Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555
2G จากอดีต มาสู่ 3G ปัจจุบัน ก้าวเข้าสู่ 4G แห่งอนาคต             
โดย ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช
 


   
search resources

ICT (Information and Communication Technology)




วันนี้ผมจะพาผู้อ่านทุกท่านมาคุยกันเรื่องเทคโนโลยีในวงการโทรคมนาคมว่าเทคโนโลยี 2G 3G และ 4G คืออะไร ซึ่งอาจจะเป็นคำถามที่คนส่วนมากมีอยู่ในใจ เพราะได้ยินตามสื่อตามโฆษณาต่างๆ มากมาย แต่อาจจะไม่กล้าถามออกมา ซึ่งผมบอกตามตรงเลยครับว่าถ้าไม่ได้อยู่ในวงการโทรคมนาคมหรือเทคโนโลยีสารสนเทศจริงๆ ก็อาจจะไม่เข้าใจได้ทั้งหมด อาจจะเข้าใจเพียงแค่ว่ามือถือเรามี 3G หรือที่ประเทศลาวมี 3G แล้วประเทศไทยยังไม่เริ่มมี ซึ่งผมเชื่อว่ามีคนจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจที่มาที่ไปต่างๆ ของเรื่องนี้ วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกันดีกว่าครับ ว่าอะไรคือ 2G อะไรคือ 3G และอะไรคือ 4G

ก่อนอื่นผมขอไล่ประวัติศาสตร์โทรคมนาคมกันนิดหนึ่ง ว่าก่อนหน้านี้เรามีโทรศัพท์ที่ต้องใช้คลื่นวิทยุในการรับ-ส่งสัญญาณที่สมัยนั้นเรียกกันว่ารุ่นกระติกน้ำนั่นแหละครับ เป็นโทรศัพท์ที่มีขนาดใหญ่ เวลาเราถือพกพาไปใช้งาน แทบจะเรียกว่าต้องสะพายบ่ากันเลย ระบบนี้แม้แต่ SMS ก็ยังส่งไม่ได้เลยครับ ในยุคนี้เราเรียกว่า 1G (First Generation of Wireless Telephone Technology, Mobile Telecommunications) เป็นยุคที่ใช้ระบบ Analog ล้วนๆ

ต่อมาก็จะเป็นยุคที่ 2 โดยในยุคนี้ จะมีการเปลี่ยนการส่งสัญญาณจากระบบ Analog มาสู่ระบบ Digital ซึ่งยุคนี้เราจะสามารถรับ-ส่ง Data ได้ด้วย แต่ Data เหล่านี้จะยังไม่สามารถต่ออินเทอร์เน็ตได้ หมายถึงแค่รับ-ส่ง SMS เท่านั้น และในยุค 2G (Second Generation Wireless Telephone Technology) นี่แหละครับ ก็เกิดระบบ GSM (Global System for Mobile Communications) และ CDMA (Code Division Multiple Access) ขึ้นมา ยุคต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทมาก ขึ้น มีคนต้องการใช้มากขึ้น ทางบริษัทมือถือ ก็ทำเทคโนโลยีชื่อ EDGE ที่เล่นอินเทอร์เน็ต ได้บนระบบ 2G ขึ้นมา หรือที่เราเรียกว่า GPRS (General Packet Radio Service) ยุคนี้ถ้าเทียบเป็นตัวเลขก็คือ 2.5G (Second and a Half Generation)

ผู้อ่านอย่าสับสน GPRS กับ GPS (Global Positioning System) กันนะครับ GPS คือระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก ที่ใช้ตามรถยนต์กันนั่นแหละครับ โดย GPS จะอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากดาวเทียมที่โคจรอยู่นอกโลกซึ่งทราบตำแหน่ง ทำให้ระบบนี้สามารถ บอกตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ คนละเรื่อง แต่หลายคนอาจสับสน เรียกผิดกันบ่อยครั้ง เนื่องจากมีชื่อย่อที่ใกล้เคียงกัน

ต่อมาก็เป็นยุค 2.75G หรือ EDGE ที่จะทำให้เราสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เร็วขึ้นกว่า 2.5G ครับ แม้แต่ในปัจจุบันมือถือของคุณผู้อ่านหลายท่าน ก็อาจจะยังใช้เทคโนโลยี EDGE ต่ออินเทอร์เน็ตกันอยู่ด้วยซ้ำไปครับ ซึ่งความเร็วในการใช้งาน อินเทอร์เน็ต แม้ว่าจะเร็วขึ้นแต่ก็ยังช้าอยู่ครับ อาจจะใช้เปิดเว็บไซต์ได้บ้าง อ่าน Twitter แต่ถ้าดูหนัง youtube หรือ download รูปใหญ่ๆ จะช้ามากเลยทีเดียว

เมื่อคนจำนวนมากเรื่องร้องอยากได้ อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง หรือที่เราเรียกว่า High-speed Internet เราจึงเข้าสู่ยุค 3G (Third Generation Mobile Telecommunications) ที่เอาเข้าจริงแล้วแบ่งเป็นรุ่นย่อยๆ มากมายครับ

3G รุ่นแรกในบ้านเราคือระบบของ Hutch ที่อินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงกว่า EDGE แต่ก็ยังไม่มากนัก ส่วน 3G ที่เราเห็นโฆษณากันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นของค่าย AIS DTAC หรือ Truemove น่าจะเรียกว่าเป็น 3.5G หรือ 3.7G ที่มีความเร็วเพิ่มกว่า 3G ยุคแรกมาก ชื่อมาตรฐานทาง เทคนิคในยุค 3.5G-3.75G จะขึ้นต้นด้วย “HS” ครับ ซึ่งมีหลายตัวอย่างเช่น HSUPA, HSDPA, HSPA+ ซึ่งถ้าเห็นชื่อขึ้นต้นด้วย “HS” เหล่านี้ให้เข้าใจว่ามันคือเทคโนโลยียุค 3.5G หรือ 3.75G เพราะฉะนั้นในยุคนี้ เราจะสามารถรับ-ส่งภาพได้ด้วยครับ ผ่านทาง Video Call (ยกเว้น iPhone4 เพราะ iPhone4 ต้องต่อ Wi-Fi จึงจะสามารถใช้งาน Video Call ได้)

ยุคต่อมาจะเริ่มเข้าสู่เทคโนโลยีที่ชื่อว่า LTE (Long Term Evolution) ตามความหมายเชิงวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี LTE จะถือเป็นยุค 3.9G (Beyond 3G but pre-4G) แต่ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือในบางประเทศได้โฆษณาในเชิงพาณิชย์ไปเรียบร้อย แล้วครับว่า LTE เป็น 4G อาจจะเพื่อหวังผล ทางการตลาดให้ผู้ใช้ได้รู้สึกว่าเป็นเทคโนโลยี ใหม่กว่า 3G ซึ่งจริงๆ ก็ถูกส่วนหนึ่ง แต่ไม่ ถูกต้องซะทีเดียว ปัจจุบันในบางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ก็เริ่มให้บริการ LTE กันบ้างแล้ว ตอนนี้ผู้ผลิตมือถือรายใหญ่ๆ อย่าง LG หรือ Samsung ก็เริ่มทำ มือถือที่มี LTE ขายกันแล้ว เพียงแต่ยังขายเฉพาะในประเทศที่มี LTE บริการเท่านั้น ข้อดีหลักๆ ของเทคโนโลยี LTE ก็คือ ความเร็ว ซึ่งจะเร็วขึ้นกว่า 3G ในปัจจุบันอีกหลายเท่า ซึ่งจะช่วยให้เราใช้งานมือถือในรูปแบบใหม่ๆ ได้อีกมาก เช่น การดูหนังผ่านมือถือแบบที่เราไม่ต้องดาวน์โหลดหนังมาเก็บไว้ในเครื่องก่อน

ต่อมาเมื่อปลายปี 2553 สหภาพโทร คมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) ประกาศมาตรฐาน 4G ซึ่งเบื้องต้นได้วางกรอบหลักๆ ไว้ โดยเทคโนโลยีที่ได้ผ่านการพิจารณาให้อยู่ในข่าย 4G มีอยู่สองเทคโนโลยี เทคโน โลยีแรกคือ IMT-Advanced (International Mobile Telecommunications Advanced) และเทคโนโลยีที่สองคือ WirelessMAN-Advance (IEEE 802.16)

ประเด็นที่น่าสนใจคือ ไม่ว่าจะเป็น 2G, 3G แม้แต่ 4G สามารถใช้งานพร้อมกันได้ เพราะมือถือหนึ่งเครื่องจะรองรับทั้ง 3 ระบบ เช่น ถ้าเราอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มี 4G รองรับก็ใช้อินเทอร์เน็ตผ่าน 4G แต่ถ้า บริเวณที่ไม่มี 4G มือถือเครื่องเดิมก็ถอยลง มาใช้ 3G ที่อินเทอร์เน็ตจะช้าลงมาหน่อย ถ้าจะคุยด้วยเสียงอย่างเดียวก็ใช้ 2G ได้

ถ้าถามผมในมิติของประเทศไทย ผมยังมองในแง่บวกนะครับ ว่า 3G เชิงพาณิชย์ที่เราเพิ่งมีนี้ ก็ไม่ถือว่าช้ามากมาย อะไร เพราะว่าจริงๆ แล้ว 3G แรกๆ นั้น ความเร็วไม่ต่างจาก EDGE เลยเพียงแต่ตอนนั้น 3G ทำให้มีการคุยแบบเห็นหน้ากัน ได้เท่านั้น แต่ที่เราใช้กันตอนนี้ ผมเชื่อว่าไม่ค่อยมีใครใช้ 3G กันแล้ว เพราะตอนนี้ที่เราใช้กันจะคือ 3.5G-3.9G แต่แน่นอนครับ ก็ยังคงไม่สามารถไปเทียบกับบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่นได้ ถ้าถามเหตุผลว่า ทำไมสหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่น เรื่องนี้ทำไมประเทศของเขาไปไกลกันมาก ผมมองว่าเหตุผลหลักๆ ก็คือ มือถือและอุปกรณ์เครือข่ายของเขา เขาผลิตเองใช้เอง มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง อย่างญี่ปุ่นใช้ W-CDMA (Wideband Code Division Multiple Access) ซึ่งญี่ปุ่นได้ทำมาตรฐาน นี้เอง ดังนั้นก็ไม่ต้องเสียเงินค่าลิขสิทธิ์ให้ใคร หรืออย่างสหรัฐอเมริกาที่ใช้ CDMA2000 EV-DO ที่ถือเป็นต้นตำรับมือถือ เพราะพัฒนามาจากการสื่อสารของทหาร

ผมเชื่อว่าแม้ว่าประเทศไทยเราอาจจะไม่ได้ช้ามากมายในเรื่องนี้ แต่ผมมองว่าประเทศไทยก็ควรจะต้องปรับตัว ต้องปรับเปลี่ยนให้เรามีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง เพื่อที่จะก้าวให้ทันโลกของการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างพลวัตทุกๆ นาที ในครั้งหน้า ผมจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาแชร์กับคุณผู้อ่านอีก รับรองเลยครับว่าเทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวพวกเราอีกต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us