Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555
หมู่เกาะในทะเลตะวันออก ประเด็นคุกรุ่นที่ยังไม่มีทางจบ             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

International
Vietnam




แม้ ASEAN กำลังจะก้าวขึ้นเป็น AEC ในอีกไม่ถึง 3 ปีข้างหน้า แต่ประเด็นข้อพิพาทหมู่เกาะในทะเลตะวันออกก็ยังเป็นเรื่องคุกรุ่นที่ค้ำคอหลายๆ ประเทศในกลุ่มนี้

ล่าสุด เวียดนามเตรียมจัดทริปให้ชาวเวียดนามโพ้นทะเลไปเยี่ยมเยือนหมู่เกาะสแปรตลี ที่เวียดนามเรียกว่า “เตรื่องซา” โดยทางการเวียดนามจัดให้เตรื่องซาเป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ในอำนาจบริหารของจังหวัด ค้าญหว่า

โดยกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามเรียกแผนการจัดเที่ยวเยือนหมู่เกาะเตรื่องซาของชาวเวียดนามที่อยู่ในต่างประเทศครั้งนี้ว่าเป็นกิจกรรม “ปกติ”

เลือง ทาญ หงิ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามตอบคำถามในการประชุมสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2555 เกี่ยวกับแผนการของคณะกรรมการแห่งรัฐ ที่จะให้ชาวเวียดนามในต่างประเทศตั้งคณะใหญ่คณะหนึ่งเพื่อไปตรวจตราเตรื่องซาว่า “เรื่องคนเวียดนามไปเยือนสถานที่มีชื่อเสียงของประเทศ ในนั้นมีเกาะต่างๆ ในอำเภอเกาะเตรื่องซา จังหวัด ค้าญหว่า เป็นการกระทำตามปกติ”

หมู่เกาะเตรื่องซาเป็นหน่วยบริหารระดับอำเภอในเวียดนาม

จุดซึ่งเป็นข้อพิเศษ คือการจัดให้ชาวเวียดนามโพ้นทะเลไปเยือนเตรื่องซา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่ชาติอื่นๆ ก็ประกาศอธิปไตย จนถึงเมื่อกลางเดือนเมษายนนั้นยังคงเก็บเป็นความลับ

มีการระบุหัวข้อนี้ในการประชุมหนังสือพิมพ์อย่างเป็นทางการ โดยมีการเข้าร่วมของบรรดาสำนักข่าวต่างประเทศ ดูเหมือนจะเป็นการเคลื่อนไหวทางการทูต ในสภาพการณ์ที่เวียดนามและจีนกำลังมีการพูดโต้ตอบกันเกี่ยวกับอธิปไตยในทะเลตะวันออก (ทะเลจีนใต้ในมิติของจีน)

เมื่อเร็วๆ นี้ ดูเหมือนสถานการณ์ซึ่งเคยสงบลง หลังจากแกนนำระดับสูงสุดของสองพรรคคอมมิวนิสต์ที่ครองอำนาจทั้งสองประเทศเห็นพ้องกันในบรรดาหลักการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ลงรอยทางทะเลเมื่อเดือนตุลาคม 2554 ได้กลับมาร้อนขึ้นอีกครั้ง ด้วยการที่จีนจับชาวประมงเวียดนาม และขยายการใช้ประโยชน์ หมู่เกาะหว่างซา หรือหมู่เกาะพาราเซล

(อ่าน “ดีกรีความร้อนแรงของปัญหาทะเลตะวันออก ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนมิถุนายน 2553 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

เวียดนามก็มีกลยุทธ์ตอบโต้บางอย่าง แม้ว่ายังคงห้ามประชาชนชุมนุมประท้วงอยู่ภายในประเทศ

มีการมองกันว่าการส่งคนไปเกาะต่างๆ ในหมู่เกาะเตรื่องซา และมีการกระทำกิจทางพุทธศาสนา และล่าสุดคือการลงนามสัญญาก๊าซ-น้ำมันกับรัสเซีย เสมือนเป็นการยืนยันอธิปไตยของเวียดนาม ในหมู่เกาะแห่งนี้

เรื่องละเอียดอ่อน

เตรื่องซา, หว่างซา และการพิพาททะเลตะวันออก โดยเฉพาะกับจีน ถึงแม้ไม่มีการแก้ไขสาเหตุ และการพูดกันอย่างหนักแน่น แต่ก็ยังคงถูกมองว่าเป็นหัวข้อที่ “อ่อนไหว” อยู่ภายในประเทศ

แผนการให้ชาวเวียดนามโพ้นทะเลไปเยือนเตรื่องซาเมื่อปีที่แล้ว ได้ถูกยกเลิกด้วยเหตุผลไม่ชัดเจน

ด้านหลักการ นี่ไม่ใช่เขตหวงห้าม แต่เพราะความห่างไกล จะสามารถไปถึงเตรื่องซาได้เพียงทางเรือหรือเครื่องบินเท่านั้น ผู้ที่จะไปจึงต้องได้รับความช่วยเหลือ จากอำนาจรัฐ

เวียดนาม จีน ไต้หวัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน ต่างก็ประกาศอธิปไตยที่เตรื่องซา

ด้วยจำนวนเกาะและสันดอน 23 แห่ง เวียดนามถือครองเกาะใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะนี้

ในจำนวนชาวเวียดนามโพ้นทะเลที่จะเยือนเตรื่องซา มีทนายความ หวู ดึ๊ก คาญ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่แคนาดา กล่าวว่า “ตามความเห็นส่วนตัวผม อธิปไตยของเวียดนามบนหมู่เกาะหว่างซาและหมู่เกาะเตรื่องซา เป็นความจริงทางประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจปฏิเสธได้”

“อย่างไรก็ดี เนื่องจากเงื่อนไขทั่วไป ของประวัติศาสตร์ พวกเราก็ไม่อาจปฏิเสธว่า ที่นี่เป็นเขตที่ไม่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอธิปไตยแห่งชาติ”

“ทัศนะแน่วแน่ ไม่ว่ารัฐบาลตามกฎหมายใดของเวียดนาม คือต้องป้องกันอธิปไตยและบูรณภาพอาณาเขต-น่านน้ำทะเลอย่างเหนียวแน่น ขณะเดียวกันก็ให้ความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาพิพาทผ่านการเจรจาอย่างสันติ สอดคล้องกับกฎหมาย และกติกาของสากล”

คาญให้ความเห็นว่า ขณะที่บรรดาการกระทำก่อกวน รุนแรง และเจตนาที่จะทำความตึงเครียดเพิ่มให้สถานการณ์ยิ่งซับซ้อนนั้น เป็นสิ่งที่จำต้องหลีกเลี่ยง

“การที่คณะกรรมการชาวเวียดนาม ในต่างประเทศ มีความตั้งใจจะจัดให้ชาวเวียดนามโพ้นทะเลไปเยือนเตรื่องซา เป็นทัศนะที่ถูกต้อง เป็นการกระทำที่ชอบด้วยเหตุผล และสอดคล้องกับกติกาสากลในการแนะนำ การแสดงทัศนะและจุดยืนของ ฝ่ายตน ขณะเดียวกันก็หาทางแก้ไขปัญหา อย่างสันติ เสมอภาค และเสถียรภาพอย่างยั่งยืนสำหรับทั่วทั้งภูมิภาคและโลก”

เขาแสดงความตั้งใจพร้อมจะเข้าร่วมทำงานในเรื่องนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us