Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555
ยืดอายุโลกด้วยเศรษฐกิจพอเพียง             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 

 
Charts & Figures

การพัฒนาแบบ KPM กับ GCM


   
search resources

สุเมธ ตันติเวชกุล
Environment




“เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ทฤษฎีสำหรับคนจน”
“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต”
“เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้รังเกียจกำไร”
“ปรับชีวิตสู่วิถีพอเพียงคือแนวทางแห่งความยั่งยืน”
ฯลฯ
“ผมพูดและบรรยายซ้ำซากอย่างนี้มาไม่รู้กี่ครั้ง
พูดมา 10 กว่าปี ใครได้ยินแล้วก็ให้ได้ยินอีก”


ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิ ชัยพัฒนา กล่าวประโยคนี้ก่อนนำเข้าสู่สาระของเศรษฐกิจพอเพียง...อีกครั้ง

ครั้งนี้เป็นแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ต้องการย้ำให้เห็นว่า การรู้จักคำว่า “พอเพียง” ไม่เพียงแต่เป็นการหยุดกิเลสหรือความอยากของแต่ละบุคคล แต่ยังเป็นเครื่องเตือนใจให้โลกที่กำลังถูกครอบงำด้วยระบบบริโภคนิยมแบบเกินตัว ลามไปจนถึงการมีพฤติกรรมอันน่ารังเกียจอย่างคอร์รัปชั่นที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ รู้จักหยุดคิดและปรับตัวสู่ความพอเพียงเพื่อยืดอายุให้กับโลกใบนี้

คนจำนวนมากนอกจากไม่ยอมรับว่าสร้างมลภาวะต่อโลก บางครั้งถึงกับลืมไปเสียอีกว่า ทุกสิ่งที่ตนกระทำล้วนส่งผลต่อโลก ปัญหาที่เกิดจึงไม่ได้รับการแก้ไขที่ต้นตอ

“เราอาศัยโลกยังชีวิตเรา แต่เรากิน โลกในทุกลักษณะ กินอากาศ แก๊ส สูดหายใจเข้าไปก็ถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ใส่โลก น้ำ ต้นไม้ อาหาร และหนักข้อขึ้นเพราะไม่บริโภคธรรมดาแต่โลภและมักง่าย จะใช้ประโยชน์จากดินแค่จะไถจะพรวนเหนื่อยก็ไม่ทำ ใช้ไฟเผาง่ายดี ทำลายหมด และทำลายเลยไปถึงลูกถึงหลาน” ดร.สุเมธ ยกเหตุการณ์ที่กลายเป็นปัญหามลภาวะทางอากาศที่หลายจังหวัดในภาคเหนือของไทยต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้มาเปรียบเปรย

ปัจจุบันโลกมีประชากร 6,400 ล้านคน พฤติกรรมเหล่านี้ยิ่งเกิดขึ้นมากเท่าไรก็ยิ่งเร่งให้โลกแตกดับ หรือเกิด Mass Execution หมายถึงสิ่งมีชีวิตมากกว่า 90% จะดับสูญเร็วเท่านั้น และคนที่ต้องเผชิญกับมหันตภัยก็คือมนุษย์ ซึ่งองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ในอีก 30 ปีข้างหน้า ประชากรของโลกจะเพิ่มขึ้น เป็น 9,000 ล้านคน ซึ่งไม่รู้ว่าประชากรโลกจะอยู่กันสภาพไหนในภาวะที่ทรัพยากร แทบไม่มีโอกาสเพิ่มขึ้นเลยทั้งในแง่ปริมาณ และคุณภาพ

ดร.สุเมธเล่าว่ามีกลุ่มนักวิทยา ศาสตร์ศึกษาย้อนดูประวัติศาสตร์ของโลกซึ่งเกิดมาแล้วมากกว่า 4,600 ล้านปีพบว่า โลกนี้เคยแตกมาแล้วถึง 4 หน และในหนหลังๆ มีความถี่สูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อสิ่งมีชีวิตพัฒนาขึ้นจากสัตว์เซลล์เดียวไปเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง แม้แต่ในปัจจุบันโลกก็ส่งสัญญาณเตือนอยู่เสมอ ทั้งในรูปแบบพายุ สึนามิ น้ำท่วม ไฟป่า ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาญเตือนชีวิตที่มาจาก 4 ธาตุพื้นฐาน ดิน น้ำ ลม ไฟ ทั้งสิ้น

“ถ้าเรายังอยู่แบบไม่ระมัดระวัง ทำไมมันจะไม่มีหนที่ 5 แต่เมื่อรู้จักว่าโลกเป็นมาอย่างไรเราก็ควรจะรู้จักระมัดระวัง”

จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ในรายงาน Living Planet Report 2010 แสดงข้อมูลไว้ว่า จุดสมดุลระหว่างจำนวน ประชากรทั่วโลกกับทรัพยากรที่โลกเหลืออยู่เกิดขึ้นผ่านไปนานแล้วตั้งแต่ พ.ศ.2518 และคาดการณ์ไว้ว่าเมื่อถึงปี 2573 และปี 2593 การบริโภคที่เพียงพอต่อความต้อง การของประชากรโลกจะต้องมีทรัพยากรเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และ 2.8 เท่า ตามลำดับ

“หมายความว่าเราต้องมีโลก 2 ใบ หรือเกือบ 3 ใบถึงจะพอให้มนุษย์กินอยู่อาศัย จากข้อมูลตอนนี้มนุษย์เราก็บริโภคเกินจากทรัพยากรที่มีอยู่ 1.5 เท่า อย่าว่าแต่อาหารเลย คนในบางมุมโลกไม่มีแม้กระทั่งน้ำสะอาดจะดื่ม”

การบริโภคทรัพยากรของมนุษย์ที่เป็นอยู่ เข้าหลักการมือใครยาวสาวได้สาวเอา ระดับการบริโภคขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนา ยิ่งพัฒนาก็ยิ่งบริโภค เป็นผลมาจาก พื้นฐานความเชื่อในการพัฒนาและระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือกันมาตลอด โดยเฉพาะความเชื่อในระบบการค้าการลงทุนที่เน้นกำไรสูงสุดของระบบทุนนิยม

“พฤติกรรมของคนไม่ว่าที่ไหน ยิ่งรวยยิ่งกินเยอะ ถ้าแบ่งโซนก็จะเห็นว่าประเทศเจริญแล้วอย่างชาติฝรั่งบริโภคมากกว่าเรา 2.8 เท่า ในเอเชียเฉลี่ยออกมายังอยู่ในระดับพอดี แต่ในแอฟริกาทรัพยากรก็ไม่พอบริโภค ถ้าเราเปลี่ยนระบบความเชื่อนี้เสียใหม่ เปลี่ยนตัวชี้วัดใหม่ บริหารจัดการให้เกิดภาวะที่สมดุลขึ้น ก็จะช่วยยืดอายุของโลกได้”

ดร.สุเมธอธิบายว่า ในอดีตถึงปัจจุบันองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ล้วนพัฒนาโดยใช้ความรู้เพื่อสร้างอำนาจ สร้างเงินใช้ความร่ำรวยเป็นตัววัด ซึ่งเป็นต้นเหตุที่นำไปสู่การบริโภคเกินตัว เกิดการแข่งขันแก่งแย่ง และส่งผลต่อการทำลายและใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย กลายเป็นตัวเร่งให้เกิดมลภาวะ ภัยพิบัติ และปัญหาสังคม

“ถ้าทำธุรกิจโดยไม่มองว่าจะทำอยู่ได้นานเท่าไร คอยแต่ถามว่าวันนี้รวยเท่าไร ใช้ทรัพยากรอย่างมโหฬาร ทำลายโลกเสร็จแล้วพอประชุมกันเพื่อหาทางแก้ ประเทศมหาอำนาจก็ไม่เคยลงนามร่วมแก้ไขอย่างจริงจัง แต่เลี่ยงที่จะให้ประเทศกำลังพัฒนาเป็นผู้ลดมลพิษนั้นแทน แล้วประเทศเหล่านี้ก็ตื่นเต้นที่ได้เงินมาปลูกต้นไม้ขายคาร์บอนเครดิต แต่สำหรับโลกไม่ได้รับการดูแลที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะโลก ฝั่งที่ยังเร่งผลิต ก็ยังเผาทำลายกันต่อไปเหมือนเดิม”

แต่เมื่อภัยธรรมชาติคุกคามมนุษย์หนักขึ้น ทำให้โลกเกิดกระแสใหม่แทรกเข้ามา เป็นความหวังของการยืดอายุให้โลกนี้อยู่ได้นานขึ้น มนุษย์จำนวนหนึ่งเริ่มตระหนักแล้วว่า ต่อให้รวยแค่ไหนแต่ถ้าไม่มีโลกที่สวยงามให้อาศัย ชีวิตมนุษย์ก็คงหาความสุขไม่ได้

ในเมืองไทยถือว่าโชคดีอย่างยิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงกระแสที่ว่านี้ได้ง่ายมาก เพียงแค่เรียนรู้หลักการของเศรษฐกิจ พอเพียง ที่มีคนจำนวนไม่น้อยนำไปใช้จนเห็นผลเป็นรูปธรรม เป็นชีวิตทางเลือกที่พิสูจน์ได้จริงมาแล้วทั้งในระดับบุคคลและในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่

ถ้าจะอธิบายในหลักสากล กระแส แห่งอนาคตที่กำลังมาแทนที่ระบบทุนนิยมที่ส่งเสริมให้คนบริโภคเกินตัว คือหลักการที่ใช้ GCK (Goodness Culture Know-ledge) เป็นตัวนำ หรือเปลี่ยนการใช้สติปัญญาความรู้เพื่อสร้างอำนาจและความร่ำรวย ไปใช้สร้างความดีและดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมแทน

“GCK ไม่พูดเรื่อง GDP เลย แต่พูดถึง GNH (Gross National Happiness) วัดกันที่ความสุข ใช้เศรษฐกิจแบบพึ่งพาตัวเองในเบื้องต้น อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรเป็นกระแส เล็กแต่สวย ที่พาเราย้อนกลับไปสู่สมดุลของธรรมชาติ เป็นแนวทางเดียวกับที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเรามาแล้ว 2,555 ปี จากหลักธรรมะที่ให้มีเหตุ มีผล มีภูมิคุ้ม กัน ไม่ประมาท และรู้จักประมาณตน”

หากนำการประมาณตนทางธรรมะ มาเทียบกับหลักบริหารก็จะพบว่า การประมาณหรือประเมินตนก็เหมือนกับหลักการเบื้องต้นในการเริ่มต้นธุรกิจ หรือที่เรียกว่า Corporate Assessment นั่นเอง

“เพราะฉะนั้นใครผู้ใดที่บอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับคนยากจน เลิกคิดเสียทีเถิด ดวงตาเห็นธรรมบ้าง หลักธรรมะใช้ได้หมดแม้กระทั่งเศรษฐี ถ้าเข้าใจ หลักการนี้ ยังทำให้ลดความอยาก ลดอะไร ต่างๆ รวมทั้งลดการทุจริตคอร์รัปชั่นลงได้ ด้วย เพราะจะเริ่มมีสติรู้ตัวว่า จะสะสมไปทำไม จะบริโภคเกินไปทำไม ถ้าคิดไม่ออกให้นึกถึงโรคเศรษฐีที่เป็นกัน ส่วนมากก็เป็นโรคจากบริโภคเกินทั้งนั้น หัวใจ ความดัน เบาหวาน สุดท้ายก็ถูกหมอบังคับ ให้ลดทุกอย่าง มีเงินก็กินไม่ได้ แล้วทำไมเราไม่เริ่มลดจากตัวเองเสียตั้งแต่ต้น ลดความอยาก ตัดกิเลส ประเมินตน และรู้ที่จะพอเพียง”

ดร.สุเมธยกตัวอย่างบริษัทปูนซิเมนต์ ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจี บริษัทที่มีสินทรัพย์กว่า 4 แสนล้านบาท เป็นตัวอย่างองค์กรของไทยที่ปรับเปลี่ยนแนว คิดการบริหารองค์กรจากเดิมใช้หลักทุน นิยมเต็มตัวต้องเติบโตสูงสุด กวาดซื้อทุกบริษัทที่ขวางหน้าเพื่อทำกำไร สุดท้ายปรับมาใช้หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหาร

พ.ศ.2539 ก่อนฟองสบู่แตกจากวิกฤติต้มยำกุ้ง เอสซีจีขาดทุนประมาณ 4.8 หมื่นล้าน ดีที่ตั้งสติได้ หันกลับมาตรวจสอบและประเมินองค์กรเสียใหม่ หาความถนัดที่แท้จริงของตัวเองก่อนจะค่อยๆ ตัดขายบริษัทที่ไม่ถนัดออกไป จาก 200 บริษัท หายไปประมาณ 50 บริษัท เหลือไว้แต่ธุรกิจหลัก

“เอสซีจีเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงแก้ปัญหา เศรษฐกิจ พอเพียงเก่งอะไรทำอย่างนั้น เก่งอย่างทำอีกอย่าง เจ๊ง พอขายธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักไป ผอมลงไป 1 ใน 4 แต่ปรากฏว่าแข็งแรงขึ้น ทำกำไรได้ทุกจุดเลย 4-5 ปีถัดมา ลบตัวแดง 4.8 หมื่นล้านหายไปหมด ถัดมาอีก 7-8 ปี ทำกำไรสูงสุดในรอบ 35 ปี แปลกไหม แม้เศรษฐกิจไม่ค่อยดีเท่าไร แต่ยังแข็งแรง ไม่ต้องโตสูงสุดแต่โตได้ทุกปี”

ดร.สุเมธเปรียบเทียบว่า เอสซีจีก็เหมือนกับปราชญ์ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่เริ่มต้นจากการเป็นหนี้สินแล้วปลดหนี้ได้หลังจากหันมายึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างพอเพียงจนถึงร่ำรวยด้วยสินทรัพย์ในที่ดิน ซึ่งมีความสมดุลของธาตุ ทั้งสี่อย่าง ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เหมาะกับการ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

“เพราะฉะนั้น ถ้าใช้คำว่าพอประมาณ มีเหตุ มีผล มีภูมิคุ้มกันแล้ว ไม่ใช่จน ย้ำอีกที แต่มันรวยอย่างยั่งยืนและมีชีวิตสมดุลมั่นคง”

ถึงบรรทัดนี้ จากตัวอย่างที่พิสูจน์มาแล้ว ภัยธรรมชาติที่หลายคนเห็นมากับตาด้วยตัวเอง คงเป็นเครื่องตอกย้ำความเชื่อได้ดีว่า การบริโภคเกินพอดีนอกจากไม่ส่งผลดีต่อโลกซึ่งสุดท้ายภัยก็จะย้อนมาถึงมนุษย์ แถมระหว่างทางของความโลภยังเป็นตัวกระตุ้นการคอร์รัปชั่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะยิ่งหากินแบบธรรมดาภายใต้ทรัพยากรที่ลดลงทุกวันยากขึ้น การทุจริตคอร์รัปชั่นก็มีแต่จะเพิ่มขึ้น แต่ทาง ออกสำหรับปัญหาอาการ “อยากจนเกินพอดี” ถ้าเปลี่ยนมาใช้ “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นตัวแก้ ก็ยังพอเห็นหนทางยืดอายุโลกและมนุษย์ออกไปได้อีก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us