|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

เวียดนามกล่าวว่า การลงนามสัญญาก๊าซ-น้ำมันกับกลุ่ม Gazprom จากรัสเซีย เป็นการ “สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ” และให้คำมั่นจะป้องกันสิทธิประโยชน์ของคู่สัญญา
เมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา (2555) บริษัทก๊าซยักษ์ใหญ่ของรัสเซียออกแถลงการณ์ว่า ได้บรรลุความตกลงกับกลุ่มก๊าซ-น้ำมัน PetroVietnam เพื่อขุดค้นก๊าซธรรมชาติ ที่แหล่งหายถาจ และแหล่งหมกติญ แปลง 5.2 และแปลง 5.3 ที่แอ่งนามโกนเซิน ในทะเลตะวันออก
10 เมษายน จีนส่งเสียงประท้วงอย่างเป็นทางการ
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ลืว วีเยิน กล่าวว่าประเทศนี้ (จีน) หวังว่าธุรกิจต่างประเทศจะ “เคารพและสนับสนุนความพยายามของประเทศที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาพิพาทผ่านการเจรจาทวิภาคี หลีกเลี่ยงพัวพันการพิพาทในทะเลจีนใต้ไม่ว่ารูปแบบใดๆ”
กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ตอบโต้เมื่อวันที่ 12 เมษายน ประกาศว่าโครงการระหว่าง PetroVietnam และ Gazprom เป็นไปตามกฎหมาย
ผลประโยชน์ตามกฎหมายและชอบธรรม
เลือง ทาญ หงิ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม บอกกับบรรดาผู้สื่อข่าวที่นครฮานอยว่า “บรรดาโครงการร่วมมือระหว่างเวียดนามกับคู่สัญญาต่างประเทศ ในขอบเขตก๊าซ-น้ำมันปัจจุบัน ประกอบด้วยโครงการร่วมมือกับ Gazprom ต่างอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ และไหล่ทวีปของเวียดนาม อยู่ในอำนาจอธิปไตยและเขตอำนาจศาลแห่งชาติของเวียดนาม สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ปี 2525”
หงิกล่าวเพิ่มเติมว่า เวียดนามให้คำมั่นจะป้องกันผลประโยชน์ตามกฎหมายของบรรดาบริษัทต่างประเทศที่ทำกินกับเวียดนามในทะเลตะวันออก
“เวียดนามยินดีต้อนรับคู่ค้าต่างประเทศที่จะร่วมมือกับคู่ค้าเวียดนามในขอบเขตก๊าซ-น้ำมันบนเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามบนพื้นฐานกฎหมายเวียดนาม”
“เวียดนามให้คำมั่น และมีความรับผิดชอบป้องกันสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย และชอบธรรม ของบรรดาคู่สัญญาต่างประเทศที่ทำกินกับเวียดนาม”
อย่างไรก็ตาม เขาไม่พูดถึงเหตุการณ์ในปี 2552 ที่บริษัทน้ำมัน BP ของอังกฤษ ได้ตัดสินใจถอนตัวออกจากจุดขุดค้นก๊าซแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างฝั่งทะเลเวียดนาม และหมู่เกาะเตรื่องซา เพราะแรงกดดันจากจีน
เวลานั้น เวียดนามก็ทั้งกดดัน ทั้งชักจูง BP ให้อยู่ประกอบการต่อไป แต่แรงกดดันจากจีนนั้นมีมากกว่าเปรียบเทียบกับเวียดนาม ขนาดของโครงการของ BP ในจีน มีมากกว่าหลายเท่า และนั่นเป็นสาเหตุหลัก ส่งผลถึงการตัดสินใจถอนตัวออกจากแปลง 5.2 และแปลง 5.3 ของ BP ในเขตทะเลตะวันออกของเวียดนาม
เวียดนามได้ส่งเรือของกองทัพเรือคุ้มกันและเฝ้าระวังบรรดาเรือสำรวจทะเล-มหาสมุทรของพลเรือนบ่อยๆ แต่ศักยภาพกองทัพเรือของเวียดนามปัจจุบันยังไม่แข็งแรงพอ เพื่อสามารถป้องกันเรือใหญ่-เรือเล็กอย่างมีประสิทธิภาพ
|
|
 |
|
|