Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555
เมื่ออินเทอร์เน็ตถูกคุกคาม Big Brother ปี 2012             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 


   
search resources

Networking and Internet




มีเรื่องให้หวั่นใจอีกแล้วสำหรับคนใช้งานอินเทอร์เน็ตเมื่อหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานข่าวเกี่ยวกับการคุกคามการใช้อินเทอร์เน็ตขององค์การสหประชาชาติเมื่อปลายเดือนก่อน

โดย Wall Street Journal รายงานว่า มีการเคลื่อนไหวในกรุงเจนีวา ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างข้อตกลงใหม่ๆ ที่จะทำให้องค์การ สหประชาชาติมีอำนาจควบคุมความเป็นไปของอินเทอร์เน็ตได้ โดยมี ประเทศมหาอำนาจอย่างรัสเซียและจีนที่พยายามผลักดันอย่างหนักหน่วงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ภายในสิ้นปีนี้ให้ได้ โดยนายกรัฐมนตรีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย กล่าวถึงเรื่องนี้เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้วว่า เป้าหมายของเขารวมถึงเหล่าพันธมิตรที่สนับสนุน คือการสร้าง “การควบคุมระดับสากลเหนืออินเทอร์เน็ต” ผ่านองค์กร ความร่วมมือทางด้านโทรคมนาคมนานาชาติ หรือ ITU (International Telecommunication Union) ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้ข้อตกลงระหว่าง ประเทศโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ

ถ้าการผลักดันครั้งนี้สำเร็จได้ ข้อตกลงนี้อาจจะเป็นการยุติการเติบโตของอินเทอร์เน็ตที่ขยายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา นับจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการประมาณปี 1988 ซึ่งในปีนั้น ตัวแทนจาก 114 ประเทศทั่วโลกได้รวมตัวกันที่ ประเทศออสเตรเลียเพื่อพูดคุยและได้ข้อตกลงที่ถือเป็นการเปิดเวทีเพื่อเปิดเสรีโทรคมนาคมระหว่างประเทศขึ้น นำมาซึ่งการกำหนด เงื่อนไขและกฎระเบียบทางด้านเศรษฐกิจและเทคนิคสำหรับการติดต่อผ่านอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังถือเป็นการเปิดเสรีและลดกฎระเบียบที่ประสบความสำเร็จและรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์

นับจากการเริ่มต้นโลกของอินเทอร์เน็ตในปี 1988 นั้น เหล่าวิศวกร, นักวิชาการ และกลุ่มผู้ใช้งานอื่นๆ ได้รวมตัวกันสร้างองค์กร เอกชนที่จะรักษาไว้ซึ่งโมเดลการจัดการองค์กรแบบหลายหุ้นส่วนหรือ multi-stakeholder ซึ่งถือเป็นแนวทางการบริหารงานแบบเอกชน ที่อาศัยการผลักดันผ่านการลงคะแนนเสียงและดูเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งได้กลายเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสำเร็จของโลกอินเทอร์เน็ตจนถึงปัจจุบัน

ในปี 1995 ไม่นานหลังการแปรรูปองค์กรสู่เอกชน มีคนใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกเพียง 16 ล้านคนเท่านั้น แต่ในปี 2011 มีคนออนไลน์มากกว่าสองพันล้านคนแล้ว โดยมีคนใช้อินเทอร์เน็ต เพิ่มขึ้นวันละห้าแสนคนทุกวัน การเติบโต แบบถล่มทลายนี้ถือเป็นผลโดยตรงมาจากรัฐบาลของแต่ละประเทศเลือกที่จะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับโลกอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการใช้งานผ่านมือถือได้เพิ่มความรวดเร็วของการใช้ชีวิตของคนเรามากขึ้น มากกว่าเทคโนโลยี ใดๆ ก่อนหน้านี้ในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือในประเทศกำลังพัฒนาที่การเปิดเสรีการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศเหล่านั้นสูงขึ้นด้วย

ชาวนาในพื้นที่ห่างไกลจากตลาดสามารถหาคนซื้อผลิตผล ของพวกเขาได้เองผ่านการใช้มือถือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากภายนอกโดยไม่ต้องมาแบกรับความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการเดินทางเอาสินค้าของพวกเขามาขายในตลาดที่ห่างไกล เช่นเดียวกับคนไข้ที่สามารถเช็กข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเพื่อหาซื้อยาสำหรับลูกๆ ของพวกเขาที่ป่วยหนักในภาวะฉุกเฉิน และอินเทอร์เน็ตได้ช่วยสนับสนุนเสรีภาพทางการเมือง ทำให้เราสามารถแบ่งปันข้อมูลและสามารถทำลายกำแพงของการปกครองแบบเผด็จการที่ปิดหูปิดตาเรามาตลอดลงไปได้

อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งสร้างงานที่สำคัญ โดยปัจจุบันการสมัครและหางานทางอินเทอร์เน็ตกลายเป็นช่องทางปกติของลูกจ้างไปแล้ว เช่นเดียวกับที่นายจ้างก็เข้ามาหาพนักงานใหม่ๆ ของพวกเขาผ่านช่องทางนี้เช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยถ้าไม่มีการเปิดเสรีการใช้อินเทอร์เน็ตโดยปราศจากการควบคุมของรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ในทุกวันนี้ รัสเซียและจีนรวมถึงพันธมิตรของพวกเขาซึ่งอยู่ในกลุ่มสมาชิก 193 ประเทศของ ITU กลับต้อง การที่จะนำข้อตกลงในปี 1988 กลับมาพิจารณาถกเถียงกันใหม่โดยต้องการจะขยายการครอบคลุมไปสู่พื้นที่ที่ไม่เคยถูกแตะต้องและควบคุมมาก่อนหน้านี้ โดยมีประเด็นที่พวกเขานำเสนอเพื่อต้องการให้มีผลบังคับใช้ในการประชุมเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศทางด้านอินเทอร์เน็ตในปลายปีนี้ที่เมืองดูไบ ดังนี้

- กำหนดให้เรื่องความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นเรื่องที่ต้องควบคุมในระดับสากล

- อนุญาตให้บริษัทโทรศัพท์ต่างชาติสามารถเก็บเงินค่าใช้บริการสำหรับการใช้งานแทรฟฟิกอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศได้ โดยอาจ จะเป็นการเก็บตามจำนวนการคลิก (per-click) ของเว็บปลายทางหรือในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง

- จัดทำข้อกำหนดทางเศรษฐกิจที่ไม่เคยกำหนดมาก่อน เช่น การกำหนดราคา, ระยะเวลา และเงื่อนไข สำหรับข้อตกลงการแลกเปลี่ยนแทรฟฟิกที่ไม่เคยกำหนดมาก่อน ที่เรียกว่า peering

- กำหนดกฎเกณฑ์งานของ ITU สำหรับงานด้านที่สำคัญๆ ที่ไม่เคยกำหนดมาก่อน เช่น Internet Corporation for Assigned Names and Numbers (ICANN) ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่หวังกำไรที่ดูแลการใช้งาน .com และ .org

- จัดกลุ่มงานหลายๆ อย่างที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหลายๆ หน่วยงานทับซ้อนกัน ไม่ว่าจะเป็น Internet Engineering Task Force, Internet Society รวมถึงกลุ่มที่มีเจ้าภาพหลายๆ เจ้าซึ่งเป็นตัวกำหนดมาตรฐานทางวิศวกรรมและเทคนิคหลายๆ อย่างที่ทำให้อินเทอร์เน็ตสามารถทำงานได้

- กำหนดรูปแบบการดำเนินการและอัตราราคาของการใช้โรมมิ่งระหว่างประเทศ

ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาหลายๆ ประเทศซึ่งรวมถึงอินเดีย และบราซิลได้เริ่มคำนึงถึงเรื่องราวเหล่านี้ แม้ว่าเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตจะสามารถพัฒนาและยกระดับผู้คนมากมายหลายล้านคนทั่วโลก แต่รัฐบาลหลายๆ ประเทศก็รู้สึกถึงการโดนทิ้งไว้ข้างหลัง และต้อง การจะควบคุมความเป็นไปในโลกอินเทอร์เน็ตให้มากขึ้นๆ

อย่างไรก็ดี ยุทธศาสตร์ที่ดูน่าจะเหมาะสมควรจะเป็นการทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตมีความเสรีและขยายอย่างกว้างขวางภายใน ทุกๆ ประเทศเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจรจาพูดคุยของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแทน ซึ่งรวมถึงหน่วยงานรัฐบาลและ ITU เพื่อนำไปสู่การ ขยายฐานของผู้ถือหุ้นตามโมเดลการจัดการองค์กรแบบหลายหุ้นส่วน โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้เกิดการตกลงร่วมกันสำหรับแต่ละประเด็น ที่เกิดขึ้น นี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่ชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตที่มีต่อประเทศกำลังพัฒนาผ่านโมเดลการจัด การองค์กรแบบหลายหุ้นส่วน

การล้มเลิกโมเดลนี้และกำหนดกฎระเบียบ ใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อแบ่งแยกอินเทอร์เน็ตเหมือนที่บางประเทศกำลังเลือกจะทำนั้น อินเทอร์เน็ตถูกแบ่งแยกจะส่งผลต่อการเปิดเสรีการค้าทั่วโลก รวมถึงอำนาจอธิปไตยในประเทศนั้นๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีผลต่อการเติบโตของอินเทอร์เน็ตอย่างมีนัยสำคัญในประเทศกำลังพัฒนา และรวมถึงทั่วโลกด้วย โดยเหล่านักเทคโนโลยีจะถูกคุกคามต่อเสรีภาพในการสร้างนวัตกรรมหรือการลงทุน ทำให้พวกเขาจะต้องรอคำอนุญาตจากรัฐบาลเท่านั้นถ้าต้องการจะทำอะไรสักอย่างบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะส่งผลต่อการกัดเซาะการเติบโตของเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงการข้ามสายพันธุ์ของเทคโนโลยี อย่างเช่นการถือกำเนิดของ cloud computing ที่ถือเป็น นวัตกรรมของโลกอินเทอร์เน็ตที่อาจจะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต

กฎระเบียบที่กำหนดจากบนลงล่าง, กฎระเบียบที่กำหนดออกจากศูนย์กลาง และกฎระเบียบที่เป็นสากลล้วนตรงข้ามกับสถาปัตยกรรมและความเป็นไปของอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเครือข่าย ทั่วโลกที่ปราศจากกรอบขอบเขตกำหนด การไร้ซึ่งบทบาทของรัฐบาลทำให้การตัดสินใจทางด้านวิศวกรรมและเศรษฐศาสตร์สามารถทำได้ในยุคอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งก่อให้เกิดผลิตผล, มาตรฐานชีวิตที่สูงขึ้น และการแพร่กระจายของเสรีภาพไปทุกที่

ตอนนี้การผลักดันยังเป็นไปอย่างเข้มข้นแต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนออกมา ซึ่งอาจจะต้องรอถึงปลายปีที่การประชุมทางด้านอินเทอร์เน็ตระดับนานาชาติจะเกิดขึ้น และจะนำมาซึ่งกฎระเบียบระหว่างประเทศใหม่ๆ

ที่สำคัญคือ อินเทอร์เน็ตจะโดนควบคุมจริงๆ หรือเปล่า และโลกของเราจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกหรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป

อ่านเพิ่มเติม
1. Ray, B. (2012), “Freedom-crushing govts close to ruling our web, fears FCC boss Baffled ITC denies plotting internet land-grab,” http://www.theregister.co.uk/2012/02/22/fcc_wsj_itu/
2. Neal, C. M. (2012), “FCC Commissioner Warns Against U.N. Control of Internet,” http://www.slate.com/blogs/future_tense/2012/02/22fcc_commissioner_robert_mcdowell_on_u_n_internet_control_.html
3. McDowell, R. M. (2012), “The U.N. Threat to Internet Freedom,” http://online.wsj.com/article/SB10001424052970204792404577229074023195322.html?mod=WSJ_article_comments#articleTabs%3Darticle   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us