Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555
ปรากฏการณ์พลังงานที่หนองเสาเถียร             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.)
โฮมเพจ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง, บมจ.
ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.), บมจ.
Electricity




ภาพโรงไฟฟ้ากับโรงแยกก๊าซกลางทุ่งนากว้างใหญ่ใกล้กับชุมชนที่หนองเสาเถียร อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นภาพแปลกตาที่ดูขัดแย้ง แต่มาลงตัวอยู่ด้วยกันแบบที่ไม่เคยเกิดกับโรงไฟฟ้าที่ไหนมาก่อน แต่โรงไฟฟ้ารูปแบบนี้เป็นปรากฏการณ์ที่อาจจะได้เห็นเพิ่มขึ้นในเมืองไทย โดยเฉพาะหากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นยากขึ้นทุกวัน จนอาจจะกลายเป็นรูปแบบ 1 ตำบล 1 โรงไฟฟ้า อย่างที่มีหลายหน่วยงานเคยเสนอ ภายใต้เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตที่แตกต่างกันไป

ใช่ว่าทุกที่จะตอบรับและสนับสนุนให้เกิดโรงไฟฟ้าเหมือนที่หนองเสาเถียร

“ที่นี่ใช้เวลาประมาณ 2 ปีตั้งแต่เริ่มจนเป็นโรงไฟฟ้า ถือว่าเปิดได้เร็วมาก โดยทั่วไปเวลาบอกว่าจะเปิดโรงไฟฟ้า ถ้าไม่นับรวมคนต่อต้านอย่างไร้เหตุผล สิ่งที่คนไม่เชื่อจะมีแค่ 2 เรื่อง คือไม่เชื่อมั่นในระบบของการผลิตไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้น กับไม่เชื่อมั่นในการบริหารงาน” ธีระศักดิ์ จรัสศรีวิสิษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพลังงานเขต 6 กระทรวงพลังงาน กล่าวถึงทัศนคติของประชาชนที่พบโดยทั่วไปเมื่อมีข่าวว่าจะมีการตั้งโรงไฟฟ้าในพื้นที่ของตัวเอง

กระบวนการแก้ปัญหาหรือทำความเข้าใจระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชน จึงต้องรู้ปัญหาที่แท้จริงเพื่อแก้ไขได้ถูกจุด

ขณะเดียวกันเขาก็ยอมรับว่า ในเขตพื้นที่ภาคเหนือที่ดูแลอยู่นั้น บางพื้นที่แค่พูดว่า “โรงไฟฟ้า” ก็ปิดประตูตาย ปฏิเสธอย่างเดียว ขณะที่บางแห่งก็พร้อมจะเปิดรับเต็มที่ การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือทุกฝ่ายต้องเปิดรับและฟังเหตุผล และคำนึง ถึงส่วนได้ส่วนเสียของแต่ละฝ่ายอย่างแท้จริง

บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (มหาชน) หรือ Ratch มีประสบการณ์มามากทั้งการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และการประสานงานกับชุมชนในท้องที่ เมื่อมีเป้าหมายที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่หนองเสาเถียร หรือชื่อโครงการเต็มๆ ว่า “โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบแหล่งเสาเถียร-เอ” ระหว่างที่บริษัทเตรียมการศึกษาความเป็นไปได้ ศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและ การลงทุนเรื่องอื่นๆ ในอีกด้านหนึ่งบริษัทก็ดำเนินงานด้านชุมชนสัมพันธ์ไปพร้อมกัน

“ถ้าไม่เชื่อระบบ ก็พาเขาไปดูระบบ” และนี่คือวิธีการหนึ่งของ Ratch ซึ่งมีการจัดพาชุมชนในพื้นที่ไปดูงานจากผลงานเก่าๆ ของบริษัท โดยเฉพาะที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่อยู่ใกล้ชุมชนเช่นกัน และเคยมีปัญหาต่อต้านแต่สุดท้ายก็ได้รับการตอบรับจากประชาชนในพื้นที่และสามารถเปิดดำเนินงานมาได้อย่างราบรื่น

นอกจากพาไปดูระบบ Ratch ยังจัดสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในชุมชนอย่างต่อเนื่องมาติดต่อกันกว่า 4 ปี รวมทั้งใช้นโยบายว่าจ้างคนในพื้นที่เข้ามาทำงานในโรงไฟฟ้าที่ตั้งขึ้นด้วย

โรงไฟฟ้าที่หนองเสาเถียร เป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำดิบ (Flare Gas) แหล่งเสาเถียร-เอที่อยู่ในแหล่งเอส 1 ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ซึ่งขายก๊าซธรรมชาติที่ได้จากการผลิตน้ำมันให้กับ Ratch เป็นวัตถุดิบผลิตไฟฟ้าแทนการนำเข้าน้ำมันเตาเป็นโครงการที่ 2 โดยเมื่อปี 2550 มีโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติที่เป็นผล พลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบแหล่งประดู่เฒ่า ซึ่งอยู่ในแหล่งเอส 1 เช่นกันไปแล้วหนึ่งโครงการ ซึ่งก๊าซธรรมชาติบางส่วนในโครงการนั้น ยังนำไปใช้สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยน้ำว้า โดยให้ชาวบ้านใช้ในการทอดกล้วย

นพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัด การใหญ่ Ratch ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติแหล่ง เสาเถียร-เอ เป็นโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) มูลค่าโครงการประมาณ 190 ล้านบาท ผลิตไฟฟ้าได้ 24 ล้านหน่วย ต่อปี กำลังการผลิตประมาณ 4 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซวันละ 8 แสนลูกบาศก์ฟุตเป็นเชื้อเพลิง ไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่งเข้าระบบสายส่งของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดำเนินงานภายใต้บริษัทราชบุรีพลังงาน ซึ่งเป็นบริษัทลูก ส่วนก๊าซธรรมชาติจากแหล่งน้ำมันที่ประดู่เฒ่า ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอกงไกรลาศเช่นกัน ผลิตไฟฟ้าส่งเข้าระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเฉลี่ยปีละ 18 ล้านหน่วย

รวมทั้ง 2 โครงการสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ 42 ล้านหน่วย หรือมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 6.3 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าเพื่อป้อนการใช้งานในครัวเรือนได้ 7,000 ครัวเรือน ช่วยลดปริมาณก๊าซธรรมชาติที่เดิมต้องเผาทิ้งวันละ 1.4 ล้านลูกบาศก์ฟุต และทดแทนการใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าลงปีละประมาณ 10.5 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าน้ำมันเตาที่ลดลงไปได้ 175 ล้านบาท

ตัวโรงงานมีการจัดการด้านสิ่งแวด ล้อม โดยปรับแต่งสัดส่วนของอากาศและเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ให้เหมาะสมภายใต้การบำรุงรักษาที่ได้มาตรฐาน และป้องกันผลกระทบจากเสียงโดยการติดตั้งระบบ ควบคุมเสียง ไม่ให้ดังเกิน 70 เดซิเบล-เอ เท่ากับความดังของเสียงภายในสำนักงานทั่วไป โดยวัดจากระยะห่างจากรั้ว 10 เมตร

ทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งนี้เป็นไปตาม นโยบายของกรมฯ ที่ต้องการให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่จึงเป็นการเสริมประสิทธิภาพของหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบ โดยนำก๊าซธรรมชาติที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบซึ่งเดิมต้องเผาทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ

ขณะที่ประโยชน์อื่นๆ ที่ได้จากโครงการนั้น ยังคาดหวังถึงการเสริมความมั่งคงในระบบไฟฟ้าท้องถิ่น ให้ชุมชนโดยรอบได้รับประโยชน์จากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า และสามารถนำรูปแบบโครงการที่เกิดขึ้นไปเป็นต้นแบบในการเพิ่มเติมคุณค่าแหล่งทรัพยากรน้ำมันในแห่งอื่นๆ

โดยปกติในแหล่งน้ำมันดิบจะมีก๊าซ ที่เรียกว่า Flare Gas หรือ Associated Gas ซึ่งต้องเผาทิ้งเพราะถ้าปล่อยไปจะเป็น อันตรายเพราะอาจเกิดระเบิดเมื่อมีใครจุดไฟ และเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน ก่อนตั้งโรงไฟฟ้าที่หนองเสาเถียรมี Flare Gas จากแหล่งน้ำมันดิบ ในพื้นที่ที่ต้องเผาทิ้ง 1 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน พอตั้งโรงไฟฟ้าก็ดึงไปใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าได้ 8 แสน ลบ.ฟุตต่อวัน

“พอกรมฯ มีนโยบายให้ใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพเราก็คุยกับราชบุรีและ ปตท.สผ. ไม่อยากให้เผา Flare Gas ทิ้ง ถ้าเผาเยอะๆ เอาไปปั่นไฟดีกว่า เลยเกิดเป็นโรงไฟฟ้าขึ้น แท่นผลิตน้ำมันดิบเองก็ไม่ต้องซื้อไฟ แต่ก็ยังมีก๊าซฯ เหลือเผาทิ้งอีกไม่เกิน 2 แสนลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เราพยายามอัดกลับลงดินไปไล่น้ำมันพยายาม เพื่อให้มันพอดีที่สุด”

นับตั้งแต่แหล่งน้ำมันดิบแห่งนี้เปิดผลิตมาตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2551 รวมแล้วมีปริมาณ Flare Gas ที่เคยถูกเผาทิ้งไปจำนวนไม่น้อย แต่เมื่อนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้านอกจากเกิดประโยชน์ยังสามารถ ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปได้กว่า 3 หมื่นตันต่อปี ซึ่งบริษัทสามารถนำไปยื่นขอ CDM เป็นการสร้างรายได้กลับคืนสู่บริษัทมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาทต่อปีได้อีกทางหนึ่งด้วย

ทางฝั่ง ปตท.สผ. ไพโรจน์ แรงผล สัมฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่โครงการเอส 1 เล่าว่า การขุดเจาะสำรวจแหล่งน้ำมันดิบแต่ละหลุม โดยทั่วไปใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงราวๆ 1-2 ล้านบาท บางแหล่งอาจจะมี ปริมาณไม่มากพอที่จะลงทุนให้คุ้มทุน แต่ด้วยราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นในปัจจุบัน และยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การตัดสินใจนำเชื้อเพลิงไปใช้ประโยชน์ทำได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้บริเวณน้ำมันที่แหล่งเสาเถียร ถือเป็นแหล่งใหม่ที่งที่มีศักยภาพดี ยังเป็น Natural Flow หรือมีศักยภาพระดับที่ก๊าซไล่ขึ้นสู่ผิวดินได้เองโดยไม่ต้องปั๊ม ขณะที่แหล่งประดู่เฒ่าต้องใช้ปั๊ม

“ในโครงการเอส 1 จะมีแหล่งเล็กๆ ที่กระจายอยู่หลายจุด บางจุดก็ไม่คุ้มที่จะลงทุน ถึงแม้ว่าหลังจากที่เราซื้อแหล่งนี้ต่อมาจากไทยเชลล์ฯ แล้วสำรวจพบเชื้อเพลิงมากขึ้น จากเดิมที่เขามีกำลังการผลิต น้ำมันดิบได้เพียง 1.9-2 หมื่นบาร์เรลต่อวัน พอคนของเราเข้ามาก็ทำได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 หมื่นบาร์เรลต่อวัน คาดว่าปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 3 หมื่นบาร์เรลต่อวัน เราจึงวางแผนรวบรวมเชื้อเพลิงที่ได้จากแต่ละ แหล่งให้ไปรวมอยู่ที่เดียวกันเพื่อหาวิธีจัด การให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด”

แนวทางที่ ปตท.สผ.วางไว้คือ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 600-700 ล้านบาท ทำการเดินท่อขนาด 3-5 นิ้วเพื่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ได้จากแต่ละจุดในแหล่งเอส 1 ไปรวมไว้ที่ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร โดยคาดว่าจะรวบรวมปริมาณก๊าซเพิ่มขึ้นได้อีกวันละ 10-15 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม 22 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ส่วนจะนำไปผลิตไฟฟ้าหรือผลิตก๊าซ NGV จะพิจารณาจากความต้องการและนโยบายของภาครัฐเป็นหลัก

“ใช้เวลาเดินท่อไม่นาน เราทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและยื่นเรื่องไปแล้วเป็นปี แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ถ้าผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ก็พร้อมจะดำเนินการวางท่อส่งก๊าซได้เลย ซึ่งใช้เวลาเพียงปีกว่าๆ ก็น่าจะแล้วเสร็จ” ไพโรจน์กล่าว

สิ่งที่ค้นพบจากปรากฏการณ์พลังงานที่หนองเสาเถียรดังกล่าวมานี้ ไม่ใช่แค่ภาพแปลกตาของโรงไฟฟ้ากลางท้องนาเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งที่รับรู้ได้ไปพร้อมๆ กันก็คือเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเบื้องหลังความพยายามต่อสู้กับปัญหาพลังงานของไทยจากหน่วยงานต่างๆ ที่พยายามร่วมกันคิดและประสานงานกันเพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมในการพัฒนาประเทศ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us