า ตอบแทนการปฏิรูปประชาธิปไตยในประเทศ โดยบ็อบ คาร์ รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย บอกว่าออสเตรเลียจะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อประธานาธิบดีเต็งเส่ง และบุคคลอื่นอีกมากกว่า 200 คน ที่ปัจจุบันถูกห้ามเดินทางและทำธุรกรรมทางการเงิน ด้านนอร์เวย์ โจนัส กาห์ รัฐมนตรีต่างประเทศของนอร์เวย์ บอกว่านอร์เวย์จะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ หลังพม่าดำเนินการปฏิรูปประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง เขาบอกว่าความจำเป็นของพม่าในเวลานี้คือ การติดต่อกับโลกภายนอก การพัฒนาเศรษฐกิจ และความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ลาว
บริษัทราช-ลาวเซอร์วิส บริษัทลงทุนในลาวของบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง เซ็นความตกลงฉบับหนึ่งกับบริษัทในลาว เพื่อสำรวจศึกษาโครงการเขื่อนน้ำปะยู ซึ่งจะเป็นโครงการเขื่อนแห่งที่ 4 และเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าแห่งที่ 5 ในลาวของผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าจากไทย พิธีเซ็นเอกสารระหว่างผู้บริหารระดับสูงราช-ลาวและบริษัทเวียงจันทน์ออโตเมชั่นแอนด์โซลูชั่นเอ็นจิเนียริง มีขึ้นเมื่อต้นเดือนที่แล้ว โครงการเขื่อนน้ำปะยูตั้งอยู่ในเขตเมืองดากจึง แขวงเซกอง ติดชายแดนเวียดนามทางตอนใต้ของประเทศ กินพื้นที่ 460 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งพื้นที่อ่างเก็บน้ำหน้าเขื่อน 1.7 ตารางกิโลเมตร
กัมพูชา
นายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชา กล่าวในการประชุมสุดยอดผู้นำ ASEAN ในกรุงพนมเปญเมื่อต้นเดือนเมษายนว่า กัมพูชาจะมุ่งการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน และลดช่องว่างการพัฒนาในภูมิภาค ระหว่างดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียนของ ASEAN ในปีนี้ นอกจากนี้ยังรวมถึงการส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างถิ่น แต่ภารกิจอันดับแรกคือการสร้างความเข้มแข็งของกลไกในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของภูมิภาค รวมทั้งป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจโลกในอนาคต โดยภารกิจเหล่านี้จำเป็นต้องเพิ่มวงเงินของกองทุนความริเริ่มเชียงใหม่เป็น 2 เท่า จาก 120,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 240,000 ล้านดอลลาร์
เวียดนาม
เอกสารวิจัยที่สำรวจโดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจ ASEAN (ABAC) ประกาศเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมาว่า เวียดนามอยู่ลำดับที่ 2 ของประเทศที่น่าลงทุนที่สุดใน ASEAN รองจากอินโดนีเซีย โดยมีสิงคโปร์มาเป็นอันดับ 3 งานวิจัยของ ABAC ตั้งคำถามนักธุรกิจและนักอุตสาหกรรมในภูมิภาค 405 คน 50% ของผู้ตอบเลือกอินโดนีเซียว่าลงทุนดีที่สุด ตามมาด้วยเวียดนาม 46% และสิงคโปร์ 43% ส่วนไทยและมาเลเซีย มีสัดส่วนผู้ตอบเท่ากันคือ 42% ขณะที่ฟิลิปปินส์ 27% ลาวและกัมพูชา 26% พม่า 25% และท้ายสุดคือบรูไน 17%
|
|
|
|
|