Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555
AEC No-Boundary Challenge             
โดย สุภัทธา สุขชู นภาพร ไชยขันแก้ว
 

 
Charts & Figures

ตารางเปรียบเทียบจำนวนสาขาของธนาคารในอาเซียน

   
related stories

มองทะลุมิติ AEC Financial
MayBank Moving Fast
CIMB Forward Banking
ก้าวย่างใน AEC ของแบงก์ไทยเบอร์ 1
AEC Model ในแบบกสิกรไทย

   
search resources

Banking and Finance
International
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน




จากตารางแสดงจำนวนสาขาในอาเซียนข้างต้น สะท้อนยุทธศาสตร์การเข้าสู่ตลาดอาเซียนของธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่งจาก 2 ประเทศ ได้แก่ เมย์แบงก์ และซีไอเอ็มบี ธนาคารอันดับ 1 และอันดับ 2 ของมาเลเซีย ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย ธนาคารอันดับ 1 และ 4 ของเมืองไทย

จะเห็นว่า เมย์แบงก์และซีไอเอ็มบีมีการยึดพื้นที่นอกประเทศอาเซียน มากกว่าธนาคาร 2 แห่งของไทย ทั้งนี้ เพราะแนวทางการขยายตัวของธนาคารมาเลเซียเป็นรูปแบบของการควบรวมกิจการ แม้ต้องใช้เงินทุนเยอะมาก แต่ก็แลกมาด้วยปริมาณสาขาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศนั้นๆ ซึ่งทำให้เป้าหมายในการเป็นผู้นำตลาดอาเซียนของทั้งธนาคารมาเลเซีย ทั้ง 2 แห่งชัดเจนขึ้นภายในเวลาอันรวดเร็ว

ทั้งนี้ แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้แบงก์ยักษ์ใหญ่ของมาเลเซียต้องก้าวออกมาขยายอาณาจักรภายนอกประเทศ เป็นเพราะตลาดมาเลเซียมีขนาดเล็กเกินไป และการก้าวออกมาสู่ตลาดที่ใหญ่กว่าจะเป็นแรงกดดันให้องค์กรต้องปรับตัวและปรับศักยภาพในการบริหารจัดการ เปรียบได้กับการแข่งฟุตบอล หากต้องการขยับจากลีกไทยไปสู่ลีกระดับภูมิภาค หรือลีกระดับโลก นักบอลต้องมีการฝึกฝนและพัฒนาตัวเองเพื่อให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล

ขณะเดียวกัน โครงสร้างธุรกิจของสถาบันการเงินของมาเลเซียก็มีความได้เปรียบ เนื่องจากมีองค์กรรัฐวิสาหกิจร่วมเป็นผู้ถือหุ้น นอกจากจะทำให้มีเงินทุนมาสนับสนุนในการขยายธุรกิจ รัฐวิสาหกิจเหล่านี้ยังใช้ธนาคารทั้ง 2 แห่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และส่งเสริมวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการผลักดันให้แบรนด์สินค้าและบริการของมาเลเซียครองตลาดอาเซียน

สำหรับธนาคารไทย กลับมียุทธศาสตร์ในการขยายสู่ตลาดอาเซียนที่ต่างกันออกไป ปัจจุบันทั้งธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทยจะติดตามไปให้บริการกับลูกค้าในประเทศที่มีฐานลูกค้าเข้าไปลงทุนอยู่แล้วหรือกำลังจะเข้าไปลงทุนในไม่ช้า ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่ค่อนข้างระมัดระวังในการขยายออกไปสู่ต่างประเทศ นี่จึงทำให้จำนวนสาขาในอาเซียนที่อยู่นอกประเทศแม่ มีจำนวนน้อยกว่าธนาคารมาเลเซียอย่างมีนัยสำคัญ

แต่ในอีกมุมมองด้านหนึ่ง ธนาคารพาณิชย์ไทยยังเชื่อว่าตลาดเงินและตลาดทุนภายในประเทศยังไปได้ดี พิจารณาจากรายได้และกำไรภายในประเทศยังเติบโต จึงทำให้ไม่มีแรงกดดันเหมือนดังเช่นมาเลเซีย

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ธนาคารไทยไม่สามารถเติบโตได้เท่าที่ควร น่าจะมาจากขาดแรงสนับสนุนจากภาครัฐที่ไม่มีนโยบายชัดเจน และรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จึงทำให้นโยบายของรัฐขาดความต่อเนื่อง

ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนตลาดอาเซียนของธนาคารไทยจึงเป็นในรูปแบบเชิงรับ ในขณะที่มาเลเซียมีนโยบายเชิงรุก กระนั้นก็ตาม คงไม่อาจบอกได้ว่ากลยุทธ์ใดประสบความสำเร็จได้มากกว่ากัน เพราะเส้นทางการเปิดเสรีทางด้านการเงินในตลาดอาเซียนในบริบทของกฎระเบียบยังไม่ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ และอาจต้องใช้เวลานานถึงปี 2563 ดังนั้นโอกาสยังเป็นของทุกคน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us