Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2528
ออนไลน์ของแบงก์เอเชียมาทีหลังแต่ก็ดังไปอีกแบบ             
 


   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.
Electronic Banking




เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมานี้ เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของธนาคารเอเชีย

หรือบางทีอาจจะต้องเรียกว่าสำคัญ "กำลังสอง" ก็ได้

เพราะเป็นวันครบรอบการก่อตั้ง จนมีอายุยืนยาวมาถึง 46 ปี ประการหนึ่ง ส่วนอีกประการก็คือเป็นวันที่ธนาคารเอเชียเปิดบริการระบบฝากถอนต่างสาขาหรือที่เรียกกันว่า ระบบ "ออนไลน์" เป็นครั้งแรกอีกด้วย

ระบบ "ออนไลน์" นั้นไม่ใช้ของใหม่สำหรับคนไทยก็จริง ค่าที่หลายแบงก์อย่างเช่นแบงก์กรุงเทพ แบงก์กสิกรไทยและแบงก์ไทยพาณิชย์ก็ทำสำเร็จและให้บริการลูกค้ามานานแล้ว

แต่ระบบ "ออนไลน์" ของธนาคารเอเชีย ก็ยังมีความน่าสนใจอยู่ในตัวไม่น้อยเหมือนกัน

กล่าวคือในขณะที่ ระบบ "ออนไลน์" ของแบงก์อื่นๆ ที่เปิดให้บริการไปแล้วนั้นเป็นการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์แบบที่เรียกกันว่ารวมศูนย์หรือ CENTRALIZED ระบบ "ออนไลน์" ของธนาคารเอเชีย กลับใช้เป็นระบบอีกระบบหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า ระบบกระจาย หรือ DISTRIBUTED PROCESS SYSTEM

ก็เรียกได้ว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ของไทยแห่งแรก ที่ทำ "ออนไลน์" โดยใช้ระบบกระจายแทนที่จะใช้เป็นระบบรวมศูนย์ อย่างที่แบงก์อื่นๆ เขาทำกัน

ถ้ามองกันในแง่ของนักบุกเบิกแล้ว ก็เห็นจะต้องยอมรับว่าแบงก์เอเชีย กล้าหาญชาญชัยมากแถมยังมั่นใจในความสำเร็จอีกด้วย

ระบบ "ออนไลน์" แบบรวมศูนย์กับแบบกระจายนั้น เคยเกิดข้อถกเถียงกันมาแล้วพักหนึ่งก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะข้อถกเถียงที่ว่า ระบบใดจะเหมาะสมมากกว่ากัน?

หรือพูดกันอย่างเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและการทำงานไว้ที่ศูนย์กลาง ซึ่งก็แน่นอนว่าจะต้องเป็นสำนักงานใหญ่ของแบงก์ และให้แต่ละสาขาเป็นเทอร์มินัล กับให้ทุกสาขามีระบบคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ข้อมูลของสาขาก็เก็บไว้ที่สาขา สำนักงานใหญ่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นนายสถานีคอยสับรางให้ข้อมูลส่งผ่านจากสาขาหนึ่งไปอีกสาขาหนึ่งนั้น ระบบไหนจะให้ประโยชน์มากกว่ากัน

คงจะต้องบันทึกไว้ด้วยว่าแบงก์แรกที่พยายามจะ "ออนไลน์" ด้วยระบบกระจายคือ กสิกรไทย สมัยที่ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ยังชื่อ ดร.ปัญญา เปรมปรีด์ (ปัจจุบัน ดร.ปัญญา ลาออกจากกสิกรไทย ไปเป็นผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว)

แต่กสิกรไทยก็มาเปลี่ยนเป็นระบบรวมศูนย์ในที่สุด

"สาเหตุที่กสิกรไทยเขาต้องเปลี่ยนก็เพราะมันจะต้องลงทุนมากในแต่ละสาขาเพราะราคาเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ สมัยนั้นก็ยังไม่ถูกเหมือนสมัยนี้ อีกทั้งมันช้าไม่สามารถเห็นผลทันตาเหมือนอย่างที่แบงก์กรุงเทพหรือไทยพาณิชย์เขาทำกัน กสิกรไทยก็เลยต้องเปลี่ยนความตั้งใจ ไม่งั้นเขาก็ไล่แบงก์กรุงเทพกับไทยพาณิชย์ไม่ทัน…" แหล่งข่าวในวงการเงินให้เหตุผล

ถ้าเช่นนั้นทำไมแบงก์เอเชียจึงเลือกระบบกระจาย

"ผมก็ได้วิเคราะห์แล้วว่าแบงก์เอเชียเป็นแบงก์ขนาดเล็ก จะลงทุนโครมครามแบบเดียวกับแบงก์ใหญ่เพื่อทำออนไลน์แบบรวมศูนย์นั้นคงไม่เหมาะ อีกทั้งราคาเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ก็ถูกลงเรื่อยๆ อยู่ในวิสัยที่เราสามารถติดตั้งได้ทุกสาขา และการคอนเวิร์สงานไม่ยุ่งยากมากเพราะสาขามีไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับแบงก์ใหญ่ เราก็เลยตัดสินใจใช้ระบบกระจาย เพื่อที่จะค่อยๆ ลงทุนและค่อยๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ ก็เริ่มกันมาตั้งแต่ปี 2525 เบ็ดเสร็จแล้วก็ใช้เวลาประมาณ 3 ปี โดยโปรแกรมเราทำขึ้นเองทั้งหมด" ดร. วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล ที่ปรึกษาของธนาคารเอเชีย อธิบายกับ "ผู้จัดการ"

ระบบคอมพิวเตอร์ "ออนไลน์" ของแบงก์เอเชียต้องลงทุนไปทั้งสิ้น ราวๆ 50 ล้านบาท โดยตัวฮาร์ดแวร์ทั้งหมดเป็นของเอ็นอีซี ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัทดาต้าแมทเป็นผู้จัดจำหน่าย

ระบบ "ออนไลน์" นี้จะเริ่มให้บริการฝาก-ถอน ต่างสาขาในเขต กทม.ก่อนตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม นี้เป็นต้นไป

นอกจากนี้ก็ได้ติดตั้งเครื่องจ่ายเงินสด (ACM) ใช้กับบริการบัตรเงินสด (CASH CARD) ไว้กับทุกสาขาเหล่านี้ด้วย

เครื่องจ่ายเงินสด (ACM) ก็คล้ายๆ เครื่องเอทีเอ็ม แบบที่รู้จักกันนั่นแหละ เพียงแต่ถอนเงินได้ฝากไม่ได้

ก็ว่ากันว่า ปกติคนเรามักจะใช้เอทีเอ็มในการถอนเงินเป็นหลัก ไม่ค่อยใช้ฝากกัน

แทนที่จะใช้ เอทีเอ็ม แบงก์เอเชียก็เลยใช้ เอซีเอ็ม แทนด้วยประการฉะนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us