Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555
“บางจาก” ไมเนอร์เชนจ์ ถอด “ม่อฮ่อม” ใส่ “สูท”             
โดย สุพร แซ่ตั้ง
 

 
Charts & Figures

เปรียบเทียบจุดขายของสถานีบริการน้ำมัน 3 แห่ง
รูปแบบร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการบางจาก


   
www resources

โฮมเพจ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
โฮมเพจ บางจากปิโตรเลียม

   
search resources

บางจากปิโตรเลียม, บมจ.
บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บมจ.
Minimart
Oil and gas




เลมอนกรีน เลมอนฟาร์ม ร้านใบจาก ใบจากมาร์ท

ล่าสุด บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บรรลุข้อตกลงจับมือกับบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) “มินิ บิ๊กซี” ในสถานีบริการน้ำมันบางจาก โดยทดลองนำร่อง 5 สาขา วางแผนระยะแรกขยายครบ 300 สาขา ภายใน 3 ปี ตามยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถด้านการตลาด

เป้าหมายคือดันยอดขายน้ำมันทุกชนิดแซงหน้า “เอสโซ่” ขึ้นแท่นเบอร์ 2 ภายในปี 2558

ทว่า การเข้ามาเป็นพันธมิตรรายใหม่ของบิ๊กซี ไม่ใช่เพียงแค่ความตื่นเต้นในสมรภูมิค้าปลีกน้ำมันที่รุนแรงมากขึ้น แต่ยังเป็น “จุดเปลี่ยน” สำคัญของร้านค้าชุมชนที่ต้องยอมรับว่าเป็น “เอกลักษณ์” หนึ่งของปั๊มรูปใบไม้แห่งนี้ เพราะหลังจากเปิดมินิบิ๊กซีสาขา แรกในเดือนพฤษภาคม อีก 6 เดือน “มินิบิ๊กซี” อาจถูกเปิดทางให้เข้ามาแทนที่ร้านใบจาก และเลมอนกรีนทั้งหมด โดยมียอดขายและรายได้เป็นตัวตัดสิน

ปัจจุบัน บางจากมีสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ 1,067 แห่ง แบ่งเป็นสถานีบริการ มาตรฐาน 500 แห่ง และปั๊มชุมชนสหกรณ์อีก 567 แห่ง ส่วนร้านสะดวกซื้อภายในสถานีบริการ แบ่งเป็นร้านใบจากมาร์ท 5 สาขา ร้านใบจาก 150 สาขา ร้านเลมอนฟาร์ม 6 สาขา และร้านเลมอนกรีน 37 สาขา ซึ่งตามแผนการลงทุนในปี 2555 จะปรับโฉมร้านใบจากเป็น “ใบจากมาร์ท” จำนวน 60 สาขา และยกเลิกแบรนด์ “เลมอนกรีน” ทั้งหมด ภายใน 2 ปี

สำหรับ “มินิบิ๊กซี” 5 สาขาแรกในปั๊มบางจาก ประกอบด้วยสาขาถนนพระราม 3 สาขาถนนเจริญกรุงตัดใหม่ สาขาถนนนวมินทร์ สาขาอ่อนนุช 44 และสาขาถนนพัฒนาการนั้น สองสาขาแรก บางจากยอมถอดร้านใบจาก ส่วนสามสาขาหลังเป็นการเปิดมินิบิ๊กซีใหม่

อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ยอมรับว่า แม้ร้านใบจากที่มีศักยภาพก็อาจจะเปลี่ยน เพราะอยากให้เหมือนกันหมดมากกว่าการมีร้านค้าปลีกหลายๆ แบรนด์ ดังนั้น ในระยะยาว ใบจากอาจเลิกหมด ถ้า “มินิบิ๊กซี” ประสบความสำเร็จ

อันที่จริง บางจากมีความพยายามเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดน้ำมันและขยายสัดส่วนธุรกิจเสริมต่างๆ หรือ “นอนออยล์” ซึ่งมีอัตรากำไรสูงกว่าธุรกิจค้าปลีกน้ำมันอย่างเข้มข้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่โครงการปรับภาพลักษณ์สถานีบริการน้ำมัน หรือ “รีแบรนดิ้ง” ใส่สีเขียวมะนาวและสีส้มมากขึ้น เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ความสดใสและสดชื่น ให้ดูวัยรุ่นขึ้น และสร้างความครบวงจรด้านบริการ เพื่อเสริมจุดเด่น

ล่าสุดปี 2555 บางจากเปิดตัวสถานีบริการน้ำมันระดับพรีเมียมเต็มรูปแบบสาขาแรก ถือเป็นต้นแบบการพัฒนาสถานีบริการขนาดใหญ่แห่งใหม่ๆ หลังคารูปทรงยิ้ม ติดหลอดแอลอีดีเป็นไฟวิ่งในช่วงกลางคืน และย้ำแนวคิด “Green Station” ด้วยหลังคาโซลาเซลล์ ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์และนำมาใช้ในช่วงกลางคืน ใช้หลอดประหยัดไฟทั้งสถานี และออกแบบทุกจุดด้วยความใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ปั๊มพรีเมียมสาขาแรกบนถนนวิภาวดีรังสิตขาเข้ามีพื้นที่มากที่สุดเท่าที่บางจากเคยเปิด คือ 2-3 ไร่ ใช้เงินลงทุนสูงถึง 72 ล้านบาท มี 7 ธุรกิจเสริม คือ ร้านใบจากมาร์ท ร้านกาแฟอินทนิล ศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง “กรีนเซิร์ฟ” บริการล้างรถยนต์ “กรีนวอช” ร้านเคเอฟซี ร้านมิสเตอร์โดนัท และร้านอาหารอินจัน ของดาราหนุ่มชื่อดัง “ชาคริต แย้มนาม” ซึ่งตัดสินใจมาเปิดสาขาแรกที่นี่

ทั้งนี้ ธุรกิจเสริมที่บางจากเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ผ่านบริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด ร้านใบจากมาร์ทล่าสุดเปิดแล้ว 5 สาขา จะเพิ่มเป็น 60 สาขาในปี 2555 ร้านกาแฟอินทนิลล่าสุด เปิดแล้ว 170 สาขา จะเพิ่มเป็น 250 สาขา ศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมัน เครื่อง “กรีนเซิร์ฟ” และบริการล้างรถ “กรีนวอช” 165 สาขา จะเพิ่มเป็น 250 สาขาเช่นเดียวกัน

ยอดพจน์ วงศ์รักมิตร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานด้านธุรกิจการตลาด บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการลงทุนปั๊มพรีเมียมขนาดใหญ่มาจากผลวิจัยที่พบว่า ลูกค้าไม่ค่อยเห็นปั๊มบางจากทั้งที่มีมากกว่าพันแห่ง เนื่องจากปั๊มมีขนาดเล็กเกินไปและอยู่ในซอย โดยวางแผนขยายปั๊มพรีเมียมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปีละ 5 แห่ง แต่เปลี่ยนแนวทางจากการก่อสร้างเองทั้งหมดเป็นการซื้อกิจการสถานีบริการเก่า ที่หมดสัญญาจากบริษัทน้ำมันค่ายอื่นแล้วปรับโครงสร้างใหม่ หรือ “ไมเนอร์เชนจ์” เพราะสามารถตัดต้นทุนค่าเช่าที่ดินจาก 40-50 ล้านบาท เหลือไม่ถึง 10 ล้านบาท

ทำเลเป้าหมายมีตั้งแต่ใจกลางเมืองอย่างถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนสาทร ถนนสุขุมวิท และถนนเกษตร-นวมินทร์ เพื่อสร้างแบรนด์ให้โดดเด่นขึ้น สถานีบริการสวย ธุรกิจเสริมโฉมใหม่ ซึ่งยอดพจน์กล่าวกับผู้จัดการ 360 ํ ว่า บางจากยกระดับแล้ว ใส่สูท ไม่ใส่ม่อฮ่อม ไม่เชย เพื่อเติมเต็มทุกจุด โดยเฉพาะร้านค้าสะดวกซื้อ ซึ่งกลายเป็นจุดขายหลักของบริษัทน้ำมันทุกค่าย

ไม่ว่าจะเป็นค่าย ปตท. ที่มีทั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และร้านจิฟฟี่ หลังจากซื้อกิจการปั๊มเจ็ทและจิฟฟี่ช็อป 146 แห่ง จาก บริษัท โคโนโค ฟิลลิปส์ ในประเทศไทยทั้งหมดเมื่อปี 2550 หรือค่ายเอสโซ่ที่มีทั้งร้านไทเกอร์มาร์ทและได้พันธมิตรแข็งแกร่งอย่าง “เทสโก้ โลตัส” เข้ามาเปิด “เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส”

ปี 2552 ผลวิจัยของบางจากพบว่า ลูกค้าที่เข้าปั๊มบางจาก กลับไม่รู้ว่ามีมาร์ท ทั้งที่มีร้านเลมอนกรีนและร้านใบจาก เนื่องจากขาดความโดดเด่นและดูไม่ทันสมัย นั่นทำให้ต้องปรับภาพลักษณ์ของร้านใบจากทั้งภายในและภายนอก พร้อมกับใช้คำว่า “มาร์ท” เพื่อความเข้าใจมากขึ้น จาก “ร้านใบจาก” เป็น “ใบจากมาร์ท” และแนวคิด “We care to give ใบจากจากใจ” เพิ่ม สินค้าหลากหลายมากขึ้น และเลือกสินค้าที่มีจุดเด่น สินค้าพื้นถิ่นซึ่งหาซื้อได้เฉพาะที่ใบจากมาร์ท ซึ่งการปรับโฉมล่าสุดสามารถเพิ่มยอดขายจากเดิม 20-30% หรือเฉลี่ยจากวันละ 20,000 บาท เป็น 40,000 บาทต่อสาขา คิดเป็นรายได้รวมปีละ 700-800 ล้านบาท แต่หากเป็นไปตามแผน มินิบิ๊กซีจะสามารถสร้างยอดขายเพิ่มเป็นวันละ 60,000-80,000 บาทต่อสาขา และขยับไปแตะ 1 แสนบาทต่อสาขา นั่นหมายถึงส่วนแบ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

สำหรับที่มาที่ไปของการจับมือกันครั้งนี้ ยอดพจน์กล่าวว่า บิ๊กซีมีธุรกิจตลาดค้าปลีกทั้งซูเปอร์เซ็นเตอร์ ร้านขนาดย่อม และการซื้อกิจการคาร์ฟูร์ ทำให้มีความแข็งแกร่งไม่แพ้เทสโก้ โลตัส บิ๊กซีจึงมองหาพันธมิตรที่มีโอกาสขยายร้านขนาดเล็กที่เรียกว่า “มินิบิ๊กซี”

ในเมื่อเทสโก้ โลตัส มีเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส อยู่ในปั๊มเอสโซ่

จิฟฟี่และเซเว่น-อีเลฟเว่นอยู่ในปั๊ม ปตท.

แล้วทำไมมินิบิ๊กซีจะอยู่ในปั๊มน้ำมันไม่ได้

ถามว่าจะเลือกใครที่หน้าตาพอไหว บางจากจึงเป็นตัวเลือกที่มีความเป็นไปได้มากสุดและเกิด “โมเดล” ใหม่ของทั้งสองฝ่าย

โมเดลแรก บิ๊กซีจะพัฒนาพื้นที่ร้านสแตนด์อโลน ขนาด 150-160 ตร.ม. ในสถานีบริการน้ำมัน เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าในรูปแบบขับรถมาเติมน้ำมันและจับจ่ายซื้อสินค้า ขณะที่บางจากสามารถใช้มินิบิ๊กซีเป็นตัวต่อสู้กับบริษัทน้ำมันคู่แข่งที่มีปั๊มและร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ พื้นที่ 200-300 ตร.ม. ซึ่งใบจากมาร์ทสู้ไม่ได้ เพราะมีขนาดพื้นที่เพียง 80-100 ตร.ม.

โมเดลที่สอง บางจากสามารถขยายธุรกิจเสริมในสาขา “มินิบิ๊กซี” ย่านธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟอินทนิล หรือบริการล้างรถ “กรีนวอช” เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้จากกลุ่มนอนออยล์ตาม เป้า 20% และยังเป็นการเติมเต็มให้มินิบิ๊กซีเช่นเดียวกัน

แต่โจทย์ข้อสำคัญที่ตามมาคือ การปรับเปลี่ยนเอกลักษณ์ร้านค้าเพื่อชุมชน ร้านสุขภาพ ซึ่งสะท้อนเจตนารมณ์ตั้งแต่ครั้งก่อตั้งบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และคนไทยทั้งประเทศต่างรับรู้ภาพลักษณ์เหล่านี้จนกลายเป็น “คุณค่า” หนึ่ง ของปั๊มบางจาก

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ในสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เพื่อดำเนินงานกิจการโรงกลั่นบางจาก ซึ่งยึดคืนจากบริษัทซัมมิท อินดัสเตรียล คอร์ปอเรชั่น (ปานามา) ตามคำเรียกร้องของกลุ่มสหภาพแรงงาน และองค์กรนิสิตนักศึกษา โดยหวังให้โรงกลั่นแห่งนี้ผลิตน้ำมันในราคาที่เป็นธรรมแก่ประชาชนชาวไทย แต่ก็พ่วงมาด้วยปัญหาการขาดทุนสะสมสูงถึง 4,000 ล้านบาท

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดึงโสภณ สุภาพงษ์ จากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) มาบริหารบางจาก ใช้เวลา 5 ปี บางจากสามารถล้างขาดทุนฟื้นตัวจนได้กำไรปีละ 500-800 ล้านบาท ติด 1 ใน 10 บริษัท ที่มียอดขายสูงสุดของประเทศ และเป็นบริษัทน้ำมันที่ปลุกปั้นจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อม สนับสนุนวิถีการผลิตแบบชุมชน เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ โดยร่วมกับสหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี จัดตั้งปั๊มสหกรณ์แห่งแรก รวมถึงร้านค้าเพื่อชุมชน

“เลมอนกรีน” ร้านค้าเพื่อชุมชนแห่งแรกของบางจากเปิดตัวเมื่อปี 2537 เครื่องหมายการค้า ผลมะนาวลูกใหญ่สีเขียวและเหลือง จุดเด่นเรื่อง “Green Corner” จำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพจากชุมชน สามารถสร้างกระแสด้านการตลาดจนผู้คนเริ่มสนใจและนิยมสินค้าเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

ปี 2542 บางจากร่วมกับบริษัท มงคลชัยพัฒนา จำกัด จัดตั้งสหกรณ์เลมอนฟาร์มพัฒนา จำกัด เปิดร้านเลมอนฟาร์ม เพื่อดำเนินธุรกิจด้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรธรรมชาติ ที่ผลิตจากองค์กรชุมชนในชนบทและบริหารโดยองค์กรชุมชนอย่างแท้จริง

ขณะที่บางจากยังคงเดินหน้าขยายร้านเลมอนกรีนในสถานี บริการน้ำมันอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าและการแข่งขันด้านธุรกิจน้ำมันที่เริ่มหยิบเอา “ร้านสะดวกซื้อ” มาเป็นจุดขายหลัก เมื่อบริษัท โคโนโค ฟิลลิปส์ เข้ามาลงทุนเปิดสถานีบริการน้ำมันเจ็ทขนาดใหญ่และใช้ “ร้านจิฟฟี่” เป็นกลยุทธ์หลัก ทั้งสีสัน พื้นที่ขนาดใหญ่เกือบ 200 ตร.ม. สินค้าหลากหลายและบริการอาหารจานด่วนเอาใจนักเดินทาง โดยเน้นทำเลรอบนอกเมืองตามเส้นทางการเดินทางสู่จังหวัดต่างๆ

หมัดเด็ดของเจ็ท คือ “มาร์ทขายน้ำมัน” ประสบความสำเร็จ ลูกค้าชอบใจร้านจิฟฟี่ โดยเฉพาะเด็กๆ เพราะมีทั้งเมนูของว่างให้เลือกและของเล่นแก้เบื่อ

นั่นกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันไทย ทุกค่ายเริ่มหันมาสร้างร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ขึ้น มีสินค้าหลาก หลายประเภท และฟู้ดคอร์ท ทั้งชา กาแฟ แซนด์วิช ไส้กรอก รวมทั้งบางจากที่ต้องปรับตัวอย่างรุนแรง รีบวิจัยความต้องการของลูกค้าที่มีมากกว่าสินค้าชุมชน สินค้าเกษตร สินค้าเพื่อสุขภาพ ในร้านเลมอนกรีนแบบเดิมๆ

5 เมษายน 2545 บางจากเปิดตัวร้านใบจากสาขาแรกในสถานีบริการน้ำมันถนนนวมินทร์ (สุขาภิบาล 1) โดยชูแนวคิด “ร้านค้าเพื่อชุมชน” (Community Store) ร้านสะดวกซื้อของครอบครัวทันสมัยและช่องทางตลาดของชุมชน

“ร้านใบจากเกิดเพราะรัฐบาลเวลานั้นรณรงค์ปีแห่งการใช้สินค้าไทย และปัญหาด้านการแข่งขัน คือ เจ็ทเกิดและเจ็ทร้อยกว่าตัว ขนาดพื้นที่ 4-5 ไร่ สี่เหลี่ยมอย่างดี ร้านจิ๊ฟฟี่ขนาด 150-200 ตร.ม. ขายสินค้าสามสี่พันเอสเคยู กินเส้นทางหลักทั้งหมด ส่วนเลมอนกรีนเล็กๆ 50-60 ตร.ม.ไม่มีทางสู้ได้ ตอนนั้นบางจาก จึงเริ่มพัฒนาปั๊ม ใช้พื้นที่มากหน่อยในทำเลเอาต์บาวด์ อินบาวด์ เปิดร้านใบจากขนาด 150-160 ตร.ม. สู้กับเจ็ท สินค้ามากขึ้น มีฟู้ดคอร์เนอร์ ใส่ไส้กรอก เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคชอบเติมน้ำมัน เจ็ทแล้วเข้าจิฟฟี่ที่เหมือนเอามินิมาร์ทขนาดโตๆ ไว้ระหว่างทาง” ยอดพจน์กล่าว

แผนในเวลานั้น คือ เปิดร้านใบจากและขยายใบจากมาร์ท ทั้งลงทุนสร้างใหม่และปรับโฉมจากร้านเลมอนกรีนเดิม ซึ่งตามแผนจะยกเลิกแบรนด์ “เลมอนกรีน” ภายในปี 2556 เนื่องจากเลมอนกรีนมีบุคลิกส่วนตัวอยู่ที่สินค้าสุขภาพ ซึ่งมีปัญหาด้านการจัดจำหน่าย เพราะบูดเน่าง่าย ถ้าบริหารไม่ดีจะกลายเป็นสินค้าไม่มีคุณภาพ

ส่วน “เลมอนฟาร์ม” ล่าสุด สหกรณ์เลมอนฟาร์มพัฒนาให้บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด เป็นผู้บริหารงาน ซึ่งบางจากไม่มี หุ้นใดๆ ในบริษัทดังกล่าว สาขาที่อยู่ในปั๊มทั้ง 6 แห่ง จึงเปรียบเสมือนคู่ค้ารายหนึ่งของสถานีบริการ

แต่โรดแมพล่าสุดเปลี่ยนไป เมื่อบิ๊กซีเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตร ทำธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “มินิบิ๊กซี” โดยมีช่วงเวลาทดลองตลาด 6 เดือน หากยอดขายได้ตามเป้าหมาย บิ๊กซีจะเดินหน้าขยายสาขาตามเป้า 300 สาขา ภายใน 3 ปี ซึ่ง 300 สาขาอาจเข้ามาทดแทนร้านสะดวกซื้อทั้งหมดของบางจากภายใต้แบรนด์ “มินิบิ๊กซี” หรืออาจเป็น “โค-แบรนด์” ร่วมกัน ชื่อใดชื่อหนึ่งเพื่อให้หน้าตาน่าสนใจมากขึ้น

“บางจากกับบิ๊กซีแต่งงานกันแล้ว เหลือแต่ว่าจะไปด้วยกันได้ดีหรือไม่ ถ้ามินิบิ๊กซีประสบความสำเร็จ ปีหน้าการขยายสาขาเป็นร้อยก็คงเกิดและโตไปพร้อมๆ กับทำเลที่จะพัฒนา ใหม่ที่จำเป็นต้องมีมินิบิ๊กซี เขาอาจชี้ว่าทำเลนี้เขาต้องการ เรายอมถอดใบจากหรือไม่ ต้องตกลงเรื่องผลประโยชน์ แต่เบื้องต้นมีสองแบรนด์ ทั้งใบจากมาร์ทและมินิบิ๊กซี รอวัดผลจะถอดหรืออยู่ 6 เดือน”

ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี่เองที่ผู้บริหารบางจากพยายามคิดถึงความรู้สึกของลูกค้าเก่าๆ โดยเฉพาะวิถีธุรกิจเพื่อชุมชน ซึ่งยอดพจน์ในฐานะผู้บริหารที่ดูแลสายงานด้านการตลาดตั้งแต่ยุคเลมอนกรีน เลมอนฟาร์ม ร้านใบจาก จนมาถึงใบจากมาร์ท ยืนยันว่า บางจากยังรักษาความสนใจในเรื่องสินค้าพื้นถิ่น สินค้าชุมชน

การที่ใบจากมาร์ทมีบางส่วนเป็นมินิบิ๊กซีเป็นการเสริมกันมากกว่า ถ้ามีความชัดเจน ของรูปลักษณ์ ลูกค้าเข้าไปในมินิบิ๊กซีและเห็นจุดขายเรื่องสินค้าพื้นถิ่นเหมือนใบจากมาร์ท ถ้าสามารถสื่อสารทางการตลาดให้ผู้บริโภคเห็นจุดยืนและเข้าใจการเปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้องค์กรสามารถอยู่ในธุรกิจในการแข่งขันที่สูงขึ้น การผสมผสานระหว่างความเป็นตัวตนกับโนว์ฮาวใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงย่อมเป็นเรื่องที่ยอมรับได้

“ผมมองเป็นโอกาสในการทำธุรกิจในเชิงสร้างสรรค์ ที่พัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้นมากกว่าการขาดเอกลักษณ์ของตัวเอง เราเลือกคบคน ไม่ได้รู้สึกเสียดายแบรนด์ การทำให้องค์กร เรากำลังเลือกสิ่งที่ดีเพิ่มขึ้นไม่ได้ทิ้งจุดยืนของตัวเอง เรายังคงต้องรักษาสิ่งเหล่านี้ คนที่ชอบบางจากเพราะเขาชอบแบบนี้และเราเป็นบริษัทมหาชน เราต้องทำอย่างไรให้บริษัทเติบโตก้าวหน้า ในรูปแบบค้าปลีก ผู้บริโภคต้องการความสะดวกสบาย เราทำในสิ่งที่ เราทำได้ดีมากๆ เรื่องธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจน้ำมันเครื่อง โต 20-30% แต่บางอย่างเราทำมาเป็นสิบกว่าปีแต่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก เมื่อได้โอกาส เราควรขยายผล ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายและได้ประโยชน์กับผู้ใช้ ถ้าเขาแฮปปี้กับการเข้ามินิบิ๊กซีที่ยังมีความเป็นบางจากด้วย Why not”

ยิ่งไปกว่านั้น บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) มีบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้น 27.22% และเป้าหมาย แท้จริงไม่ใช่แย่งชิงลูกค้าหรือดึงส่วนแบ่งของ ปตท. แต่พุ่งไปที่บริษัทน้ำมันต่างชาติอย่าง “เอสโซ่” ซึ่งมาประจวบเหมาะกับบิ๊กซีที่ต้องการต่อสู้กับเทสโก้โลตัส

วันนี้ บางจากกำลังไมเนอร์เชนจ์ตัวเอง ถอด “ม่อฮ่อม” ใส่ “สูท” ตามกระแสการแข่งขันเชิงธุรกิจ

ทั้ง “รูปแบบ” และ “เนื้อหา” ล้วนเป็นก้าวย่างที่น่าติดตาม อย่างยิ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us