Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555
กฎหมาย UCA โอกาสหรืออุปสรรคผู้ส่งออก             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
search resources

Commercial and business
Law




กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Competition Act: UCA) บังคับให้ผู้ค้าทั่วโลกที่ส่งออกไปสหรัฐอเมริกาต้องใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศถูกกฎหมาย หากละเมิดจะได้รับการฟ้องร้องค่าเสียหาย แต่ผู้ส่งออกไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักกฎหมายนี้มากนัก

กฎหมาย UCA เกิดขึ้นจากแรงกดดัน ด้านเศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐอเมริกา ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลกลางพยายามกระตุ้นอัตราการจ้างงาน เชื่อว่ากฎหมายดังกล่าวจะช่วยสร้างความยุติธรรมในการแข่งขันให้กับผู้ผลิตจากทั่วโลกและในสหรัฐอเมริกา

แม้กฎหมายดังกล่าวจะคุ้มครองผู้ผลิต จากประเทศอื่น ไม่ใช่ปกป้องสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว หากมองในฐานะผู้ผลิต ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อันดับหนึ่งของโลกในปัจจุบัน ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าฐานการผลิตมา จากสหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่ เช่น ไมโครซอฟท์ ออราเคิล เอชพี ไอบีเอ็ม เป็นต้น ดังนั้นกฎหมายที่เกิดขึ้นจึงเป็นการปกป้องตัวเอง

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศให้กฎหมาย UCA เป็นวาระ แห่งชาติเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา พร้อมกับมีแผนจัดตั้งหน่วยงานกลางพิเศษเพื่อสืบค้นและดำเนินคดีกับแนวทางการค้าที่ไม่ยุติธรรมทุกประเภท แสดงให้เห็นปฏิบัติการ ที่เข้มข้นขึ้น แม้กฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2553

จึงทำให้ผู้ประกอบการส่งออกทั่วโลกหลีกเลี่ยงได้ยากหากยังทำธุรกิจกับสหรัฐฯ แม้แต่ประเทศไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ เป็นอันดับหนึ่ง มีมูลค่าส่งออก 22,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ และนำเข้า 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยได้ดุลการค้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 5 แสนล้าน บาท สินค้าส่งออกอยู่ในหลายอุตสาหกรรม เช่น สิ่งทอ อาหาร สินค้าการเกษตร ไอที ชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น

วิรามฤดี โมกขะเวส ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด เล่าว่า กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ประกาศใช้ครอบคลุมทุกรัฐ เริ่มประกาศ ใช้ในรัฐหลุยเซียนา เป็นรัฐแรกเมื่อปี 2553 และรัฐวอชิงตันเริ่มใช้ปี 2554 ในปีนี้ประกาศ ครอบคลุม 36 รัฐ และอีก 3 ดินแดน จะเห็น ได้ว่าหลังจากบารัค โอบามา ประกาศให้กฎหมายดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติขึ้นมา ทำให้มีผลบังคับใช้ในรัฐต่างๆ อย่างรวดเร็ว คาดว่าจะครบ 50 รัฐในอีกไม่นาน อย่างไรก็ดี กฎหมาย UCA ที่ประกาศใช้ในแต่ละรัฐของสหรัฐอเมริกา ก็จะมีความเข้มข้นแตกต่างกัน ผู้ส่งออกต้องศึกษากฎหมายโดยละเอียด

วิรามฤดีได้ยกตัวอย่างข้อกฎหมายที่บังคับใช้ในวอชิงตันว่า ผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายตามกฎหมายนี้คือ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกขโมยมา หรือใช้ในทางที่ผิด (Stolen or Misappropriated IT) หมายถึงฮาร์ดแวร์หรือ ซอฟต์แวร์ที่ได้รับถือครอง หรือใช้โดยไม่ได้รับ อนุญาตจากเจ้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ส่วนบุคคลที่อาจถูกดำเนินคดี เช่น ผู้ผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกขโมยมาหรือใช้ผิดในการดำเนินธุรกิจของตน ไม่ว่าขายแยกชิ้น ขาย เป็นส่วนประกอบของสินค้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น

กฎหมายฉบับนี้ยังสามารถฟ้องบุคคล ที่สาม หรือผู้ประกอบการที่ไม่ได้มีเจตนาละเมิดโดยตรง แต่อาจไปซื้อเทคโนโลยีจากผู้ขายที่ใช้ไอทีผิดกฎหมาย โดยที่ผู้ประกอบการนำไอทีดังกล่าวมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตมากกว่า 30%

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน กรณีบริษัทเอเป็นผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศไทย สั่งซื้อชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อประกอบรถยนต์รวมมากกว่า 30% ของชิ้นส่วนรถยนต์จากผู้ผลิตในอินโดนีเซีย ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ที่ขโมยมา มาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ แม้ว่าบริษัทเอไม่ได้ใช้ไอที ที่ผิดกฎหมายในการดำเนินธุรกิจหรือการผลิต แต่บริษัทเอถือเป็นบุคคลที่สามตามกฎหมายนี้ และอาจถูกดำเนินคดีดังกล่าว

สำหรับผู้ที่สามารถดำเนินคดีกับบุคคล ที่ใช้ไอทีละเมิดลิขสิทธิ์คืออัยการสูงสุดและบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการขายหรือการเสนอขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่แข่ง โดยตรง

กรณีผู้ได้รับความเสียหายดูจากราคาขายปลีกของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกขโมยมา หรือใช้ในทางผิดกฎหมายมูลค่าตั้งแต่ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6 แสนบาท) ขึ้นไป หรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายด้านการแข่งขันทางการค้าอย่างร้ายแรง

ดังนั้นผู้ละเมิดจะได้รับบทลงโทษ คือห้ามไม่ให้มีการขายหรือเสนอขายสินค้า ผลิตภัณฑ์ และผู้ถูกละเมิดสามารถเรียกร้องค่าเสียหายตามจริงหรือเพิ่มเป็น 3 เท่า เมื่อพบว่าผู้ละเมิดเจตนา

อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้บังคับ ผู้ประกอบการส่งออกทุกประเภท แต่ในรัฐวอชิงตันได้ยกเว้นให้กับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอีที่มีรายได้ 1,500 ล้านบาทต่อปี ทว่าข้อยกเว้นดังกล่าวจะอยู่ในรัฐวอชิงตันเท่านั้น โดยรัฐอื่นๆ ไม่ได้รับการยกเว้น

วิรามฤดีได้ชี้ให้เห็นผลของกฎหมาย ฉบับนี้ว่าไม่ได้มีการบังคับใช้แต่ในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ในยุโรปเริ่มมีการกล่าวถึงเช่นเดียว กัน ดังนั้นผู้ประกอบการส่งออกต้องพิจารณา ถึงความอยู่รอดของธุรกิจ

บัณฑูร วงศ์สีลโชติ ประธานคณะกรรมการประเด็นทางการค้า สภาหอการค้า ไทย แสดงความเห็นต่อกฎหมายดังกล่าวว่า กฎหมาย UCA เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็น การปกป้องผู้ส่งออกที่ใช้ไอทีถูกกฎหมาย ดังนั้นผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัว โดยมอง หาหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญให้มาตรวจสอบระบบไอที และผู้ค้าพันธมิตร อย่างน้อยควรเริ่มต้น ตรวจสอบว่าไอที หรือผู้ค้าต้องมีใบอนุญาตรองรับความถูกต้อง

กฎหมายที่เกิดขึ้นอาจทำให้ผู้ประกอบ การบางรายหันไปค้าขายกับประเทศอื่นๆ แทน เช่น ค้าขายในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน หรือประเทศจีน ซึ่งในความเป็นจริงแม้ว่าสินค้าจะถูกส่งออกไปจีน หรือประเทศใดๆ ก็ตาม แต่จุดหมายปลายทางส่วนใหญ่ของสินค้าก็ส่งออกไปสหรัฐอเมริกาและยุโรป

“กฎหมายดังกล่าวจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้ส่งออกที่ใช้ไอทีถูกกฎหมายได้เปรียบ เพราะกฎหมายจะตัดโอกาสผู้ผลิตที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะจากผลสำรวจของไอดีซีพบว่า ประเทศไทยยังละเมิดลิขสิทธิ์ด้านไอทีร้อยละ 73”

ถวัลย์ รุยาพร กรรมการกฎหมาย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงกฎหมาย UCA ว่า กฎหมายฉบับนี้ เกิดจากการคิดค้นของสหรัฐอเมริกา เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของประเทศ ซึ่งสมาชิก ส่วนใหญ่ของ ส.อ.ท.กว่า 7 พันราย (กลุ่มอุตสาหกรรมร่วม 42 ราย) ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบ แม้ก่อนหน้านี้ สภาฯ ได้ให้ความรู้กับผู้ประกอบการธุรกิจหมู ไก่ ล่วงหน้าไปแล้ว 3 เดือนก็ตาม แต่องค์กรจะให้ความรู้อย่างต่อเนื่องผ่านวารสารและเว็บไซต์ รวมถึงการจัดสัมมนาเพื่อให้ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว

กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม (UCA) สามารถมองได้หลายมุมว่าจะสร้างโอกาสให้กับผู้ส่งออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจต้องพึ่งพิงสหรัฐฯ เพียงใด เพราะกฎหมายฉบับนี้พยายามชี้ให้เห็นข้อสุ่มเสี่ยงว่า ผลิตภัณฑ์ที่วางอยู่บนชั้นวางสินค้า อาจถูกปลดออกไม่วันใดก็วันหนึ่ง หากยังยืนยันใช้ของละเมิดลิขสิทธิ์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us