|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เว็บไซต์ BBC ภาษาเวียดนาม เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 แปลบทความจากหนังสือพิมพ์ South China Morning Post ซึ่งวางจำหน่ายที่ฮ่องกง ในโอกาสเยือนฮานอยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีเต็งเส่ง โดยประเมินปฏิกิริยาของความสัมพันธ์เวียดนาม-พม่า-ในกระดานหมากรุกภูมิภาคและสากล
เนื้อหาในบทความชิ้นนี้ระบุว่าการเยือนของเรือรบพม่า 2 ลำที่เข้าเทียบท่าที่ท่าเรือด่าหนังในสัปดาห์ก่อนหน้าที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้วางจำหน่าย ดูเหมือนไม่ได้รับความสนใจ เท่ากับการเยือนของบรรดาเรือรบสหรัฐฯ รัสเซีย และอินเดีย การที่เรือพม่าเข้าเยือนเวียดนาม “เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์อย่างหนึ่งที่กำลังก่อตัวขึ้นที่หน้าประตูของจีน”
การเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีเต็งเส่งในครั้งนี้ทำให้เพิ่มส่วนลึกในความสัมพันธ์ทวิภาคี ภายหลังการเยือนพม่าเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านั้นของฝ่าม บิ่ญ มิญ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของเวียดนาม
ซึ่งในตอนนั้นได้มีการออกประกาศร่วมฮานอยย้ำถึงเรื่องที่สองประเทศ “เน้นย้ำความสำคัญของการรับประกันสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลจีนใต้ (หรือทะเลตะวันออก ในความหมายของเวียดนาม)”
ภาพซับซ้อนขึ้น
บทความนี้อ้างคำพูดฝ่ายเวียดนามว่า “ยินดีกับวิวัฒนาการของพม่าที่สามารถเข้าร่วมคณะกรรมการแม่น้ำโขง” และปักกิ่งได้ยอมรับประกาศทั้งสองฉบับนี้ เพราะพวกเขา “ติดตามยุทธศาสตร์การทูตของเวียดนามอย่างใกล้ชิด”
หนังสือพิมพ์ฉบับนี้อ้างคำพูดของ Ian Storey ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความมั่นคงภูมิภาค ประจำสถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งอยู่ที่สิงคโปร์ ที่กล่าวว่า “มีข้อสังเกตว่า พม่าส่วนใดเคยมีบทบาทติดตามความช่วยเหลือจากจีนในกลุ่ม ASEAN”
“ปัจจุบันภาพกลายเป็นหลากหลายขึ้น เช่น ความสัมพันธ์พม่ากับเวียดนาม ที่แสดงให้เห็นทั้งสองประเทศต่างต้องการความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน เพราะมีแนวชายแดนยาวร่วมกัน แต่พวกเขาก็ต้องการเปิดกว้างความสัมพันธ์ในภูมิภาคและสากลอื่นๆ อีก”
หนังสือพิมพ์ South China Morning Post ก็เขียนว่า นักวิเคราะห์บางคนในภูมิภาค ประหลาดใจต่อวิวัฒนาการในหลายเดือนที่ผ่านมาของพม่าที่ถอยห่างจากจีน ชาติที่เคยอุปถัมภ์หลักทางทหารให้แก่กลุ่มทหารนิยมของพม่า เพื่อเดินหน้าสู่นโยบายการทูตที่เปิดกว้างขึ้น รวมทั้งกระบวนการปรับปรุงความสัมพันธ์กับวอชิงตัน
ปัจจุบัน สหรัฐฯ ยังคงคว่ำบาตรพม่า ถึงแม้ประเทศนี้จะปฏิรูปการเมืองและสังคมเมื่อเร็วๆ นี้
เวลาเดียวกัน ท่าทีของประธานาธิบดีเต็งเส่งได้เด่นชัดขึ้นในแนวโน้มแยกห่างจากจีน ในคำสั่งที่ออกเมื่อเดือนกันยายน 2554 ให้หยุดโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำมิตซง ที่แควต้นน้ำแม่น้ำอิระวดี ขณะที่มีความกังวลในประชามติเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการที่จีนก่อสร้างนี้ มีการวางแผนส่งไฟฟ้าส่วนใหญ่จากโครงการนี้ไปยังมณฑลหยุนหนันของจีน
หนังสือพิมพ์ South China Morning Post ให้ความสนใจว่า ประธานาธิบดีเต็งเส่งผู้ซึ่งเคยเป็นนายพลของกองทัพพม่า ก่อนโอนไปเป็นแกนนำพลเรือน ขณะเยือนฮานอยก็มีตัวแทนทางทหารคณะหนึ่งเป็นผู้ติดตาม
เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ผู้บัญชาการสูงสุด Min Aung Hlain ได้มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ คือหลังจากขึ้นสู่ตำแหน่ง ก็ได้ไปเยือนฮานอยทันที โดยไม่ไปจีนก่อนเหมือนธรรมเนียมปกติ
หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ยังได้วิเคราะห์ว่า เวียดนามได้แสดงความพร้อมจะเผชิญหน้ากับจีน ในภูมิภาค ถึงแม้ว่ายังคงมีความพยายามเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันพี่น้องกับปักกิ่ง
หนังสือพิมพ์ฉบับนี้หยิบยกคำถามคือ ในขณะระบอบคอมมิวนิสต์ที่ฮานอยแสดงความสนับสนุนการปฏิรูปประชาธิปไตยในพม่าอย่างเปิดเผย และกิจกรรมบูรณาการต่างๆ ของประเทศนี้เข้ากับภูมิภาค บรรดาแกนนำฮานอยรู้สึกลำบากใจต่อการลุกขึ้นของฐานประชาธิปไตยใหม่แห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือไม่
ทูตพิเศษ ASEAN รุ่นเก่าคนหนึ่งประเมินว่า “ในเวลานี้ฝ่ายเวียดนามแสดงความพอใจกับพม่าที่กำลังบูรณาการกับ ASEAN กับภูมิภาค และกับฝ่ายตะวันตก”
ยังมีการอ้างคำพูดนักการทูตคนนี้ว่า “ในหลายด้าน ที่สำคัญ นี่ก็เป็นการสะท้อนวิธีการ เข้าถึงของ (เวียดนาม) และเป็นธรรมดาเป็นการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและภูมิภาค กลายเป็นซับซ้อนขึ้น”
ในการวิจารณ์ความผิดปกติอีกประการหนึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรับผิดชอบเอเชียตะวันออกของสหรัฐอเมริกา Kurt Campbell ได้ยืนยันบทบาทของฮานอยในการส่งเสริมวอชิงตันและเนปิดอมาใกล้กัน
แต่ Campbell ก็กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่ชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลงในพม่ามีผลกระทบต่อ “การขับเคลื่อน” การเมืองภายในเวียดนามหรือไม่ ถึงแม้ฮานอยเคยส่งเสริมยุทธศาสตร์เชื่อมประสานพม่ากับสหรัฐฯ
ได้มีการอ้างคำพูดของ Campbell ที่กล่าวว่า “มีบางครั้งเมื่อปีที่แล้ว พวกผมได้รับความสำเร็จน้อยมากในการเอาชนะพม่าและเวียดนาม เวลานั้นยังคงมีการเร่งเร้าทางลับให้พวกผมเจรจาโดยตรงต่อไปกับรัฐบาลพม่า และยังจัดหาบรรดาข่าวสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิธีการเร่งให้ปัญหามีความคืบหน้า”
|
|
|
|
|