Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2527
การลดค่าเงินบาทในอดีตของไทย การลดค่าเงินคือการถูกทำโทษ             
 


   
search resources

International Monetary Fund (IMF)
Economics




คนที่เคยศึกษาประวัติศาสตร์การเงินของประเทศไทยคงจะทราบว่า ระบบการเงินของไทยนั้น เป็นระบบที่มีความแน่นอนมั่นคงไม่เลวทีเดียว กล่าวคือ เป็นระบบที่ใช้เงินเป็นมาตรฐาน ที่ศัพท์ทางการเงินเรียกว่า "มาตราเงิน"(Silver Standard) มาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว โดยถือเอาเงินพดด้วงบ้าง เงินฮางบ้าง เป็นหน่วยมาตรฐาน และมีเบี้ยเป็นเงินปลีก ซึ่งเงินหน่วยมาตรฐานและเงินปลีกเหล่านี้ได้พัฒนาเรื่อยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น โดยตัวเงินที่เป็นหน่วยมาตรฐานทำด้วยเนื้อเงินจริงๆ ด้วยเหตุนี้เราจึงเรียกมันว่า "เงิน" เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

คงมีแต่เงินปลีกเท่านั้นที่มิได้ทำด้วยเนื้อเงิน หากใช้หอยเบี้ยบ้าง เหรียญทองแดงบ้าง ซึ่งมีหลายขนาด ชนิดต่างๆ ของเงินเหรียญมีราคาจากต่ำไปหาสูง ดังนี้คือ โสฬส, อัฐ, เสี้ยว, ซีก, เฟื้อง, (ทั้งหมดทำด้วยทองแดง), สลึง, บาท, ตำลึง, ชั่ง ทำด้วยเนื้อเงิน แค่เหรียญบาท แล้วต่อไปก็ 4 บาท เป็น 1ตำลึง, 20 ตำลึง เป็น 1 ชั่ง

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัฐบาลสยามยังใช้ "มาตราเงิน" เป็นมาตรฐานในระบบเงินตราสยาม และในการกำหนด "ค่าแลกเปลี่ยน" หรือ "ค่าปริวรรต" (Exchange Value) ของเงินก็ยังคงถือเอาปริมาณเนื้อเงินของเหรียญบาทมาเทียบค่ากับเนื้อเงินของเงินตราต่างประเทศในสมัยนั้น

ตัวอย่างเช่น เมื่อเอาเนื้อเงินของเหรียญดอลลาร์เม็กซิโกมาเปรียบเทียบกับเนื้อ
เงินของเหรียญบาทไทยแล้วก็ปรากฏว่าเงิน 3 ดอลลาร์ของเม็กซิโกมีค่าเท่ากับเงินเหรียญบาทสยาม 5 บาท

ดังนั้น เมื่อธนาคารในกรุงสยามเวลานั้นต้องการเอาเงินตราสยามไปใช้จ่าย ก็ต้องเอาเหรียญเงินเม็กซิโกไปแลกเอาเหรียญเงินบาท และเงินปลีกตามอัตราราคาดังกล่าว

ส่วนการเทียบค่าของเงินเหรียญบาทสยามกับเงินตราต่างประเทศสำหรับประเทศที่ถือมาตราทองคำนั้น เช่น เงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ เงินเหรียญดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ก็ให้คำนวณปริมาณเนื้อทองในเงินเหรียญของสกุลนั้นๆ เทียบค่าออกมาเป็นราคาเงินเสียก่อน แล้วจึงคิดอัตราแลกเปลี่ยนออกมาตามปริมาณเนื้อเงินเหรียญบาทของสยาม

ที่กล่าวมานั้น เป็นสภาพการที่เป็นมาอย่างราบรื่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 ย้อนหลังขึ้นไป แต่แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414 เป็นต้นมา สถานการณ์ปั่นป่วนเริ่มก่อตัวขึ้นมา โดยมีการขุดพบแร่เงินกันมากขึ้นทำให้มีผู้ผลิตเหรียญเงินออกมาใช้กันมาก จนส่งผลกระทบกระเทือนไปยังประเทศที่ใช้ "มาตราเงิน" ในระบบการเงินของตน แปลว่าระบบเหรียญเงินกำลังประสบกับปัญหาเงินเฟ้อเข้าให้แล้ว

สยามเริ่มเข้าสู่มาตราทองคำ

จากวิกฤตการณ์ของการใช้มาตราเงินดังกล่าว รัฐบาลสยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยคำแนะนำช่วยเหลือของที่ปรึกษาชาวอังกฤษ ประจำกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จึงได้เริ่มจัดระบบการเงินเสียใหม่ ด้วยการออกจาก "มาตราเงิน" เข้าสู่ "มาตราทองคำ" (Gold Standard) โดยเลิกรับแลกเปลี่ยนเหรียญเงินดอลลาร์เม็กซิโกอย่างที่แล้วๆ มาเป็นรับแลกเปลี่ยนเหรียญทองปอนด์สเตอร์ลิงที่นำเข้าบัญชีของรัฐบาลสยาม ในกรุงลอนดอน แล้วให้ธนาคารมารับเงินบาทจากกรมพระคลังของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

ทั้งนี้ ได้เริ่มปฏิบัติตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2445 เป็นต้นมาเพื่อรักษาค่าของเงินบาทไม่ให้ตกต่ำลงไปอีก ด้วยการเชื่อมโยงค่าของเงินบาทสยามไว้กับค่าของเงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ ในอัตรา 17 บาท ต่อ 1 ปอนด์สเตอร์ลิง

อย่างไรก็ดี เนื่องจากการเข้าสู่มาตราทองคำของรัฐบาลสยามในตอนนั้น เป็นช่วงระยะของการทดลอง โดยอาศัยการผูกค่าของเงินบาทไว้กับเงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ

แต่เนื่องจากพลังทางเศรษฐกิจของไทยยังไม่เทียบได้กับพลังเศรษฐกิจของอังกฤษ ค่าแลกเปลี่ยนของเงินบาทสยามกับเงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ จึงขึ้นๆ ลงๆ ผันแปรไปตามตลาดการเงินของอังกฤษ

โดยในระยะแรกๆ ปรากฏว่าเงินบาทสยามมีค่ามากถึงกับมีอัตราแลกเปลี่ยนเป็น 8 บาท ต่อ 1 ปอนด์สเตอร์ลิง (ในปี พ.ศ. 2414) แต่ต่อมาเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2445 ค่าของเงินบาทไทยในตลาดการเงินกลับตกต่ำลงมาเป็น 21 บาทต่อ 1ปอนด์สเตอร์ลิง

เหตุที่ค่าของเงินบาทตกต่ำลงเช่นนั้นก็เพราะรัฐบาลสยามในสมัยนั้นยังไม่มีทุนสำรองทองคำหรือเหรียญทองปอนด์สเตอร์ลิง มากพอที่จะนำออกมารับซื้อขายแลกเปลี่ยนกับเงินบาทได้ประกอบกับอุปสงค์เงินบาทยังมีน้อย ค่าแลกเปลี่ยนของเงินบาทจึงได้ตกต่ำลงไปดังกล่าวแล้ว ด้วยเหตุนี้เพื่อให้การใช้ "มาตราทองคำ" ของสยามมีระบบที่มั่นคงแข็งแรง รัฐบาลในสมัยนั้นจึงได้ตราพระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ. 127 ออกมาใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 เพื่อเปลี่ยนระบบการเงินจาก มาตราเงินเข้าสู่มาตราทองคำตามหลักสากลนิยมของสมัยนั้นอย่างจริงจัง

และโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ออกประกาศกำหนด "ค่าทองคำ" ของเงิน 1 บาทให้มีค่าเท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก 55.8 เซนติกรัม

และด้วยการเทียบกับค่าทองคำของเงินปอนด์สเตอร์ลิง ก็กำหนดให้เงินสยาม 13 บาทมีค่าเท่ากับเงินอังกฤษ 1 ปอนด์สเตอร์ลิง พร้อมกันนั้นก็มีการจัดตั้งทุนสำรองทองคำขึ้นไว้ด้วย เพื่อรักษาค่าของเงินบาทสยาม และรักษาค่าแลกเปลี่ยนต่างประเทศของเงินบาทให้อยู่ในอัตราที่มั่นคงแน่นอน ระบบการเงินของสยามในสมัยนั้นนับว่ามั่นคงแน่นอนและมีเสถียรภาพมากที่สุด

การลดค่าของเงินสมัยมาตราทองคำ

ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2455-2460) ระบบจักรวรรดินิยมของประเทศมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมยังมีอยู่ ประเทศมหาอำนาจอุตสาหกรรมที่มีเมืองขึ้นและเมืองอาณานิคมของตนเอง จึงมักทำการค้าระหว่างประเทศภายในอาณาจักรแห่งระบบจักรวรรดิของตนเช่น อังกฤษ ก็ทำการค้าระหว่างประเทศภายในอาณาจักรแห่งระบบจักรวรรดิของตน ฝรั่งเศส ก็ทำการค้าภายในอาณาจักรจักรวรรดินิยมของตน ฮอลันดา หรือดัตช์ ก็ทำการค้าภายในจักรวรรดินิยมของตน ฯลฯ ดังนั้น ปัญหาการชำระดุลการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในแต่ละอาณาจักรจักรวรรดินิยม จึงทำกันที่ธนาคารในนครหลวง อันเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดินิยมนั้นๆ เช่น จักรวรรดินิยมอังกฤษ ก็ชำระดุลการค้าส่วนที่ขาดดุล-เกินดุล กันที่ธนาคารในกรุงลอนดอน

จักรวรรดินิยมฝรั่งเศสก็ทำกันในกรุงปารีส

จักรวรรดินิยมฮอลันดาก็ทำกันในกรุงอัมสเตอร์ดัม เป็นต้น นานๆ สักครั้ง จึงจะมีการค้าระหว่างจักรวรรดิกับจักรวรรดิกัน ฉะนั้นปัญหาเกี่ยวกับการชำระเงินตามดุลการค้า จึงไม่ค่อยมี

สำหรับประเทศสยามนั้นแม้จะมิได้เป็นเมืองขึ้นหรือเมืองอาณานิคมของมหาอำนาจอุตสาหกรรมใดก็ตาม แต่ในด้านการค้าต่างประเทศแล้ว ผู้ที่มีอำนาจอิทธิพลมากที่สุด ก็ได้แก่ อังกฤษกับฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้ ธนาคารอังกฤษ (คือ ธนาคารฮ่องกงและเชี่ยงไฮ้ แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น) กับธนาคารของฝรั่งเศส (คือ ธนาคารบังก์เดอ แล็ง โดชิน) จึงเป็นธนาคารแรกที่เข้ามาตั้งขึ้นในกรุงเทพฯ

แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจากกรุงสยามในสมัยนั้น เป็นประเทศกสิกรรม 100% พลเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน การค้าต่างประเทศทั้งหมดจึงอยู่ในกำมือของพ่อค้าอังกฤษกับพ่อค้าฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก และโดยที่พ่อค้าทั้ง 2 ชาตินี้มีธนาคารของตนเองอยู่แล้วในกรุงเทพฯ การหักบัญชีชำระเงินทางการค้าจึงทำกันโดยผ่านธนาคารของประเทศพ่อค้าเหล่านั้น

วัตถุทางการค้าระหว่างประเทศของกรุงสยามที่พ่อค้าอังกฤษและฝรั่งเศสใช้ในการส่งออก ก็ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่สำคัญได้แก่ข้าว ต่อมาก็มียางและแร่ดีบุก ส่วนสินค้าเข้าก็มีสินค้าทางอุตสาหกรรม แต่ก็มีไม่มากนัก เนื่องจากอุปสงค์ยังมีน้อย ผู้ที่ต้องการสินค้าประเภทนี้ก็มีแต่เจ้านายในรั้วในวัง และพวกอำมาตย์ราชบริพารชั้นสูงเท่านั้น กรุงสยามจึงมีแต่สินค้าออกมากกว่าสินค้าเข้าอยู่ตลอดเวลา คือมีดุลการค้าเกินดุล

เมื่อสภาพทางเศรษฐกิจการค้าเป็นเช่นนี้ความจำเป็นที่จะต้องลดค่าของเงินบาท จึงไม่มี จนกระทั่งมาถึงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมในสงครามโลกดังกล่าวอันมี อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ฝ่ายหนึ่งกับเยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี และตุรกี อีกฝ่ายหนึ่ง ต่างประสบกับภาวะวิกฤต ซึ่งส่งผลกระทบมาถึงกรุงสยามในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ต่อกับต้นรัชกาลที่ 7

จากวิกฤตการณ์ดังกล่าวนั้นเองเพื่อพยุงฐานะทางการเงินเอาไว้ อังกฤษจึงได้ลดค่าทองคำแห่งเงินปอนด์สเตอร์ลิงของตนลงมา

เงินบาทของสยามแม้จะยึดค่าตามมาตราทองคำก็ตาม แต่เนื่องจากในช่วงนั้น ราคาทองคำในตลาดลอนดอนสูงขึ้น ประกอบกับเงินบาทไทยผูกค่าต่างประเทศไว้กับปอนด์สเตอร์ลิง ฉะนั้นเมื่อเงินปอนด์สเตอร์ลิงลดค่าลงมา ที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติของกรุงสยามในสมัยนั้น ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ จึงแนะนำให้รัฐบาลสยามลดค่าทองคำของเงินบาทลงมาตามอย่างเงินปอนด์ของอังกฤษด้วย

พอจะกล่าวได้ว่าพอลดค่าเงินบาทของไทยในสมัยที่ไทยถือมาตราทองคำนั้น ไม่ใช่ลดลง เนื่องจากสาเหตุของการขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงินแต่อย่างใด

หากลดลงเพราะราคามาตรฐานของทองคำสูงขึ้น หรือไม่ก็ลดลงเพราะเงินตราของประเทศที่เงินบาทไทยไปผูกค่าอยู่ด้วยนั้น (คือเงินปอนด์สเตอร์ลิง และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 เป็นต้นมาได้ไปผูกค่าไว้กับเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ ด้วย โดยคำนวณตามปริมาณทองคำบริสุทธิ์ของเหรียญดอลลาร์สหรัฐ) ได้ลดลง ดังกรณีวิกฤตการณ์หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ดังได้กล่าวมาแล้ว กลับลดลงอีก 1 หรือ 2 ครั้ง ก่อนหน้าจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2

เพราะฉะนั้นการลดค่าของเงินบาทไทยในสมัยโน้นจึงไม่ค่อยมีการกระทำกันบ่อยนัก ค่าของเงินบาทไทยจึงมีเสถียรภาพมั่นคงมานานแสนนาน ผู้เขียนจำได้ว่า ในสมัยโน้น ก๋วยเตี๋ยวชามละ 3 สตางค์ ตั้งแต่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมต้นมาจนกระทั่งเข้าเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย
การลดค่าเงินบาท สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติและสถาบันการเงินขึ้นมา 2 สถาบัน คือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศ และจัดสรรเงินสำรองให้แก่ประเทศสมาชิกเพื่อใช้จ่ายในการชำระเงินตามดุลชำระเงินระหว่างประเทศ และธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาการหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ธนาคารโลก (World Bank) เพื่อให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศสมาชิกในการใช้จ่ายเพื่อบูรณะและพัฒนาการหลังสงคราม

บรรดาประเทศที่เป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ต่างยึดมั่นตามกติกาหรือกฎบัตรของสถาบันที่เรียกกันว่า "สัญญาแบรตตัน วู้ด" ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกใช้ระบบเงินตราเป็น "มาตราทองคำ" โดยแต่ละประเทศจะต้องมีทองคำสำรองเงินตราของตน ตามจำนวนที่จำเป็น และมอบอำนาจให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีอำนาจโอนทองคำสำรองของประเทศที่มีดุลชำระเงินขาดดุล เข้าไปในกองทุนเพื่อจัดชำระให้แก่ประเทศที่มีดุลชำระเงินเกินดุลต่อไป

การใช้มาตราทองคำระหว่างประเทศตามสัญญาแบรตตัน วู้ด ได้ดำเนินมาด้วยความเรียบร้อย ในระยะเวลาร่วม 20 ปี จนกระทั่งภาวะตลาดทองคำเกิดความปั่นป่วน ทำให้เป็นการยากที่จะกำหนดราคามาตรฐานที่แน่นอนของทองคำได้ สถาบันกองทุนการเงินระหว่างประเทศจึงได้เปลี่ยนระบบการเงินระหว่างประเทศจาก "มาตราทองคำ" มาเป็น "สิทธิเบิกถอนพิเศษ" (Specail Drawing Right) ที่มักเรียกกันว่า "ทองคำกระดาษ" ที่กำหนดค่ากันขึ้นมา และใช้เป็น "เงินกองกลาง" เพื่อการหักหนี้ระหว่างประเทศที่มีดุลชำระเงินขาดดุลกับประเทศที่มีดุลชำระเงินเกิน

เมื่อเป็นเช่นนี้ การลดค่าของเงินจึงแทนที่จะเป็นไปตามสถานภาพของราคามาตรฐานทองคำ หรือตามฐานะทางการเงินของประเทศมหาอำนาจที่ตนเอาค่าของเงินไปผูกพันไว้ด้วย จึงกลับกลายว่า เป็นไปตามสถานภาพทางการค้าระหว่างประเทศของประเทศเจ้าของเงินนั้นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการที่ประเทศสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศจำต้อง "ลดค่าของเงิน" ก็เพื่อเป็นการทำโทษที่ประเทศนั้นมี "ดุลชำระเงินขาดดุล" เพราะการลดค่าของเงินในประเทศใด จะทำให้ค่าของเงินประเทศนั้น "ต่ำลง" ในตลาดต่างประเทศและค่าของเงินของประเทศที่ตนเอาเงินไปผูกไว้นั้นมี "ค่าสูงขึ้น"

ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่า เมื่อปีที่แล้วมาประเทศไทยมีดุลชำระเงินขาดดุล 17.8% ของยอดรวมงบการเงินสถาบันกลาง คือกองทุนการเงินเห็นว่าประเทศไทยไม่สามารถหาเงินมาชำระดุลชำระเงินของประเทศ ส่วนที่ขาดอยู่นั้นได้ ประเทศไทยก็ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศไปชำระดุลส่วนที่ขาดนั้นเป็นจำนวน 17.8% ของยอดรวมแห่งงบดุลการเงินของประเทศ เมื่อเป็นเช่นนี้ประเทศไทยในฐานะเป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศก็ต้องปฏิบัติตามกติกา คือลดค่าของเงินลงไป 17.8% เพื่อให้ค่าของเงินบาทลดต่ำลง 17.8% ในตลาดแลกเปลี่ยนเงิน หรือเพื่อให้ค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยเงินสากลในการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ได้สูงขึ้น 17.8% เช่นกัน

เพราะฉะนั้นการที่ประเทศไทยต้องลดค่าของเงินก็คือที่ประเทศไทย "ถูกทำโทษ" จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศนั่นเอง

ปัญหามีว่า มีใครตัวไหนบ้างที่ทำให้ประเทศต้อง "ถูกทำโทษ" ในครั้งนี้?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us