Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555
มอเตอร์เวิลด์ กับโอกาสที่มาแบบคาดไม่ถึง             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

Laos
Motorcycle
กิตติพงษ์ อรุณไพโรจน์
มอเตอร์ เวิลด์




เป็นสถิติที่น่าตื่นเต้น เมื่อร้านขายรถจักรยานยนต์ของคนไทยในลาวมียอดขายพุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดดภายในเวลาไม่กี่เดือน จนต้องขยายสาขาอีก 3 แห่ง อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้...?

ในตอนแรก เมื่อครั้งที่กิตติพงษ์ อรุณไพโรจน์ ให้ความสนใจตลาดรถจักรยานยนต์ในลาวใหม่ๆ นั้น เขาเล็งไปที่ตลาดรถมือสอง

เพราะเขาคิดว่าด้วยความที่เป็นรถมือสอง ราคาของรถจักรยานยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นมือสองน่าจะสูสีกับรถจักรยานยนต์มือหนึ่งจากจีนและเกาหลี ที่กำลังมาแรงอยู่ในตลาด สปป.ลาวในขณะนั้นได้

พอลงไปสำรวจตัวเลขเข้าจริงๆ กิตติพงษ์พบว่าตลาดนี้ยังเล็กเกินไป เขาจึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตลาดรถใหม่ ซึ่งมีผู้เล่นอยู่ในตลาดนี้แล้วหลายราย แทบทุกรายเป็นคนท้องถิ่น

กิตติพงษ์เป็นคนไทยที่ได้เข้าไปแสวงหาโอกาสใน สปป.ลาวมาระยะหนึ่งแล้ว เขาทำธุรกิจในลาวมาหลายอย่างและด้วยประสบการณ์ในลาว เขาพบว่าสินค้าตัวหนึ่งที่มีอัตราการเจริญเติบสูงมาก คือรถจักรยานยนต์

ปีที่แล้ว (2554) เขาจึงตกลงใจว่าจะเข้ามาจับตลาดสินค้าตัวนี้อย่างจริงจัง

กิตติพงษ์ได้ร่วมทุนกับหุ้นส่วนในลาว เปิดบริษัทมอเตอร์ เวิลด์ สาขาแรก บนถนน T2 ในนครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว (2554) โดยเปิดเป็นร้านจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบรนด์ญี่ปุ่น อาทิ ฮอนด้า ซูซูกิ ฯลฯ

สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ในลาว มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับตลาดรถยนต์ โดยแบรนด์ซึ่งเป็นที่นิยมอันดับหนึ่ง คือแบรนด์จากญี่ปุ่น อาทิ ฮอนด้า ซูซูกิ ยามาฮ่า

รถเหล่านี้ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศไทย ดังนั้นคนลาวมักจะเรียกรถเหล่านี้ว่า “รถไทย”

ส่วนแบรนด์ที่ได้รับความนิยมรองลงไป คือแบรนด์จากเกาหลี อาทิ Golao และอันดับ 3 คือแบรนด์จากจีน

โดยราคาจำหน่ายสร้างความแตกต่างกันตามลำดับความนิยม มีตั้งแต่ระดับคันละ 1 หมื่นบาทไปจนถึง 8 หมื่นบาท และส่วนใหญ่เป็นการซื้อเงินสด

“ถ้าคนอยากได้รถ แต่เงินไม่พอ ก็ซื้อรถจีน แต่หากมีเงินขึ้นมาอีกหน่อย ก็ซื้อรถเกาหลี และถ้ามีมากหน่อยก็ซื้อรถไทย เพราะเป็นรถที่แข็งแรงกว่า ประหยัดกว่า และไม่มีปัญหาเรื่องเครื่องยนต์” เขาอธิบายสภาพตลาดกับผู้จัดการ 360 ํ

(อ่าน “ตลาดเกิดใหม่ ธุรกิจรถยนต์” เรื่องจากปก นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2554 หรือใน www. gotomanager.com ประกอบ)

การตัดสินใจเปิดร้านในเดือนกันยายนถือว่าเป็นจังหวะที่ดีสำหรับการเข้าไปบุกตลาดรถจักรยานยนต์ในลาว เพราะก่อนหน้านั้นไม่นานรัฐบาล สปป.ลาว เพิ่งประกาศลดอัตราภาษีรถจักรยานยนต์ แต่เพิ่มภาษีรถยนต์ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้รถจักรยานยนต์กันมากขึ้น

โดยอัตราภาษีใหม่ให้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม

หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทม์ ซึ่งนำเสนอข่าวนี้ได้ให้รายละเอียดว่า สภาแห่งชาติ สปป.ลาว ได้รับรองมตินี้ในเดือนมิถุนายน โดยให้รัฐบาลลดภาษีรถจักรยานยนต์ แต่เพิ่มอัตราภาษีรถยนต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามที่จะกระตุ้นให้ประชาชนใช้พาหนะที่บริโภคน้ำมันน้อย

ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ที่จะมีผลตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปนั้น ระบุให้อัตราภาษีรถจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ต่ำกว่า 110 ซีซี ลดภาษีลงจาก 20% เหลือเพียง 10% ขณะที่อัตราภาษีรถจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาด 111 ซีซี หรือสูงกว่านั้นจะปรับลดลงจาก 20% เหลือ 15% เนื้อข่าวระบุว่า ชาวลาวที่ต้องการซื้อรถกระบะที่มีเครื่องยนต์ระหว่าง 1501-2500 ซีซี จะต้องเสียภาษีเพิ่มเป็น 30% จาก 20% ส่วนรถกระบะที่มีเครื่องยนต์สูงกว่า 2500 ซีซี จะต้องเสียภาษีในอัตรา 40% ปรับเพิ่ม จากเดิม 20% และรถกระบะที่มีขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 1500 ซีซี ยังใช้อัตราภาษีเดิมที่ 30% ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ส่วนรถยนต์ทั่วไปที่มีเครื่องยนต์ต่ำกว่า 1500 ซีซี จะปรับเพิ่มจาก 65% เป็น 70% รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ระหว่าง 1201-1500 ซีซี เพิ่มภาษีจาก 65% เป็น 80% และรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ระหว่าง 1501-2500 ซีซี เพิ่มภาษีจาก 65% เป็น 85% รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สูงกว่า 2501 ซีซีขึ้นไป ปรับเพิ่มภาษีจาก 75% เป็น 90%

นอกจากอัตราภาษีของรถยนต์ 4 ที่นั่งทั่วไปแล้ว รถยนต์ประเภท SUV รถตู้ และรถบรรทุกก็ปรับเพิ่มอัตราภาษีสูง ขึ้นเช่นกัน

ในเนื้อข่าวนี้บอกว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายภาษีระบุว่า การตัดสินใจของรัฐบาลเกี่ยวกับการปรับลดภาษีรถจักรยานยนต์นั้น มีเป้าหมายที่จะช่วยประชาชนที่มีรายได้ต่ำสามารถซื้อยานพาหนะของตัวเองได้ และกระตุ้นให้คนหันมาใช้รูปแบบการคมนาคม ที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานมากขึ้น

จำนวนรถยนต์ในลาวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และรถยนต์จำนวนมากในกรุงเวียงจันทน์ทำให้การจราจรในช่วงเช้าและเย็นติดขัดอย่างมาก รวมทั้งเกิดอุบัติเหตุหลายร้อยครั้งในแต่ละเดือน

อย่างไรก็ตาม สมาชิกสภาแห่งชาติต่างกล่าวว่า การปรับเพิ่มอัตราภาษีไม่ช่วยยับยั้งการซื้อยานพาหนะของประชาชน เนื่องจากระบบขนส่งมวลชนตามเมืองใหญ่ต่างๆ ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการ

“เปิดร้านเดือนแรก ขายรถได้ 2 คันเท่านั้น” กิตติพงษ์ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัทมอเตอร์ เวิลด์ บอก

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ร้านแรกบนถนน T2 เริ่มเปิดดำเนินการแล้ว กิตติพงษ์ก็มีแผนที่จะเปิดร้านแห่งที่ 2 เอาไว้ในใจ และตั้งใจจะให้สาขาใหม่นี้เป็นเหมือนกับสำนักงานใหญ่

เขาเล็งทำเลไว้ที่บ้านดงโดก ก่อนถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวประมาณ 1 กิโลเมตร

ที่นี่เขาตั้งใจจะขายแต่รถยนต์แบรนด์ฮอนด้า เพราะเป็นรถจักรยานยนต์แบรนด์เดียวที่มีโรงงานประกอบอยู่ใน สปป.ลาว และตั้งชื่อร้านแห่งนี้ ว่า “ฮอนด้า ดงโดก”

ในขณะที่กำลังเตรียมการเปิดร้านแห่งใหม่นั้น เขาไม่คิดมาก่อนเลยว่าจะเกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้การตัดสินใจของเขาในครั้งนั้นประสบกับผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึง!!!

การตัดสินใจลงทุนเปิดกิจการในลาวของกิตติพงษ์ จุดสำคัญที่เขาจะนำมาใช้ในการสร้างความแตกต่างให้กับมอเตอร์เวิลด์ ก็คือการนำรูปแบบการทำธุรกิจในลักษณะสากลที่เป็นระบบเข้ามาใช้ เพราะกิจการขนาดย่อมส่วนใหญ่ที่ดำเนินการอยู่ในลาวโดยคนท้องถิ่น โดยเฉพาะร้านขายจักรยานยนต์นั้นยังมีรูปแบบการทำธุรกิจแบบดั้งเดิมอยู่

คือเป็นลักษณะร้านที่มีเจ้าของคนเดียว ดูแลอยู่คนเดียว ใช้ระบบง่ายๆ ซึ่งไม่สามารถรองรับการขยายสาขา หรือการ ขายที่มีปริมาณมากได้ โดยเฉพาะการให้สินเชื่อกับลูกค้าที่มาซื้อรถ เป็นการตัดสินใจโดยตัวเจ้าของร้านค้าเอง ไม่มีระบบการผ่อนชำระที่ชัดเจน

กิตติพงษ์ตกลงเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัทธนทรัพย์ ลีสซิ่ง แอนด์ไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นบริษัทลีสซิ่งเต็มรูปแบบ และเป็นกิจการของคนไทยอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้าไปบุกเบิกตลาดสินเชื่อรถยนต์ในลาวมา 3 ปีแล้ว

โดยธนทรัพย์ ลีสซิ่งจะเข้ามาให้การสนับสนุนลูกค้าที่ซื้อรถจากมอเตอร์เวิลด์ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้

(อ่าน “ธนทรัพย์ ลีสซิ่ง เป้าหมายของเราไม่ใช่แค่เช่าซื้อ” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนกันยายน 2554 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

ด้วยรูปแบบธุรกิจที่วางเอาไว้ มอเตอร์เวิลด์จึงเป็นเหมือนผู้ที่มาเปิดรูปแบบการขายแบบใหม่ในลาว ที่สามารถสนองความต้องการของประชาชนรุ่นใหม่ของลาวได้ เพราะเขาจะสามารถออกรถได้ง่าย รวดเร็ว โดยมีขั้นตอนไม่มากนัก

กำหนดการเปิดร้านฮอนด้า ดงโดก ถูกกำหนดไว้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งถือเป็นวันดีตามความเชื่อของคนลาว เพราะตรงกับตัวเลข 11-11-11 (วันที่ 11 เดือน 11 ปี 2011)

กิตติพงษ์วางแคมเปญการตลาดให้กับฮอนด้า ดงโดกที่อิงกับตัวเลข 11-11-11 เอาไว้ด้วย

ตามแคมเปญนี้ ลูกค้าที่มาซื้อรถจากฮอนด้า ดงโดก สามารถวางเงินดาวน์งวดแรกเพียง 1.1 ล้านกีบ (4,200 บาท) ก็สามารถออกรถได้เลย หลังจากนั้นจึงให้ลูกค้าผ่อนเงินดาวน์อีก 3 งวด งวดละ 1.1 ล้านกีบ จึงจะเข้าสู่ระบบการผ่อนส่งตามปกติกับธนทรัพย์ ลีสซิ่ง

“จริงๆ แล้วก็คือเป็นแคมเปญที่ให้ลูกค้าสามารถผ่อนเงินดาวน์รถได้นั่นเอง” เขาอธิบาย

ผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึงของฮอนด้า ดงโดก เริ่มปรากฏสัญญาณขึ้นตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ก่อนเปิดร้านไม่ถึงเดือน

นั่นคือการเกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศไทย

และมหาอุทกภัยครั้งนี้กินเวลายาวนานต่อเนื่องจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน

ด้วยความที่ตลาดรถจักรยานยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นในลาวแทบทุกแบรนด์ต้องอาศัยการนำรถเข้ามาจากประเทศไทย มีเพียงฮอนด้ารายเดียวเท่านั้นที่มีโรงงานประกอบอยู่ในนครเวียงจันทน์

เมื่อความต้องการซื้อรถจักรยานยนต์ในลาวมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และยิ่งถูกกระตุ้นขึ้นอีกจากราคารถซึ่งมีราคาถูกลง อันเป็นผลมาจากการประกาศลดอัตราภาษีรถจักรยานยนต์ของรัฐบาล ที่เพิ่งเริ่มมีผลในเดือนตุลาคม

มหาอุทกภัยในประเทศไทยจึงมีผลต่อตลาดการซื้อขายรถจักรยานยนต์ในลาว เพราะแบรนด์รถญี่ปุ่นซึ่งต้องนำเข้าจากประเทศไทย ต้องพบกับอุปสรรคในการจัดส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อ

ฮอนด้าจึงมีความได้เปรียบ เพราะมีโรงงานประกอบอยู่ในนครเวียงจันทน์ จึงไม่ต้องเผชิญกับอุปสรรคดังกล่าว

“เราเน้นขายรถฮอนด้า ซึ่งมีโรงงานประกอบอยู่ในเวียงจันทน์ ในขณะที่แบรนด์ อื่นๆ ที่ไม่มีโรงงาน จำเป็นต้องนำรถเข้าจากประเทศไทย ซึ่งประสบปัญหาด้านการขนส่ง เพราะเกิดน้ำท่วม ส่วนฮอนด้าไม่เจอกับปัญหานี้ สามารถส่งมอบรถให้กับลูกค้าได้ครบทุกคัน”

ก่อนเปิดร้านฮอนด้า ดงโดก ยอดขายของมอเตอร์เวิล์ด ในเดือนที่ 2 ของกิจการ คือในเดือนตุลาคมสามารถขายรถได้ถึง 121 คัน

แต่เมื่อฮอนด้า ดงโดก เปิดดำเนินการในวันที่ 11-11-11 ประกอบกับแคมเปญการตลาดที่นำออกมาใช้ ทำให้ยอดขายของมอเตอร์เวิลด์ถึงสิ้นปี 2554 สามารถทำ ได้ถึง 252 คัน ไม่นับรวมยอดจอง

เรียกได้ว่าในแต่ละวัน มอเตอร์เวิลด์สามารถขายรถได้โดยเฉลี่ยมากกว่า 4 คัน

วันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา (2555) มอเตอร์เวิลด์จึงเสนอตัวไปยังบริษัทนิวจิบ เส็ง เจ้าของโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ในนครเวียงจันทน์ เพื่อเสนอตัวเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการให้กับรถจักรยานยนต์ฮอนด้าอีกรายหนึ่งใน สปป.ลาว

นิวจิบเส็งเป็นบริษัทที่เข้ามาบุกเบิกตลาดรถจักรยานยนต์ใน สปป.ลาวมานานหลายปี จนได้ใบอนุญาตจากฮอนด้าที่ญี่ปุ่น ให้ตั้งโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ฮอนด้าในนครเวียงจันทน์ นอกจากนี้ยังมีโรงงานประกอบอยู่ในเวียดนามอีกด้วย โดยมีพื้นที่จำหน่ายของนิวจิบเส็งครอบคลุมตลาดทั้งลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า

ก่อนหน้ามอเตอร์เวิลด์ นิวจิบเส็งมีตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าอยู่ในลาวแล้วประมาณ 20 ราย แต่ด้วยความต้องการในรถจักรยานยนต์ฮอนด้าที่มีมาก ทำให้จำเป็นต้องมีการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายเพิ่ม

ยอดขายในลาวเฉพาะฮอนด้าแบรนด์เดียวตกปีละ 24,000 คัน โรงงานประกอบรถฮอนด้าของนิวจิบเส็งต้องเพิ่มกำลังการผลิตจากเดิมวันละ 100 คัน เป็นวันละ 300 คัน เมื่อไม่กี่เดือนมานี้

ปัจจุบัน นอกจากโรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้าในลาวและเวียดนามแล้ว นิวจิบเส็งยังได้ร่วมทุนกับกลุ่มเคพีของตระกูลพิลาพันเดช และบริษัทไทยสแตนเลย์การไฟฟ้าเปิดบริษัทลาวสแตนเลย์ รวมถึงยังได้เข้าไปสู่อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร และธุรกิจโรงแรมอีกด้วย

(อ่าน “ถ้าไทยมีพรประภา ลาวก็คือ พิลาพันเดช” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2554 หรือใน www. gotomanager.com ประกอบ)

มอเตอร์เวิลด์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้า จากนิวจิบเส็งในอีกประมาณ 1 เดือนต่อมา พร้อมกันนี้ มอเตอร์เวิลด์ก็ได้เปิดร้านอีก 1 แห่ง เป็นสาขาที่ 3 บนถนนไกสอน พมวิหาน อยู่ติดกับสำนักงานใหญ่ของบริษัทธนทรัพย์ ลีสซิ่ง

สาขาที่ 3 ได้ฤกษ์เปิดในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2555 โดยยึดตามฤกษ์ 12-2-12 เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าอย่างเป็นทางการ มอเตอร์เวิลด์ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ โดยให้ฮอนด้า ดงโดกขายแต่รถจักรยานยนต์ฮอนด้าเพียงอย่างเดียว

ส่วนอีก 2 สาขาคือที่ถนน T2 และถนนไกสอน พมวิหาน ขายรถจักรยานยนต์ แบรนด์อื่น รวมถึงการขยายเข้ามาจับตลาดรถยนต์ โดยได้นำรถซูซูกิ Carry และ Celerio มาจำหน่ายด้วย

เร็วๆ นี้ มอเตอร์เวิลด์ยังมีแผนจะนำรถยนต์แบรนด์ SYM เข้ามาจำหน่ายในลาว และจะเสนอตัวเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการให้กับรถยนต์แบรนด์นี้ใน สปป.ลาวอีกด้วย

SYM เป็นแบรนด์รถยนต์ของฝรั่งเศส แต่มีฐานการผลิตอยู่ในไต้หวัน ซึ่งรถยนต์แบรนด์นี้ปัจจุบันได้รับความนิยมมากอยู่ในเวียดนาม แต่ก็มีจำหน่ายทั้งในไต้หวัน เวียดนาม จีน รวมทั้งไทย

ปัจจุบัน 3 สาขาของมอเตอร์เวิลด์มีพนักงานอยู่ทั้งสิ้น 24 คน ทุกคนเป็นคนลาว ยกเว้นกิตติพงษ์

ส่วนยอดขายโดยเฉลี่ยของมอเตอร์เวิลด์ จาก 3 สาขา หลังจากเปิดกิจการเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้วเป็นต้นมาจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ สามารถทำได้เฉลี่ยเดือนละ 200 คัน

กิตติพงษ์ให้ความเห็นถึงทิศทางการลงทุนใน สปป.ลาวว่า ลาวสามารถเป็น hub ที่จะจ่ายสินค้าออกไปสู่ประเทศใกล้เคียงอย่างพม่า กัมพูชา เวียดนาม หรือจีน เพราะ 3 ใน 4 ประเทศเหล่านี้ปกครองในระบอบสังคมนิยมเหมือนกัน จึงมีการให้สิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างกัน นอกจากนี้ ลาวกับพม่าก็มีสายสัมพันธ์อันดีต่อกัน เพราะถือเป็นประเทศในกลุ่ม ASEAN ใหม่ด้วยกัน

เขายกตัวอย่างนิวจิบเส็งซึ่งมีโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์อยู่ในลาว สามารถส่งรถที่ประกอบเสร็จไปขายยังตลาดพม่าได้ ทั้งที่ลาวไม่ติดทะเล เพราะเป็นการส่งออกผ่านประเทศไทยโดยออกทางด่านแม่สอด

ด้วยความคิดเห็นดังกล่าว เป้าหมายของมอเตอร์เวิลด์ในอนาคตจากนี้ไป น่าจะต้องมองไปไกลกว่าแค่ สปป.ลาว เป็นแน่...?   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us