Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555
เงินทุนเพื่อการกอบกู้โลก             
โดย Jerome Rene Hassler
 

   
related stories

นโยบายทุน เทคโนโลยี เปลี่ยนธรรมชาติเป็นพลังงานไม่รู้จบ
พลังงานทดแทน มั่นคงได้ไม่แพ้นิวเคลียร์
พลังงานทดแทนของไทย มีศักยภาพแต่ยังไม่มีบทเด่น
นิวเคลียร์ หรือ ทดแทน แนวทางที่ไทยต้องเลือกให้ถูก
ปัญหาแค่ชั่วคราว แต่โอกาสยั่งยืน

   
search resources

Energy
Environment




ส่วนที่ 5 ที่ว่าด้วยเรื่องสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศที่เล็งมาที่ไทยเพื่อสนับสนุนด้านเงินทุนที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน รวมทั้งเป็นประเด็นสำคัญในการเริ่มต้นและทำให้กระบวนการของการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนเกิดขึ้นและเป็นจริง

“อยากได้รับการสนับสนุนเงินทุน ต้องลดโลกร้อน” เป็นกลไกที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศเลือกใช้สำหรับการสนับสนุนด้านเงินทุนแก่เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศไทย เพียงแต่มีเงื่อนไขง่ายๆ ว่า ธุรกิจนั้นต้องมีผลต่อการ ลดก๊าซเรือนกระจก บรรดาธนาคารเหล่านี้ก็พร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือ

นี่คือเรื่องราวของกลไกสะอาดของภาคการเงินที่พุ่งไปที่ธุรกิจพลังงานทดแทนในเมืองไทย

ปี 2553 ทั่วโลกมีการลงทุนในพลังงานทดแทน 5 ประเภท ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานน้ำ และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นเงิน 210,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 32% จากปี 2552 โดยเป็นการลงทุนในไทย 700 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นเงินทุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และธนาคารเพื่อ การพัฒนาแห่งชาติของต่างประเทศ ซึ่งเข้าไปลงทุนในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศกำลังพัฒนา

เป้าหมายการเข้ามาสนับสนุนเงินทุนของธนาคารเหล่านี้ เกิดจากการถกเถียง เรื่องปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งบรรดาธนาคารคิดว่าควรมีบทบาทที่จะต้องเลือกสนับสนุนทางการเงินอย่างระมัดระวัง ถ้าอยากให้การเติบโต ทางเศรษฐกิจและสังคม ในประเทศกำลังพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน และหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ในอนาคต คำตอบของพวกเขามาลงตัวที่การสนับสนุน ภาคพลังงานที่เกิดจากพลังงานทดแทนเพื่อการผลิตไฟฟ้า ที่ไม่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น

การเปลี่ยนจุดยืนมาสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศกำลังพัฒนา ทำให้เงินทุนจากธนาคารเหล่านี้มีบทบาทโดยตรงต่อการเติบโตของพลังงานทดแทนในไทย

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ไม่ได้เป็นเพียงผู้ให้กู้เพื่อการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเพื่อการพัฒนาทั้งหลายในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียเท่านั้น แต่ ADB มีความเข้าใจในงานของตัวเองมากกว่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ขณะนี้ ADB กำลังก่อตั้งระบบการให้ข้อมูล สภาพอากาศ (climate data distribution platform) ที่ใช้งานง่าย สามารถเข้าถึงคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง เพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง หรือปัญหาโลกร้อน และข้อจำกัด รวมทั้งความยากลำบากของการสร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศในอนาคต ขณะนี้มีศูนย์ข้อมูลที่จัดทำแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ 6 แห่งในเอเชียที่ตอบตกลงจะส่งข้อมูลสภาพอากาศป้อนให้แก่ระบบดังกล่าวของ ADB แล้ว

เมื่อปี 2548 ADB เริ่มลงทุนในโครงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency Initiative: EEI) ด้วยเงิน 1,000 ล้านดอลลาร์ในเอเชียแปซิฟิก โดยสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิ ภาพทั้งฝั่งผู้ผลิตและผู้ซื้อพลังงาน

โครงการ EEI มีจุดประสงค์หลักเพื่อแสวงหาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนใหม่ๆ ADB รู้ว่าธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ ยังไม่กล้าให้เงินลงทุนกับธุรกิจพลังงานทดแทนเพราะมีความเสี่ยงสูง จึงใช้ฐานะพิเศษของ ADB เข้ามาช่วยทำหน้าที่เป็นผู้ปล่อยกู้รายใหญ่สุดแทนธนาคารพาณิชย์ ด้วยระยะเวลากู้ยาวและดอกเบี้ยต่ำ แต่ก็ยังคงกระตุ้นให้ธนาคารเอกชนเข้าร่วมโดยปล่อยกู้ร่วมกันกับกลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน โดยธนาคารที่ร่วมปล่อยกู้กับ ADB จะได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ได้สิทธิ์กู้เงินจาก ADB ในอัตราดอกเบี้ยต่ำระยะเวลานาน ลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และได้ความคุ้มครอง และสิทธิพิเศษต่างๆ ของ ADB ด้วย เช่น ได้รับสถานะเจ้าหนี้ และได้รับยกเว้นภาษี

ADB มุ่งพัฒนาพลังงานทดแทน 4 ประเภท คือ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานน้ำ และพลังงานความร้อนใต้พิภพ แต่ก็ให้การสนับสนุนกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่จังหวัดลพบุรี ของบริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด (Natural Energy Development Co., Ltd.-NED) ชื่อโครงการ “ลพบุรี โซลาร์” ตอนเปิดตัวเมื่อปี 2553 จัดเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกกำลังการผลิต 73 เมกะวัตต์ (MW) ตั้งอยู่ที่ ต.วังเพลิง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี มูลค่า 8,000 ล้านบาท

โดย ADB ให้เงินสนับสนุนโครงการนี้ทั้งในรูปเงินกู้และเงินให้เปล่า โดยให้เงินกู้ 63 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 18 ปี และเงินให้เปล่าอีก 2 ล้านดอลลาร์ ผ่านทางกลไก หุ้นส่วนการสนับสนุนทางการเงินเพื่อพลังงานสะอาด (Clean Energy Financing Partnership) ของ ADB เพื่อช่วยชดเชยต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงกว่าจากการซื้อเทคโนโลยีแผงโซลาร์เซลล์แบบ photo-voltaic

โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อีกโครงการที่ ADB สนับสนุนเป็นของบางจากปิโตรเลียม ซึ่งมีกำลังการผลิต 45 MW โดย ADB ให้เงินกู้ 134 ล้านดอลลาร์ ระยะเวลากู้ 15 ปี

ทั้ง 2 โครงการถือเป็นโครงการพลังงานทดแทนตัวอย่างของ ADB เพื่อแสดงว่า ADB ต้องการสนับสนุนการลดปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และปรับตัวรับปัญหา ดังกล่าว ผ่านการสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน

อย่างไรก็ตาม การที่ ADB สนับสนุนโครงการขนาดใหญ่ ทำให้บริษัทขนาดกลาง ขนาดย่อม (SME) แทบไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ของ ADB

ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศอีกแห่งที่เข้ามาลงทุนในพลังงานทดแทนใน เอเชีย คือ ธนาคารโลก (World Bank) และสถาบันในเครือ อย่างเช่น บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC)

IFC เริ่มลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนในไทย หลังจากธนาคารโลกยอม รับความสำคัญของการต่อสู้กับปัญหาสภาพ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและใช้เงินทุนเป็น กลไกรับมือปัญหาโลกร้อนโดยเดินตามแนวทางกลไกการเงินของสหประชาชาติคือ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) และกองทุนสนับสนุนการปรับ ตัวรับปัญหาโลกร้อนอีก 2 กองทุน คือกองทุน Least Developed Countries Climate Change Fund (LDCF) กับกองทุน Special Climate Change Fund (SCCF) กองทุน LDCF ลงทุนไปแล้ว 54 โครงการ เป็นเงิน 228 ล้านดอลลาร์ ในจำนวนนี้ 35 โครงการ เป็นเงิน 129 ล้าน ดอลลาร์อยู่ในเอเชียแปซิฟิก ส่วนกองทุน SCCF ลงทุนทั้งหมด 39 โครงการ เป็นเงิน 150 ล้านดอลลาร์ จะลงทุนเพิ่มอีก 130 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการในอนาคต

ธนาคารโลกและสถาบันในเครือเริ่ม สนับสนุนพลังงานทดแทนมาตั้งแต่ 10 กว่า ปีก่อน มีจีนเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้รับประโยชน์จากโครงการพลังงานทดแทนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของธนาคารโลก เนื่องจากจีนมีความต้อง การใช้พลังงานอย่างมหาศาล

หลังจากประสบความสำเร็จในจีน IFC จึงเริ่มขยายการสนับสนุนโครงการพลังงานทดแทนไปทั่วโลก

เดือนพฤศจิกายน 2554 IFC เซ็นสัญญาแรกกับ Mitsubishi เพื่อปล่อยกู้ให้โครงการพลังงานทดแทนในไทย ปัจจุบันให้เงินกู้ภายใต้สัญญานี้ไปแล้ว 70 ล้านดอลลาร์ โดย 50% ของเงินจำนวนนี้รับประกันโดย IFC ซึ่งมีเงื่อนไขแบ่งเงินกู้ให้แต่ละโครงการสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์ ไม่กำหนดขั้นต่ำ เพื่อใช้สนับสนุน SME โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ SME ที่จะได้รับสนับสนุนเงินกู้ต้องเป็นเจ้าของโดยเอกชน และมีประสิทธิภาพการทำงานตามมาตรฐานของ IFC เพื่อให้แน่ใจว่าการลงทุนนี้จะประสบความสำเร็จ การเจรจาขอกู้เงินเป็นไปอย่างเข้มงวดตามปกติของมาตรฐานในตลาด เพื่อหลีกเลี่ยงการบิดเบือนตลาด

IFC กับ Mitsubishi ใช้เวลาเจรจากันนานถึง 1 ปี ก่อนจะตกลงร่วมมือกันทำโครงการสนับสนุนพลังงานทดแทนในไทยภายใต้สัญญานี้ขึ้น ทั้งคู่ตกลงเลือกประเทศไทย เพราะมีฐานการผลิตที่ใหญ่กว่าประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ และไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากปัญหาสภาพภูมิอากาศ

โครงการอื่นๆ ที่ธนาคารโลกสนับสนุนในไทยยังมีการผลิตพลังงานจากน้ำเสียในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งธนาคารโลกตกลงรับซื้อคาร์บอนเครดิตจำนวน 500,000 ตันเป็นระยะเวลา 4 ปี (2552-2556) และการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร 10 แห่งในจังหวัดราชบุรีและชลบุรี

ธนาคารโลกอยู่ระหว่างเตรียมสนับสนุนอีก 2 โครงการ โดยร่วมมือกับหน่วยงาน ของไทย อย่างเช่น กฟผ. คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โครงการแรกคือ โครงการพลังงานสีเขียวเพื่อลดการแพร่คาร์บอนในไทย ซึ่งจะดำเนินการทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นไปพร้อมๆ กัน เพื่อขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และช่วยเผยแพร่การใช้พลังงานสะอาดที่ประสบความสำเร็จ โดยมีแนวคิดคือทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ปล่อยคาร์บอนในระดับต่ำ

ส่วนอีกโครงการร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทำโครงการหุ้นส่วนคาร์บอนไทย (Thailand Carbon Partnership Facility: CPF) สนับสนุนการผลิตพลังงานทดแทนจากพลังงานชีวมวลในไทย โครงการนี้สนับสนุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลให้ได้ 100 MW

นอกจากธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศอย่างธนาคารโลกและ ADB แล้ว ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ อย่างเช่น ธนาคาร DEG ของเยอรมนี และ AFD ของฝรั่งเศส ก็สนับสนุนเงินทุนในการลงทุนในพลังงานทดแทนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ธนาคาร DEG ของเยอรมนีไปแล้ว DEG หรือชื่อเต็มว่า German Investment and Development Bank Company เป็นธนาคารในเครือ KFW-Banking Group ของเยอรมนี และ DEG ปฏิบัติงานในประเทศกำลังพัฒนาในนามของ KFW และรัฐบาลเยอรมนี ซึ่งถือหุ้น 100 % ใน DEG

DEG เรียกตัวเองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ การให้เงินทุนสนับสนุนพลังงานทดแทนโดยเน้นที่การให้เงินทุนระยะยาว อย่างน้อย 4-5 ปี สำหรับโครงการที่มีการลงทุนขั้นต่ำ 10 ล้านดอลลาร์ โดย DEG ให้เงินกู้ไม่เกิน 1 ใน 3 ของสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทนั้น

การดำเนินงานของ DEG เริ่มต้นโครงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพใน ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ โดยจะเข้าไปร่วมมือกับหุ้นส่วนในท้องถิ่น ให้เงินทุนสนับสนุนการติดตั้งเทคโนโลยีการใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในบริษัทต่างๆ ในประเทศกำลังพัฒนา โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย บริษัทท้องถิ่นต้องนำระบบการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพที่ DEG ลงทุนติดตั้งให้ฟรีๆ ไปใช้งานเป็นเวลา 5-6 ปี และยังได้รับประโยชน์ทางการเงินจากการประหยัด เงินค่าไฟฟ้าลงอย่างมาก โครงการสนับสนุน เทคโนโลยีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิ ภาพ ส่วนใหญ่จะคืนทุนได้ภายในเวลา 3-4 ปี อีก 1-2 ปีที่เหลือจะเป็นกำไรของ DEG หลังครบสัญญา 5-6 ปีแล้ว DEG จะยกเทคโนโลยีดังกล่าวที่ติดตั้งแก่บริษัทท้องถิ่น รายนั้นไปฟรีๆ ซึ่งไทยเป็นประเทศนำร่องของโครงการนี้ DEG กำลังนำโครงการไปขยายยังประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ

เช่นเดียวกับธนาคารเพื่อการพัฒนา อื่นๆ DEG ไม่ใคร่สนับสนุน SME มากนัก เนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุนจะดีน่าสนใจกว่า หากการลงทุนนั้นมีขนาดใหญ่ พอสมควร แม้รัฐบาลเยอรมนีมีนโยบาย ให้ DEG สนับสนุนการเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในประเทศกำลังพัฒนา แต่ก็ต้องการให้เป็นองค์กรด้านการเงินที่อยู่ได้ด้วยตัวเองเช่นกัน

ดังนั้น สิ่งที่ DEG ต่างจากธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งอื่นคือ ให้ได้เพียงเงินกู้ที่มีระยะเวลาชำระคืนนานกว่าแต่ไม่ได้เน้นการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพราะไม่ต้องการบิดเบือนการแข่งขันในตลาดสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ โดยให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ ไปแล้วจำนวน 12 โครงการ มี 2 โครงการที่เป็นธุรกิจพลังงานทดแทนจาก โรงไฟฟ้าชีวมวล

DEG รวมถึง German Development Agency (GIZ) มองว่าไทยมีความก้าว หน้ามากขึ้นในแง่การเติบโตทางเศรษฐกิจ และไม่ได้เป็นเป้าหมายในนโยบายเพื่อการพัฒนาของเยอรมนีอีกต่อไป ทั้ง 2 หน่วยงานจึงมีแผนค่อยๆ ลดจำนวนโครงการและการให้เงินทุนในไทยลง แต่ยังมองไทยเป็นประเทศที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ต่อบทบาทการพัฒนาของเยอรมนี

สำหรับ GIZ เป็นหน่วยงานที่เริ่มสนับสนุนพลังงานทดแทนมาก่อนใคร เพราะเกิด จากการควบรวมของหน่วยงานเพื่อการพัฒนาของเยอรมนี 2 แห่งแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น GIZ มีบทบาทสำคัญมากว่า DEG ในการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปรับตัวรับปัญหาในไทย โดย GIZ จะให้ความสำคัญในความร่วมมือระหว่างรัฐกับรัฐในระดับภูมิภาคในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านการเข้าไปในภาคธุรกิจและ ภาคพลังงานต่างๆ

ข้อมูลจาก David Oberhuber ผู้นำ GIZ Thailand ระบุว่า GIZ เริ่มสนับสนุนพลังงานชีวมวลมาตั้งแต่พลังงานชนิดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักในไทยในช่วงทศวรรษ 1990 ปัจจุบัน GIZ สนับสนุนกระทรวงพลังงานของไทยในการร่าง “แผนแม่บทการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ” ของไทย คาดว่าจะร่างเสร็จภายในปีนี้ แผนแม่บทด้านพลังงานของไทยฉบับนี้จะเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอาคารสำนักงาน ภาคการก่อสร้าง ภาคการผลิตอุตสาหกรรม และการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ GIZ ยังเป็นหน่วยงานหลักของ รัฐบาลเยอรมนี ในการปฏิบัติตามแผนพลังงานใหม่ของเยอรมนี “German Climate Change Initiative” ของกระทรวงสิ่งแวดล้อมเยอรมนี ซึ่งได้รับอนุมัติไปเมื่อปี 2551 โดยไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศหลักในเอเชียที่อยู่ในแผนของเยอรมนี

ในขั้นแรกของแผนนี้ เยอรมนีสนับสนุนเงิน 200 ล้านยูโร สำหรับโครงการบรรเทา ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวรับปัญหา Oberhuber คาดว่าเงินทุน นี้จะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา รัฐบาลเยอรมนีตัดสินใจที่จะปิดโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ทั้งหมดในเยอรมนีภายในปี 2565 หมายความว่ารัฐบาลเยอรมนีจะต้องเร่งรีบส่งเสริมการเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนเร็วยิ่งกว่าเดิม โครงการหนึ่งของ GIZ มีจุดประสงค์ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม 5 ภาคของไทย โครงการนี้มีอายุโครงการ 3 ปี ตั้งแต่ ปี 2551-2554 เพื่อปรับปรุงการใช้พลังงาน ในภาคการผลิตเหล็กกล้า อะลูมิเนียม แก้ว และสิ่งทอของไทย

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีบริษัท SME ไทยถึง 100 แห่งที่ได้รับประโยชน์จากโครงการต่างๆ ของ GIZ ซึ่งแตกต่างจาก DEG ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ความแตกต่างอีกประการคือ นักลงทุนแต่ละรายสามารถขอเงินกู้จาก DEG ได้ แต่สำหรับ GIZ บริษัทที่จะได้รับการสนับสนุนจะต้องมีคุณสมบัติเข้าข่ายโครงการใดโครงการหนึ่งของ GIZ เท่านั้น

สำนักงานเพื่อการพัฒนาของฝรั่งเศส (AFD-L’Agence Francaise de Developement) เป็นสำนักงานให้ความช่วยเหลือที่ก่อตั้งในปี 2516 แต่เข้ามาทำโครงการในเอเชียเมื่อ 15 ปีก่อนหน้านี้ มีงบประมาณ 7,000 ล้านยูโร และแบ่ง 1,000 ล้านยูโรสำหรับโครงการลดความยากจนและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเอเชีย

AFD มีนโยบายสนับสนุน Green-Growth strategy โดยจะทำงานร่วมกับรัฐบาลและภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการสนับสนุน อย่างแข็งขันตลอดทศวรรษที่ผ่านมาจากหลายหน่วยงานในสหประชาชาติ แนวคิดนี้คือ “ทำให้เศรษฐกิจเติบโตภายใต้การลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ผ่านการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนใน อุตสาหกรรม 10 ประเภทหลัก เช่น การ ผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมก่อสร้าง ภาคการ คมนาคมขนส่ง ฯลฯ

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากแหล่งหนึ่งมาจากในเขตเมืองต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งมีสัดส่วน 2 ใน 3 จากก๊าซที่ถูก ปล่อยสู่บรรยากาศ เฉพาะก๊าซจากอาคาร บ้านเรือนมีสัดส่วนสูงถึง 30-40% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในโลกนี้

ธนาคาร AFD ของฝรั่งเศสเริ่มให้การสนับสนุนเงินทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนของไทยเมื่อ 5 ปีก่อน และยังอยู่ระหว่างเจรจาเกี่ยวกับโครงการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ธุรกิจ พลังงานทดแทนกับหุ้นส่วนที่เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยเพื่อให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาด โดยมีแผนจะให้การสนับสนุนด้านการเงินจำนวน 15-20 โครงการเป็นเงินรวม 50 ล้านยูโร

นอกจากนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาขึ้นมาใหม่ชื่อว่า “Pro-Parco” ซึ่งมีสำนักงานในไทยแล้ว แต่ยังมิได้เริ่มให้เงินทุนสนับสนุนโครงการใดในไทยในขณะนี้

มุมมองจากฝั่งผู้ผลิต
การเข้าถึงเงินกู้สำหรับเจ้าของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน ยังคงเป็นปัญหา แม้ผู้ผลิตจะยอมรับว่าสถานการณ์ค่อยๆ ดีขึ้น อย่างน้อยก็ด้วยการพยายามสนับสนุนของ ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศที่พยายามดึงธนาคารพาณิชย์ไทยเข้าไปมีส่วนร่วม ทำให้โครงการเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริงด้วยการมีส่วนช่วยผลักดันผ่านระบบการเงินดังที่กล่าวมา

การเข้าถึงเงินทุนก็เป็นเพียงอุปสรรคด้านเดียว เพราะอีกด้านหนึ่งนั้นการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนจะเพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ผลิตไฟฟ้ากลุ่มนี้สามารถขายไฟฟ้าในราคาที่แข่งขันได้ในตลาด หรือมีผู้รับซึ่งปัจจุบันคือ กฟผ. ยอมที่จะจ่ายเงินค่าไฟฟ้าที่ผลิตจาก พลังงานทดแทนซึ่งมีต้นทุนสูงทำให้ราคาแพงกว่าไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ทางที่ดีควรจะต้องเร่งให้ความรู้ในฝั่งผู้บริโภคช่วยด้วยอีกทางหนึ่งเพื่อช่วยกันลดปัญหาการใช้ พลังงานจากหลายๆ ด้าน

บริษัทบางกอกโซลาร์ ผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่เรียกว่า PV-panel รายใหญ่ที่สุดในจำนวนผู้ผลิตทั้งหมด 3 รายของไทย พยายามกระจายธุรกิจและขาย PV รวมทั้งให้บริการอย่างครบวงจรเกี่ยวกับการใช้งานแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และยังบริหารโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ หรือ solar park ของตนเอง โดยได้รับประโยชน์จากระบบ feed-in-tariff ของรัฐบาล แต่บริษัทก็ยังคงประสบกับปัญหาในการดำเนินงานเพราะมีส่วนต่างกำไรจากแผง PV ที่ต่ำมาก ดังนั้นแทนที่บริษัทจะขยายการลงทุนในไทย จึงเลือกตัดสินใจไปลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในเยอรมนีแทน ดังที่กล่าวไว้ในส่วนที่ 4

นี่เป็นสถานการณ์แปลกประหลาดเพราะแทนที่บริษัทจะนำเทคโนโลยีที่ได้รับถ่ายทอดจากอดีตหุ้นส่วนชาวฮังการีที่นำมาทิ้งไว้ให้มาใช้ประโยชน์และสร้างรายได้ในประเทศไทย เป็นเรื่องที่น่าขบคิดว่าจะเปลี่ยนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร รวมทั้งจะทำอย่างไรที่จะให้การลงทุนพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในไทยเติบโตได้ไม่แพ้ในยุโรป

หากพิจารณาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในประเทศที่พัฒนาแล้วไทยก็ถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้นที่พอจะมองเห็นแนวโน้มที่จะพัฒนาธุรกิจนี้ให้เติบโตมากขึ้นในอนาคต เพราะปัจจุบันใน ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศเช่นในยุโรปก็พัฒนาและมีสัดส่วนไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานทดแทนประมาณ 20% ของไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตได้ และยังคงมีปัญหาให้ต้องแก้ไขอีกมากเหมือนกับปัญหาที่เจอในไทย เช่น การกำหนดราคา การอุดหนุน และการหาวิธีกักเก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้ไว้ใช้อย่างพอเพียง รวมถึงปัญหาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งซึ่งเกี่ยวพันต่อการใช้พลังงานไฟฟ้า ฯลฯ

ประเทศไทยก็สามารถเรียนรู้และพัฒนาเกาะติดไปกับประเทศเหล่านี้ได้ เพราะแม้ประเทศเหล่านี้จะเจอปัญหาเหมือนกับผู้ผลิตของไทย แต่กลับไม่มองว่า เรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาที่จะมาขัดขวางการพัฒนาโครงการ มิหนำซ้ำประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอีกเป็น 30-40% หรือมากกว่านั้น เพราะตระหนักดีว่า พลังงานทดแทนคืออนาคตของการผลิตไฟฟ้า และโอกาสทางธุรกิจอันยิ่งใหญ่เพิ่งเริ่มก่อตัวขึ้น

มีข้อมูลจาก Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ประเมินว่า พลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานหลักของมนุษยชาติภายในปี 2593 แม้ว่าในปัจจุบันพลังงานแสงอาทิตย์จะมีสัดส่วนเพียง 1% ของการผลิตพลังงานทั่วโลก

การประเมินของ IPCC มีนัยสำคัญ เพราะ IPCC เป็นองค์กรด้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลก ก่อตั้งในปี 2531 โดยหน่วยงาน 2 แห่งของ สหประชาชาติ คือองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environmental Program: UNEP) มีนักวิทยาศาสตร์หลายพันคนที่ทำงานให้กับ IPCC ทำหน้าที่ประเมิน ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ทางเทคนิค ทางเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก เพื่อประเมินอันตรายที่จะเกิดจากปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่มีสาเหตุมาจากฝีมือมนุษย์ และผลกระทบ ของปัญหาอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ ที่มีความสำคัญมากกว่าพลังงาน แสงอาทิตย์ คือพลังงานน้ำมีสัดส่วน 16% ของพลังงานที่ผลิตได้ทั่วโลก แต่สัดส่วนของพลังงานน้ำจะลดลง เมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ ที่จะก้าวตามขึ้นมาทันในเวลาอันรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานชีวมวลมีสัดส่วน 10% ของไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนทั่วโลก ส่วนพลังงานลมมีสัดส่วน 2% แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ภายในปี 2593 ส่วนพลังงานความร้อนใต้พิภพ คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ 3% ของไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตได้จากพลังงานทดแทนทั่วโลกภายในปี 2593 และผลิตความร้อนได้ 5% ของความต้องการพลังงานความร้อน

ตัวเลขประมาณการทั้งหมดนี้แสดงชัดว่า พลังงานทดแทนกำลังจะเข้ามาแทนที่พลังงานฟอสซิลทั่วโลก หากไทยไม่ต้องการจะพลาดโอกาสนี้ ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องตัดสินใจครั้งสำคัญและลงทุนในพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง

ตัวอย่างประเทศในยุโรปอย่างเยอรมนี สเปน และเดนมาร์ก เป็นประเทศตัวอย่าง ที่มีหลักฐานให้เห็นว่าตลาดพลังงานทดแทนมีศักยภาพสูง สามารถเข้ามาแทนที่แหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้าดั้งเดิม เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินได้ ประเทศเหล่านี้วางแผนที่จะใช้พลังงานทดแทนแทนที่พลังงานดั้งเดิมภายใน 20-30 ปี

ผลพลอยได้ที่สำคัญจากพลังงานทดแทนยังจะช่วยให้เราสามารถปรับตัวรับมือปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และสร้างงานใหม่ๆ ที่ใช้ทักษะสูงจำนวนมาก พลังงานทดแทนจึงมีคุณประโยชน์ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและต่อเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไทยไม่ควรพลาดโอกาส นี้ ด้วยการต้องเข้าไปลงทุนในภาคพลังงาน ทดแทนอย่างจริงจัง เราได้แต่หวังว่า ทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคธนาคาร รวมถึงผู้บริโภค จะร่วมกันสนับสนุนแนวคิด ในการส่งเสริมพลังงานทดแทนให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในไทยร่วมกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us