Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555
Arab Spring สิ้นมนต์ขลัง             
 


   
search resources

Political and Government




การลุกฮือของประชาชนในโลกอาหรับผ่านไป 1 ปีแล้ว แต่ประชาธิปไตยกลับยังคงไม่อาจลงหลักปักฐานในโลกอาหรับได้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

1 ปีผ่านไปแล้ว สำหรับการลุกฮือของประชาชนในหลายประเทศในโลกอาหรับ ที่เรียกกันว่า Arab Spring ซึ่งเคยทำให้โลกต้องจับตามองภูมิภาคนี้อย่างตื่นเต้น และจินตนาการบรรเจิดว่าจะต้องได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีในโลกอาหรับ แต่มาบัดนี้ดูเหมือนว่า Arab Spring จะไม่ได้ให้ความหวังที่งดงามเท่าที่คิด ความหวังที่จะเห็นการเกิดใหม่ของเสรีภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง ดูหม่นหมองลงไปมาก เมื่อเทียบกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นซึ่งมีแต่ความยุ่งยากลำบาก โดยเฉพาะในอียิปต์ ซึ่งมีทั้งการทำร้าย ชาวคริสต์ ทำร้ายเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ต่างชาติจากตะวันตก และทำร้ายผู้หญิง ยิ่งเมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีในอียิปต์กำลังใกล้เข้ามาทุกที เราได้เห็นผู้สมัคร 2 คนที่ล้วนแต่มาจากพรรคการเมืองมุสลิม คือ Khairat al-Shater และ Hazem Salah Abu Ismail โดยคนแรกเป็นพวกสายกลาง ส่วนคนหลังเป็นพวกหัวรุนแรง แม้ว่าสิ่งที่เราเห็นว่ากำลังเกิดขึ้นในโลกอาหรับในขณะนี้ อาจเป็นเพียงความสับสนอลหม่านเพียงชั่วคราว ซึ่งย่อมเกิดขึ้นได้ หลังจากการสิ้นสุดยุคเผด็จการที่ครองอำนาจมานานหลายทศวรรษ และการที่เพิ่งผงาดขึ้นมาของพลังที่ถูกกดขี่ไว้มานาน แต่คำถามมีอยู่ว่า ทำไมจึงดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากนักที่ประชาธิปไตยจะลงหลักปักฐานลงในโลกอาหรับ

ศาสตราจารย์ Eric Chaney ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทำการศึกษาที่อาจช่วยตอบคำถามข้างต้นได้ Chaney ตั้งคำถามว่า ทำไมจึงเกิด “ประชา ธิปไตยขาดดุล” (democracy deficit) ขึ้นในโลกอาหรับ และได้หักล้างทฤษฎีหลายอย่างที่ไม่ใช่คำตอบของคำถามข้างต้น อย่างเช่น การโทษศาสนาอิสลาม หรือวัฒนธรรมอาหรับ ศาสตราจารย์ Chaney ชี้ว่า ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม อย่างตุรกี อินโดนีเซีย แอลเบเนีย บังกลาเทศ และมาเลเซีย ต่างก็สามารถมีระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งได้ ดังนั้น จึงไม่อาจโทษศาสนาอิสลามหรือวัฒนธรรมมุสลิมแต่เพียงอย่างเดียวได้

เขายังได้ศึกษาชาติอาหรับที่ร่ำรวยน้ำมัน พบว่า บางชาติที่มีแหล่งสำรองน้ำมันมหาศาลก็ไม่มีประชาธิปไตย (ซาอุดีอาระเบีย) แต่บางชาติที่ไม่ได้ร่ำรวยน้ำมัน (ซีเรีย) ก็ขาดประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน ส่วนทฤษฎีที่ว่า หรือว่าจะเป็นเพราะวัฒนธรรมอาหรับ ที่เป็นสาเหตุของการขาดดุลประชาธิปไตยในโลกอาหรับ แต่ Chaney ชี้ว่า หลายชาติที่เป็นชาติเพื่อนบ้านของอาหรับ แต่ไม่ได้เป็นอาหรับ ก็มีอาการประชาธิปไตยขาดดุลเช่นเดียวกัน ชาติเหล่านี้ก็อย่างเช่น ชาด อิหร่าน อาเซอร์ไบจัน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน

Chaney จึงตั้งสมมุติฐานของเขาขึ้นมาใหม่ โดยอิงกับประวัติศาสตร์ยุคโบราณ และเศรษฐศาสตร์ในยุคสมัยใหม่ว่า สมมุติฐานของเขาคือ เขาพบว่าอาการประชาธิปไตยขาดดุลนั้น มักเกิดขึ้นในดินแดนที่เคยถูกกองทัพอาหรับพิชิตได้ โดยจักรวรรดิอาหรับได้แผ่ขยายอาณาเขต หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของพระศาสดามูฮัมหมัดแห่งศาสนาอิสลามเมื่อปี ค.ศ.632 และดินแดนซึ่งเคยถูกอาหรับยึดครองในศตวรรษที่ 12 นั้น จนถึงบัดนี้ก็ยังคงไม่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมาจนถึงทุกวันนี้ และ Chaney บอกว่า นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

นักวิชาการหลายยุคหลายสมัยตั้งแต่ Montesquieu ลงมาจนถึง Bernard Lewis ได้เคยชี้ไว้แล้วว่า มีอะไรบางอย่างในระบบการเมืองของจักรวรรดิอาหรับ ที่ดูเหมือนจะ “วางยาพิษ” ที่ขัดขวางการสร้างพหุนิยมทางเศรษฐกิจ (economic pluralism) การปกครองโดยจักรวรรดิอาหรับมักจะมีลักษณะของอำนาจทางการเมืองแบบรวมศูนย์ ภาคประชาสังคมอ่อนแอ มีชนชั้นพ่อค้าที่ต้องคอยพึ่งพิงรัฐ การที่รัฐมีบทบาทอย่างมากในระบบเศรษฐกิจของประเทศ Chaney ยังศึกษาพบว่า ในประเทศที่ถูกพิชิตโดยกองทัพอาหรับนั้น รัฐบาลมีสัดส่วนใน GDP สูงกว่าประเทศที่ไม่ได้ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิอาหรับประมาณ 7% โดยเฉลี่ย Chaney พบอีกว่า ประเทศที่ถูกยึดครองโดยกองทัพอาหรับ มักจะมีสหภาพแรงงานน้อยแห่ง และเข้าถึงสินเชื่อได้น้อย ซึ่งแสดงว่าภาคประชาสังคมไม่เข้มแข็ง

นอกจากนี้ ประเทศที่เคยถูกอาหรับยึดครองยังขาดภาคส่วนที่อยู่ตรงกลาง เห็นได้ชัดเจนว่า ผู้นำเผด็จการในภูมิภาคตะวันออกกลางได้สร้างความเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดแนบแน่นกับผู้นำทางศาสนา ทั้งนี้ก็เพื่อจะกีดกันผู้นำอื่นๆ และกลุ่มอื่นๆ ให้ออกไปจากวงจรอำนาจ เมื่อบวกกับภาคประชาสังคมที่อ่อนแออยู่แล้วตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาจึงเกิดเป็นระบบการเมืองที่มีเพียงข้างเดียว กล่าวคือพรรคการเมืองที่อิงศาสนานั้นมีความได้เปรียบทั้งในด้านการเป็นผู้นำทางอุดมการณ์ มีความได้เปรียบในความเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง และสิ่งที่อาจจะสำคัญที่สุดคือ การไร้คู่แข่งทางการเมืองไปโดยปริยาย อินโดนีเซียก็มีพรรคการเมืองที่อิงศาสนาหลายพรรคเช่นเดียวกับอียิปต์ แต่ทว่า อินโดนีเซียยังมีกลุ่มอำนาจอื่นๆ อีกหลายกลุ่มที่ไม่ได้อิงศาสนา มีกลุ่มที่เป็นสายกลาง แม้แต่เป็นพรรคการเมืองที่ไม่อิงกับศาสนาเลย และทุกกลุ่มการเมืองในอินโดนีเซียเหล่านี้ ต่างต้องแข่งขันกันบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยในโลกอาหรับ

ดังนั้น ปัญหาที่แท้จริงในชาติอาหรับอย่างเช่นอียิปต์ก็คือ กองทัพยังคงพยายามจะรวมศูนย์อำนาจไว้ในมือ ไม่ยอมแบ่งแยก และไม่ยอมให้ตรวจสอบ นอกจากนี้ กองทัพยังรักษาการมีบทบาทหลักในเศรษฐกิจเอาไว้อีกด้วย แม้กระทั่งเมื่อกองทัพของชาติในโลกอาหรับยอมปล่อยเสรีการควบคุมเศรษฐกิจ แต่ก็ยอมปล่อยให้ แก่พรรคพวกเพื่อนฝูงญาติพี่น้องของตนเท่านั้น ดังนั้น ปัญหาใหญ่ ในโลกอาหรับจึงยังคงเป็นการสร้างภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง ซึ่งหมายความว่า พรรคการเมือง และรวมไปถึงภาคธุรกิจเอกชน จะต้องพึ่งตนเองได้และเข้มแข็งด้วย คำว่าประชาสังคมนั้น เป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วง “ยุคสว่างของสกอตแลนด์” (Scottish Enlighten-ment) เพื่อใช้อธิบายกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจเอกชน เป็นพลังที่เป็นอิสระ และอยู่ระหว่างรัฐบาลกับครัวเรือน แต่ในภูมิภาคตะวัน ออกกลางปัจจุบัน ทั้งรัฐบาลและครัวเรือนต่างเข้มแข็ง แต่ทุกๆ สิ่งที่อยู่ตรงกลางระหว่างรัฐบาลกับครัวเรือน ยังคงอยู่ในสภาวะที่ด้อยพัฒนามาก

ถึงแม้ว่าการที่โลกอาหรับมีอาการประชาธิปไตยขาดดุล เป็นปัญหาที่มีรากเหง้าย้อนกลับไปถึงประวัติศาสตร์โบราณนับเป็นพันๆ ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า โลกอาหรับจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ศาสตราจารย์ Chaney ไม่ได้สรุปว่า ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ อย่างเช่นวัฒนธรรมหรือศาสนา เป็นรากเหง้าของปัญหาดังกล่าว แต่ประวัติศาสตร์ รวมถึงนิสัยความเคยชินที่ตกทอดมาจากประวัติศาสตร์นั้นต่างหาก ที่เป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของการหยั่งรากประชาธิปไตยลงในโลกอาหรับ ถ้าหากว่าโครงสร้างทางการเมืองและการออกแบบสถาบันทางการเมือง คือสิ่งที่ควรถูกกล่าวโทษ ถ้าเช่นนั้นหากทั้ง 2 สิ่งนี้เปลี่ยนแปลงไป สถานการณ์ในโลกอาหรับ ก็ย่อมจะดีขึ้นตามไปด้วย ถึงแม้ว่านี่อาจเป็นละครชุดที่ต้องดูกัน ยาวๆ แต่อย่างน้อยก็ให้รู้ว่า ปัญหานี้ยังมียารักษาได้

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง ไทม์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us