Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555
CIMB Forward Banking             
โดย สุภัทธา สุขชู นภาพร ไชยขันแก้ว
 

   
related stories

มองทะลุมิติ AEC Financial
MayBank Moving Fast
ก้าวย่างใน AEC ของแบงก์ไทยเบอร์ 1
AEC Model ในแบบกสิกรไทย
AEC No-Boundary Challenge

   
www resources

CIMB Group Homepage
โฮมเพจ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

Banking and Finance
CIMB Group
ธนาคารซีไอเอ็มบี
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน




“ที่นี่ต้อนรับคนทั่วโลก ที่นี่เทคโนโลยีล้ำสมัย ที่นี่กำลังซื้อมหาศาล ที่นี่เงินทุนหมุนเวียนสะพัด...”

Copy โฆษณาของ “ซีไอเอ็มบี” สะท้อนความเชื่อมั่นในพลังทุนของตลาดอาเซียน และศักยภาพของตนในการเป็น “ประตู” สู่อาเซียนด้วยจำนวนสาขาในอาเซียนที่มากที่สุด

ภาพใบหน้าหญิงสาว 10 คนเรียงกันเป็นแถบ ปรากฏบนเว็บไซต์ โปสเตอร์ แฟ้มเอกสาร และปกสมุดด้านในของ “ซีไอเอ็มบี” แม้ 10 สาวจะต่างเชื้อชาติ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ “ความเป็นอาเซียน”

ซีไอเอ็มบี เป็นแบงก์อันดับ 2 ของประเทศมาเลเซีย มีสินทรัพย์ 95,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และใหญ่เป็นอันดับ 4 ของธนาคารในภูมิภาคอาเซียน มีผู้ถือหุ้นหลัก ได้แก่ Khazanah Nasional Berhad ซึ่งเป็นบรรษัทเพื่อการลงทุนแห่งชาติของรัฐบาลมาเลเซีย ถือหุ้น 28.6% และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน หรือ EPF (Employees Provident Fund) ถือหุ้น 12.9%

สุภัค ศิวะรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอ เอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) ยืนยันว่า หากวัดด้วยความเป็น “แบงก์อาเซียน” เขามั่นใจว่า กลุ่มซีไอเอ็มบี น่าจะเป็นเบอร์หนึ่ง เพราะเป็นธนาคารในอาเซียนที่มีสาขามากที่สุดในภูมิภาคนี้ โดยกว่าครึ่งเป็นสาขาที่อยู่นอกประเทศแม่

ในประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ มีเพียงลาวและฟิลิปปินส์ที่ซีไอเอ็มบียังไม่ได้เข้าไป ใน 8 ประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจแล้ว มีเพียง 3 ประเทศ ได้แก่ พม่า, เวียดนาม และบรูไน ที่เป็นเพียงสำนักงานตัวแทน โดยใน 5 ประเทศที่เหลือ ซีไอเอ็มบี มีเครือข่ายสาขารวมกัน 1,117 สาขา (ณ สิ้นปี 2554)

ทันทีที่การเจรจากับกลุ่มซานมิเกวลเพื่อซื้อหุ้น Bank of Commerce ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางของฟิลิปปินส์ได้ข้อยุติ ซีไอเอ็มบีจะมีสาขาเพิ่มมาอีกไม่ต่ำกว่า 120 สาขา ขณะเดียวกันซีไอเอ็มบียังอยู่ระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารในเวียดนาม คาดว่าจะเสร็จสิ้นใน 1-2 ปีนี้

สำหรับโอกาสที่จะเข้าไปดำเนินธุรกิจในพม่าและลาว สุภัคก็เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากปีที่แล้ว ดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ราซัค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มซีไอเอ็มบี ก็เพิ่งเข้าพบรัฐบาลและอองซาน ซูจี นอกจากนี้ ซีไอเอ็มบียังได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกับธนาคารแห่งชาติของลาวอยู่เสมอ

ณ สิ้นปี 2554 กลุ่มซีไอเอ็มบีมีฐาน ลูกค้าใน 5 ประเทศ กว่า 15 ล้านคน อยู่ในมาเลเซีย 7.8 ล้านคน อินโดนีเซีย 4.2 ล้านคน ไทย 2.2 ล้านคน สิงคโปร์ ราว 0.277 ล้านคน และกัมพูชา 3,134 คน โดยมีพนักงานท้องถิ่นรวมกันทั้ง 5 ประเทศกว่า 38,000 คน

ปัจจุบันรายได้ของซีไอเอ็มบีที่มาจากนอกมาเลเซียมีสูงถึง 40-45% ของรายได้ทั้งกลุ่ม โดยรายได้จากอินโดนีเซียมีสัดส่วนสูงถึง 35-40% ของทั้งกลุ่ม

ก้าวกระโดดของซีไอเอ็มบีในตลาดอาเซียน เริ่มตั้งแต่ 8 ปีก่อน เมื่อธนาคารเข้าซื้อกิจการทางด้านหลักทรัพย์ของกลุ่ม Goh (GK Goh Securities) ในสิงคโปร์ อีก 3 ปีถัดมาจึงเข้าซื้อหุ้นธนาคาร Niaga และควบรวมกิจการกับ Lippo Bank ในอินโดนีเซีย จากนั้นไม่นานก็รุกเข้าสู่ประเทศไทย ด้วยการซื้อหุ้นไทยธนาคารจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “ซีไอเอ็มบี ไทย” ในปี 2552

“กลยุทธ์ของซีไอเอ็มบี ฉลาด พอมองว่าตลาดมาเลเซียเล็กเกินไป เขาก็เปลี่ยนวิธีคิดจากที่มองว่าตัวเองเป็นแบงก์มาเลเซีย ก็เปลี่ยนเป็นแบงก์อาเซียน หมายความว่าเขาต้องไปอยู่ในประเทศอาเซียนที่มีเศรษฐกิจใหญ่ แล้วเขาก็เลือกออกมาตอนที่ตัวเองแข็งแรงมาก ไปซื้อกิจการที่อ่อนแอในประเทศอื่น” สุภัคแสดงความเห็น

ทันทีที่ไทยธนาคารเปลี่ยนเป็นซีไอเอ็มบี ไทย ปีแรกก็กลับมามีกำไรถึง 60 ล้านบาท ปีที่ 2 กำไรเพิ่มขึ้นเป็น 800 ล้านบาท ปีที่แล้วมีกำไรร่วม 1.4 พันล้านบาท แต่เป็นสัดส่วนกำไรเพียง 2% ในกำไรของทั้งกลุ่ม โดยภาระหนักของสุภัคคือต้องเพิ่มสัดส่วนกำไรเป็น 10-15% ของทั้งกลุ่ม ภายในปี 2558

นอกจากการขยายสาขา ซีไอเอ็มบี ให้เดินหน้าไปสู่การเป็น “แบงก์อาเซียนชั้นนำ” อีกก้าว ด้วยการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์หลัก (Core Banking System) ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ภายใต้โครงการ “1 Platform” ซึ่งใช้เงินทุนกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ 2 ปีก่อน เริ่มจากไทย ตามด้วยมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ตามลำดับ โดยกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2558

ระบบไอทีเป็นกลไกสำคัญที่เชื่อมโยงซีไอเอ็มบีในทุกประเทศอาเซียนให้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่แสดงถึงศักยภาพของกลุ่มได้ชัดเจนที่สุด คือ CIMB ATM Regional Link ที่ช่วยให้ลูกค้าซีไอเอ็มบีในมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย ใช้บัตรเอทีเอ็มซีไอเอ็มบีเบิกเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็ม 3,750 เครื่อง ใน 4 ประเทศนี้เป็นเงินสกุลประเทศนั้นๆ ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม

สุภัคเล่าถึงภาพกลุ่มซีไอเอ็มบีต่อจากนี้ คือการตอกย้ำความเป็นแบงก์อาเซียนในมิติของการเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างเครือข่ายในอาเซียนให้มากขึ้น เช่น การออกผลิตภัณฑ์ที่อาศัยศักยภาพของกลุ่ม อาทิ ออกหุ้นกู้สกุลอาเซียนหลายสกุลให้กับบริษัทขนาดใหญ่ เป็นต้น

“ช่วงแรกคือ การออกมาขยายปูพรมเหมือนซีไอเอ็มบีไปปรับตัว ฝังราก ปรับปรุง ศักยภาพ ตอนนี้เป็นเฟส 2 คือ ทำอย่างไรให้กลุ่มได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น เราเริ่มทำแล้วด้วยการนำนักธุรกิจไทยไปประเทศอื่นในอาเซียน”

ยกตัวอย่าง การนำหุ้นศรีตรังเข้าไปลิสต์ในตลาดหุ้นสิงคโปร์ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างซีไอเอ็มบีไทยกับสิงคโปร์ และการออก “ซุกกุกบอนด์” ในตลาดต่างประเทศ ของ ปตท. เพื่อรองรับโครงการแก๊สที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งซีไอเอ็มบีกรุ๊ปเป็นผู้ทำให้ รวมถึงการส่งต่อลูกค้ารายใหญ่อย่างซีพีเอฟให้กับกรุ๊ปจนลงเอยที่ดีลกู้เงินหลายพันล้านบาท

สำหรับข่าวการซื้อกิจการธุรกิจวาณิชธนกิจในฮ่องกง ไต้หวัน ออสเตรเลีย และอินเดีย จาก Royal Bank of Scotland (RBS) เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา สุภัคมองว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้ทำให้ซีไอเอ็มบีมีฐานธุรกิจในเอเชียอย่างเพียงพอ เพื่อต่อยอดให้ธุรกิจในอาเซียนที่มองไปนอกภูมิภาค ขณะเดียวกันก็เป็น “สปริงบอร์ด” นำธุรกิจนอกอาเซียนเข้ามาสู่ภูมิภาคนี้

สอดคล้องกับสิ่งที่ซีอีโอแห่งซีไอเอ็มบีกรุ๊ป พูดไว้ก่อนหน้านี้ว่า ซีไอเอ็มบีจะก้าวสู่ศตวรรษแห่งอาเซียนไม่ได้เลย หากปราศจากการขับเคลื่อนโดยธุรกิจในอาเซียน และขับเคลื่อนส่วนอื่นของเอเชียข้ามพรมแดนมาสู่อาเซียน

จากหลายความพยายามที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าทั้งซีอีโอของซีไอเอ็มบีกรุ๊ปและซีไอเอ็มบีไทยจะเชื่อตรงกันว่า ด้วยจุดยืนของธนาคารอาเซียนที่รู้จักอาเซียนดีที่สุด และมีพลังในการเชื่อมโยงอาเซียนมากที่สุด ในปี 2015 ซีไอเอ็มบีน่าจะก้าวขึ้นเป็นแบงก์อาเซียนอันดับ 1 ในหัวใจของนักลงทุนและธุรกิจที่สนใจภูมิภาคนี้ได้ไม่ยาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us