Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555
บริหารวิถีตะวันออก             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
search resources

Food and Beverage
Lee Kum Kee Co., Ltd.
Eddy Lee




หลายคนมักได้ยินเสมอว่า บริษัทที่บริหารโดยครอบครัว มักเริ่มก่อร่างสร้างตัวด้วยรุ่น 1 ส่วนรุ่น 2 ขยายธุรกิจให้เจริญเติบโต แต่ไปสู่จุดจบในรุ่น 3

คำกล่าวดังกล่าวจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม แต่ก็มีบางธุรกิจสามารถบริหารผ่านครอบครัวมาจนถึงรุ่น 5 และธนาคารกสิกรไทยได้เชื้อเชิญเอ็ดดี้ ลี กรรมการบริษัท ลี กุม กี่ จำกัด ฮ่องกง ผู้ผลิตและ จำหน่ายซอสหอยนางรมภายใต้แบรนด์ Lee Kum Kee มาเล่าเคล็ดลับในการทำธุรกิจมายาวนาน 123 ปี ให้กับนักธุรกิจไทยจำนวน 150 คนที่บริหารโดยครอบครัว และบริษัทที่มาฟังในวันนั้นมีรายได้ตั้งแต่ 500 ล้านบาทไปจนถึง 5 พันล้านบาท

แม้แต่ มร.ลีก็ยังสัพยอกถึงการทำธุรกิจครอบครัวว่า ส่วนใหญ่คนทั่วไปมักมีความคิดเสมอว่า ความมั่งคั่งไม่ยั่งยืน ไม่เกิน 3 รุ่น หลังจากนั้นจะถูกกำจัดออกไป

แต่บริษัท ลี กุม กี่ จำกัด ดำเนินธุรกิจมายาวนานถึง 123 ปี และ มร.ลีก็เป็นรุ่นที่ 4 อย่างน้อยก็พ้นคำกล่าวที่ว่า บริษัทกำลังพัฒนาบุคลากรในครอบครัวรุ่นที่ 5 ซึ่งปัจจุบันมีอายุมากที่สุด 28 ปี ในขณะที่อายุน้อยที่สุด 8 ขวบ

บริษัท ลี กุม กี่ จำกัด เป็นผู้นำในการผลิตอาหารในจีนและฮ่องกง มีกำลังการผลิต 3 แสนตันต่อปี ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 75 สาขาทั่วโลก และมีแฟรนไชส์ 75 สาขา

ในด้านธุรกิจมีปรัชญาในการบริหารว่า “ถ่วงดุลระหว่างความร่ำรวยและ ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้” แต่สิ่งสำคัญเหนือ อื่นใดที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดคือครอบครัวเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าธุรกิจ และ มร.ลีได้เน้นนัยดังกล่าวอย่างชัดเจนว่า “ครอบครัว สำคัญมากกว่าธุรกิจ” แต่เขาก็ออกตัวว่า ผู้ฟังไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับเขา

มร.ลีอธิบายให้เห็นภาพบทบาทของ ธุรกิจครอบครัวว่า มี 3 ส่วนที่ทับซ้อนกันคือเจ้าของธุรกิจ บทบาทสมาชิกในครอบครัว และการเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ

มองในบทบาทของธุรกิจ จะเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลักดันกำไร สร้างประสิทธิภาพ ในขณะที่ครอบครัวให้ความปลอดภัยด้านการเงินให้กับสมาชิก สิ่งที่ครอบครัวต้องการ เรียนรู้ความต้องการ และความเป็นสมาชิกในครอบครัวที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เมื่อเกิดมาในตระกูลนี้

ตระกูลของ มร.ลีไม่ได้มีสูตรความสำเร็จให้ครอบครัวอยู่รอดมาตั้งแต่ต้น แต่การพยายามรักษาธุรกิจให้ครอบครัวเกิดจากการเรียนรู้และเริ่มปฏิบัติเหมือนดังเช่น การก่อตั้งสภาครอบครัวขึ้นเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ของครอบครัวจากคนหลายรุ่นให้แน่นแฟ้น

ต้องยอมรับว่าการบริหารธุรกิจทำให้คนในครอบครัวมีงานยุ่งตลอดเวลา มร.ลีบอกว่า เริ่มคุยกันอย่างจริงจังภายในและมีเป้าหมายอย่างไรในอนาคต

“เราเริ่มใช้เวลาในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ไปสนามกอล์ฟ สร้างบรรยากาศอย่างไม่เป็นทางการ นั่งคุยกัน ทำอย่างนี้มาเป็น 10 ปี”

มร.ลีเล่าต่อว่า คนในครอบครัวมีหลายวัย การเล่นเกม เล่นบอลด้วยกัน เป็นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เขาได้ยกตัวอย่างว่า บางครั้งจะให้ทุกคนใส่หน้ากาก เพื่อไม่ให้เห็นหน้าและให้ทุกคนเล่าความในใจ การสร้างกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เน้น ความสนุกสนาน ทั้งนี้เพื่อเกิดการสื่อสาร เพราะมองว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่ไม่ควรมองข้าม

ในบางครั้งปัญหาเล็กๆ น้อยๆ อาจ ดูไม่สำคัญ หากไม่พูดอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ในอนาคตได้ เขาได้ยกตัวอย่างน้องชายอยากซื้อรถเบนซ์ และสะใภ้ก็เห็นด้วย แต่เขาคิดว่าขับโตโยต้าก็น่าจะพอแล้ว เมื่อความคิดเห็นไม่เหมือนกัน ครอบครัวจึงสรุปว่าให้งบประมาณซื้อรถไว้ 2.5 ล้านดอลลาร์ ดังนั้นจะซื้ออะไรก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ

มร.ลียังเล่าอีกว่า คนที่แต่งงานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสะใภ้หรือเขยในรุ่น 4 ของผมได้ตกลงสัญญาสุภาพบุรุษว่า สะใภ้หรือเขย ไม่จำเป็นต้องมาทำธุรกิจในครอบครัว เขาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า พันธสัญญาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก แต่มีความคิดว่า มันง่ายในการบริหารงานกันเองของคนในครอบครัว

และไม่ว่าครอบครัวจะใหญ่หรือเล็ก ก็ต้องมีหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้เกิดความสุข ตระกูลลีจึงมีกฎ 3 ข้อหลักที่ห้ามทำโดยเด็ดขาด คือ เมื่อแต่งงานแล้ว ห้ามหย่า ห้ามแต่งงานช้า และห้ามมีครอบครัวซ้ำซ้อน หรือมีเมียน้อย

ในด้านการเรียนรู้ธุรกิจมีเป้าหมายชัดเจนพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน ในบทบาท ของผู้บริหารทุกคนจะต้องเข้าอบรมเรียนรู้ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยจะไม่ส่งผู้บริหารระดับสูงเพียง 2-3 คนไปเท่านั้น เพราะแต่ละคนจะเรียนรู้และเข้าใจไม่เหมือนกัน ดังนั้นการมาถ่ายทอดจึงไม่เหมือนกับการไปด้วยตนเอง หากมีผู้บริหาร 10 คนก็ต้องไปทั้ง 10 คน พ่อ แม่ พี่ น้อง ซึ่งการเรียนจะสร้างโอกาสให้ได้คุยกัน

การเรียนรู้สิ่งใหม่เพิ่มเติมไม่ได้เกิดจากการคิดกันเอง แต่บริษัทได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาดูแลบริหารครอบครัว และบริหารธุรกิจ เช่น ด้านธุรกิจ บริษัทที่ปรึกษา จะจัดโปรแกรม เช่น โปรแกรมของมหาวิทยาลัยเคลล็อก รวมถึงการบริหารจัดการ ในอนาคต

การปลูกฝังให้คนในครอบครัว โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ ให้เดินทางไปรู้จักต้นตระกูลบรรพบุรุษจีนแต้จิ๋ว ปลุกจิตสำนึกบนชาติพันธุ์ความเป็นจีน เรียนรู้การทำธุรกิจซอสหอยนางรม เยี่ยมชมกระบวน การผลิตทดสอบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรู้จักลูกค้า และตัวแทนจำหน่าย

“เรามีค่านิยมที่เป็นแก่นแกนของครอบครัว ที่เราเรียก “Si Li Ji Ren” หมายถึงการปฏิบัติต่อคนแวดล้อมในธุรกิจทั้งลูกค้า ซัปพลายเออร์ ดีลเลอร์และ คนอื่นๆ ว่า เราต้องเข้าใจเขา นั่งอยู่ในใจ เขาได้อย่างไร เหมือนปลาต้องเข้าใจน้ำ และน้ำต้องเข้าใจปลา จะทำให้เราเกิดการเรียนรู้ เพื่อสร้างทีมด้วยกัน เป็นการ Learning Together นำไปสู่ Personnel Development”

โดยเฉพาะรุ่น 5 ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้เข้ามาร่วมงานอย่างเป็นทางการ แต่หากจะเข้ามาต้องเรียนรู้จากธุรกิจภายนอกอย่างน้อย 5 ปี หากเริ่มต้นเข้ามาทำงานโดยไม่มีประสบการณ์ แม้จะเป็นธุรกิจในครอบครัว แต่จะได้รับแรงกดดันสูง ถ้าผ่าน ไปได้ก็จะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า

ธุรกิจครอบครัวจะยั่งยืนหรือไม่นั้น มร.ลีแนะนำว่าต้องสร้างความสมดุลใน 3 สิ่ง คือ ครอบครัว สุขภาพ และธุรกิจ

ธุรกิจของบริษัท Lee Kum Kee จำกัด ได้ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นมากว่าหนึ่งศตวรรษ ไม่ได้เกิดจากสูตรสำเร็จรูปใดๆ ทั้งสิ้น แต่เกิดจากการจับเข่าพูดคุยกันเองระหว่างญาติพี่น้อง ผ่านกิจกรรมและโปรแกรมการเรียนรู้ต่างๆ และ มร.ลีย้ำว่า แต่ละครอบครัวมีธุรกิจ ความคิด ค่านิยม และวัฒนธรรมแตกต่างกัน นั่นหมายความว่าแต่ละครอบครัวก็ต้องค้นหาโมเดล ของตัวเอง เพื่อนำพาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน

มร.ลีกล่าวทิ้งท้ายว่า “ธุรกิจยิ่งใหญ่แค่ไหน ก็ไม่ยิ่งใหญ่เท่าครอบครัว”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us