Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555
เลมอนฟาร์ม สมบูรณ์ ยั่งยืน             
โดย สุพร แซ่ตั้ง
 


   
www resources

โฮมเพจ บางจากปิโตรเลียม
โฮมเพจ เลมอนฟาร์ม

   
search resources

บางจากปิโตรเลียม, บมจ.
Organic Farming
สหกรณ์เลมอนฟาร์มพัฒนา จำกัด




แม้ในช่วงเวลาการเปลี่ยนถ่ายจาก “เลมอนกรีน” สู่ “เลมอนฟาร์ม” และ “ใบจาก” เหมือนเกี่ยวพันกับสถานการณ์สำคัญๆ หลายเรื่อง ทั้งการผลักดันให้บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทน้ำมันของคนไทย โดยโสภณ สุภาพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ในขณะนั้น เสนอแนวคิดการขายหุ้นให้ประชาชน 32% แต่ผู้บริหารระดับสูงทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำกลับต้องการขายหุ้นบางจากให้นักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากได้เม็ดเงินมากกว่า จนกระทั่งโสภณตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2542 มาเป็นนักพัฒนาชุมชนเต็มตัว

ในปีเดียวกัน บางจากร่วมกับบริษัท มงคลชัยพัฒนา จำกัด ก่อตั้งสหกรณ์เลมอนฟาร์มพัฒนา จำกัด เพื่อเป็นกลไกเชื่อมต่อระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตในชนบทและผู้บริโภคสินค้าในเมือง โดยทดลองเปิดให้บริการสหกรณ์แห่งแรกที่สถานีบริการน้ำมันบางจาก สาขาประชาชื่น ทำหน้าที่เป็นตลาดรับสินค้าออร์แกนิก ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ และสินค้าเกษตรแปรรูปจากชุมชนท้องถิ่นต่างๆ มาจัดจำหน่ายตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ผู้บริโภคซื้อหาสินค้าเหล่านี้ง่ายขึ้น ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยต่อร่างกาย เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น

กลุ่มคนทำงานในเลมอนฟาร์มแท้จริงก็คือ อดีตพนักงานบางจากที่มีแนวคิดเดียวกันกับโสภณ

ทั้งหมดไม่ใช่ความขัดแย้งทางการเมืองหรือองค์กร หากเป็นความต้องการทำงานในฐานะนักพัฒนาชุมชนอย่างเต็มตัว ไม่ต้องอิงกระแสการตลาดและการแข่งขันเชิงธุรกิจมากจนเกินไป

งานเปิดตัวโครงการ go Organic Community ร่วมกันผลักดันวิถีอินทรีย์ ช่วยเรา...ช่วยโลก เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2554 ณ เลมอนฟาร์ม แจ้งวัฒนะ โสภณ สุภาพงษ์ พูดถึงครอบครัวเลมอนฟาร์มเกิดจากคน 3 คน คือ ศ.ระพี สาคริก นพ.ประเวศ วะสี และ นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว เมื่อกว่า 10 ปีก่อน

“เวลานั้นเราช่วยชาวบ้านด้วยความรู้สึกว่าเป็นผู้ที่อยู่ในความยากลำบากมากจนแม้กระทั่งความดีก็ไม่สามารถทำได้ ทีนี้การจะช่วยเหลือครอบครัวไทยที่ยากจน มักคิดง่ายๆ ว่าเอาเงินไปให้ ในความจริงแล้วเราพบว่ามันแค่นั้นไม่ได้ ความคิดที่เกิดขึ้นกับผมทันทีทันใด ไปหาครอบครัวในต่างจังหวัด พบคุณยายร้องไห้ ถามว่าทำไม ก็บอกว่าลูกเพิ่งตายคาไร่เมื่อวานขณะฉีดยาฆ่าแมลง รู้สึกว่าจะต้องทำอะไรมากกว่านั้นแล้วล่ะ มานึกถึงเรื่องการบริโภค เพราะฉะนั้นก็มีความคิดร่วมกันว่า เราจะต้องเปลี่ยนมาบริโภคอาหารที่ปลอดภัย สำหรับเกษตรกรผู้ผลิตคืออาหารที่ไร้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เราต้องช่วยกันบริโภค นอกจากบริโภคแล้วเรายังได้ร่วมทุนกัน เพื่อจะให้ทุนเกษตรกรสามารถหมุนเวียนผลิตสิ่งเหล่านั้นได้”

ยิ่งไปกว่านั้น โดยเฉลี่ยการตายของคนไทยในปัจจุบันจำนวนไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน มีสาเหตุจากโรคมะเร็งและโรคหัวใจ ซึ่งมีต้นตอจากอาหารที่บริโภคในแต่ละวัน การถ่ายทอดแนวคิดการบริโภคอาหารที่ไร้การปรุงแต่งและใช้ชีวิตบนวิถีธรรมชาติจึงเป็นภารกิจสำคัญของนักพัฒนาชุมชนกลุ่มนี้

ปัจจุบัน สหกรณ์เลมอนฟาร์มพัฒนาให้บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด เป็นผู้บริหารงานด้านธุรกิจ มีสมาชิกสหกรณ์กว่า 28,000 ครัวเรือน ล่าสุดเปิดร้านรวม 9 สาขา โดยอยู่ในปั๊มบางจาก 5 สาขา ประกอบด้วย สถานีบริการน้ำมันสาขาประชาชื่น เกษตร ประดิษฐ์มนูธรรม เพชรเกษม 57 และสุขุมวิท 39

อีก 4 สาขาอยู่ในศูนย์การค้า ซึ่งมี 1 สาขาที่เปิดเป็นร้านอาหารแนวแมคโครไบโอติกส์หรือ Macrobiotics House ที่ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค ต่างจากสาขาอื่นๆ ที่มีร้านอาหาร be Organic เป็นพื้นที่เช่าส่วนหนึ่ง ซึ่งการขยายสาขาในศูนย์การค้า ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าดิ อะเวนิว แถวแจ้งวัฒนะ พรีเมียร์เพลส ย่านศรีนครินทร์ พาราไดซ์พาร์คและศูนย์การค้าดิ ปอร์ติโก ย่านชิดลม

ผลตอบรับจากลูกค้าดีกว่าสาขาในปั๊มน้ำมัน ทั้งในแง่จำนวนคน กลุ่มเป้าหมายที่สอดรับมากกว่า และพฤติกรรมการใช้บริการที่สามารถให้เวลาศึกษาแนวคิด หรือข้อมูลต่างๆ มากกว่าคนสัญจรขับรถเข้ามาเติมน้ำมัน ซึ่งนั่นกลายเป็นแนวทางการขยายสาขาที่ถูกที่ ถูกกลุ่มลูกค้า และถูกเวลา

สำหรับผลิตภัณฑ์ของร้านเลมอนฟาร์มและร้านอาหาร Macrobiotics House มาจากสหกรณ์เลมอน ฟาร์มพัฒนา จำกัด และกลุ่มเอสเอ็มอี ได้แก่ Organic Vegetable & Fruit อาทิ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง หอมหัวใหญ่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ โกโบ บีตรูต มะเขือยาวม่วง แตงกวา มะเขือเปราะ หัวไช้เท้าสีชมพู โดยมีสินค้าที่ใช้แบรนด์ “Lemon Farm” ได้แก่ คุกกี้ โฮมเมด ชา ไข่ไก่ปลอดสารพิษ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และข้าวเกษตรอินทรีย์

ส่วนร้านอาหาร Macrobiotics House เป็นการต่อยอดและยกระดับช่องทางการตลาด แม้กลุ่มลูกค้ายังมีจำนวนน้อยและต้องเข้าใจขั้นตอนการปรุงอาหารด้วยวิธีแมคโครไบโอติกส์ คือ การหุงข้าวด้วยหม้อความดัน เพื่อให้ได้ข้าวกล้องคุณภาพสูง การปรุงอาหารไม่ใช้น้ำตาลทรายแต่ใช้ความหวานจากพืชผัก หุงถั่วต่างๆ ด้วยหม้อความดัน และใช้เครื่องปรุงธรรมชาติ เช่น เกลือทะเล ขิง ซีอิ๊วหมักธรรมชาติ ใช้น้ำมันน้อย ไม่ใช้ผงชูรสและสารกันบูด

นอกจากนี้ เลมอนฟาร์มยังพยายามเสริมกิจกรรมเชิงสังคม ทั้งอบรมเจริญสติภาวนา รายการร่วมสนทนากับโสภณ สุภาพงษ์ เวทีสนทนาธรรมและการส่งต่อข้อมูลความรู้ต่างๆ ผ่านวารสารเพื่อนสุขภาพ ทั้งหมดเพื่อความสมบูรณ์และความยั่งยืนในการใช้ชีวิตอย่างมีสติและปลอดภัย

13 ปีบนเส้นทางของเลมอนฟาร์มในกระแสธุรกิจสมัยใหม่ จึงเป็นก้าวย่างที่น่าจับตาเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us